แนะแนวโครงการหลักสูตรควบปริญญาตรี-โท สาขาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (BMIR TU)
แนะแนวโครงการหลักสูตรควบปริญญาตรี-โท สาขาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ)  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (BIR TU)

Announcement for BMIR Graduate Admission

    สำหรับหลักสูตรที่จะมาแนะนำกันในตอนนี้ค่อนข้างจะมีความพิเศษมากกว่าหลักสูตรอื่นเสียหน่อยตรงที่หลักสูตรที่เคยเขียนไปเมื่อคราวก่อนๆนั้นจะเน้นเป็นหลักสูตรภาคปริญญาตรีเป็นเสียส่วนใหญ่  หลักสูตรนี้ก็เป็นหลักสูตรปริญญาตรีเช่นกัน แต่ว่าในมีความพิเศษมากกว่านั้นก็คือภายในตัวหลักสูตรนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรนี้สามารถเลือกที่จะเรียนทั้งปริญญาตรี และ ปริญญาโทได้ในคราวเดียวกัน  ซึ่งหลักสูตรนั้นก็คือหลักสูตร ควบปริญญาตรี-โท สาขาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเรียกสั้นๆว่าBMIRนั่นเอง  แค่ฟังชื่อก็ชักน่าสนใจกันแล้วสิว่าเจ้าหลักสูตรนี้ มีดีอะไรเรียนอะไร และต้องเรียนป.โทด้วยจริงๆไหม อยากรู้อ่านต่อเลยจ้า   
 
    สำหรับหลักสูตรBMIR ย่อมาจาก The Combined Bachelor and Master Degree in Politics and International Relations, Faculty of Political Science  โดยตัวโครงการนั้นเป็นโครงการที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เปิดสอนที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์

โดยมีการศึกษาตามระบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลา 16 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนโดยใช้เวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งมักจะเปิดช่วงตอนขึ้นปี3 

และจะแบ่งเป็นตามภาคการศึกษาย่อยๆ ซึ่งเทอมภาค 1 จะเริ่มเดือนสิงหาคม – ธันวาคม เทอม2 จะเริ่มช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ส่วนในภาคฤดูร้อน จะเปิดช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 

ระบบการศึกษาจะมีแบ่งออกเป็นในส่วนของเฉพาะ ปริญญาตรี 126 หน่วยกิต และถ้าควบปริญญาโทจะรวมเพิ่มอีก39หน่วยกิต ซึ่งนักศึกษาที่ต้องการต่อปริญญาโทนั้นจะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์อีกด้วย โดยเนื้อหาการเรียนส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านการเมืองและการระหว่างประเทศ ซึ่งการเรียนควบปริญญาตรี-โท(เรียน5ปีซึ่งต้องได้เกรด3.00ขึ้นไปค่ะถึงจะมีสิทธิ์ต่อโท)

  โดยนักศึกษาจะได้เรียนวิชาเอกในกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสามารถเลือกวิชาโทได้ในช่วงตอน ปี สองเทอม1-2 2กลุ่มคือ การเมืองการปกครอง และ บริหารรัฐกิจ ซึ่งความสำคัญของหลักสูตรนี้ก็เพื่อที่จะ เป็นฐานรากในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นการพัฒนาการศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ครอบคลุมหลากหลายวิชาการที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ  ให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันในทุกเรื่องที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศให้มากที่สุด

  นอกจากนี้อันเป็นความประสงค์ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ทั้งการเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการบริหารรัฐกิจ รวมทั้งมีความรู้เบื้องต้นในทางปฏิบัติรวมไปถึงการต้องการให้นักศึกษา มีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง นอกจากนี้ตัวหลักสูตรเองก็ยังต้องการส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมผ่านการ มีความรู้ในระดับสากลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศ ภูมิภาค และองค์การระหว่างประเทศ สำหรับตัวโครงการนั้นเปิดรับนักศึกษาจำนวน 100คนต่อรุ่น

หลักสูตรBMIR มธเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
    เนื่องจากสังคมไทยมิได้ดำรงอยู่ในสูญญากาศ หากแต่อยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมาพร้อมกับการแข่งขันด้านต่างๆที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบุคลากรที่มีความแข็งแกร่ง เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้ ความสามารถและมีศักยภาพสูงทัดเทียมนานาอารยประเทศ  เพราะฉะนั้นตัวหลักสูตรจึงได้พัฒนามาจาก2ปัจจัยหลัก นั่นก็คือ

1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
      เนื่องจากไทยอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเรียนการสอนในหลักสูตรจึงได้คำนึงถึงความสำคัญของสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว

2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

    และจากสถานการณ์ตามข้อ 1 ทำให้สังคมและวัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีความขัดแย้งเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างสังคมและวัฒนธรรมแบบใหม่กับสังคมและวัฒนธรรมที่เคยมีมาแต่เดิม ดังนั้นในการวางแผนหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม มีคุณธรรมจริยธรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นไปในลักษณะสอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมไทย ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
     โดยสำหรับหลักสูตรBMIR นั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนของปริญญาตรี และปริญญาโทโดยใช้ระยะเวลารวมกันทั้งหมด5 ปี สำหรับ (ปริญญาตรี-โท) 3 ปีครึ่ง (เฉพาะปริญญาตรี) และ1 ปีครึ่ง (เฉพาะปริญญาโท) โดยการจัดการเรียนการสอนนั้นจะเป็นวิชาบรรยายในชั้นปีแรกๆ ต่อมาจึงจะเริ่มมีวิชาสัมมนาในชั้นปีสูงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ฝึกการคิดวิเคราะห์ และการนำเสนอในสถานการณ์จริง
สำหรับโครงสร้างหลักสูตร ปริญญาตรีแบ่งออกเป็น 126 หน่วยกิต แบ่งออกเป็น 

1) วิชาศึกษาทั่วไป                         30 หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ                                  90 หน่วยกิต
     2.1)  วิชาบังคับคณะ                   30 หน่วยกิต
     2.2)  วิชาบังคับเฉพาะ                 24 หน่วยกิต
     2.3)  วิชาบังคับนอกคณะ            3 หน่วยกิต
     2.4)  วิชาเลือก                           12 หน่วยกิต
      2.5)  วิชาโท                              21 หน่วยกิต
    2.5.1) วิชาบังคับ                          9 หน่วยกิต
    2.5.2) วิชาเลือกในกลุ่มวิชา           6 หน่วยกิต
    2.5.3) วิชาเลือกนอกกลุ่มวิชา         6 หน่วยกิต
3)  วิชาเลือกเสรี                                6 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิต                             126 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (ปริญญาโท)
นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต ดังนี้
1. วิชาบังคับ                                                          18 หน่วยกิต
2. วิชาบังคับเลือกกลุ่มวิชา                                     6 หน่วยกิต
3. วิชาเลือกนอกกลุ่มวิชา                                        3 หน่วยกิต
4. วิทยานิพนธ์                                                       12 หน่วยกิต

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง
สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การประกอบอาชีพก็คงจะเน้นๆหลักๆไปในด้านของภาครัฐ อย่างเช่นทำงานเป็นนักการทูต รับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ  ผู้แทนรัฐบาลไทยในต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ หรือในส่วนของเอกชนก็อย่างเช่น ทำงานในบริษัทเอกชน บริษัทข้ามชาติ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล (สำหรับโทบริหารรัฐกิจ) หรือ ทำงานอื่นๆ อันได้แก่ ด้านวารสารศาสตร์  เป็นนักข่าว นักเขียน นักวิจารณ์ นักวิเคราะห์ ด้านเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์การเมืองและการระหว่างประเทศ  และได้ใช้ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์  ศึกษาปัญหา  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการอธิบายและแก้ปัญหาสังคมต่อไป รวมไปถึงวิชาชีพอื่นๆที่มีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และผู้ศึกษาวิชาดังกล่าวมีความรู้และความสนใจ

เรียนโครงการBMIR ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

รวมเบ็ดเสร็จ ประมาณ50,000-60,000บาทต่อเทอมค่าเทอม  และเฉลี่ยรายปีโดยประมาณคิดเป็น  นักศึกษาปริญญาตรี (ชาวไทย) 107,000 บาท นักศึกษาปริญญาตรี (ชาวต่างชาติ) 126,000 บาท     นักศึกษาปริญญาโท (ชาวไทย) 99,000 บาท   นักศึกษาปริญญาโท (ชาวต่างชาติ) 112,000 บาท


ถ้าอยากเข้าโครงการBMIR TUต้องทำอย่างไร
1.       กรณีในประเทศไทย
 1.1 กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมี GPAX > 2.8 (4 เทอม หรือ 6 เทอม) 
  1.2  กรณีสอบเทียบ GED > 2,800 หรือ IGCSE > C (อย่างน้อย 5 วิชา) หรือ IB > 4
(ในกรณีที่ไปแลกเปลี่ยนจะต้องยื่นในผลการเรียนทั้งของไทยและต่างประเทศที่ไปแลกเปลี่ยนด้วย
ในกรณีที่ไม่มีผลการเรียนจากประเทศที่ไปแลกเปลี่ยน จะต้องมีใบรับรองการไปศึกษาจากประเทศที่
ไปแลกเปลี่ยนด้วย)
2.    กรณีในต่างประเทศ
 2.1  กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาในระดับ Grade 12 และมี GPAX > 2.8 (4 เทอม หรือ 6 เทอม) 
และจะต้องมี Letter of Reccommendation จำนวน 3 ฉบับและต้องแนบ Resume หรือ CV ด้วย)
3.       ต้องมีคะแนนสอบ ภาษาอังกฤษ TU - GET  ( 500 คะแนนขึ้นไป ) 
              คะแนนสอบ CU - TEP  60 ขึ้นไป 
              คะแนนสอบ TOEFL  ( 500 (PBT), 60 (iBT), 170 (cBT) คะแนนขึ้นไป 
               คะแนนสอบ IELT  ( 5.5 คะแนนขึ้นไป ) 
               คะแนนสอบ SAT I  ( 50% คะแนนขึ้นไป ใน Part Critical Reading และ Writing ) 

4.    ข้อสอบปรนัยและข้อเขียนเป็นภาษาอังกฤษ  อย่างแรกฝึกทำข้อสอบภาษาอังกฤษบ่อยๆ เน้นการเตรียมอ่านภาคไทยเป็นหลัก ทั้งข้อสอบเก่า ความรู้ทางรัฐศาสตร์ และที่สำคัญอ่านข่าวของ bbc จะทำให้เราคุ้นชินกับพวกคำศัพท์มากขึ้น 


   แนวข้อสอบปรนัย จะเน้น ข่าวมากๆจะมี 5ตัวเลือก  และออกค่อนข้างกว้างเรื่องราวทั้งโลก มีทั้งแนว ประวัติศาสตร์และ กับพวกข่าวที่เป็นปัจจุบันเรื่องที่ออกทุกปีเช่น พวกสงครามต่างๆ ,ข้อพิพาทดินแดน ,lock land,รูปแบบรัฐ ,ประธานาธิบดี ,องค์กรสำคัญต่างๆ ,ระบบเศรษฐกิจ , การเมืองไทย   
ตัวอย่างข้อสอบช้อยส์
1.OIC = Organisation of The Islamic Conference 
2.ถามว่าข้อใดไม่ใช่  IMT – GT เราตอบคู่ที่เป็น มาเลย์-สิงคโปร์  เพราะสิงคโปร์ไม่ใช่  แต่มีข้อไม่ใช่ทั้งหมดด้วย อันนี้ไม่แน่ใจ
3.ซีเกมส์ 25 ตอบ ลาว
4.Folkland War =  UK , Argentina 
5.เรียงลำดับนายก ชาติชาย , อานันท์ , สุจินดา , อานันท์, ชวน
6.พรรคของญี่ปุ่น DPJ
7.ข้ออิสลาม the most populous ตอบอินโดนีเซีย
8.UNHCR = refugess
9.ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ = จอร์จ วอชิงตัน
10.ยูโกสลาเวีย แตกออก ตอบ อุสเบกิสสถาน
11.แผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ = เริ่มตอนสฤษดิ์
12.ประเทศที่ไม่ใช่ EU ตอบ นอร์เวย์ 
13.คดีศิวรักษ์ เราตอบข้อสุดท้าย เรื่องขโมยเอกสารลับ เพราะเค้าบอกว่า โจรกรรมข้อมูลตารางบิน ข้อนี้ไม่กล้าเฉลย
14.ประชุมโลกร้อนจัดที่โคเปนเฮเกน 
15.ถามสนธิสัญญา reduce greenhouse gas ปะ เราตอบ พิธีสารเกียวโต ไม่แน่ใจ
16.OAS = organization of american states 
17.OAU = organization of afican unity 
18.ASEM เราตอบ ASEAN+EU เพราะไม่มี อเมริกา ข้อนี้เราผิด
19.ADB อยุ่ที่ฟิลิปปินส์ 
20.IAEA อยุ่ที่เวียนนา
21.ปธน.USA คนแรก ที่สังกัดริพับลิกัน ตอบ อับราฮัม ลินด์คอน เราผิด
22.asean ministrail summit 42  ตอบไทย
23.ผู้อำนวยการIAEAเป็นคนญี่ปุ่น
24.คอมมิวนิสท์ในไทยเริ่มเมื่อไหร่นั้น ตอบว่า October 1976 
25.saarcคือเอเชียใต้
26.ปธน.USA ที่ไม่โดนฆาตกรรม ตอบคนที่ไม่ใช่ ลินคอน JFK การ์ฟิล แม็คคิลลี่ เพราะ 4 คนนี้โดนฆาตกรรมในตำแหน่งหมด
27.คนที่ไม่อยู่ช่วงสงครามโลก 2 ตอบ JFK
28.ปธน.ช่วงวิกฤตคิวบา ตอบ ครุชอฟ
29.Land lock คือ เช็ก
30.นายกยาวสุด จอมพลปอ
31.ปธน เยอรมันช่วงสงครามเย็น ตอบ ฮอร์สท เคอแลร์  จำไม่ได้ว่าตอบไร
32.WTO ตอบเจนีวา
33.The United Liberation Front of Asom ULFA ตอบ อินเดีย เราผิด
34.ขบวนการพูโล ตอบไทย
35.รัฐเดี่ยว ตอบ ฝรั่งเศส
36.ข้อที่ผิดเกี่ยวกับรัฐและระบอบการปกครอง เราตอบฝรั่งเศส เพราะในนั้นเป็นรูปแบบรัฐสภา แต่ความจริงเป็นระบบกึ่ง
37.IPCC เราตอบ carbon credit ไม่แน่ใจ
38.เรื่ององค์กรที่ไม่อยู่ใน รธน.40 ตอบ เรื่องการอุดมศึกษาอ่า
ส่วนเรียงความ ก็ออกกว้างๆมีสามข้อ ข้อละประมาณ 5-6บรรทัด  อย่างเช่น
  1ให้เปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่างระหว่างการเมืองกับการบริหาร 
  2 อีโบล่าส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไหม 
  3 คิดยังไงกับคำพูดที่ว่า ขณะนั้นประเทศไทยไม่ใช่ทั้งระบบประชาธิปไตยและระบบเผด็จการ 
เป็นการเขียนแสดงความคิดเห็นธรรมดาๆดูว่าเราจะเขียนได้ไหม
การสอบสัมภาษณ์ จะเน้นถามตั้งแต่พื้นๆจนถึงคำถามเชิงรัฐศาสตร์ อาจจะมีการแสดงความเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนั้น  ตอบอย่ามั่นใจ ไม่รู้ก็อย่าแถ

โครงการBMIR เปิดรับสมัครช่วงไหน

ส่วนมากโครงการนี้จะ เปิดรับสมัครช่วง ต้นตุลาคม – กลางธันวาคม โดยต้องยื่นผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ ตัวจริงด้วย และเริ่มสอบมกราคม ส่วนเริ่มสัมภาษณ์เริ่มช่วงมีนาคมโดยการสมัครต้องมี
หลักฐานการสมัครดังต่อไปนี้
1.ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว (ใบสมัครดาวน์โหลดได้จาก https://www.polsci.tu.ac.th/bmir)
2.รูปถ่ายสีหรือขาวดำ ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป (ติดในใบสมัคร 1 รูปและบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ 2 รูป)
3.ใบนำฝากธนาคารที่โอนเงินค่าสมัคร
4.ใบรับรองผลการสอบภาษาอังกฤษตามที่คณะกำหนด จำนวน 1 ชุด

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 2:31:04 น.
Counter : 3700 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



มกราคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
29 มกราคม 2564
All Blog