แนะแนวหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์
แนะแนวหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ)คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (JIPP CU)

JIPP | aims.co.th

   สำหรับบทความนี้คราวนี้เราขอเขยิบมาทางด้านของคณะที่มีเนื้อหาการเรียนการสอนที่ถือว่าใกล้ตัวเรามากๆ และเป็นคณะอันดับที่18ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งนั่นก็คือคณะจิตวิทยานั่นเองโดยหลักสูตรที่เราจะมาแนะนำกันในคราวนี้จะเป็นหลักสูตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือจะเรียกว่า (JIPP CU)

   สำหรับคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถือได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาหลักทางจิตวิทยาในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับว่ามีความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสู่ระดับสากล ระดับปริญญาตรี โท และเอก ความพิเศษของคณะนี้นอกจากมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษตลอด ช่วงการศึกษาแล้วนั้น ในเรื่องของการเรียนคนที่เข้าไปศึกษาต่อในคณะนี้ยังได้มีโอกาสในการไปศึกษายังต่างประเทศในมหาวิทยาลัยที่เป็นคู่สัญญากับคณะจิตวิทยาจุฬา อย่าง  The School of Psychology จาก The University of Queensland ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ดีที่สุดของออสเตรเลียด้านการเรียนการสอน และการวิจัยทางจิตวิทยา 

  โดยการศึกษาจะได้รับปริญญาจากทั้ง 2 สถาบัน คือ Bachelor of Science (B.Sc.) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Bachelor of Arts (B.A.) จาก The University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งผู้ที่จะเข้าเรียนคณะจิตวิทยาหลักสูตรนานาชาตินั้นจะต้องเข้ารับการศึกษา ณ คณะจิตวิทยาจุฬา  5 ภาคการศึกษา เวลา 3ปีครึ่ง และศึกษา ณ The University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย จำนวน 3 ภาคการศึกษา อีกหนึ่งปีครึ่ง

   โดยการแลกเปลี่ยนในการไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัย Queenslandนักศึกษาจะต้องไปศึกษาหลังจากจบช่วงปี2 โดยทางUniversity of Queensland ได้จัดการสนับสนุนทั้งทางด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนห้องทดลองทางจิตวิทยา และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้แก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่

   และหลังจากหมด1ปีครึ่ง นักศึกษาจะต้องกลับมาศึกษาต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภาคการศึกษาสุดท้ายช่วงปี5พร้อมกับทำรายงานจบการศึกษา  โดยนักศึกษาในคณะนี้จะจบมาได้วุฒิวิทยาศาสตร์บัณฑิต

  แต่อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์แต่เนื้อหาวิชาทั่วไปนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างศาสตร์อื่นๆ ทั้งอักษรศาสตร์  รัฐศาสตร์ แพทยศาสตร์ โดยเนื้อหาหลักๆในเรื่องของการเรียนก็จะเน้นในเรื่องของ "จิตใจมนุษย์" ทั้ง กระบวนการของจิต , กระบวนความคิด, รวมไปถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ผ่านการมองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะรวมอยู่ในเนื้อหาอย่างเช่น การศึกษากระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์ , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  นอกจากนี้ยังศึกษาในเชิงการประยุกต์ใช้ความรู้ทางจิตวิทยากับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (อย่างเช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น)

   หรือถ้าใครสนใจในด้านของการศึกษาในส่วนของวิทยาศาสตร์ ในร่างกายของคนเรา ทางคณะจิตวิทยาก็ได้มีสอนในส่วนของ การศึกษาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลที่มีความเกี่ยวพันกับขั้นตอนของระบบประสาท หรือองค์ความรู้ในสาขา Behavioral Neuroscience อีกด้วย

   กล่าวโดยสรุปเนื้อหาของการเรียนในทางจิตวิทยาหลักสูตรนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนในศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ ปัญญา กระบวนการทางปัญญาของพฤติกรรมนั้นๆนั่นเอง ซึ่งตัวหลักสูตรนั้นมีระบบการศึกษาแบบทวิภาค 1เทอม 2ปีการศึกษาโดยต้องศึกษาทั้งหมด 5ปี  โดยนักศึกษาจะต้องศึกษาหน่วยกิตทั้งหมด 125หน่วยกิต โดยในแต่ละเทอมนั้นนักศึกษาจะต้องลงหน่วยกิตอย่างต่ำ9หน่วยกิต แต่ไม่เกิน22หน่วยกิต และเมื่อไปเป็นนักเรียนที่มหาวิทยาลัยQueenland แล้วนักศึกษาสามารถที่จะนำหน่วยกิตมาเทียบโอนได้ ซึ่งภาคการศึกษาจะเริ่มภาคการศึกษาที่1เริ่มเดือน สิงหาคม – ธันวาคม ภาคการศึกษาที่2 มกราคม – พฤษภาคม ภาคการศึกษาฤดูร้อนเริ่มเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 

หลักสูตรJIPP จุฬาเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
  สำหรับหลักสูตรของJIPP จุฬานั้น จะเรียนกันที่125หน่วยกิต แบ่งเป็นหน่วยกิตที่เรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 95 หน่วยกิต และเรียนวิชาเฉพาะที่มหาวิทยาลัย Queen land ประเทศออสเตรเลีย30  หน่วยกิต แบ่งเป็น

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                                  30 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                                                    3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                                                    3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                           3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสหศาสตร์                                                                        3 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ                                                           12 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ                                                      6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ                                                                          89 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาบังคับ                                                                             74 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเลือก                                                                              15 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                        6 หน่วยกิต


จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านจิตวิทยาการประกอบอาชีพจะสามารถประกอบอาชีพทาง ด้าน จิตวิทยาได้ เช่น นักวิจัยและประเมินผลทางจิตวิทยาทางานในหน่วยงานราชการและเอกชน, บุคลากรคุมประพฤติ, บุคลากรด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ , บุคลากรด้านการบริการการปรึกษาทางจิตวิทยา, บุคลากรด้านการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะทางจิต, บุคลากรด้านพัฒนาการมนุษย์, บุคลากรด้านการศึกษา, บุคลากรด้านการปรับพฤติกรรม การช่วยเหลือและบาบัดทางคลินิก , บุคลากรด้านสังคมสงเคราะห์และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ, บุคลากรด้านการบริหารธุรกิจ อุตสาหกรรม และองค์กร, บุคลากรด้านการบริการ, บุคลากรด้านการสื่อสารมวลชน, บุคลากรด้านการตลาด, บุคลากรด้านวัฒนธรรม, บุคลากรด้านการท่องเที่ยวและกีฬา, บุคลากรด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


เรียนโครงการJIPPใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

สำหรับค่าใช้จ่ายในภาคการเรียนทั่วไปที่จุฬาจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นในส่วนของตัวหลักสูตรคณะจิตวิทยาสำหรับนักศึกษาไทย 60,000 บาท และ นักศึกษาต่างชาติ 80,000บาท และสำหรับค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัย 21,000 บาท สำหรับนักศึกษาไทย และ 65,500บาท สำหรับนักศึกษาต่างชาติ รวมทั้งสิ้น 81,000 บาทต่อเทอม และตกปี 162,000บาท สำหรับนักศึกษาไทย และรวมทั้งสิ้น 145,500 บาทต่อเทอม และตกปี 291,000 บาท   สำหรับนักศึกษาต่างชาติ    และนักศึกษาจะต้องจ่ายค่าการศึกษาระหว่างศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยควีนแลนด์ เฉลี่ยเทอมละ ประมาณ   AUD$ 12,xxx    หรือประมาณราวๆสามแสนกว่าบาทต่อ

 ถ้าอยากเข้าโครงการJIPP ต้องทำอย่างไร
1. ต้องมีผลคะแนนดังกล่าว
ต้องมีคะแนนผลการเรียน The International Baccalaureate Diploma (IB)ไม่ต่ำกว่า28 ตามระบบของinternational Baccalaureate Organization 
หรือในกรณีที่มีผลคะแนน The Advance Placement Program (AP)ต้องไม่ต่ำกว่าrank ที่70 ตามมาตรฐานของ The College Board
2. แต่ในกรณีที่ไม่มีผลการศึกษาข้างต้น จะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
2.1 จบมัธยมศึกษาปีที่6 หรือเทียบเท่า
2.2 มีผลสอบภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้     

TOEFL  
ในส่วน Paper-based  ไม่ต่ำกว่า570 หรือ ในส่วน Internet –based ไม่ต่ำกว่า 88
 IELTS 
ไม่ต่ำกว่า6.5 หรือ
CU-TEP ไม่ต่ำกว่า91

2.3 มีคะแนนสอบวัดความสามารถทางการสื่อสารทางอังกฤษและคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดย

CU-AAT (Verbal Section + Math Section) ไม่ต่ำกว่า 950
SAT I (Critical Reading + Math Section) ไม่ต่ำกว่า 950
โดยการยื่นนั้นจะต้องยื่นผลคะแนนที่มาจากครั้งเดียวกันและต้องไม่เกิน2ปี นับถึงวันสุดท้ายของการสมัคร โดยโครงการนั้นจะนักเรียนทั้งหมด60คนต่อปี

โครงการJIPPเปิดรับสมัครช่วงไหน

ส่วนมากโครงการนี้จะ เปิดรับสมัครช่วง มกราคม โดยต้องยื่นผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ ตัวจริงด้วย ประกาศผู้มีสิทธ์สัมภาษณ์ ช่วงปลายกุมภาพันธ์ และสอบสัมภาษณ์ปลายกุมภาพันธ์ต้นมีนาคม  ประกาศผลปลายมีนาคม
         หลักฐานการสมัคร ดังต่อไปนี้
       หลักฐานการสมัคร
       1.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้วจำนวน 3 รูป
       2.ใบรายงานผลการศึกษา(Transcripts)
       3.ผลการทดสอบตามคุณสมบัติที่มหาวิทยาลัยกำหนด
       4.ใบรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียนจากสถานศึกษา(เฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาอยู่)
       5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง(กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
       ผู้สมัครต้องยื่นหลักฐานประกอบการสมัครครบทุกข้อ มิฉะนั้นคณะนิเทศศาสตร์จะไม่รับพิจารณาการสมัครไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 31 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 2:02:18 น.
Counter : 19369 Pageviews.

1 comment
แนะแนวหลักสูตร นิเทศศาสตร์ สาขาจัดการการสื่อสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Commarts CU)
แนะแนวหลักสูตร นิเทศศาสตร์
สาขาจัดการการสื่อสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Commarts CU)
The Faculty of Communication Arts | Chulalongkorn University
   หลังจากที่จากที่เราแนะนำหลักสูตรในด้านของวิชาต่างๆจุฬามาแล้วหลายๆหลักสูตรบทความนี้ขออนุญาตแนะนำคณะนิเทศศาสตร์ สาขาจัดการการสื่อสาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ(Commarts CU)กันบ้าง   แม้เราจะเคยแนะนำในเรื่องของคณะที่มีความคล้ายคลึงกัน อย่างBJM ธรรมศาสตร์มาแล้วแต่ว่าในหลักสูตร Commarts ของจุฬานั้นจะมีความแตกต่างกับBJM ตรงที่หลักสูตรของธรรมศาสตร์นั้นส่วนมากจะ เน้นเรื่องเกี่ยวกับการทำเนื้อหาของสื่อมวลชน การเขียนข่าว เน้นการวิเคราะห์แบบนักเขียน  จรรยาบรรณสื่อมวลชน เพื่อการผลิตผลงานทางด้านวารสาร ส่วน Com Art   มันคือ  Communication Arts   ซึ่งก็คือ  คณะ นิเทศศาสตร์ ภาคอินเตอร์นี่แหละค่ะ

    ตัวหลักสูตร เน้นเรียนเกี่ยวกับการบริหารสื่อ เป็นหลักสูตรที่สอนให้สามารถใช้สื่อไปทำธุรกิจได้ ซึ่ง Communication Management นั้นจะพบว่าเป็นการนำคำ 2 คำมารวมกัน คือ Communication ซึ่งหมายถึงการติดต่อสื่อสาร ส่วนคำว่า Management หมายถึงการบริหารจัดการ เมื่อมารวมกัน จึงหมายถึงหลักที่เรียนด้านการบริหารและการจัดการสื่อ โดยเฉพาะวิชาด้านการตลาดและเรื่องสื่อต่างๆ นิสิตจะมีโอกาสเลือกเรียนวิชาเสรีเกี่ยวกับสื่อที่สนใจในปีที่ 4 เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการภาพนิ่งและภาพยนตร์ การผลิตรายการโทรทัศน์และการผลิตรายการวิทยุ ซึ่งมีผลเป็นอย่างมากต่อวงการสื่อมวลชน ทำให้หลักสูตรนี้ผลิตบัณฑิตที่สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ดีและยังสามารถผลิตและบริหารสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย  แต่ว่าการเลือกเอกจะมีการเลือกเพียงสาขาเดียวคือ communication management หรือการจัดการการสื่อสาร โดยจะเรียนรวมๆเกี่ยวกับสื่อต่างๆดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

หลักสูตรCommarts จุฬาเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

สำหรับหลักสูตรของCommarts จุฬานั้น จะเรียนกันที่130หน่วยกิต ประกอบไปด้วย วิชาศึกษาทั่วไป40หน่วยกิต  วิชาแกนหลัก 84หน่วยกิต แบ่งเป็นวิชาทางพื้นฐานทางวิชาชีพ  27หน่วยกิต และ วิชาเอก 57 หน่วยกิต ซึ่งมีทั้งวิชาบังคับเอก 36 หน่วยกิต และวิชาเลือกเอก 21หน่วยกิต ที่เหลือจะเป็นวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

1. วิชาศึกษาทั่วไป                                                                          40 หน่วยกิต  

A) Social Science                                                                          12 หน่วยกิต  

B) Humanities                                                                           8 หน่วยกิต  

C) Science/Mathematics                                                                6 หน่วยกิต  

D) Interdisciplinary                                                                3 หน่วยกิต  

E) Language Courses                                                               6 หน่วยกิต  

F) General Education Elective                                                     5 หน่วยกิต  

2. วิชาแกนหลัก                                                                           84หน่วยกิต

2.1 วิชาทางพื้นฐานทางวิชาชีพ                                                    27หน่วยกิต

2.2 วิชาเอก                                                                                   57 หน่วยกิต

วิชาบังคับเอก                                                                               36 หน่วยกิต   

  วิชาเลือกเอก                                                                                 21หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                                              6 หน่วยกิต

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 31 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 0:51:59 น.
Counter : 5147 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการ ศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (E.B.A. CU)
แนะแนวโครงกาศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(E.B.A. CU)

EBA, The Bachelor of Arts Program in Economics, Chulalongkorn University

    หลังจากที่เราแนะนำคณะเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาแล้วคราวนี้เราขอย้ายมาฝั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกันบ้าง สำหรับหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  หรือ(E.B.A. CU) นั่นเอง  โดยE.B.Aนั้นย่อมาจาก Bachelor of  Art Program in Economics หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า เศรษฐศาสตร์อินเตอร์จุฬา 

    โดยความต่างข้อหนึ่งที่ชัดเจนคือ ของEBA และ BEของธรรมศาสตร์คือ เมื่อจบการศึกษาบัณฑิตของโครงการ EBA จะได้รับ ศิลปะศาสตร์บัณฑิต ส่วนบัณฑิตที่จบการศึกษาจากโครงการBE นั้นจะได้รับปริญญา เศรษฐศาสตร์บัณฑิต  ซึ่งหลักสูตร EBA นั้นเปิดรับนิสิตครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 โดยในหลักสูตร จะเน้นสอนความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ  ในภาพกว้างซึ่งเราจะต้องเรียน และวิเคราะห์ว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจนั้นมีปัจจัยอะไรบ้าง โดยการวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆนั้น ก็จะมาจากการเรียนในเนื้อหาวิชาต่างๆตลอด 4ปี ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ ทฤษฎีทางเศรษฐกิจ การเงิน สถิติ แม้กระทั่งสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ 

     นอกจากนี้ทางคณะเศรษฐศาสตร์ยังได้มีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประทศโดยนักศึกษาสามารถที่จะเลือกไปเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศในช่วงปีสามหรือช่วงปี4ได้ ซึ่งหลักสูตรEBA จะมีการเรียนการสอนแบบ124  หน่วยกิต ในระบบการสอนแบบทวิภาค1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ และเปิดภาคฤดูร้อนเฉพาะรายวิชาเท่านั้น ซึ่งวิชาที่เปิดนั้นนักศึกษาจะต้องผ่านวิชาบังคับก่อนซึ่งนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไปจะสามารถเรียนวิชาภาคฤดูร้อนของคณะได้ ซึ่งการเรียนการสอนจะเป็นไปตามหลักสูตรดังนี้ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน ภาคการศึกษาที่ 2 เริ่ม เดือนมกราคม – เมษายน ภาคฤดูร้อน เริ่มเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม โดยนิสิตต้องเรียนวิชาทั้งหมดอย่างน้อย7เทอม และต้องลงต่อเทอมในภาคปกติไม่เกิน22หน่วยกิต และในการเรียนภาคฤดูร้อนไม่เกิน 7หน่วยกิต รวมทั้งเกรดเฉลี่ยในการจบการศึกษาต้องไม่ต่ำกว่า2.00 โดยการเรียนการสอนทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นที่  คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


หลักสูตร EBA จุฬาเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

โดยEBA จุฬา. ผู้เรียนจะต้องเรียนทั้งหมด 124 หน่วยกิต
โดยนักศึกษาจะต้องศึกษาวิชาทั่วไป 30  หน่วยกิต

โดยจะแบ่งออกเป็นวิชาบังคับ 24หน่วยกิต

วิชาเฉพาะ 6 หน่วยกิต   

ส่วนที่สองเป็นวิชาแกนหลัก 85 หน่วยกิต

  ซึ่งแบ่งเป็นวิชาแกนหลักทางด้านเศรษฐศาสตร์ 35หน่วยกิต 

วิชาบังคับ 24หน่วยกิต

วิชาเลือก 6 หน่วยกิต 

และวิชาเลือกเสรี อีก9 หน่วยกิต 

 ซึ่งแบ่งคร่าวๆดังนี้
1.  วิชาศึกษาทั่วไป                                                                      30  หน่วยกิต
แบ่งออกเป็น
  • วิชาบังคับ                                                                               24  หน่วยกิต
  • วิชาบังคับเลือก                                                                         6  หน่วยกิต
  2. วิชาแกนหลักทางเศรษฐศาสตร์                                             85 หน่วยกิต
  2.1) วิชาพื้นฐาน                                                                        35  หน่วยกิต
  2.2) วิชาบังคับ                                                                          24  หน่วยกิต
  2.3) วิชาเลือก                                                                           26  หน่วยกิต
  3. วิชาเลือกเสรี                                                                           9  หน่วยกิต
วิชาเรียนรวมทั้งหมด                                                                 124 หน่วยกิต
วิชาศึกษาทั่วไป                                                                              24 หน่วยกิต 

นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีโอกาสการไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ นักเรียนของหลักสูตร EBA ได้เช่นกันเพราะเนื่องจาก จุฬาลงกรณ์และหลักสูตร EBA ได้มีข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในหลายๆประเทศในการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Program) ระหว่างกัน ในปีการศึกษาหนึ่งจะมีนักเรียนของหลักสูตรไปเรียนที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญา และในขณะเดียวกันก็จะมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญาส่งนักเรียนมาเรียนที่หลักสูตรปี เช่นเดียวกัน โดยมหาวิทยาลัยที่มีการแลกเปลี่ยนอย่างเช่น

Australia
• University of Queensland

Austria
• WU Wien (Vienna University of Economics and BusinessAdministration)

Belgium
• KU Leuven (University of Leuven)

Denmark
• Copenhagen Business School
• University of Copenhagen

Finland
• Aalto University

France
• Groupe ESC Troyes
• IESEG-School of Management
• Universite Paris-Dauphine

Germany

• Goethe University Frankfurt AM Main
• Hamburg University of Applied Sciences
• University of Applied Sciences, Bremen
• University of Mannheim

Hong Kong
• City University of Hong Kong

Italy

• Bocconi University
• Luiss University

Japan

• Meiji University
• Osaka University of Economics and Law
• Saitama University
• University of Toyama
• Waseda University
• Yokohama University

The Netherlands

• Tilburg University
• Utrecht School of Economics
• Universiteit van Amsterdam
• Vrije Universiteit Amsterdam

New Zealand

• Victoria University of Wellington
Norway
• BI Norwegian Business School
• University of Oslo

Singapore

• Nanyang Technological University
• National University of Singapore
• Singapore Management University

Spain

• Universidad Carlos III de Madrid
• Universitat Pompeu Fabra
Sweden
• Jonkoping International Business School
• Stockholm University

Switzerland

• University of Bern
• University of St. Gallen
• University of Zurich

Turkey

• Koc University

รวมไปถึงในแง่ของ การให้ทุนเองนั้นทางคณะก็ได้มีการมอบทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดี โดยจะแจกทุนการศึกษาเทอมละ 60,000บาท สำหรับภาคปกติ และ 30,000บาทสำหรับภาคฤดูร้อนซึ่งผู้ที่ขอรับทุนนั้นจะต้องไม่มีการบันทึกในเรื่องของพฤติกรรมที่เสื่อมเสีย และต้องมีเกรดเฉลี่ยจากสถานศึกษาที่จบมา 3.50ขึ้นไปโดยเปิดรับสมัครสองรอบคือตอนเริ่มต้นสมัครเข้าเรียนเป็นครั้งแรก และหลังจากจบปีหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในวิชาชีพหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ E.B.A. นั้น สามารถนความรู้ที่ได้จากภาควิชานี้ไปใช้ในการทำงานได้อย่างกว้างขวางอย่างเช่น งานในด้านการเงินและธนาคาร อาทิ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย  พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย,พนักงานธนาคารพาณิชย์  ที่ปรึกษาการลงทุน นักวิเคราะห์นโยบาย นักวิเคราะห์การขาย นักวิเคราะห์การลงทุน นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ข้าราชการ นักการเมือง หรือ ประกอบอาชีพอิสระ

เรียนโครงการ E.B.Aจุฬา  ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

นักศึกษาโครงการEBA มีค่าใช้จ่ายประมาณเฉลี่ย 87000บาท สำหรับภาคเรียนปกติ คิดเป็น 174,000 บาท ต่อปี  ส่วนภาคฤดูร้อนจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 40,250 บาท
ถ้าอยากเข้าโครงการEBA CUต้องทำอย่างไร

  1.       ต้องจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 3.25

2.       นักเรียนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง เกณฑ์การคัดเลือกการสอบตรงคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นานาชาติ) 

นักเรียนจะต้องมีผลคะแนนตามเกณฑ์จำนวน 2 ใน 3 ข้อ ด้านล่างนี้

1.   เกรดเฉลี่ยรวม (GPAX)  3.25   25 %

2.       มีผลคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้    35%
       ผลคะแนน CU - TEP ตั้งแต่ 83 คะแนนขึ้นไป หรือ
       ผลคะแนน TOEFL ตั้งแต่ 560 คะแนนขึ้นไป ( PBT > 560 | IBT > 83 ) หรือ
       ผลคะแนน IELTS ตั้งแต่ 6.5 คะแนนขึ้นไป หรือ
       ผลคะแนน SAT ( Critical Thinking ) ตั้งแต่ 400 คะแนนขึ้นไป

3.    มีผลคะแนนคณิตศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้    40%
        ผลคะแนน CU - AAT ( Math ) ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน  หรือ
        ผลคะแนน SAT I (Math) ไม่ต่ำกว่า 630 คะแนน  หรือ
        ผลคะแนนสอบ A - Level เกรด A หรือ 
        คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศออสเตรเลีย เกรด A หรือ 
        คะแนนมาตรฐานอื่นๆที่เป็นที่ยอมรับ ในวิชาคณิตศาสตร์ เกรด A
        * หากยื่นคะแนน SAT I (Math) และ SAT I (Critical Reading) พร้อมกัน จะต้องใช้ผลสอบที่มาจาก  การสอบในครั้งเดียวกันเท่านั้น
        ** ผลคะแนนที่ใช้ยื่นจะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี

4.    สำหรับผู้สมัครที่ไม่ใช่สัญชาติไทยและมีถิ่นพำนักในต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 5 ปี ที่สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในต่างประเทศ โดยผู้สมัครจะต้องยื่นเอกสารตาม 

หัวข้อคุณสมบัติต่อไปนี้
    - ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับชั้น ม.ปลาย 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.25 โดยต้องมีใบ Transcript มาแสดง
    -จดหมาย Recommendation จากผู้สอน 2 คนจากสถาบันที่สำเร็จการศึกษาพร้อมลายเซ็น หรือ
    -   มีคะแนนสอบผ่านตามหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งดังนี้
       ผลคะแนน SAT I (Math) ไม่ต่ำกว่า 640 คะแนน หรือ
       ผลคะแนน CU - AAT ( Math ) ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน หรือ
- ผลคะแนนสอบ A - Level หรือ คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศออสเตรเลีย หรือ 
            คะแนนมาตรฐานอื่นๆที่เป็นที่ยอมรับ ในวิชาคณิตศาสตร์ เกรด A
        * หากยื่นคะแนน SAT I (Math) และ SAT I (Critical Reading) พร้อมกัน จะต้องใช้ผลสอบที่มาจาก  การสอบในครั้งเดียวกันเท่านั้น
        ** ผลคะแนนที่ใช้ยื่นจะต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี
โครงการEBA CU เปิดรับสมัครช่วงไหน
เปิดรับสมัครช่วงเดือนมกราคม  ประกาศผู้มีสิทธิสัมภาษณ์ต้นกุมภาพันธ์  สัมภาษณ์ ปลายกุมภาพันธ์-มีนาคม โดยในแต่ละปีจะรับนักศึกษาประมาณ 150 คน และจะประกาศผลช่วงปลายๆมีนาคม

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 31 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 0:33:06 น.
Counter : 12682 Pageviews.

0 comment
แนะแนวหลักสูตรโครงการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ  สิรินธร   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SIIT TU)
แนะแนวหลักสูตรโครงการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ  สิรินธร   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(SIIT TU)

SIIT ADMISSION

   หลังจากที่เราแนะนำโครงการเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์มาหลายโครงการก็มาถึงอีกหนึ่งโครงการสำคัญ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งนั่นก็คือ โครงการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ   สิรินธร   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ(SIIT TU) ซึ่งเป็นหนึ่งในสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก โดยทำการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งการเรียนการสอนทั้งหมดจะเป็นหลักสูตรนานาชาติทุกหลักสูตร  และด้วยความเป็นเป็นโครงการที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ อาจจะทำให้มีความเข้าใจผิดว่าโครงการของSIIT นั้นจะมีความคล้ายคลึงกับโครงการวิศวกรรมนานาชาติ อย่างTEP/TEPE 

  ซึ่งความจริงแล้วโครงการSIITนั้นจะไม่ได้เป็นโครงการที่มีการเรียนการสอนแค่เรื่องของวิศวกรรมศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะถึงแม้โครงการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ        สิรินธร นั้นจะเปิดในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ อย่า
งหลักสูตรวิศวกรรมเคมี 

วิศวกรรมโยธา 

วิศวกรรมการสื่อสาร

  วิศวกรรมอุตสาหการ 

วิศวกรรมเครื่องกล

และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

    แต่ว่าในหลักสูตรของโครงการนี้ยังมีในเรื่องการเรียนในเรื่องของการเทคโนโลยีการจัดการสารสนเทศอย่างภาควิชา

เทคโนโลยีสารสนเทศ ,

การจัดการวิศวกรรม,

เทคโนโลยีการจัดการ           

    ซึ่งผู้ที่ศึกษาในโครงการนี้จึงไม่ได้เรียนแค่เรื่องของวิศวกรรมแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็นการผสานเรื่องการจัดการทางเทคโนโลยีอันเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้ที่จบจากโครงการนี้มีบัณฑิตที่จบการศึกษาในลักษณะสองแบบ    คือผู้ที่จบการศึกษาในลักษณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต และ วิทยาศาสตร์บัณฑิต

     โดยการเรียนการสอนของโครงการนี้จะแบ่งออกเป็นสองวิทยาเขต คือวิทยาเขตการศึกษา ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และสวนอุตสาหกรรมบางกะดี  ซึ่งภาควิชาที่ดำเนินการเรียนการสอนที่ศูนย์บางกะดี ได้แก่
ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์

ภาควิชาเทคโนโลยีการจัดการ

ภาควิชาการสื่อสาร 

ส่วนของทางวิทยาเขตรังสิตก็จะมีการเรียนการสอนในหลักสูตรของวิศวกรรมเคมี 

วิศวกรรมโยธา 

วิศวกรรมการสื่อสาร

  วิศวกรรมอุตสาหการ 

วิศวกรรมเครื่องกล

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คนเข้าใจผิดว่าโครงการนี้เป็นโครงการวิศวกรรมภาคอินเตอร์เหมือนกับ โครงการTEP และTEPEด้วย

    โดยทั้ง9ภาควิชานั้นจะ ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค  โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ  1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์  และแบ่งเป็น วิชาบรรยาย (ภาคทฤษฎี) , วิชาฝึกหรือทดลอง (ภาคปฏิบัติ) 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ,การฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม (ภาคฝึกงานอาชีพ) ใช้ โดยแบ่งภาคทางการเรียนการสอนออกเป็น ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม –  พฤศจิกายน  ภาคการศึกษาที่ 2เดือนมกราคม –พฤษภาคม  ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 


   หลักสูตรฺ SIIT TUเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
สำหรับหลักสูตรของ SIIT TU นั้น จะแบ่งออกเป็นย่อยๆ  9ภาควิชา ซึ่งแต่ละภาคจะมีการเรียนเหมือนกันในส่วนของวิชาศึกษาทั่วไป30หน่วยกิต   และจะเรียนแตกต่างกันเมื่อนักศึกษาแต่ละภาควิชาเริ่มลงเรียนในวิชาเฉพาะ ซึ่งแต่ละภาควิชาแบ่งออกดังนี้

วิศวกรรมเคมี 147 หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                              30   หน่วยกิต

  1.1 ส่วนที่1                                                 21   หน่วยกิต

  1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                          2   หน่วยกิต

  1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                           5   หน่วยกิต

  1.1.3 วิชาทางภาษา                                     9   หน่วยกิต

  1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์     5   หน่วยกิต

  1.2 ส่วนที่2                                                  9   หน่วยกิต

2. วิชาแกน                                                     111   หน่วยกิต

  2.1 วิชาแกนบังคับ                                          96   หน่วยกิต

  2.2 วิชาบังคับเลือก                                        12   หน่วยกิต

  2.3 วิชาเลือกทางวิชาชีพ                                3   หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                 6   หน่วยกิต

  รวมทั้งหมด                                                             147   หน่วยกิต

วิศวกรรมโยธา  150 หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                                30   หน่วยกิต

  1.1 ส่วนที่1                                                  21   หน่วยกิต

  1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                           2   หน่วยกิต

  1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                           5   หน่วยกิต

  1.1.3 วิชาทางภาษา                                    9   หน่วยกิต

  1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์      5   หน่วยกิต

  1.2 ส่วนที่2                                                    9   หน่วยกิต 
          
2. วิชาแกน                                                              114    หน่วยกิต       
                           
  2.1 วิชาแกนบังคับ                                          93   หน่วยกิต         
                         
       2.1.1 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์      21   หน่วยกิต

       2.1.2 วิชาทางวิศวกรรมโยธา                          61   หน่วยกิต

       2.1.3 วิชาที่ไม่ใช่ทางวิศวกรรมโยธา                11   หน่วยกิต

  2.2 วิชาบังคับเลือก                                         18   หน่วยกิต

 2.3 วิชาเลือกทางวิชาชีพ                                   3   หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                 6   หน่วยกิต

  รวมทั้งหมด  150   หน่วยกิต

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 150 หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                                    36   หน่วยกิต

     1.1 ส่วนที่1                                                  21   หน่วยกิต

           1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                      2   หน่วยกิต

            1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                5   หน่วยกิต

            1.1.3 วิชาทางภาษา                              9   หน่วยกิต

             1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   5   หน่วยกิต  
                                  
    1.2 ส่วนที่2                                                    15   หน่วยกิต

 2. วิชาแกน                                                       108   หน่วยกิต

      2.1 วิชาแกนบังคับ                                          87   หน่วยกิต

      2.2 วิชาบังคับเลือก                                         18   หน่วยกิต

       2.3 วิชาเลือกทางวิชาชีพ                                3   หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                     6   หน่วยกิต               

  รวมทั้งหมด  150   หน่วยกิต                 

วิศวกรรมการสื่อสาร  150 หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                                      30   หน่วยกิต

   1.1 ส่วนที่1                                                        21   หน่วยกิต

       1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                            2   หน่วยกิต

        1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                           5   หน่วยกิต

        1.1.3 วิชาทางภาษา                                     9   หน่วยกิต

         1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   5   หน่วยกิต

   1.2 ส่วนที่2                                                       9   หน่วยกิต
                                    
2. วิชาแกน                                                         114   หน่วยกิต 
                                  
    2.1 วิชาแกนบังคับ                                          108   หน่วยกิต
                                    
    2.2 วิชาเลือกทางวิชาชีพ                                   6   หน่วยกิต 
               
3. วิชาเลือกเสรี                                                    6   หน่วยกิต                 

รวมทั้งหมด  150   หน่วยกิต                 

วิศวกรรมอุตสาหการ 150 หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                                      30   หน่วยกิต

  1.1 ส่วนที่1                                                  21   หน่วยกิต

        1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                      2   หน่วยกิต

       1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                       5   หน่วยกิต

       1.1.3 วิชาทางภาษา                                  9   หน่วยกิต

      1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  5   หน่วยกิต

    1.2 ส่วนที่2                                                    9   หน่วยกิต
                                    
2. วิชาแกน                                                      114   หน่วยกิต   
                                 
    2.1 วิชาแกนบังคับ                                      99   หน่วยกิต     

   2.2 วิชาบังคับเลือก                                     15   หน่วยกิต       
                             
3. วิชาเลือกเสรี                                               6   หน่วยกิต                 

รวมทั้งหมด  150   หน่วยกิต                 

วิศวกรรมเครื่องกล   149 หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                                      30   หน่วยกิต

  1.1 ส่วนที่1                                                  21   หน่วยกิต

  1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                      2   หน่วยกิต

  1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                5   หน่วยกิต

  1.1.3 วิชาทางภาษา                              9   หน่วยกิต

  1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์    5   หน่วยกิต

  1.2 ส่วนที่2                                                    9   หน่วยกิต     
                              
2. วิชาแกน                                                               113   หน่วยกิต   
                                
  2.1 วิชาแกนบังคับ                                      95   หน่วยกิต

  2.2 วิชาบังคับเลือก                                      18   หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                              6   หน่วยกิต     

รวมทั้งหมด  149 หน่วยกิต                 

การจัดการทางวิศวกรรม 150 หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                                      36   หน่วยกิต

  1.1 ส่วนที่1                                                  21   หน่วยกิต

         1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                      2   หน่วยกิต

         1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                5   หน่วยกิต

         1.1.3 วิชาทางภาษา                              9   หน่วยกิต

         1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 5   หน่วยกิต      
                              
    1.2 ส่วนที่2                                                  15   หน่วยกิต

2. วิชาแกน                                                             108   หน่วยกิต         

      2.1 วิชาแกนบังคับ                                           102   หน่วยกิต                           

      2.2 วิชาศึกษาพิเศษ                                         6   หน่วยกิต     

  3. วิชาเลือกเสรี                                                    6   หน่วยกิต             

 รวมทั้งหมด  150   Credits

เทคโนโลยีสารสนเทศ 150หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                                      36   หน่วยกิต

  1.1 ส่วนที่1                                                  21   หน่วยกิต

      1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                      2   หน่วยกิต

      1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                    5   หน่วยกิต

      1.1.3 วิชาทางภาษา                              9   หน่วยกิต

      1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   5   หน่วยกิต
                        
  1.2 ส่วนที่2                                           15   หน่วยกิต

2. วิชาแกน                                              108   หน่วยกิต   

     2.1 วิชาแกนบังคับ                                      87   หน่วยกิต     
                       
    2.2 วิชาบังคับเลือก                                      18   หน่วยกิต   

     2.3 วิชาเลือกทางวิชาชีพ                              3   หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                6   หน่วยกิต                 

รวมทั้งหมด 150   หน่วยกิต                 

การจัดการทางเทคโนโลยี 150หน่วยกิต

1. วิชาพื้นฐาน                                              36   หน่วยกิต

  1.1 ส่วนที่1                                                  21   หน่วยกิต

        1.1.1 วิชาทางมนุษยศาสตร์                      2   หน่วยกิต

        1.1.2 วิชาทางสังคมศาสตร์                     5   หน่วยกิต

       1.1.3 วิชาทางภาษา                                    9   หน่วยกิต

       1.1.4 วิชาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์   5   หน่วยกิต    
                                
  1.2 ส่วนที่2                                                  15   หน่วยกิต

2. วิชาแกน                                                     108   หน่วยกิต 

  2.1 วิชาแกนบังคับ                                      74   หน่วยกิต         
                   
  2.2 วิชาบังคับเลือก                                      34   หน่วยกิต                           

3. วิชาเลือกเสรี                                             6   หน่วยกิต     

 รวมทั้งหมด 150 หน่วยกิต                 

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในโครงการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ ศิรินธรนั้นสามารถประกอบอาชีพ ได้หลากหลาย อย่างเช่น วิศวกรกระบวนการผลิต (Production Engineer) วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต (Design Engineer) ,นักวิชาการในองค์กรราชการและเอกชน, นักวิเคราะห์โครงการ,ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและกระบวนการทางเคมี, วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีและเครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ , งานด้านบำบัดสิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศและในน้ำ, การปิโตรเลียมฯ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ฯลฯ, วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบ การลำเลียงน้ำในอาคาร

    รวมทั้งการวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้ , นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน อากาศยาน หุ่นยนต์ หรือ ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, วิศวกร,นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ,ผู้บริหารโครงการ, นักวิจัย, วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการผลิต, วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการบริการ,ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน ,งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ,

  งานทางด้านการเงิน,งานทางด้านการวางแผนการผลิต หรือ จะทำงานกับบริษัททางด้านระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ วิทยุ ดาวเทียม   บริษัทผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า วงจรหรือชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์  รวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าฯ ทั้งส่วนนครหลวงและภูมิภาค,นักบริหารจัดการวิศวกรรม

เรียนโครงการ SIIT TU ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

โครงการนี้เป็นโครงการภาคพิเศษค่าใช้จ่ายจะแบ่งออกเป็น ค่าเทอมสำหรับการเรียนช่วงชั้นปีที่1-4 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตกประมาณเทอมละ 90,905 บาท และคิดเป็น181,810 ต่อปี    ตกแปดเทอมจะประมาณ727,240บาท โดยค่าใช้จ่ายนี้ยังนับรวมค่าใช้พวกการกินอยู่อื่นๆเช่นค่าหอพัก หรือว่าค่าใช้จ่ายปลีกย่อย อย่างอาหาร ตำรา  ฯลฯ นอกจากนี้หลักสูตร SIIT มีการให้ทุนนักศึกษา (Scholarship) ในแต่ละปีมากกว่า 200 ทุน รวมจำนวนเงินมากกว่า 10 ล้านบาท โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ ให้ทุนแบบเต็มจำนวนครึ่งจำนวนหรือบางส่วน นักศึกษาสามารถขอรับทุนได้ตั้งแต่ก่อนเข้าศึกษาหรือระหว่างศึกษาก็ได้ และยังมีการให้เงินกู้ยืม (Loan) ทั้งจากของหลักสูตร SIIT และจากรัฐบาลไทย 

ถ้าอยากเข้าโครงการ SIIT TU ต้องทำอย่างไร

1. ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือใช้การเทียบวุฒิที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองว่ามีคุณวุฒิเทียบเท่ากับมัธยมศึกษาตอนปลายของไทย 

2. โดยทางโครงการได้เปิดทางเลือกในการยืนสมัครเข้าศึกษาต่อได้ในอีก 4 ช่องทางคือ

    2.1การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาหรือ “การสอบ Admission” 

   2.2 สำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดีคือมีเกรดเฉลี่ยตั้งแต่ 2.5 ขึ้นไปหรือต่ำกว่า 3.25 แต่มีเกรดในวิชา Math & Science เฉลี่ย 3.00 ก็สามารถยื่นสมัครเข้าเรียนได้ตามช่วงเวลาที่สถาบันเปิดรับสมัคร

  2.3 การจัดสอบตรงของสถาบัน โดยเป็นการจัดสอบใน 3 รายวิชาอันได้แก่ Mathematics Physics/General Science และ English

  2.4 การยื่นคะแนนสอบมาตรฐาน Standardized Test Score โดยมีรายละเอียดการยื่นคะแนนดังต่อไปนี้

กรณีที่ใช้คะแนน SAT ยื่นสมัคร

–  คะแนนสอบ SAT I: Math ไม่ต่ำกว่า 630 คะแนน

–  คะแนนสอบ SAT I: Critical Reading และ “Writing” ไม่ต่ำกว่า 400 คะแนน

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2




Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 23:56:06 น.
Counter : 8425 Pageviews.

0 comment
แนะแนวหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (TEPE TU)
แนะแนวหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TEPE TU)

TEP-TEPE, Faculty of Engineering,

   ในบทความที่แล้วเราได้แนะนำโครงการวิศวกรรมสองสถาบัน  หรือโครงการTEP ไปแล้วเรามาแนะนำอีกโครงการเพราะเนื่องจากถ้าหากนึกถึงโครงการ TEP ก็มักจะนึกโครงการTEPEต่อท้ายอยู่เสมอเพราะว่าโครงการนี้ก็เป็นเหมือนโครงการคู่แฝดกัน จนทำให้คนหลายคนอาจจะเกิดความสับสนได้ค่ะ เนื่องจากในส่วนของการเรียนการสอนของทั้งโครงการ tep และ tepe นั้นนอกจากจะมีการสอนภาษาอังกฤษทั้งคู่แล้ว ทั้งสองโครงการเองยังมีการแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น5 เอก คือ
วิศวกรรมไฟฟ้า

,วิศวกรรมอุตสาหการ

วิศวกรรมโยธา,

วิศวกรรมเคมี,

วิศวกรรมเครื่องกล 

แต่ข้อแตกต่างกันระหว่างโครงการTEP และ TEPE  คือผู้ที่ศึกษาในโครงการTEPEนั้นจะไม่ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในต่างประเทศแบบหลักสูตรTEP โดยนักศึกษาจะต้องศึกษาตามภาควิชาที่ตนเลือกตลอดระยะเวลาสี่ปี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต และนักศึกษาที่ศึกษาในโครงการTEPEนั้นจะได้รับปริญญาแค่เพียงใบเดียว  คือปริญญาทางวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    แต่ข้อดีของโครงการนี้ก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างจะต่ำกว่าหากเทียบกับโครงการTEP เพราะว่าไม่ต้องไปเรียนยังต่างประเทศ แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้าเทียบกันตามตรงแล้วสำหรับเนื้อหาวิชาพื้นฐานต่างๆนั้นสองวิชาค่อนข้างจะมีการเรียนที่เหมือนกัน แถมวิชาการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งสองโครงการ จึงไม่น่าจะเป็นการแตกต่างในเรื่องของการเรียนมากนัก

และดังที่บอกไว้ว่าการเรียนโครงการTEPE นั้นจะแบ่งการเรียนออกเป็น5ภาควิชา

อันได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าจะมีการเรียนการสอน 145หน่วยกิต
โดยเนื้อหาทางการเรียนจะเรียนในคณิตศาสตร์ประยุกต์ และการจำลอง องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องในด้านกลศาสตร์ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับอุณหศาสตร์และกลศาสตร์ของไหล องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องทางเคมีและวัสดุ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องทางพลังงาน องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการระบบ และองค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องทางชีววิทยา สุขภาพและสิ่งแวดล้อม  การวัดและระบบควบคุม การแปลงรูปพลังงาน ระบบไฟฟ้ากำลัง ทฤษฎีการสื่อสาร การประมวลผลสัญญาณ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและเครือข่าย 

ภาควิชาต่อมาคือ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จะเรียนกันที่147หน่วยกิต เนื้อหาทางการเรียนจะเรียน ในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับความรู้ด้านวัสดุและกระบวนการผลิต ความรู้ด้านระบบงานและความปลอดภัย ความรู้ด้านระบบคุณภาพ ความรู้ด้านการจัดการการผลิตและดำเนินงาน รวมไปถึงกลุ่มความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และกลุ่มความรู้ด้านการบูรณาการวิธีการทางวิศวกรรมอุตสาหการ   

ภาควิชาที่สามคือภาควิชาวิศวกรรมโยธา จะมีการเรียนการสอน 149หน่วยกิต  เนื้อหาทางการเรียนจะเรียนเรื่อง เกี่ยวกับงานด้านวิศวกรรมโยธา เช่น การออกแบบ กฎระเบียบ และการก่อสร้างสมัยใหม่ รวมถึงการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจราจรอันเนื่องมาจากพัฒนาที่ดิน

ภาควิชาที่สี่คือ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี โดยภาควิชานี้จะมีการเรียนการส อน 147 หน่วยกิต และมีเนื้อหาทางการเรียนเกี่ยวกับพลศาสตร์ความร้อน (เธอร์โมไดนามิกส์) ปฏิกิริยาเคมี,วิชาสิ่งแวดล้อม, ความปลอดภัยทาง ชีวเคมี,วิชากลศาสตร์ของไหล ถ่ายโอนมวล กระบวนการแยกสาร,วิชาวัสดุศาสตร์,วิชาการถ่ายเทความร้อน การเผาไหม้ รวมทั้งวิชาคณิตศาสตร์ วิชาการจัดการ การออกแบบ

และภาควิชาสุดท้ายคือ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งมีหน่วยกิต 146 หน่วยกิต เนื้อหาทางการเรียนจะเรียนในเรื่องของด้านการออกแบบเชิงกล (Mechanical Design) ,ด้านอุณหศาสตร์และของไหล (Thermal Science and Fluid Mechanics) และ ด้านระบบพลศาสตร์และการควบคุม (Dynamic systems and Control)

โดยทั้ง5ภาควิชานั้นจะ ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค  โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ  1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์  และแบ่งเป็น วิชาบรรยาย (ภาคทฤษฎี) , วิชาฝึกหรือทดลอง (ภาคปฏิบัติ) 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ,การฝึกงานหรือฝึกภาคสนาม (ภาคฝึกงานอาชีพ) ใช้เวลาฝึก 3-6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติรวม 45-90 ชั่วโมง  และSpecial Project นักศึกษาใช้เวลาฝึกปฏิบัติ (ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษา) 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษาปกติรวม 45 ชั่วโมง  โดยแบ่งภาคทางการเรียนการสอนออกเป็น ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน –  กันยายนหรือตุลาคม              ภาคการศึกษาที่ 2เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์หรือ มีนาคม    ภาคฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ซึ่งจะมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน ในการเรียนชั้นปีที่ 3    

   หลักสูตรฺ TEPE TU เป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

สำหรับหลักสูตรของ TEPE TU นั้น จะแบ่งออกเป็นย่อยๆ  5ภาควิชา ซึ่งแต่ละภาคจะมีการเรียนเหมือนกันในส่วนของวิชาศึกษาทั่วไป30หน่วยกิต 

 วิชาบังคับเลือก 1 วิชา ไม่น้อยกว่า  2  หน่วยกิต 

รวมทั้งวิชาแกน  24 หน่วยกิต

ซึ่งแบ่งออกเป็น วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 17หน่วยกิต

และ วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม7หน่วยกิต

และจะเรียนแตกต่างกันเมื่อนักศึกษาแต่ละภาควิชาเริ่มลงเรียนในวิชาเฉพาะ ซึ่งแต่ละภาควิชาแบ่งออกดังนี้

ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 145หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป              30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ             108 หน่วยกิต

2.1)  วิชาแกน               24 หน่วยกิต

2.1.1.) วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 17 หน่วยกิต

2.2.2.) วิชาพื้นฐานวิศวกรรม 7 หน่วยกิต

2.2)  วิชาบังคับ 63 หน่วยกิต

2.3)  วิชาบังคับเลือก              21 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี               6 หน่วยกิต


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ  147หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป                  30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ                111 หน่วยกิต

2.1)  วิชาแกน                24 หน่วยกิต

2.1.1  วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์     17 หน่วยกิต

2.1.2  วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม                  7  หน่วยกิต

2.2)  วิชาบังคับ   66 หน่วยกิต

2.3)  วิชาบังคับเลือก   21 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต

ภาควิชา วิศวกรรมโยธา  149 หน่วยกิต

1. วิชาศึกษาทั่วไป    30 หน่วยกิต

2. วิชาเฉพาะ          113 หน่วยกิต

2.1 วิชาแกน            24 หน่วยกิต

      2.1.1 วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์   17 หน่วยกิต

      2.1.2 วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม                                7 หน่วยกิต

2.2 วิชาเฉพาะสาขา   89 หน่วยกิต

     2.2.1 วิชาบังคับ                                                  77 หน่วยกิต

     2.2.2 วิชาบังคับเลือก                                          12 หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี                                                         6 หน่วยกิต

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี    147 หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป                    30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ                           111 หน่วยกิต

       2.1)  วิชาแกน                           24       หน่วยกิต
 
               2.1.1) วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์   17 หน่วยกิต

              2.1.2) วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม       7 หน่วยกิต

     2.2)  วิชาบังคับ                          66      หน่วยกิต

     2.3)  วิชาบังคับเลือก                   9 หน่วยกิต

    2.4)  วิชาเลือก                           12 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี                     6 หน่วยกิต

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล 146 หน่วยกิต

1) วิชาศึกษาทั่วไป                30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ                       110 หน่วยกิต

     2.1)  วิชาแกน                24 หน่วยกิต

           2.1.1  วิชาพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  17  หน่วยกิต

            2.1.2  วิชาพื้นฐานทางวิศวกรรม                              7  หน่วยกิต

    2.2)  วิชาบังคับ                          74 หน่วยกิต  

    2.3)  วิชาบังคับเลือก                  12 หน่วยกิต

3) วิชาเลือกเสรี                           6 หน่วยกิต

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในโครงการTEPE ที่มีหลายเอกนั้นจะขอแบ่งออกเป็นเอกย่อยๆดังนี้สำหรับ 

วิชาชีพด้านวิศวกรรมเคมี นั้นสามารถประกอบอาชีพ อย่างเช่น วิศวกรกระบวนการผลิต (Production Engineer) วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต (Design Engineer) ,นักวิชาการในองค์กรราชการและเอกชน, นักวิเคราะห์โครงการ,ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและกระบวนการทางเคมี, วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีและเครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ , งานด้านบำบัดสิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศและในน้ำ, การปิโตรเลียมฯ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ฯลฯ

 ส่วนวิชาชีพด้านวิศวกรรมเครื่องกล นั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบ การลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งการวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้ , นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน อากาศยาน หุ่นยนต์ หรือ ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

และวิชาชีพด้านวิศวกรรมโยธานั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกร,นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ,ผู้บริหารโครงการ, นักวิจัย

วิชาชีพทางด้านอุตสาหการนั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการผลิต, วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการบริการ,ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน ,งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ,งานทางด้านการเงิน, งานทางด้านการวางแผนการผลิต

และสุดท้ายงานทางด้านวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้านั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น ทำงานกับบริษัททางด้านระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ วิทยุ ดาวเทียม  หรือทำงานใน บริษัทผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า วงจรหรือชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์  รวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าฯ ทั้งส่วนนครหลวงและภูมิภาค

เรียนโครงการ TEPE TU ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

โครงการนี้เป็นโครงการภาคพิเศษค่าใช้จ่ายจะแบ่งออกเป็น ค่าเทอมสำหรับการเรียนช่วงชั้นปีที่1-4 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตกประมาณเทอมละ80,000บาทต่อเทอม ตกแปดเทอมจะประมาณ640,000บาท โดยค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่นับรวมค่าใช้พวกการกินอยู่อื่นๆเช่นค่าหอพัก หรือว่าค่าใช้จ่ายปลีกย่อย อย่างอาหาร ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ  

ถ้าอยากเข้าโครงการ TEPE TU ต้องทำอย่างไร

   1.   ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ เน้นวิทย์ - คณิต

2 เกณฑ์การใช้เกรดเฉลี่ยรวม 5 ภาคเรียนในรายวิชา Mathematic และ Science ได้ไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือตั้งแต่ 70% ขึ้นไป

เกณฑ์การใช้คะแนนมาตรฐานในการยื่นสมัครสอบ ซึ่งผู้ที่สมัครด้วยเกณฑ์นี้จะต้องมีผลคะแนนผ่านเกณฑ์ 3 กลุ่มคือ

1  กลุ่ม Mathematics ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อจากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ PAT 1 ไม่ต่ำ 35%
คะแนนสอบ SAT II: Math (Level 1 or 2) ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนนสอบ GCSE หรือ IGCSE ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ GCE A Level หรือ GCE AS Level  ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า C
คะแนนสอบ IB Diploma: Math ไม่ต่ำกว่า 5
คะแนนสอบ GED: Math ไม่ต่ำกว่า 650
คะแนนสอบ AP: Calculus AB ไม่ต่ำกว่า เกรด 3

2  กลุ่ม Science ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อ จากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ PAT 2 ไม่ต่ำกว่า 35%
คะแนนสอบ SAT II: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนนสอบ GCSE หรือ IGCSE ในวิชา Physic, Chemistry หรือ Coordinated Science ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ GCE A Level หรือ GCE AS Level ในวิชา Physics หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ IB Diploma: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 5
คะแนนสอบ GED: Science ไม่ต่ำกว่า 650
คะแนนสอบ AP: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า เกรด 3

3 กลุ่ม English ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อ จากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้

คะแนนสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 โดยในแต่ละทักษะไม่ต่ำกว่า 4.0
คะแนนสอบ TOEFL iBT ไม่ต่ำกว่า 61
คะแนนสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 450
คะแนนสอบ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60
คะแนนสอบ SAT Critical Reading ไม่ต่ำกว่า 400

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 22:16:13 น.
Counter : 470 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



All Blog