แนะนำโครงการอังกฤษและอเมริกันศึกษา (BAS TU)
แนะนำโครงการอังกฤษและอเมริกันศึกษา (BAS TU)
 
 
   
  
 
 
สำหรับบทความนี้เราจะมาแนะนำ โครงการ อังกฤษและอเมริกันศึกษา หรือ BAS  ธรรมศาสตร์กัรค่ะ
โครงการBAS คืออะไร แล้วเรียนไปทำไมกัน
 สำหรับโครงการBAS หรืออังกฤษและอเมริกันศึกษานั้นย่อมาจาก  (British and American Studies) เป็นหนึ่งใน4โครงการพิเศษของคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันประกอบไปด้วย 1  โครงการภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ (BEC)
                           2  โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (SEAS)
                           3  โครงการรัสเซียศึกษา (RUSS)
                           4  โครงการ อังกฤษและอเมริกันศึกษา (BAS)
ซึ่งโครงการ BAS  เป็นโครงการหนึ่งในหลักสูตรปริญญาตรีระบบ4ปีที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ หรือจะเรียกสั้นๆว่าเป็นภาคอินเตอร์ของคณะศิลปศาสตร์ก็ได้ โดยดูจากชื่อก็พอน่าจะรู้ว่าเนื้อหาการเรียนส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของอเมริกันและอังกฤษส่วนใหญ่ โดยหลักใหญ่ใจความนั้นมาจาก หลักสูตรดังกล่าวมีความต้องการให้นักศึกษามีความรู้ในเรื่องที่มาจากทั้งสองประเทศนั้นก็คือ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ทั้งในด้าน วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วรรณกรรมต่างๆ เพราะเนื่องจากในช่วง200ปีที่ผ่านมาทั้งสหรัฐอเมริกา และ สหราชอาณาจักรนั้นมีบทบาทสำคัญในทุกๆด้านบนเวทีโลก  ดังนั้นการศึกษาทางด้านอเมริกันและอังกฤษศึกษาจึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นเพื่อที่จะทำให้รู้เท่าทันต่อความเป็นไปในระบบสังคมโลก นั่นเอง ซึ่งด้วยการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษผ่านเจ้าของภาษาโดยตรงจึงทำให้นอกจากนักศึกษาส่วนใหญ่จะได้วิชาความรู้จากผู้สอนแล้วยังจะได้ในเรื่องของภาษา และระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยกระตุ้นระบบวิธีทางการคิดให้กับนักศึกษาให้มีความคุ้นชินเสมือนการเรียนในต่างประเทศนั่นเอง ซึ่งนอกจากจะเรียนในเรื่องของตัวของสองประเทศโดยตรงแล้วนั้น หลักสูตรดังกล่าวยังมีการเชื่อมโยงแขนงวิชาอื่นๆ อย่างหลักสูตรเสริมอื่นๆ อย่างเช่น International Relationship , Politics , and Current situations ของอเมริกาและอังกฤษไปด้วย ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาได้มีความรู้ความเข้าใจทางด้ามภาษาอังกฤษที่มากขึ้นผ่านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศอีกด้วย ซึ่งการเรียนการสอนทั้งหมดนั้นจะมีการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศูนย์ ท่าพระจันทร์ ร่วมกับโครงการ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา หรือ ว่า SEAS นั่นเอง

BAS เรียนอะไรกันบ้าง

อย่างที่บอกในตอนต้น การเรียนการสอนของโครงการนี้ส่วนมากจะเน้นที่เรียนในเรื่องของอังกฤษและอเมริกาแต่ว่า ในแต่ละชั้นปีนั้นก็อาจจะมีวิชาเรียนอื่นๆด้วยเช่นกัน ซึ่ง วิชาของการเรียน Bas นั้นจะมี  135 หน่วยกิต  ซึ่งแบ่งเป็น

วิชาพื้นฐาน  30 หน่วยกิต
วิชาหลัก     93 หน่วยกิต
   แบ่งเป็นวิชาแกนบังคับ 69 หน่วยกิต
               วิชาบังคับเลือก  24 หน่วยกิต
วิชาเลือกเสรี  12 หน่วยกิตซึ่งจะเรียนในคณะหรือนอกคณะก็ได้

และในส่วนของของตัวโครงการก็ยังมีการจำแนกออกไปอีกโดยจะเป็นไปตามชั้นปีดังนี้
โดยปีแรก เทอมหนึ่งจะเน้นเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปเพื่อเป็นการปูพื้นความรู้เบื้องต้นยังไม่ค่อยมีการลงลึกมากนัก วิชาทั่วไปก็จะเป็นวิชาสายสังคมศาสตร์ อย่างปรัชญาพื้นฐาน สังคมวิทยาพื้นฐานหรือทางสายวิทยาศาสตร์อย่าง วิทยาศาสตร์พื้นฐาน (อันนี้รวมทั้ง คอมพิวเตอร์และก็พวกคณิตเบื้องต้นด้วยนะคะ ) ส่วนมากถ้าใครเคยเรียนโรงเรียนไทยมาน่าจะเป็นการคุ้นชิน เพราะวิชาพวกนี้ก็เอามาจากพื้นๆตอนเราแบบความรู้ที่เรียนมาก่อนม6 ปรับใหม่  รวมทั้งมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษเบื้องต้นสำหรับคนที่พื้นฐานอังกฤษไม่แข็งแรงอาจจะต้องเริ่มเรียนตั้งแต่ต้น แต่พอเริ่มเข้าเทอมสอง เนื้อหาวิชาก็เริ่มที่จะเข้าสู่ในด้านของการฝึกหัดทางภาษามากยิ่งขึ้นวิชาส่วนมากก็จะเป็นวิชาที่อยู่ในคณะมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญต้องเตรียมตัวเรื่องการพูดการอ่าน การเขียน เรียกได้ว่าทักษะทางภาษามาเต็ม จะมีเรียน public speaking, reading&writing เน้นพวกการทำงาน ,การเรียนวิชาจริยธรรมพื้นฐานพวกethics แล้วก็มีพวกวิเคราะห์ตัวบทละครจากหนังหรือสื่อต่างๆ และเอามาวิพากษ์กันว่าควรทำอย่างไรถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นโดยเราต้องหา เหตุผลมาสนับสนุนว่าเราควรทำเช่นไร เพราะบางอย่างทางทฤษฏีเราคิดว่ามันดี แต่ในทางปฏิบัติ เราอาจจะทำไม่ได้ก็ได้  หรือวิชาMan and Arts ก็จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับพวกดนตรี หนังเก่าๆ แล้วเอาวิเคราะห์ วิจารณ์ ว่าทำไมเขาแต่งแบบนี้ แล้วทำไมต้องคิดอะไรแบบนี้หรือมีปัจจัยอะไรให้สื่อออกมาแบบนั้นในตัวบทเพลงและหนัง

พอขึ้นปีที่สองหลักสูตรและวิชาก็เริ่มมีความเข้มข้นมาขึ้นเพราะเนื้อหาวิชาส่วนใหญ่เริ่มมีการปูพื้นสู่ตัวของคณะมากยิ่งขึ้น  โดยวิชาส่วนมากที่จะได้เรียนกัน ก็อย่างเช่น introduction to British literature ชื่อตรงตัวมาก เพราะจะเรียนพวกวรรณกรรม ในที่นี้มีทั้งวรรณกรรมยุคเก่า ยุคกลาง ยันวรรณกรรมร่วมสมัย วิเคราะห์ผ่านเหตุการณ์ต่างๆการวิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิดของผู้ประพันธ์ รวมไปถึงวรรณกรรมที่สื่อออกมาเป็นสื่อประเภทอื่นๆ อย่างเช่นหนังละคร    พวกเชคเปียร์  นักกวีมาเต็มๆ แถมหนังสือที่อ่านก็มาเต็มๆด้วยเลยจ้า  

หรืออีกวิชาที่เด็กปี2 BAS ต้องเจอคือ intro to English linguistic ซึ่งวิชานี้ก็จะเรียนพวกรากฐานของคำ การอ่านคำ การสะกดคำ รูปแบบคำ การออกเสียงของคำว่าแต่ล่ะตัวอักษรออกเสียงอย่างไร พูดง่ายๆคือเรียน phonetics ดีๆนี่เองแหละ รวมไปถึงวิชาพวกประวัติศาสตร์อเมริกา – อังกฤษ ดูเหตุการณ์สำคัญๆ ว่าผ่านอะไร มายังไง เกิดขึ้นได้เช่นไร  พอมาเทอมที่สอง ก็เริ่มเรียนพวกวิจัย จะมีresearch writing skill ซึ่งจะเป็นการลงพื้นที่ทำวิจัยจริงๆ แล้วแต่หัวข้อที่เราทำด้วย มีทั้งแจกใบประเมิน ไปสัมภาษณ์คน สอบถามความคิดเห็นต่างๆ ส่วนวิชาอื่นๆก็พวก
intro to Global linguistic เป็นวิชาที่เนื้อหาเริ่มกว้างขึ้นจาก วิชาพื้นฐาน

แล้วก็ Britain/America since 20th ก็เรียนประวติศาสตร์อังกฤษ และ อเมริกาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่20เป็นต้นไป เป็นการเรียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งในช่วงปีสองจะมีการเรียนแบบผสมๆกันไประหว่างการเรียนทางด้านศาสตร์ของภาษา และก็ศาสตร์อย่างพวกรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ 

  มีนอกเรื่องนิด นึงคือเมื่อขึ้นปีที่สามสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศได้ โดยจะมีมหาวิทยาลัยต่างๆทั้งจากอเมริกา อังกฤษ อย่างมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม หรือออสเตรเลีย อย่างมหาวิทยาลัยควีนแลนด์ โดยที่พิเศษตรงที่เราไม่ต้องเสียค่าเทอมเพิ่มค่ะ แต่น้องๆจะต้องมีเกรดเฉลี่ยสะสม  2.7 ขึ้นไปนะคะ ถ้าจะไปประเทศอเมริการู้สึกว่าจะต้องเกรด 3 ขึ้นไปค่ะ ซึ่งตรงนี้ต้องสอบถามทางคณะนะคะ เพราะอาจจะต้องมีการทดสอบเพิ่มเติม  แต่ถ้าใครไม่ได้ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ

และเมื่อปี3 ก็จะเริ่มเข้าสู่ การเลือกเอก หรือเลือกสาย โดยมีอยู่สองสายในหลักสูตร ซึ่งเรียกว่า Tracks แบ่งออกเป็น LCS = Language and cultural studies  และ SS = Social studies ตัวSSจะเรียนเกี่ยวกับ World politics, Economics , international relation ส่วน LCSก็จะเรียนเน้นไปทางภาษาโดยตรง วรรณกรรม Poet, literature , cultural studies , เวลาเรียนของที่ BAS ปีหนึ่งถึงสามก็จะเรียนหนักหน่อย ส่วนใหญ่จะมีเรียนทุกวัน วันละ 2-4 คลาส แต่บางคลาสอาจจะเรียนยาวนานแบบ 3 ชม. การเลิกเรียนก็จะไม่เกินห้าโมง ส่วนการลงเรียนก็เต็มที่ 6 ตัวต่อเทอม ส่วนใหญ่เวลาลงทะเบียนจะดึงจากโควต้ามาได้ ประมาณ 5 วิชา ถ้าอยากจบไวก็ไปดูว่าเค้ามีเปิดสอนอะไรบ้างตามแผนของเรา แล้วลงเพิ่มได้ 
ปี4 วิชาส่วนใหญ่ก็จะเริ่มเป็นวิชาสัมมนา หรือไม่บางคนก็จะเริ่มมาเก็บวิชาเสรี เพื่อเก็บเกรดหรือบางคนอาจจะเลือกฝึกงานโดยส่งเอกสารทางการฝึกงานผ่านคณะเป็นต้น
 
เรียนBAS ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายตกอยู่ประมาณ 50000- 65000บาท หรือประมาณ 130,000 บาทต่อปี

เรียนBAS ทำงานอะไร
เนื่องด้วยการเรียนการสอนของBAS เองเป็นการเรียนการสอนที่เน้นในเรื่องของการศึกษาในเรื่องอเมริกาและอังกฤษ บ่อยครั้งนักศึกษาจากโครงการดังกล่าวก็จะทำงานในองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ องค์กรสหประชาชาติ สถานทูตของประเทศต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นด้วยความเป็นหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ นักศึกษาที่จบจากโครงการนี้จึงสามารถพลิกแพลงในเรื่องการทำงานได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ อย่างล่าม  ครูสอนภาษา พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือเลือกทำงานในบริษัทข้ามชาติ หรือทำงานในต่างประเทศก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสนใจและความถนัดของบุคคลนั้นๆ
 
แล้วถ้าอยากเป็นนักศึกษาโครงการBASต้องทำอย่างไร?
สำหรับผู้ที่สนใจอยากศึกษาต่อเข้าโครงการอังกฤษ- อเมริกันศึกษา จะมีเงื่อนไขในการสมัครสามรูปแบบ

รูปแบบที่1 inter portfolio รีบ30คน

1  กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าและมีผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เช่น GCE, GCSE, IGCSE, IB และ GED) 4 ภาคการศึกษาในระดับ 0 ขึ้นไป หรือเทียบเท่าโดยที่

1.1). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IGCSE, GCSE หรือ GCE ‘A’ level จำนวน 3 วิชา เกรด A*-B หรือ มีผลสอบ Cambridge Pre-U จำนวน 3 วิชา แต่ละรายวิชาเกรดขั้นต่ำ M1 หรือ D1-D3 (ไม่นับรวมผลสอบวิชาภาษาไทยในทุก level)

1.2). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IB ต้องได้ผลคะแนนรวมจาก 5 หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมผ่านการประเมิน EE, TOK และ CAS ตามเกณฑ์ของ IBO หรือได้รับ IBCR อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ำกัน และได้ผลการเรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 3

1.3). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ GED (แบบเก่า)  ต้องมีคะแนนรวมขั้นต่ำ 3,000 คะแนน ต้องสอบ ผ่านอย่างต่ำ 5 รายวิชาไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

1.4). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ GED (แบบใหม่) ต้องมีคะแนนรวมขั้นต่ำ 660 คะแนน ต้องสอบผ่านอย่างต่ำ 4 รายวิชาไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 165 คะแนน

** ผู้สมัครที่จบการศึกษาหรือมีผลสอบเทียบวุฒิ (ครบทุกวิชาของการสอบนั้น) ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2562 อนุโลมให้ใช้เกณฑ์ปีที่แล้วได้

1.5). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบของประเทศนิวซีแลนด์ ต้องสอบผ่าน (NCEA) ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย level 2 หรือสูงกว่าไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิตและ level 1 หรือสูงกว่าไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิตและต้องได้เกรดเฉลี่ยเทียบเท่า 2.75 ตามการคำนวณของ NZQA

1.6). ผู้สมัครซึ่งสถานศึกษาในระดับมัธยมปลายไม่ได้คำนวณผลการเรียนเฉลี่ยไว้ ต้องนำใบรายงานผลการศึกษา และบันทึกผลการเรียนและหลักฐานการศึกษาอื่นๆ ที่แสดงผลสัมฤทธิ์การศึกษาของผู้สมัครว่าเทียบเท่าระดับ 3.00 ในระบบ GPA มายื่นให้โครงการฯ ในวันรับสมัคร

1.7). ผู้สมัครที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมตอนปลายในต่างประเทศหรือในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย ต้องมีผลการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเฉลี่ยสะสม รวม 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00

 
มีผลการสอบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
2.1). IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป หรือ

2.2). TOEFL (iBT) 80 คะแนนขึ้นไป หรือ

2.3). TU-GET (PBT) 550 คะแนนขึ้นไป หรือ (CBT) 70 คะแนนขึ้นไป หรือ

2.4). SAT ระบบเก่า (Critical Reading) 400 คะแนนขึ้นไป หรือ

SAT ระบบใหม่ (Evidence – Based Reading and Writing) 400 คะแนนขึ้นไป

2.5). GSAT 400 คะแนนขึ้นไป

3.เคยเข้าร่วมโครงการศึกษาแลกเปลี่ยน ณ ต่างประเทศ (ไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไป) ในระดับ ม.ปลาย หรือ เคยได้รับรางวัลจากการแข่งขันระดับชาติ หรือ นานาชาติที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ หรือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศอังกฤษหรือประเทศสหรัฐอเมริกา (หากมีคุณสมบัติข้อนี้ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)



รูปแบบที่2 inter admission 1 รับ50คน

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัคร

-กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าและมีผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เช่น GCE, GCSE, IGCSE, IB และ GED) 4 หรือ 6 ภาคการศึกษาในระดับ 2.50 ขึ้นไป หรือเทียบเท่าโดยที่


1.1). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IGCSE, GCSE หรือ GCE ‘A’ level จำนวน 3 วิชา เกรด A*-C หรือ มีผลสอบ Cambridge Pre-U จำนวน 3 วิชา แต่ละรายวิชาเกรดขั้นต่ำ M1 หรือ D1-D3 (ไม่นับรวมผลสอบวิชาภาษาไทยในทุก level)

1.2). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IB ต้องได้ผลคะแนนรวมจาก 5 หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมผ่านการประเมิน EE, TOK และ CAS ตามเกณฑ์ของ IBO หรือได้รับ IBCR อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ำกัน และได้ผลการเรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 3

1.3). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ GED (แบบเก่า)  ต้องมีคะแนนรวมขั้นต่ำ 2,250 คะแนน ต้องสอบ ผ่านอย่างต่ำ 5 รายวิชาไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน

1.4). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ GED (แบบใหม่) ต้องมีคะแนนรวมขั้นต่ำ 660 คะแนน ต้องสอบผ่านอย่างต่ำ 4 รายวิชาไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 165 คะแนน

** ผู้สมัครที่จบการศึกษาหรือมีผลสอบเทียบวุฒิ (ครบทุกวิชาของการสอบนั้น) ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2562 อนุโลมให้ใช้เกณฑ์ปีที่แล้วได้

1.5). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบของประเทศนิวซีแลนด์ ต้องสอบผ่าน (NCEA) ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย level 2 หรือสูงกว่าไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิตและ level 1 หรือสูงกว่าไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิตและต้องได้เกรดเฉลี่ยเทียบเท่า 2.50 ตามการคำนวณของ NZQA

1.6). ผู้สมัครที่สถานศึกษาไม่ได้คำนวณผลการเรียนเฉลี่ยไว้ ต้องนำใบรายงานผลการศึกษา และบันทึกผลการเรียนและหลักฐานการศึกษาอื่นๆ ที่แสดงผลสัมฤทธิ์การศึกษาของผู้สมัครว่าเทียบเท่าระดับ 2.50 ในระบบ GPA มายื่นให้โครงการฯ ในวันรับสมัคร

1.7). ผู้สมัครที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมตอนปลายในต่างประเทศหรือในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย ต้องมีผลการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเฉลี่ยสะสม รวม 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50

 มีผลการสอบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
2.1). IELTS ระดับ 6.0 ขึ้นไป หรือ

2.2). TOEFL (iBT) 61 คะแนนขึ้นไป หรือ

2.3). TU-GET (PBT) 500 คะแนนขึ้นไป หรือ (CBT) 61 คะแนนขึ้นไป หรือ

2.4). SAT ระบบเก่า (Critical Reading) 350 คะแนนขึ้นไป หรือ

SAT ระบบใหม่ (Evidence – Based Reading and Writing) 350 คะแนนขึ้นไป

2.5). GSAT 350 คะแนนขึ้นไป

รูปแบบที่3 inter admission 2 รับ 20 คน

คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัคร

กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าและมีผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เช่น GCE, GCSE, IGCSE, IB และ GED) 4 หรือ 6 ภาคการศึกษาในระดับ 2.50 ขึ้นไป หรือเทียบเท่าโดยที่


1.1). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IGCSE, GCSE หรือ GCE ‘A’ level จำนวน 3 วิชา เกรด A*-C หรือ มีผลสอบ Cambridge Pre-U จำนวน 3 วิชา แต่ละรายวิชาเกรดขั้นต่ำ M1 หรือ D1-D3 (ไม่นับรวมผลสอบวิชาภาษาไทยในทุก level)

1.2). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IB ต้องได้ผลคะแนนรวมจาก 5 หมวดวิชา และอีก 1 วิชาเลือก ไม่ต่ำกว่า 24 คะแนน พร้อมผ่านการประเมิน EE, TOK และ CAS ตามเกณฑ์ของ IBO หรือได้รับ IBCR อย่างน้อย 5 วิชา โดยแต่ละวิชาจะต้องไม่ซ้ำกัน และได้ผลการเรียนในแต่ละวิชา ไม่น้อยกว่าเกรด 3

1.3). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ GED (แบบเก่า)  ต้องมีคะแนนรวมขั้นต่ำ 2,250 คะแนน ต้องสอบ ผ่านอย่างต่ำ 5 รายวิชาไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน

1.4). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ GED (แบบใหม่) ต้องมีคะแนนรวมขั้นต่ำ 660 คะแนน ต้องสอบผ่านอย่างต่ำ 4 รายวิชาไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละวิชาได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 165 คะแนน

** ผู้สมัครที่จบการศึกษาหรือมีผลสอบเทียบวุฒิ (ครบทุกวิชาของการสอบนั้น) ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม 2562 อนุโลมให้ใช้เกณฑ์ปีที่แล้วได้

1.5). ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบของประเทศนิวซีแลนด์ ต้องสอบผ่าน (NCEA) ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต ประกอบด้วย level 2 หรือสูงกว่าไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิตและ level 1 หรือสูงกว่าไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิตและต้องได้เกรดเฉลี่ยเทียบเท่า 2.50 ตามการคำนวณของ NZQA

1.6). ผู้สมัครซึ่งสถานศึกษาในระดับมัธยมปลายไม่ได้คำนวณผลการเรียนเฉลี่ยไว้ ต้องนำใบรายงานผลการศึกษา และบันทึกผลการเรียนและหลักฐานการศึกษาอื่นๆ ที่แสดงผลสัมฤทธิ์การศึกษาของผู้สมัครว่าเทียบเท่าระดับ 2.50 ในระบบ GPA มายื่นให้โครงการฯ ในวันรับสมัคร

1.7). ผู้สมัครที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมตอนปลายในต่างประเทศหรือในหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทย ต้องมีผลการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเฉลี่ยสะสม รวม 4 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.50

 

มีผลการสอบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นใบสมัคร
2.1). IELTS ระดับ 6.0 ขึ้นไป หรือ

2.2). TOEFL (iBT) 61 คะแนนขึ้นไป หรือ

2.3). TU-GET (PBT) 500 คะแนนขึ้นไป หรือ (CBT) 61 คะแนนขึ้นไป หรือ

2.4). SAT ระบบเก่า (Critical Reading) 350 คะแนนขึ้นไป หรือ

SAT ระบบใหม่ (Evidence – Based Reading and Writing) 350 คะแนนขึ้นไป

2.5). GSAT 350 คะแนนขึ้นไป




เอกสารที่ใช้ในการยื่นสมัครรอบ inter porfolio2

-ใบสมัครที่กรอกเรียบร้อยแล้ว พร้อมติดรูปถ่ายขนาด 1.5 นิ้วจำนวน 1 รูป

-สำเนาวุฒิการศึกษา และผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสำเนาใบรับรองและใบเทียบวุฒิต่างๆและผลสอบภาษาอังกฤษตามที่ระบุไว้ด้านบน

-สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นชาวไทย) หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)พร้อมแสดงต้นฉบับในวันสมัคร

-หลักฐานการโอนค่าสมัครสอบเข้าบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จากธนาคาร (ตัวจริง)

-ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนในประเทศไทย ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายในเดือนกรกฎาคม 2563พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00

-ผู้สมัครที่ศึกษาในระบบศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองว่ากำลังศึกษาในภาคสุดท้ายของหลักสูตรมาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย4 ภาคการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00

   * ทั้งนี้ โครงการฯ จะไม่รับสมัครผู้ที่เข้าศึกษาในระบบกศน. ซึ่งไม่จบการศึกษาภายในเดือนกรกฎาคม 2563

-ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษา Grade 12 หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับ Grade 12 ภายในเดือนกรกฎาคม 2563พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00

- ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนในต่างประเทศที่ยังไม่จบการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษา Grade 12 หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับ Grade 12 ภายในเดือนกรกฎาคม 2563พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.00 ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องนำผลการสำเร็จการศึกษา มายื่นที่โครงการฯ ภายในวันแรกของการเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2563 มิฉะนั้นผู้สมัครจะหมดสิทธิการเป็นนักศึกษาของโครงการฯ

-ผู้สมัครที่สอบ GCE, GCSE, IGCSE, IB และ GED ที่ยังไม่ได้รับผลการสอบจะต้องมีใบรับรองว่า ได้เข้าสอบข้อสอบดังกล่าวพร้อมทั้งจดหมายรับรองการเรียนจากสถาบันการศึกษาเดิมอย่างน้อย 1 ฉบับ ทั้งนี้ผู้สมัครจะต้องนำผลสอบมายื่นที่โครงการฯ ภายในวันแรกของการเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2564 มิฉะนั้น ผู้สมัครจะหมดสิทธิการเป็นนักศึกษาของโครงการฯ


- ผู้สมัครที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากระบบการศึกษาที่ไม่ได้คำนวณค่าGPA จะต้องมีจดหมายรับรองการเรียนและความประพฤติจากอาจารย์จากสถาบันการศึกษาเดิม อย่างน้อย 1 ฉบับ
หมายเหตุ: โครงการฯ จะไม่คืนเงินค่าสมัครไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

เงื่อนไขในการสมัคร
ผู้สมัครจะต้องตรวจสอบและรับรองตนเองว่า มีคุณสมบัติตรงตามประกาศการรับสมัครหากมหาวิทยาลัยตรวจสอบในภายหลังและพบว่า ผู้สมัครรายใดมีคุณสมบัติไม่ตรงตามประกาศการรับสมัคร จะถือว่าผู้สมัครรายนั้นขาดคุณสมบัติ ไม่มีสิทธิเข้าศึกษา ในกรณีที่เสียค่าใบสมัครและค่าสมัครสอบแล้วโครงการฯ จะไม่คืนเงินให้

เกณฑ์การคัดเลือกรอบ inter porfolio

คะแนนสัมภาษณ์  

วันสอบข้อเขียน l

***ไม่มีการสอบข้อเขียนสำหรับรอบ Inter Portfolio 2 .ใช้สัมภาษณ์ 100เปอร์เซ็นต์




เอกสารที่ใช้ในการยื่นสมัครรอบ inter admission 1

ใบสมัครที่กรอกเรียบร้อยแล้ว พร้อมรูปถ่ายขนาด 5 นิ้วจำนวน 1 รูป

สำเนาวุฒิการศึกษา และผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสำเนาใบรับรองและใบเทียบวุฒิต่างๆตามที่ระบุไว้ ในข้อ 2 พร้อมแสดงต้นฉบับในวันสมัคร

สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นชาวไทย) หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)พร้อมแสดงต้นฉบับในวันสมัคร

สำเนาผลการสอบภาษาอังกฤษต่างๆ ตามข้อ 4 พร้อมแสดงต้นฉบับในวันสมัคร

หลักฐานการโอนค่าสมัครสอบเข้าบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จากธนาคาร

หนังสือมอบอำนาจของผู้สมัครพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ(กรณีให้ผู้อื่นมายื่นใบสมัครแทน)

ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนในประเทศไทย ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 มาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร

ผู้สมัครที่ศึกษาในระบบศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองว่ากำลังศึกษาในภาคสุดท้ายของหลักสูตรมาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย4 ภาคการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 ทั้งนี้ โครงการฯ จะไม่รับสมัครผู้ที่เข้าศึกษาในระบบกศน. ซึ่งไม่จบการศึกษาภายในเดือนกรกฎาคม 2563

ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษา Grade 12 หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับ Grade 12 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 มาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร

ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนในต่างประเทศที่ยังไม่จบการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษา Grade 12 หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับ Grade 12 ภายในเดือนกรกฎาคม 2563พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 มาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องนำผลการสำเร็จการศึกษา มายื่นที่โครงการฯ ภายในวันแรกของการเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2564 มิฉะนั้นผู้สมัครจะหมดสิทธิการเป็นนักศึกษาของโครงการฯ

ผู้สมัครที่สอบ GCE, GCSE, IGCSE, IB และ GED ที่ยังไม่ได้รับผลการสอบจะต้องมีใบรับรองว่า ได้เข้าสอบข้อสอบดังกล่าวมายื่นในวันที่ยื่นใบสมัครพร้อมทั้งจดหมายรับรองการเรียนจากสถาบันการศึกษาเดิมอย่างน้อย 1 ฉบับ ทั้งนี้ผู้สมัครจะต้องนำผลสอบมายื่นที่โครงการฯ ภายในวันแรกของการเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2564 มิฉะนั้น ผู้สมัครจะหมดสิทธิการเป็นนักศึกษาของโครงการฯ

ผู้สมัครที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากระบบการศึกษาที่ไม่ได้คำนวณค่าGPA จะต้องมีจดหมายรับรองการเรียนและความประพฤติจากอาจารย์จากสถาบันการศึกษาเดิม อย่างน้อย 1 ฉบับ
หมายเหตุ: โครงการฯ จะไม่คืนเงินค่าสมัครไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น


เกณฑ์การคัดเลือก รอบinter admission 1

คะแนนสัมภาษณ์ 100% เรียงตามลำดับ

วันสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์

21 มีนาคม 2564




เอกสารที่ใช้ในการยื่นสมัครรอบ inter admission 2

เอกสารที่ใช้ในการยื่นสมัคร

ใบสมัครที่กรอกเรียบร้อยแล้ว พร้อมรูปถ่ายขนาด 5 นิ้วจำนวน 1 รูป
สำเนาวุฒิการศึกษา และผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือสำเนาใบรับรองและใบเทียบวุฒิต่างๆตามที่ระบุไว้ ในข้อ 2 พร้อมแสดงต้นฉบับในวันสมัคร
สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นชาวไทย) หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)พร้อมแสดงต้นฉบับในวันสมัคร
สำเนาผลการสอบภาษาอังกฤษต่างๆ ตามข้อ 4 พร้อมแสดงต้นฉบับในวันสมัคร
หลักฐานการโอนค่าสมัครสอบเข้าบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จากธนาคาร
หนังสือมอบอำนาจของผู้สมัครพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ(กรณีให้ผู้อื่นมายื่นใบสมัครแทน)
ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนในประเทศไทย ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 มาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร
ผู้สมัครที่ศึกษาในระบบศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองว่ากำลังศึกษาในภาคสุดท้ายของหลักสูตรมาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย4 ภาคการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 ทั้งนี้ โครงการฯ จะไม่รับสมัครผู้ที่เข้าศึกษาในระบบกศน. ซึ่งไม่จบการศึกษาภายในเดือนกรกฎาคม 2564
ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษา Grade 12 หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับ Grade 12 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 มาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร
ผู้สมัครที่ศึกษาในโรงเรียนในต่างประเทศที่ยังไม่จบการศึกษาต้องมีใบรับรองจากโรงเรียนว่ากำลังศึกษา Grade 12 หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับ Grade 12 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564พร้อมทั้งผลการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4 ภาคการศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.50 มาแสดงในวันที่ยื่นใบสมัคร ทั้งนี้ ผู้สมัครจะต้องนำผลการสำเร็จการศึกษา มายื่นที่โครงการฯ ภายในวันแรกของการเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2564 มิฉะนั้นผู้สมัครจะหมดสิทธิการเป็นนักศึกษาของโครงการฯ
ผู้สมัครที่สอบ GCE, GCSE, IGCSE, IB และ GED ที่ยังไม่ได้รับผลการสอบจะต้องมีใบรับรองว่า ได้เข้าสอบข้อสอบดังกล่าวมายื่นในวันที่ยื่นใบสมัครพร้อมทั้งจดหมายรับรองการเรียนจากสถาบันการศึกษาเดิมอย่างน้อย 1 ฉบับ ทั้งนี้ผู้สมัครจะต้องนำผลสอบมายื่นที่โครงการฯ ภายในวันแรกของการเรียนในภาคการศึกษาที่ 1/2564 มิฉะนั้น ผู้สมัครจะหมดสิทธิการเป็นนักศึกษาของโครงการฯ
ผู้สมัครที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากระบบการศึกษาที่ไม่ได้คำนวณค่าGPA จะต้องมีจดหมายรับรองการเรียนและความประพฤติจากอาจารย์จากสถาบันการศึกษาเดิม อย่างน้อย 1 ฉบับ
หมายเหตุ: โครงการฯ จะไม่คืนเงินค่าสมัครไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น

เงื่อนไขในการสมัคร
ผู้สมัครจะต้องตรวจสอบและรับรองตนเองว่า มีคุณสมบัติตรงตามประกาศการรับสมัครหากมหาวิทยาลัยตรวจสอบในภายหลังและพบว่า ผู้สมัครรายใดมีคุณสมบัติไม่ตรงตามประกาศการรับสมัคร จะถือว่าผู้สมัครรายนั้นขาดคุณสมบัติ ไม่มีสิทธิเข้าศึกษา ในกรณีที่เสียค่าใบสมัครและค่าสมัครสอบแล้วโครงการฯ จะไม่คืนเงินให้

เกณฑ์การคัดเลือก

คะแนนสัมภาษณ์ 100% เรียงตามลำดับ

20 มิถุนายน 2564



แนวข้อสอบเก่าแบบกว้างๆ
การสอบข้อเขียน เรียงความเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะข้อสอบBAS ค่อนข้างจะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย บางทีมีข้อสอบแบบปรนัย แต่ตอนนี้เปลี่ยนกลับมาเป็นอัตนัย แต่สิ่งสำคัญก็คือการที่เราต้องเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นข้อสอบเขียนหรือว่าข้อสอบที่เป็นกากบาท
โดยแนวข้อสอบส่วนที่เป็นกากบาทที่เคยออกสอบนั้นส่วนมากจะเน้นการถามแนวความรู้พื้นฐานของอังกฤษ และ อเมริกาตั้งแต่ด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม บันเทิง เช่น  ใครไม่ได้อยู่ในวง the beatles? หรือใครไม่ใช่นักร้องสัญชาติอเมริกัน? แล้วก็มีเรื่องราชวงศ์ สกุลเงิน ภูมิศาสตร์ ดินแดนของแต่ละรัฐเคยเป็นของประเทศใดมา ประธานาธิบดีคนใดไม่ได้เสียชีวิตเพราะถูกลอบฆ่า? นอกจากนี้ก็ยังมีความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ธงชาติ เหตุการณ์และวันสำคัญต่างๆ เช่น วันชาติ แล้วก็ดูเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้าการทูตกับประเทศอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น จีน เป็นต้น
 ส่วนข้อเขียนนั้นจะมีแนวข้อสอบอยู่ประมาณ1-3ข้อโดยแนวข้อสอบมีทั้งเป็นข่าวให้อ่านแล้วเขียนจุดสำคัญของเรื่อง รวมทั้งการแสดงความเห็นทั่วไป หรือบางทีอาจจะให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับสหรัฐอเมริกา และ อังกฤษโดยเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างข้อสอบเก่าก็อย่างเช่น
2011
1) Who is suit for being TIME's 2010 Person of the Year?
2) What do we learn from the history?
2010
1) Does Obama deserve the Nobel Peace Prize?
2) How is the different aspect of the language between British style and American style?
2009
1) What is your opinion toward the slogan “the Obama’s slogan "Change we can believe in"?
2008
1)  What's your opinion of America's current gun control laws?
โดยpart นี้ต้องลองฝึกเขียนมากๆ โดยเฉพาะเรื่องความรู้เชื่อมโยง ถ้าเราอ่านมาก็พอจะรู้และเขียนไปได้ แต่ถ้าเราอ่านมาไม่ตรงก็จะต้องพยายามหาสิ่งที่เรารู้จักและเข้าใจโดยเชื่อมโยงและอธิบายออกมาในมุมมองของเราผนวกเข้ากับความจริงของข้อมูลเพื่อให้ตรงกับประเด็นที่คำถามถามมากที่สุดแต่ในขณะเดียวกันก็ห้ามที่จะลืมความถูกต้องของภาษารวมไปถึงการบริหารเวลาคร่าวๆเพื่อจะได้วางแผนในการตอบข้อสอบได้อย่างถูกต้องและรัดกุมมากที่สุด

ส่วนการสัมภาษณ์ซึ่งส่วนมากจะเป็นการถามทั่วๆไป ตั้งแต่แนะนำตัว จบโรงเรียนอะไรมา ทำไมถึงเลือกเรียนคณะนี้ ถ้าได้ที่นี้แล้วอยากจะลงเรียนไหนสายไหน   เรียนจบแล้วจะประกอบอาชีพอะไร แล้วถ้าไม่ได้อยู่เมืองไทยจะไปอยู่ที่ประเทศไหน แล้วยิ่งถ้าเราตอบคำถามได้ดีอาจจะยิ่งได้คำถามลึกๆ  เช่น คุณมีวิธีการในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างไร ถ้าหากคุณได้เป็นนายกรัฐมนตรี หรือคุณมีมุมมองอย่างไรต่อนโยบายที่ประธานาธิบดีสหรัฐนำออกมาใช้  ซึ่งตรงนี้มันเป็นผลดีกับเราเพราะหนึ่งทางกรรมการเขาต้องเห็นไหวพริบปฏิภาณของเรา สอง มันทำให้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นได้เยอะขึ้น ซึ่งตรงนี้เคล็ดลับที่ต้องมีคือต้องอาศัยความมั่นใจและฉะฉานในการตอบตอบแบบชัดถ้อยชัดคำเสียงดังฟังชัด เพราะอย่างน้อยเขาจะได้เห็นว่าเรามีมุมมองและความคิดทัศนคติอย่างไรต่อการได้เป็นนักศึกษาในโครงการนี้

โครงการBAS ส่วนมาก เปิดรับสมัครตอนไหน?
โครงการส่วนมากจะเปิดรับสมัคร ช่วงตั้งแต่มกราคม-มิถุนายนส่วนการสัมภาษณ์ก็จะเกิดประมาณเดือนมีนาคม- มิถุนายน และประกาศผลภายในเดือนมีนาคม- เมษายน และช่วงต้นเดือนกรกฏาคม
โดยสำหรับปี 64 ตารางจะเป็นดังนี้ค่ะ

รอบinter porfolio 2
รับสมัคร 7 ม.ค. – 5 กพ. 2564
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ 5 มีค. 2564
สอบสัมภาษณ์ 7 มีค. 2564
ประกาศผล 19 มี.ค. 2564
Clearing House 10-11 พ.ค. 2564
ยืนยันสิทธิ์และชำระค่ายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาที่อ็อฟฟิตโครงการ 14-15 มิ.ย. 2564

Inter Admission 1 กำหนดการ
รับสมัคร 1 – 10 มีค. 2564
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ 19 มีค. 2564
สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ 21 มีค. 2564
ประกาศผล 30 เมย. 2564
Clearing House 10-11 พ.ค. 2564
ยืนยันสิทธิ์และชำระค่ายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาที่ออฟฟิศโครงการฯ 14-15 มิ.ย. 2564

Inter Admission 2 กำหนดการ
รับสมัคร 3 พค.- 4 มิ.ย. 2564
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ 18 มิ.ย. 2564
สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ 20 มิ.ย.  2564
ประกาศผล 9 ก.ค. 2564
Clearing House –
ยืนยันสิทธิ์และชำระค่ายืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาที่ออฟฟิศโครงการฯ 15-16 ก.ค. 2564



สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 17:52:01 น.
Counter : 11135 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



มกราคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
29 มกราคม 2564
All Blog