แนะแนวหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สอง สถาบันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TEP TU)
แนะแนวหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ สอง สถาบัน(Twinning Engineering Program)มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TEP TU)

TEP-TEPE, Faculty of Engineering,
   หลักสูตร TEP ถือเป็นโครงการทางวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรแรกๆที่เริ่มทำการสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และยิ่งไปกว่านั้นคือการเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตร 2 ปริญญากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งเรามักจะเรียกติดกันบ่อยๆว่า TEP-TEPE แต่ในความเป็นจริงแล้วสองโครงการนั้นแยกกัน จึงขออนุญาตแยกแนะแนวแต่ละโครงการไป โดยจะขอเริ่มกับโครงการ Tep ก่อนนะคะ

    สำหรับหลักสูตรTEP นั้นมาจากชื่อเต็ม ว่า Twinning Engineering Program ซึ่งดูจากชื่อก็พอจะเดาได้ว่าเป็นโครงการสองโปรแกรมทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  โดยสองโปรแกรมในที่นี้คือการเรียนการสอนแบบที่เรียกว่า  double degree หรือการเรียนในลักษณะสองปริญญา คือมีการเรียนที่มหาวิทยาลัย ศูนย์รังสิตในช่วงปี หนึ่ง และปีสอง ซึ่งเนื้อหาที่จะเรียนก็จะมีทั้งวิชาทั่วไป และวิชาพื้นฐานในแต่ละเอก ซึ่งมีการเรียนการสอนทั้งหมด5 ห้าเอก คือ

เอกวิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมเคมี

วิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมเครื่องกล 

วิศวกรรมอุตสาหการ

    และเมื่อจบปีที่สอง นักศึกษาจะต้องมีเกณฑ์ในการสอบผลการศึกษาทั้งภาษาอังกฤษ และผลการคึกษาที่พึงประเมินร่วมด้วย โดยการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจะเป็นหลักสูตรร่วมกับสองมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สองมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัย

University of Nottingham ประเทศอังกฤษ

และ University of New South Wales ประเทศออสเตรเลีย

   ซึ่งเมื่อจบการศึกษาแล้วผู้ศึกษาจะได้รับวุฒิการศึกษาวิศวกรรมศาตรบัณฑิต (วศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ Bachelor of  Engineering จาก University of Nottingham หรือ University of New South Wales

  ซึ่งระยะเวลาในการเรียนนั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือในส่วนการเรียนปริญญาตรีในประเทศไทย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2ปี  และที่ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม  หรือมหาวิทยาลัยนิวเซ้าท์เวล ประเทศออสเตรเลีย อีก 2ปี โดยหน่วยกิตนั้นจะแบ่งออกเป็นย่อยๆ ตามเอกที่ศึกษา

สำหรับเอกวิศวกรรมไฟฟ้าจะมี 139 หน่วยกิต

วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมอุตสาหการนั้นจะเรียนกันที่144 หน่วยกิต

ส่วนเอกวิศวกรรมเครื่องกล และ วิศวกรรมโยธานั้นจะเรียน145 หน่วยกิต

   โดยการจัดการเรียนการสอนจะมีการจัดในระบบทวิภาค  แบ่งเวลาศึกษาในแต่ละปีเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ  ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่บังคับ  คือภาคหนึ่งและภาคสอง โดยแบ่งเวลาการศึกษาในปีหนึ่งๆ มีระยะเวลาการศึกษา 16 สัปดาห์ เป็นรายวิชาภาคทฤษฎี (บรรยาย) 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เรียนวันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.30 น. วิชาละไม่เกิน 45 ชั่วโมง  และรายวิชาภาคปฏิบัติ (ทดลอง) 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เรียนวันจันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 09.30 – 16.30 น. วิชาละไม่เกิน 30 – 35 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคการศึกษาที่ 1เดือน มิถุนายน – กันยายน และภาคการศึกษาที่ 2 เดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

หลักสูตรฺ TEP TU เป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้า
สำหรับหลักสูตรของ TEP TU นั้น จะแบ่งออกเป็นย่อยๆ5เอกเอกวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมอุตสาหการนั้นจะเรียนกันที่144 หน่วยกิต ส่วนเอกวิศวกรรมเครื่องกล และ วิศวกรรมโยธานั้นจะเรียน145 หน่วยกิต  ซึ่งแบ่งออกดังนี้
วิศวกรรมเคมี 144หน่วยกิต

วิศวกรรมเครื่องกล 145หน่วยกิต



วิศวกรรมโยธา    145 หน่วยกิต  



วิศวกรรมอุตสาหการ 144 หน่วยกิต


วิศวกรรมไฟฟ้า 139 หน่วยกิต


จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในโครงการTEP ที่มีหลายเอกนั้นจะขอแบ่งออกเป็นเอกย่อยๆดังนี้สำหรับ  วิชาชีพด้านวิศวกรรมเคมี นั้นสามารถประกอบอาชีพ อย่างเช่น วิศวกรกระบวนการผลิต (Production Engineer) วิศวกรออกแบบกระบวนการผลิต (Design Engineer) ,นักวิชาการในองค์กรราชการและเอกชน, นักวิเคราะห์โครงการ,ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและกระบวนการทางเคมี, วิศวกรความปลอดภัยกับงานสิ่งแวดล้อม, นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางเคมีและเครื่องมือวิเคราะห์ต่าง ๆ , งานด้านบำบัดสิ่งแวดล้อม ทั้งในอากาศและในน้ำ, การปิโตรเลียมฯ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ฯลฯ

 ส่วนวิชาชีพด้านวิศวกรรมเครื่องกล นั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกรเครื่องกล โดยสามารถออกแบบ ควบคุม และซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล ควบคุมการผลิตและกระบวนการต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม ออกแบบและควบคุมงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบ การลำเลียงน้ำในอาคาร รวมทั้งการวิเคราะห์และปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงาน อาคาร และหน่วยงานต่างๆ ได้ , นักวิจัยในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงาน อากาศยาน หุ่นยนต์ หรือ ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

และวิชาชีพด้านวิศวกรรมโยธานั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกร,นักวิชาการ, ที่ปรึกษาโครงการ,ผู้บริหารโครงการ, นักวิจัย

วิชาชีพทางด้านอุตสาหการนั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการผลิต, วิศวกรในส่วนต่างๆ ภาคการบริการ,ผู้วิจัย หรือผู้ช่วยวิจัย, นักวิเคราะห์และออกแบบระบบการทำงาน ,งานด้านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ,งานทางด้านการเงิน, งานทางด้านการวางแผนการผลิต

และสุดท้ายงานทางด้านวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้านั้นสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างเช่น ทำงานกับบริษัททางด้านระบบไฟฟ้า ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์ วิทยุ ดาวเทียม  หรือทำงานใน บริษัทผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า วงจรหรือชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์  รวมไปถึงบริษัทผู้ผลิตกระแสไฟฟ้า ผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ การไฟฟ้าฯ ทั้งส่วนนครหลวงและภูมิภาค

เรียนโครงการ TepTU ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

โครงการนี้เป็นโครงการภาคพิเศษค่าใช้จ่ายจะแบ่งออกเป็น ค่าเทอมสำหรับการเรียนช่วงชั้นปีที่1-2 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตกประมาณเทอมละ80,000บาทต่อเทอม ตกสี่เทอมจะประมาณ320,000บาทโดยค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่นับรวมค่าใช้พวกการกินอยู่อื่นๆเช่นค่าหอพัก หรือว่าค่าใช้จ่ายปลีกย่อย อย่างอาหาร ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ 

ส่วนค่าใช้จ่ายในส่วนที่สองจะแบ่งออกเป็นในกรณีที่นักศึกษาเลือกไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Nottingham ประเทศอังกฤษ ค่าเรียนจะตกอยู่ที่ ประมาณ  18,210ปอนด์ต่อปีหรือประมาณ1,000,285บาท แต่นักศึกษาจะมีสิทธิได้รับส่วนลดประมาณ25เปอร์เซ็นต์ จะเหลือ  13,675ปอนด์ต่อปี หรือประมาณ 751,175บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอย่างเช่นหอพัก ค่าอาหาร จะตกรวมอยู่ประมาณ10,000ปอนด์ต่อปีหรือประมาณ5แสนกว่าบาท

ซึ่งเฉลี่ยรวมกันทั้งค่าเรียนและค่าอื่นจะตกอยู่ประมาณ 28,210ปอนด์ หรือ ประมาณ1,549,590บาท ต่อปีแต่ถ้าได้รับการลด25เปอร์เซ็นต์จะตกอยู่ประมาณ 1,300,480บาท สองปี คิดเป็น56,420  ปอนด์ หรือ 3,099,181 บาทแต่ถ้าได้รับการลด25เปอร์เซ็นต์จะตกอยู่ประมาณ47,351 ปอนด์ หรือ 2,601,016บาท  ตลอดหลักสูตร จะประมาณ เกือบๆสามล้านบาทใน

กรณีที่นักศึกษาเลือกไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย New South Wales ประเทศออสเตรเลียค่าเรียนจะตกอยู่ที่ ประมาณ  36,380ดอลล่าห์ออสเตรเลียต่อปีหรือประมาณ945,523บาท แต่ ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอย่างเช่นหอพัก ค่าอาหาร จะตกรวมอยู่ประมาณ27,000ดอลล่าห์ออสเตรเลียต่อปีหรือประมาณ7แสนกว่าบาท ซึ่งเฉลี่ยรวมกันทั้งค่าเรียนและค่าอื่นจะตกอยู่ประมาณ 63,380ดอลล่าห์ออสเตรเลีย หรือ ประมาณ1,647,259บาทต่อปี สองปี คิดเป็น126,760ดอลล่าห์ออสเตรเลีย หรือ 3,294,518 บาท ตลอดหลักสูตร จะประมาณ เกือบๆสามล้านกว่าบาท

ถ้าอยากเข้าโครงการ TEP TU ต้องทำอย่างไร

   1.   ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ เน้นวิทย์ - คณิต

2 เกณฑ์การใช้เกรดเฉลี่ยรวม 5 ภาคเรียนในรายวิชา Mathematic และ Science ได้ไม่ต่ำกว่า 3.00 หรือตั้งแต่ 70% ขึ้นไป

เกณฑ์การใช้คะแนนมาตรฐานในการยื่นสมัครสอบ ซึ่งผู้ที่สมัครด้วยเกณฑ์นี้จะต้องมีผลคะแนนผ่านเกณฑ์ 3 กลุ่มคือ

1  กลุ่ม Mathematics ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อจากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
คะแนนสอบ PAT 1 ไม่ต่ำ 35%
คะแนนสอบ SAT II: Math (Level 1 or 2) ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนนสอบ GCSE หรือ IGCSE ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ GCE A Level หรือ GCE AS Level  ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า C
คะแนนสอบ IB Diploma: Math ไม่ต่ำกว่า 5
คะแนนสอบ GED: Math ไม่ต่ำกว่า 650
คะแนนสอบ AP: Calculus AB ไม่ต่ำกว่า เกรด 3

2  กลุ่ม Science ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อ จากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
คะแนนสอบ PAT 2 ไม่ต่ำกว่า 35%
คะแนนสอบ SAT II: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 600
คะแนนสอบ GCSE หรือ IGCSE ในวิชา Physic, Chemistry หรือ Coordinated Science ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ GCE A Level หรือ GCE AS Level ในวิชา Physics หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า B
คะแนนสอบ IB Diploma: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า 5
คะแนนสอบ GED: Science ไม่ต่ำกว่า 650
คะแนนสอบ AP: Physic หรือ Chemistry ไม่ต่ำกว่า เกรด 3

3 กลุ่ม English ผู้สมัครต้องเลือกยื่นคะแนน 1 ข้อ จากแบบทดสอบที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
คะแนนสอบ IELTS ไม่ต่ำกว่า 5.0 โดยในแต่ละทักษะไม่ต่ำกว่า 4.0
คะแนนสอบ TOEFL iBT ไม่ต่ำกว่า 61
คะแนนสอบ TU-GET ไม่ต่ำกว่า 450
คะแนนสอบ CU-TEP ไม่ต่ำกว่า 60
คะแนนสอบ SAT Critical Reading ไม่ต่ำกว่า 400

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2






Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 21:49:39 น.
Counter : 5768 Pageviews.

0 comment
Q&A ถามตอบข้อสงสัยในการสอบ tu-get(ทียูเก็ต) และ cu-tep(ซียูเท็บ)
Q&A ถามตอบข้อสงสัยในการสอบ tu-get(ทียูเก็ต) และ cu-tep(ซียูเท็บ)
 
บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในการเตรียมตัวสอบข้อสอบดังกล่าว ซึ่งถ้า ใครอยากจะเข้าสอบเพื่อเรียนต่อ ในระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะภาคอินเตอร์หรือภาคภาษาอังกฤษ หรือในระดับปริญญาโทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองสถาบัน อย่างจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คงพอจะรู้จักหรือพอจะเคยได้ยินชื่อข้อสอบทั้งสองข้อสอบนี้มาอย่างแน่นอน แต่ถ้าหากใครที่ยังไม่เคยสอบ หรือไม่รู้จัก ข้อสอบสองตัวนี้มาก่อนทางเราก็จะขออนุญาตมาแนะนำ เกี่ยวกับ cu-tep (ทียูเก็ต) และ tu-get(ซียูเท็บ)ให้รู้จักกัน
tu-get  และ cu-tep คืออะไร??
สำหรับทั้ง tu-get ( อ่านว่า ทียูเก็ต )และ cu-tep (อ่านว่า ซียูเท็บ)ทั้งสองชื่อนั้นเป็นชื่อของข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ โดยTU-GET  นั้นย่อมาจาก Thammasat University General English Test  ซึ่งจากชื่อเต็มก็น่าจะพอคาดเดาได้ว่า เป็นชื่อของข้อสอบที่ใช้วัดความรู้สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ใช้สำหรับในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตรภาคอินเตอร์
อาทิเช่น 
สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาวิชาอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาวิชาจีนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
หลักสูตรปริญญาตรีควบโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาการสื่อมวลชนศึกษา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาอังกฤษและอเมริกันศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
รวมทั้งหลักสูตร ปริญญาโท (ทั้งภาคภาษาไทยและอินเตอร์) และปริญญาเอก (ทั้งภาคภาษาไทย และภาคอินเตอร์)เช่นกัน ส่วน CU-TEP นั้นย่อมาจาก Chulalongkorn University Test Of English Proficiency ซึ่งเป็นแบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่จัดทำโดยสถาบันภาษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งใช้สำหรับคัดเลือกนิสิตเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรี(ภาคอินเตอร์)
ตัวอย่างเช่น
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทุกสาขา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะวิทยาศาสตร์ ทุกสาขา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาภาษาและวัฒนธรรม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
 และภาคภาษาไทยบางวิชาที่ต้องใช้คะแนน cu-tep สำหรับการลงทะเบียนเรียน) รวมถึงการคัดเลือกนิสิตในระดับปริญญาโทและ เอก ทั้งภาคภาษาไทยและภาคอินเตอร์
 
ข้อสอบtu-get และ cu-tep เป็นอย่างไร??
สำหรับทียูเก็ตนั้นข้อสอบ จะมีอยู่3 ส่วนคือ Structure หรือว่าในส่วนของgrammar
ซึ่งในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ                   
 1.1 Sentence Completion  คือจะเป็นการเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้อง
1.2 Error Identification    ดูว่าอันไหนผิดแกรมม่า
 ส่วนที่2 คือ Vocab แบ่งออกเป็น สองส่วน เช่นกันคือ
2.1 ข้อสอบแบบ Cloze test เน้นการเติมคำในช่องว่างให้ถูกต้องจากโจทย์ที่กำหนดให้                   
2.2 ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยค และให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มคำที่กำหนดให้              
ส่วนในพาร์ท Reading นั้นจะมีลักษณะเป็น Reading Comprehension โดยจะมีบทความมาให้อ่าน เฉลี่ย 7-8 บทความ ซึ่งลักษณะของโจทย์ในส่วนนี้จะเป็นการถามในเชิงการหา main idea ,รายละเอียดของตัวบทความว่าเขาถามอะไรบ้าง, บทความนี้ต้องการสื่ออะไร หมายถึงอะไรเป็นต้น ซึ่งแต่ละpart จะไม่มีการกำหนดเวลาในการทำข้อสอบผู้สมัครสอบสามารถเลือกที่จะpart ไหนก่อนก็ได้ตามระดับความถนัดของผู้สมัครสอบ แต่ต้องทำให้ทันภายในเวลาที่กำหนด คือ 3ชั่วโมง โดยข้อสอบของtu-get นั้นทั้งหมดคะแนนเต็ม1000 คะแนน โดยมีข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อเป็นแบบตัวเลือกปรนัย (ช้อยส์) 4 ตัวเลือก ซึ่งในส่วนของ grammar และvocab จะมีประมาณ อย่างละ25 ข้อ  250คะแนน  ส่วนในpart reading จะมี50 ข้อ 500 คะแนน  
ส่วนข้อสอบซียูเท็บนั้นจะค่อนข้างแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยเพราะว่าในส่วนของข้อสอบ cu-tep  จะมีอยู่3 คือ part สำหรับการสอบแบบปกติ คือ Listening,  Reading,  และ Writing  ซึ่งจุดแตกต่างกันของทั้งสองข้อสอบก็คือในส่วนของตัว     ซียูเท็บนั้นจะมีส่วนของpart  listening หรือการฟังที่จะบังคับทุกคนต้องสอบภายในตัวข้อสอบปกติ  และในส่วนของpart Speakingที่จะมีการแยกสอบต่างหาก หรือที่เรียกว่า cu-tep speaking โดยผู้สมัครสามารถจะเลือกสอบหรือไม่เลือกสอบในส่วนนี้ก็ได้  ซึ่งโดยทั่วไปเราจะนิยมสอบกันแค่ 3 ทักษะ คือ ทักษะ Listening, Reading และ Writing
และสำหรับแนวข้อสอบcu-tep นั้นจะแบ่งเป็นรูปแบบดังนี้
Partแรกของข้อสอบ จะเป็นในส่วนของการฟังหรือ listening ในส่วนนี้จะมีข้อสอบทั้งหมด 30 ข้อกำหนดเวลาทั้งหมด30นาที และผู้เข้าสอบต้องบังคับทำในส่วนนี้เป็นอันดับแรก ซึ่งข้อสอบจะแบ่งย่อยๆออกอีกเป็น3 ส่วน
  1. การพูดคุยสนทนาระหว่างบุคคลในเหตุการณ์สั้นๆ short dialogue
  2. การสนทนาแบบเชิงลึก และเน้นการจดจำรายละเอียด long dialogue
  3. การบรรยายบทความในเชิงวิชาการ เช่นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์
 
ส่วนที่สองคือในpart ของ Reading หรือ การอ่าน ในส่วนนี้จะมีทั้งหมด  60 ข้อ ใช้เวลา 70นาที  ในส่วนนี้ก็จะแบ่งข้อสอบออกเป็นสามส่วนย่อยๆเช่นกัน
2.1 Cloze reading   หรือการอ่านเพื่อการเติมคำในช่องว่างที่โจทย์เว้นเอาไว้
2.2 จะเป็นการตอบคำถามจากบทความที่กำหนดเอาไว้ short passage
2.3  ตอบคำถามจากบทความยาว  long passage
 
และส่วนสุดท้ายในส่วนของ writing หรือการเขียน หรือจะเรียกว่า เป็นข้อสอบในเชิงไวยากรณ์ของการสอบของcu-tep ก็ว่าได้โดยในส่วนนี้ของข้อสอบ จะเป็นลักษณะ2 แบบทั้งหมดมี 30 ข้อ เวลา 30 นาที
3.1 ERROR Correction หรือการหาข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ 
3.2 SENTENCE COMPLETION ข้อสอบจะให้ประโยคข้อความมา พร้อมเว้นช่องว่างไว้ในประโยค เพื่อให้ผู้สอบหาข้อความ วลี หรือประโยค ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เติมลงในช่องว่าง
 ซึ่งข้อสอบทั้งหมดในการสอบ จะมีข้อสอบ120 ข้อ คิดข้อละ1คะแนน คะแนนรวมทั้งหมดก็120 คะแนนและจะใช้เวลาในการสอบประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที  โดย แต่ละ part ในการสอบนั้นจะมีช่วงหยุดพักในการสอบ เพื่อเปลี่ยนกระดาษคำถาม ประมาณ 10 นาที  ซึ่งการสอบจะเริ่มตั้งแต่ 9.00-11.30 แต่ว่าผู้สอบตั้งมาก่อนเวลา โดยต้องมาถึงห้องประมาณ 8.30  แต่ไม่เกิน 8.45  มิฉะนั้นจะถือว่าหมดสิทธิ์สอบทันที
 
สอบtu-get และ cu-tep สอบที่ไหนและเมื่อไหร่??
สำหรับ tu-getเวลาสอบนั้นจะจัดสอบทุกวันอาทิตย์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เวลาประมาณ9.00 -12.00 น. และจะสอบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต ในกรณีที่เป็นรอบปกติ แต่ถ้าเป็นรอบพิเศษ ก็จะจัดตามสถานที่ข้างนอกอย่างเช่นตามโรงเรียนต่างๆอย่างเช่น โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ฯลฯ 
ส่วน cu-tep  เวลาสอบนั้นจะจัดสอบทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือน เวลาสอบก็จะประมาณ 9.00- 11.30  น. และจะสอบที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้น
ซึ่งการสอบทั้งซียูเท็บ และทียูเก็ตนั้นจะมีการสอบที่เท่ากันคือภายใน1ปีจะมีการจัดสอบ 12 ครั้ง
 
ผลการสอบทั้งสองอย่างมีการกำหนดอายุหรือไม่??
มีค่ะ โดยข้อสอบทั้งสองจะมีการกำหนดอายุ การใช้ผลสอบ เป็นเวลา 2ปี โดย ถ้าพ้น2ปีไปแล้ว ต้องการใช้สำหรับการยื่นผลการศึกษา หรือสมัครงาน ก็จะต้องสอบใหม่
 
ขั้นตอนการสมัครสอบของทั้งtu-get และ cu-tep นั้นทำอย่างไร??
สำหรับการสมัครสอบ tu-get นั้นผู้สมัครสามารถสมัครสอบผ่านอินเตอร์เน็ตโดยวิธี online ได้ที่ เว็บไซต์https://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx แล้วดูช่วงเวลาในการสอบพร้อมกรอกรายละเอียดประวัติหรือข้อมูลที่สำคัญสำหรับการสอบเมื่อเสร็จแล้วก็ให้ปริ้นรายละเอียดใบชำระเงิน และนำไปชำระเงินที่เค้านท์เตอร์ ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา โดยค่าสมัครสอบ ทียูเก็ตนั้นจะคิดค่าใช้จ่ายในการสอบสำหรับบุคคลธรรมดา จำนวน 500 บาท และสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น จะคิดราคา 40 บาท (เฉพาะเดือนพฤษภาคม และเดือนตุลาคม)  ซึ่งเมื่อจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานที่ วันและเวลาสอบ ทางเว็บไชต์ก่อนสอบได้ประมาณ1สัปดาห์              
ส่วนการสมัครสอบ cu-tep นั้น จะเริ่มจากผู้สมัครสอบต้องลงทะเบียนแบบOnline ทาง Internet ที่เว็บ https://www.atc.chula.ac.th  และหลังจากที่ผู้สมัครลงทะเบียนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว โปรแกรมจะสร้างใบลงทะเบียนให้ผู้สมัคร โดยใบสมัครนั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
ส่วนแรก : แสดงตารางสอบที่ผู้สมัครเลือกและค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ
ส่วนที่2 : เป็นหลักฐานการชำระเงินของผู้สมัคร  หลังจากจ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่ทางธนาคารจะประทับตรา ที่เราต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานในการชำระเงินของเรา
ส่วนที่ 3 : เป็นหลักฐานการรับเงินของธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารจะฉีกส่วนนี้เก็บไว้
 โดยเมื่อกรอกประวัติเสร็จแล้วก็ให้ไปชำระเงินค่าสมัคร จำนวน600บาท พร้อมค่าธรรมเนียมของธนาคาร 15 บาทต่อใบลงทะเบียน 1 ใบ โดยในการชำระค่าธรรมเนียมผู้สมัครจะต้องไปชำระค่าธรรมเนียมที่ี่เคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์หรือไทยธนาคาร (ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ)แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันที่ระบุไว้บนใบลงทะเบียนและให้เจ้าหน้าที่ธนาคารประทับตราชำระเงินบนใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน การสมัครจะถือว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สมัครลงทะเบียนถููกต้องและชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
ในวันสอบtu-get และ cu-tep ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง??        
    เตรียมใจค่ะ 555  นั่นก็ส่วนหนึ่งนะคะแต่ตามความเป็นจริงสำหรับการสอบ tu-get cu-tep สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ เอกสารสำคัญทางราชการอย่างบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ว่าหนังสือเดินทางสำหรับผู้สอบต่างชาติ เพราะเนื่องจากจะเป็นหลักฐานอย่างเดียวที่ใช้แสดงตนของผู้สอบซึ่งถ้าหากไม่ตรง หรือว่าไม่สามารถระบุตัวตนได้จะไม่สามารถสอบได้เป็นอันขาด ต่อมาคือพวกเครื่องเขียน อย่างดินสอ 2B, ปากกา, ยางลบ และผู้เข้าสอบทั้งtu-get และcu-tep จะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อย่างในกรณีการสอบtu-get นักศึกษาทางธรรมศาสตร์ก็จะต้องแต่งชุดนักศึกษาเพื่อการเข้าสอบเท่านั้นแต่ถ้าหากเป็นบุคคลธรรมดาทั้งทาง cu-tep และ tu-get นั้นจะต้องแต่งกายสุภาพของผู้ชายก็ควรจะสวมใส่เสื้อเชิ้ต          กางเกงขายาว สีและแบบสุภาพ (โดยเฉพาะ cu-tep ห้ามสวมกางเกงยีนส์) และสวมรองเท้าหุ้มส้น ส่วนผู้หญิงให้ใส่เสื้อมีแขน สวมกระโปรงที่ไม่สั้นเกินไป หรือกางเกงขายาว สีและแบบสุภาพ และก็ควรมาถึงห้องสอบอย่างน้อยก่อนเวลาสอบ 40 นาที โดยเฉพาะทางจุฬา ที่จะเปิดประตูห้องสอบตอน 8.15 และไม่สามารถเข้าห้องสอบและหมดสิทธิ์สอบถ้าหากมาช้าเกิน 8.40 และเครื่องมือสื่อสารควรเก็บไว้ในที่ที่ให้จัดเก็บไว้ รวมทั้งปิดการสื่อสารทั้งหมดขณะทำการสอบด้วย
สามารถรับผลคะแนนได้เมื่อไหร่หลังจากสอบเสร็จ??
สำหรับtu-get นั้นสามารถที่จะตรวจสอบคะแนนได้ทางเว็บไซต์ หลังจากวันสอบ 1 สัปดาห์ โดยสถาบันภาษาจะส่งคะแนนอย่างเป็นทางการให้ผู้สมัครสอบ ภายหลังการสอบ 2 สัปดาห์)
เช่นเดียวกับcu-tep ที่จะสามารถตรวจสอบผลสอบผ่านเว็บไซต์ หลังจากสอบ1-2 สัปดาห์โดยจะส่งคะแนนมาให้หลังจากสอบไปแล้วสองสัปดาห์
ถ้าเกิดปัญหาในการสอบcu-tep และtu-get สามารถติดต่อได้ที่ไหน??
สำหรับการติดต่อสอบถามในกรณีการสอบ cu-tep สามารถติดต่อได้ที่ อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3 ที่ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 0-2218-0617-9  โทรสาร: 0-2218-3700  หรือ E-mail:cuatc@chula.ac.th หรือทางเว็บไซต์ //www.culi.chula.ac.th
ส่วนในกรณีของtu-get นั้น สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเลขานุการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30-18.30 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.00 น. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ) โทรศัพท์ 0-2623-5134, 08-7972-7755 โทรสาร 0-2623-5138  หรือE-mail: tugetlitu@gmail.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.culi.chula.ac.th
https://www.atc.chula.ac.th 
https://litu.tu.ac.th

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 19:51:54 น.
Counter : 6620 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการ เศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (B.E. TU)
แนะแนวโครงการ
เศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(B.E. TU) 

BE TU | aims.co.th

  สำหรับบทความนี้จะมาแนะนำคณะที่มักจะติดอันดับในการมีรายได้สูงสุด  จากการทำสำรวจในหลายสำนักเลยก็ว่าได้ รวมไปถึง สำหรับวิชาในคณะนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นศาสตร์ที่มีความซับซ้อนและยากเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่สำหรับใครที่ค่อนข้างมีความหลงใหลในเรื่องของตัวเลข และการคำนวณ ก็คงจะชื่นชอบและใฝ่ฝันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะเด็กๆสายศิลป์ คำนวณ ที่ดูเหมือนอยู่กึ่งกลางระหว่างความเป็นวิทย์ และ ความเป็นภาษา ย่อมจัดอันดับในการเลือกเรียนต่อในคณะนี้เป็นอันดับต้นๆเป็นแน่ ซึ่งนั่นก็คือ คณะเศรษฐศาสตร์นั่นเอง และพิเศษไปมากกว่านั้นคือการแนะนำตัวคณะ เราจะแนะนำในหลักสูตรของอินเตอร์  สำหรับบางคนแค่ได้ยินชื่อก็อาจจะร้องยี้ เพราะว่ามีแต่ตัวเลขล้วนๆ แต่ในความเป็นจริงเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างใกล้ตัวของเรามากเลยทีเดียว

    อย่างเช่นเรื่องของพวกดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งเราต้องเกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และยิ่งไปกว่านั้นคือการแนะนำตัวคณะ เราจะแนะนำในหลักสูตรของอินเตอร์ ซึ่งนั่นก็คือหลักสูตร Bachelor of Economics หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “BE” หรือจะเรียกกันให้เข้าใจไปอีกว่า เศรษฐศาสตร์อินเตอร์ มธ  โดยโครงการเปิดรับนักศึกษาภาคการศึกษาแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 นับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรที่ 3 ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (หลังจาก BBA ที่ถูกก่อตั้งขึ้น 3 ปีก่อนหน้านั้นและ SIIT ที่ถูกก่อตั้งขึ้นก่อน BE เพียง 1 ปี)

    และในปีการศึกษา 2552 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรโดยนักศึกษาสามารถเลือกวิชาหลัก (Major) ให้เลือกถึง 5 สาขา และยังมีวิชารอง (Minor) ให้เลือกตามความชอบอีก 3 สาขา (Finance, Marketing, and Business Cluster) โดยวิชาหลักทั้ง 5 สาขานี้จะเหมือนกับวิชาหลักในหลักสูตรภาคภาษาไทยทุกประการ ซึ่งต่างจากหลักสูตรนานาชาติหลายๆแห่งที่จะมีวิชาหลักให้เลือกน้อยกว่าหรือจะมีวิชาหลักแตกต่างจากหลักสูตรภาคภาษาไทย

    ซึ่งการเรียนหลักสูตรเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ถือได้ว่าเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนสู่โลกของการทำงานที่หลากหลายในปัจจุบันทั้งทางด้านการเงิน การจัดการ การบัญชีและการตลาด ซึ่งผู้เรียนด้านเศรษฐศาสตร์จะมีองค์ความรู้ที่สำคัญในเหตุการณ์ปัจจุบันทั้งสังคมศาสตร์อื่นๆที่สำคัญอันได้แก่ด้านการเมืองการปกครอง สังคมละวัฒนธรรม รวมถึงเหตุการณ์ด้านเศรษฐกิจอีกด้วย  โดยเนื้อหาการเรียนจะเป็นการเรียนเกี่ยวกับการกระทำใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริโภค ทั้งสินค้าและบริการ โดยให้ความสำคัญอยู่ที่การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเอง

หลักสูตร BE ธรรมศาสตร์เป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง


โดยหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือB.E. ผู้เรียนจะต้องเรียนทั้งหมด 128 หน่วยกิต

โดยใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค  1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ และเปิดภาคฤดูร้อนเฉพาะรายวิชาเท่านั้น

ซึ่งวิชาที่เปิดนั้นนักศึกษาจะต้องผ่านวิชาบังคับก่อนซึ่งนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 เป็นต้นไปจะสามารถเรียนวิชาภาคฤดูร้อนของคณะได้

   ซึ่งการเรียนการสอนจะเป็นไปตามหลักสูตรดังนี้ ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่ม

เดือนสิงหาคม – ธันวาคม

ภาคการศึกษาที่ 2 เริ่ม เดือนมกราคม – พฤษภาคม

ภาคฤดูร้อน เริ่มเดือนมิถุนายน – กรกฎาคมซึ่งการเรียนการสอนทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์

โดยนักศึกษาจะต้องศึกษาวิชาทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 30 หน่วยกิต

วิชาเฉพาะด้านเศรษฐศาสตร์ 68 หน่วยกิต

รวมถึงวิชาโทที่สนใจและวิชาเลือกเสรีอีก 30 หน่วยกิต

วิชาเอก ด้านเศรษฐศาสตร์ ของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 เอกด้วยกัน ได้แก่ 

1.ทฤษฎีและการวิจัยเชิงปริมาณทางเศรษฐศาสตร์ (Theoretical and Quantitative Economics)

2.เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (Business Economics)

3.เศรษฐศาสตร์การเงินและสกุลเงิน (Monetary and Financial Economics)

4.เศรษฐศาสตร์การเมือง การพัฒนา และภาครัฐ (Public Economics, Development and Political Economics)

5.เศรษฐศาสตร์ทั่วไป (General Economics)

 และผู้เรียนสามารถเลือกเรียน วิชาโท (Minor Areas) ได้ 3 กลุ่มวิชา

ได้แก่ การเงิน การตลาด และกลุ่มวิชาทางธุรกิจ

 วิชาเลือกเสรี ของผู้เรียนเศรษฐศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ สามารถเลือกเรียนในสาขาวิชาของคณะนิติศาสตร์ จิตวิทยา มานุษยวิทยา หรือสาขาวิชาอื่นๆตามความสนใจ

นอกจากนี้ผู้เรียนยังมีโอกาสการไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ได้เช่นกันเพราะเนื่องจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และหลักสูตร BE ได้มีข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในหลายๆประเทศในการส่งนักเรียนแลกเปลี่ยน (Exchange Program) ระหว่างกัน ในปีการศึกษาหนึ่งจะมีนักเรียนของหลักสูตรไปเรียนที่มหาวิทยาลัยคู่สัญญาประมาณ 40 คน และในขณะเดียวกันก็จะมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญาส่งนักเรียนมาเรียนที่หลักสูตรปีละประมาณ 40 คน เช่นเดียวกัน โดยมหาวิทยาลัยที่มีการแลกเปลี่ยนอย่างเช่น

1. ประเทศออสเตรเลีย ณ มหาวิทยาลัยโมนาช มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และมหาวิทยาลัยวอลลองกอง

2.ประเทศแคนาดา ณ มหาวิทยาลัยแมคกิล มหาวิทยาลัยไซมอน ฟลาเซอร์ และมหาวิทยาลัยออตตาวา

3.ประเทศเดนมาร์ก ณ โรงเรียนธุรกิจโคเปนฮาเกน

4.ประเทศฝรั่งเศส ณ โรงเรียนธุรกิจ ICN Nancy

5.ประเทศเยอรมัน ณ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ Schmalkalden

6.ประเทศญี่ปุ่น ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน และมหาวิทยาลัยนิฮอน

7.ประเทศเนเธอร์แลนด์ ณ มหาวิทยาลัยไลเดน และ มหาวิทยาลัยทิลเบิร์ก

8.ประเทศสวีเดน ณ โรงเรียนเศรษศาสตร์สตอกโฮม และมหาวิทยาลัยลินนาส

9.สหรัฐอเมริกา ณ มหาวิทยาลัยรัฐยูทาฮ์ มหาวิทยาลัยฮาวาย วิทยาเขตมาโนอา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน มหาวิทยาลัยริชมอนด์ มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย (ทั้ง 8 วิทยาเขต)

มหาวิทยาลัยอิลินอยส์ วิทยาเขตเออร์บานา แชมเปญ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน วิทยาเขตเมดิสัน และ มหาวิทยาลัยเทกซัส วิทยาเขตออสติน 

 โดยคุณสมบัติของนักเรียนแลกเปลี่ยน ต้องมีคะแนนเฉลี่ย GPA 2.85 ขึ้นไป และ TOEFL ไม่ต่ำกว่า 550 ทั้งนี้นักศึกษาต้องแสดงความประสงค์ของความสนใจในการแลกเปลี่ยนโดยการเขียนบทความและทำการสัมภาษณ์ด้วย

นอกจากนี้ ทางหลักสูตร BE มีทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่สอบเข้าศึกษาต่อได้ 5 อันดับแรกที่สมัครโดยการสอบตรงเข้าหลักสูตรเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษาและในแต่ละภาคการศึกษา ผู้ที่ทำเกรดเฉลี่ยได้ดีที่สุด 3 ลำดับแรกจะได้ทุนการศึกษา 100% ในภาคการศึกษาต่อไป

โดยทุกปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะมีทุนการศึกษาให้นักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ) ที่มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ 10 ทุนต่อปี โดย 3 ทุนจะเป็นทุนเต็มช่วยเหลือทางการเงิน และ 12 ทุน เป็นทุนช่วยเหลือทางการเงินบางส่วน

โดยทั้งหมด128 หน่วยกิต แบ่งออกเป็นดังนี้ 
1) วิชาศึกษาทั่วไป             30 หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะสาขา             68 หน่วยกิต
2.1)  วิชาบังคับ                      35 หน่วยกิต
2.2)  วิชาเฉพาะด้าน                      30 หน่วยกิต*
2.3)  วิชาสัมมนา                       3 หน่วยกิต
3) วิชาโทหรือวิชาเลือกนอกคณะ   24 หน่วยกิต
4) วิชาเลือกเสรี   6 หน่วยกิต

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในวิชาชีพหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ B.E. นั้น สามารถนความรู้ที่ได้จากภาควิชานี้ไปใช้ในการทำงานได้อย่างกว้างขวางอย่างเช่น งานในด้านการเงินและธนาคาร อาทิ นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย  พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย,พนักงานธนาคารพาณิชย์  ที่ปรึกษาการลงทุน นักวิเคราะห์นโยบาย นักวิเคราะห์การขาย นักวิเคราะห์การลงทุน นักธุรกิจ สื่อสารมวลชน ข้าราชการ นักการเมือง หรือ ประกอบอาชีพอิสระ

เรียนโครงการ B.Eธรรมศาสตร์  ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

นักศึกษาโครงการเศรษฐศาสตร์ (นานาชาติ) มีค่าใช้จ่ายประมาณเฉลี่ย 75000บาท คิดเป็น 150,000 บาท ต่อปี รวม600,000บาทในระยะเวลา 4 ปีตลอดการศึกษา


ถ้าอยากเข้าโครงการBE TUต้องทำอย่างไร

ผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตร BE จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1.       ต้องจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ( สำหรับนักเรียนในประเทศไทย )

2.       นักเรียนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง 

3.       พิจารณาคัดเลือกจากผลคะแนน SAT I หรือหากไม่มี สามารถสมัครสอบคัดเลือกโดย
ข้อสอบของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ (ข้อสอบประกอบด้วยวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ)

โดยการยื่นคะแนนจะต้องมี

1.       ต้องมีคะแนนการสอบข้อเขียนอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
      -. คะแนน SAT I : Critical Reading + Math ตั้งแต่ 1100 คะแนนขึ้นไป 
        และ Math ตั้งแต่ 620 คะแนนขั้นไป

     - ข้อสอบข้อเขียนของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์และสถิติ  
          หรือ คะแนน SAT I (Mathematics) 620 คะแนนขึ้นไป
       และผลสอบทางด้านภาษาอังกฤษอย่างเช่น                                                                          
       ข้อเขียนของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ หรือ

       ผลคะแนน TU - GET ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป หรือ
       ผลคะแนน TOEFL ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป ( CBT > 213 / IBT > 79 ) หรือ
       ผลคะแนน IELT ตั้งแต่ 6.0 คะแนนขึ้นไป

       * ผลคะแนนทางการของ TOEFL/IELT/TU-GET จะต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสุดท้ายของการสมัคร B.E.

      * สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องมีจดหมาย Reccommendation จำนวน 2 ฉบับ

โดยแนวข้อเขียนของข้อสอบทางคณิตและอังกฤษจะออกคร่าวๆดังนี้

       Mathematics and Statistic มีทั้งหมด 36ข้อ มีอยู่ 2 part

Part 1: เป็น multiple choice 30ข้อ   คิดคะแนน ข้อละ 3คะแนน ถ้าตอบผิด ลบ1 คะแนนส่วนนี้เต็มได้ 90 คะแนน

Part 2: เป็นอัตนัย เขียนวิธีทำ 6ข้อ  ข้อละ 20 คะแนน ตอบผิดไม่หักคะแนนคะแนนส่วนนี้ได้เต็ม 120 คะแนน

รวม 210 คะแนน

เนื้อหาจะเป็นคณิตม.ปลายทั่วๆไป ตั้งแต่ เซต กราฟ ความน่าจำเป็น ฟังชั่น ฯลฯ แล้วก็เป็น word problem ซะส่วนใหญ่ ห้ามใช้เครื่องคิดเลข 

ส่วนEnglish Comprehension Test 

มีอยู่ 3 part เหมือนข้อสอบ tu get เป็น choice หมดเลย 100ข้อ 100คะแนน (ข้อละคะแนน)
Part 1: writing เป็น error identification หรือ เติมคำในช่องให้ถูกหลัก 25ข้อ
Part 2: vocabulary เป็นเติมศัพท์กับหาศัพท์ที่ความหมายใกล้เคียง 25ข้อ
Part 3: reading  50ข้อศัพท์ส่วนมากจะออกในเชิงเนื้อหาเชิงธุรกิจและเศรษฐกิจ

โครงการBE TU เปิดรับสมัครช่วงไหน

เปิดรับสมัครช่วงพฤศจิกายน  และถ้าเลือกสอบข้อสอบของมหาวิทยาลัยจะต้องสอบ ช่วงกลางธันวาคม โดยต้องยื่นผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ ตัวจริงช่วงกลางเดือนมกราคมและ  ประกาศผู้มีสิทธิสัมภาษณ์ต้นกุมภาพันธ์  สัมภาษณ์ กลางกุมภาพันธ์ ผู้สนใจศึกษาต่อสามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.be.econ.tu.ac.th/ โดยในแต่ละปีจะรับนักศึกษาประมาณ 150 คน และมีการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 1:58:55 น.
Counter : 8376 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการ ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ  (BEC TU)
แนะแนวโครงการ ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (BEC TU)

BEC Portfolio 2019 | TUBEC

สำหรับจุดประสงค์ของบทความบทนี้จะเป็นการแนะนำโครงการรับตรง โดยเฉพาะโครงการรับตรงในหลักสูตรนานาชาติ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการสอน    ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือจะเรียกสั้นๆว่า BEC ธรรมศาสตร์ BEC มธ BEC TU แล้วแต่คนจะเรียกกัน

BEC คืออะไร
สำหรับโครงการภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ BECนั้น เป็นโครงการหลักสูตรปริญญาตรีในระบบนานาชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าอินเตอร์นั่นแหละคะ โดยโครงการนี้จะอยู่ในส่วนหนึ่งของคณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการเรียนในโครงการนี้จะเป็นการผนวกเอาระหว่าง ศาสตร์ทางมนุษยศาสตร์ ที่มีการสื่อสารทางภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ กับ ศาสตร์ทางด้านการบริหารโดยมีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในศาสตร์ของการสื่อสารทาง ธุรกิจ เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์ของธุรกิจ และมีทักษะด้านการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจในรูปแบบต่างๆ

    โดยในตัววิชาก็จะมีการเรียนการสอน ด้านคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน บัญชี  การจัดการ การตลาด การโฆษณา เศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์ การประชาสัมพันธ์ การต่อรองในเชิงธุรกิจ การนำเสนอ ผนวกกับเนื้อหาด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์ จิตวิทยา ศิลปะ วัฒนธรรม และทักษะการสื่อสาร แต่โดยส่วนมากก็จะเรียนแค่วิชาพื้นฐานเท่านั้นไม่ได้ลึกมาก  เท่าคณะที่มีการเรียนการสอนโดยตรง 

   ซึ่งโครงการ BEC เป็นหลักสูตรภาษาอังกฤษ ในระบบการศึกษาแบบ 4 ปี และเป็นระบบทวิภาค ที่มีการแบ่งเวลาภาคการศึกษาปีละ 2 ภาค ภาคละ 16 สัปดาห์ โดยการเรียนการสอนทั้งหมดจะอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ซึ่งตัวนักเรียน นักศึกษา สามารถเลือกได้ว่า จะอยู่ที่หอพักภายในมหาวิทยาลัย ที่แบ่งออกเป็นสองส่วน คือหอพักในเก่า และหอพักในใหม่ หรือ หอเอเซี่ยนเกมส์  ซึ่งหอพักทั้งสองจะอยู่บริเวณภายในมหาวิทยาลัย  หรือหอพักนอกของมหาวิทยาลัย อย่างหอพัก TK Park  หรือ หอพักเอกชนที่มีอยู่อย่างมากมายบริเวณข้างหลังมหาวิทยาลัย หรือบางคนอาจจะไปกลับ ก็สามารถที่จะขับรถมาเรียนได้ หรือจะเลือกขนส่งมวลชน ก็มีทั้งรถตู้ที่วิ่งจากศูนย์ท่าพระจันทร์ มายังศูนย์รังสิตตั้งแต่ช่วง6โมงเช้า ถึง6 โมงเย็น หรือถ้าใครมาทางอนุสาวรีย์ชัยก็มีรถตู้ที่วิ่งจากบริเวณนั้นมายังบริเวณมหาวิทยาลัยเช่นกัน หรือว่าถ้าอยู่บริเวณจตุจักร ก็มีรถตู้ไว้ให้บีริการเช่นกัน หรือว่าถ้าจะนั่งรถเมล์ ก็มีบริการ อย่างเช่นสาย29 39 เป็นต้น


BEC เรียนอะไรกันบ้าง


  ส่วนในด้านการเรียนการสอนและหลักสูตรนั้น วิชาหลักๆ ของ BEC ก็ยังคงเป็น ภาษา โดยเนื้อหาที่ได้เรียน  Critical Reading through Arts and CultureEnglish for Electronic Communications, Introduction to Report WritingReading and Writing in Business English   โดยการใช้ภาษาอังกฤษนั้นจะใช้ในด้านธุรกิจต่างๆ วิชาเรียนต่างๆ จึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อพัฒนาการฟัง พูด  อ่าน และเขียน ภาษาอังกฤษภายใต้เนื้อหาของธุรกิจ และวิชาเรียนต่างๆ ของ BEC  จะเน้นในเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นของโลกทั้งด้าน ธุรกิจ เศรษฐกิจ และ สังคม  ซึ่งหน่วยกิตทั้งหมดของโครงการนี้จะมีทั้งหมด 138 หน่วยกิต

โดยแบ่งเป็นวิชาพื้นฐาน 30 หน่วยกิต 

หมวดวิชาบังคับ 84 หน่วยกิต
แบ่งออกเป็น วิชาภายในเอก 57 หน่วยกิต 

วิชาเลือกตามเนื้อหาอีก 27 หน่วยกิต 

วิชาบังคับเลือก 18 หน่วยกิต

วิชาเลือกเสรีอีก 6 หน่วยกิต  

  - ปีหนึ่ง เรียนวิชาที่มหาลัยกำหนด เรียนเหมือนกันหมดทั้งมหาลัย เช่น วิชา ภาษาอังกฤษEG ภาษาไทย    Humanity, Social Science, Western/Eastern Civilization, Thai civilization , Intregrated science and   technology, man and arts or man and literature, แล้วก็มีให้เลือกเรียนระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ คณิตศาสตร์   ซึ่งสามารถเลือกเรียนได้

 - ปีสองก็เรียนวิชาพวกที่เรียกว่า Content-Based Core Coursesเป็นพวกวิชาที่ควรเรียนไว้     เพราะเป็นเนื้อหาธุรกิจเบื้องต้น ที่ควรรู้ เช่น
  Business, Business Law Introductory Economics Principles of Management 
  Introduction to Advertising and Public Relations Principles of Marketing Cross-Cultural Psychology

  ปีสามปีสี่นี้ ก็เรียนฺ Business English Communication กันจริงจัง เทอมแรกก็จะเรียน วิชาพวก 
  - Business English หรือ ย่อๆ EB เช่น English for business correspondence คือเรียนวิชาการ   เขียนจดหมายแบบต่างๆ มากมาย ที่เวลาทำงานต้องใช้ เช่น การเขียนขอร้อง ปฎิเสธ เชิญชวน โฆษณา เขียน memo

  Writing for electronic communication คือ เขียนเกี่ยวกับการเขียนสื่อออนไลน์ เช่น การเขียน content สำหรับ   website หรือการเขียน email advertising เป็นต้น

  ส่วน  ปีสามเทอมสอง ก็จะต้องเลือกสาย คือ 1. Translations 2. Business English 
  1. Translations ก็ตรงตัวเรียนไป แปลไป ไทย - อังกฤษ อังกฤษ-ไทย แปลพวกสัญญา 
  2. เรียน EB ต่อ เช่นวิชา English for Human Resource Management , English for Business Meetings, English for Fundamental Marketing , และ English for Business Meetings

      และยังมี วิชา อื่น ที่ไม่ใช่ EB ที่สนุกและน่าสนใจให้เรียน ไม่ว่าจะเลือกสายไหน เช่น Cross Cultural   Communication in the Western/Eastern World เป็นวิชาที่น่าสนใจมาก เรียนเกี่ยวกับ การสื่อสารกับผู้คน  ที่มีวัฒนธรรมต่างจากเรา ต้องเรียนรู้ แล้วปรับเปลี่ยนยังไง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร,

ขั้นตอนการจะมาเป็นนักเรียนในโครงการ BEC มธ 
อย่างแรก คือจบ ม.6  และมีเกรดรวมกัน5เทอมไม่น้อยกว่า 2.50 ถ้าเป็นนักเรียนไทย 
แต่ถ้าเรียนไม่จบ ม6 ต้องสอบเทียบเท่า (เช่น GCE, GCSE, IGCSE, IB และ GED)    โดยที่         
1.1 ผู้สมัครสอบที่ใช้ผลคะแนนสมัครสอบ GCE, GCSE หรือ IGCSE ต้องสอบผ่านอย่างต่ำ 5 วิชาไม่ซ้ำกัน โดยต้องได้เกรดแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า C ทั้งนี้ไม่นับรวมผลสอบวิชาภาษาไทย

1.2 ผู้สมัครสอบที่ใช้ผลคะแนน IB ต้องสอบผ่านอย่างต่ำ 5 วิชาไม่ซ้ำกัน โดยต้องได้เกรดในแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 4

1.3 ผู้สมัครสอบที่ใช้ผลการสอบ GED ต้องมีคะแนนรวมขั้นต่ำ 2,250 คะแนน และต้องสอบผ่านอย่างต่ำ 5 รายวิชาไม่ซ้ำกัน โดยต้องได้คะแนนในแต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 410 คะแนน

1.4 ผู้สมัครสอบที่ใช้ผลการสอบของประเทศนิวซีแลนด์ ต้องได้เกรดเฉลี่ยเทียบเท่า 2.5 ตามการคำนวณของ NZQA

1.5 ผู้สมัครสอบจากสถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สถาบันการศึกษาไม่ได้คำนวณผลการเรียนโดยเกรดเฉลี่ย/คะแนนเฉลี่ยไว้ ต้องนำใบรายงานตัวผลการศึกษาและบันทึกผลการเรียนและหลักฐานการศึกษาอื่นๆ ที่แสดงผลสัมฤทธิ์การศึกษาของผู้สมัครว่าเทียบเท่าระดับ 2.5 ในระบบ GPA มายื่นให้โครงการฯ ในวันรับสมัคร

 2 ต้องสอบภาษาอังกฤษและมี ผลสอบทางภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้        IELTS ( Academic ) 6.0 ขึ้นไป หรือ  TOEFL :  IBT = 61 ขึ้นไป หรือ TU - GET 500 คะแนนขึ้นไป หรือSAT Verbal 470 คะแนนขึ้นไป โดยผลสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา

โดยคะแนนที่ยื่นไม่มีผลต่อการสอบนะคะ คะแนนที่ยื่น เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่หมายความว่า คนที่สมัครมีสิทธิสอบข้อเขียน และ สัมภาษณ์ของโครงการแค่นั้น


3 เมื่อผลทั้งสองข้อผ่านแล้วด่านที่สามที่จะต้องเจอก็คือ เรื่องของการทำข้อสอบ โดยข้อสอบจะเป็นการสอบเรียงความเป็นภาษาอังกฤษจะ มีอยู่ด้วยกันสองส่วนด้วยกัน
- ส่วนแรกเป็นย่อความ ข้อสอบจะให้เนื้อหาเรา ภายใน 1 พารากราฟ แล้วให้เราย่อความ ตามที่เราเข้าใจ และที่สำคัญจับใจความให้ได้ว่า เนื้อหา เขาพูดถึงอะไร และเขียนในภาษาของเราเองที่เราเข้าใจ โดยห้ามลืม main point ของเนื้อเรื่องโดยแนวข้อสอบส่วนมากจะเป็นเนื้อหา เชิงธุรกิจ จุดนี้ถ้าใครชอบอ่านข่าวภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะข่าวธุรกิจ หรือเรียนอินเตอร์มาน่าจะได้เปรียบเพราะน่าจะเขียนคล่องและน่าจะรู้แนวได้อย่างดี
- ส่วนที่สอง คือ เรียงความ ความยาวประมาณ 300 คำ หัวข้อจะเปลี่ยนไปแต่ละปี ก็เขียนแบบ academic writing มีเวลาเขียนสามชั่วโมง ฉะนั้นใครฝึกการเขียนมาเยอะๆบ่อยๆ น่าจะได้เปรียบเพราะพาร์ทนี้ ไม่ใช่แค่เนื้อหาแค่นั้นที่โอเค แต่จะต้องดูเรื่องความถูกต้องทาง              ไวยกรณ์ ภาษา เช่นรูปเอกพจน์ ของกริยา ในtense simple  ต้องเติมs es  จุดเล็กจุดน้อยต้องระวังไว้ให้ดี

แนวข้อสอบมีอะไรบ้าง

  สำหรับแนวข้อสอบคร่าวๆส่วนมากจะเป็นเรื่องของธุรกิจ อย่างเช่นการออกคำศัพท์ทางธุรกิจต่างๆเช่น
1. Vision = ? 
2. Consumption = ?
3. Dominant = ?
4. Commodity = ? 
5. Nationalist = ?
6. Potential = ?
7. Industrial = ?
8. Value = ?
9. Competitive advantage = ?
10. Global = ?

ส่วนหัวข้อเรียงความส่วนมากจะถามเกี่ยวกับความเกี่ยวเนื่องกับหลักสูตรที่เราเรียนเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ หรือว่า ถ้าเราเรียนไปแล้วเราคิดว่าเราจะเอาความรู้นี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร ตัวอย่างก็เช่น

BEC#1 (2007) - Why do you wish to join this program and what are the benefit you expect to gain from BEC? 

BEC#2 (2008) - Do you think extra curricular activity is important?

BEC#3 (2009) Considering to the collapse of the financial system, is business English still necessary field of study?

และเมื่อเราผ่านส่วนข้อเขียนไปแล้วก็มาส่วนที่เป็นสัมภาษณ์โดยการสัมภาษณ์จะสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ จากอาจารย์ไทย และอาจารย์ต่างชาติ ส่วนมากก็จะถามแนวชีวิตส่วนตัว ดูทัศนคติของเรา อาจจะถามเรียนไปทำไม หรือเรียนเพื่ออะไร แล้วจะนำความรู้ที่เรียนไปใช้อะไร หรือไม่ก็อาจจะถามแบล็คกาวน์ชีวิตเรา ว่าครอบครัวเป็นอย่างไร เรียนอะไรมา ยกเว้นแต่ว่าไปเจออาจารย์หินๆหน่อย อาจจะถามคำถามเชิงไหวพริบ ถามเหตุการณ์ปัจจุบัน ถ้าใครพอมีไหวพริบก็น่าจะแถๆไปได้

โดยเมื่อประกาศผลผ่านทั้งหมดแล้ว เราก็เตรียมตัวกลายเป็นนักศึกษาโครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หรือ BEC ธรรมศาสตร์ ได้เลยอย่างทันที โดยส่วนมากการเปิดรับสมัครและกระบวนการขั้นตอนในการสอบนั้นจะจัดขึ้นช่วงต้นปี โดยการรับสมัครจะเกิดขึ้น มกราคม-กุมภาพันธ์  ส่วนขั้นตอนการสอบข้อเขียน สัมภาษณ์จนประกาศผลนั้นจะเกิดขึ้นช่วงมีนาคม เพราะฉะนั้นใครสนใจต้องคอยเตรียมตัวตั้งแต่ช่วงปลายๆปีเอาไว้ให้ดี เพราะต้นปีใหม่ก็จะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลสอบBEC แล้ว โดยโครงการBEC นั้น จะเปิดรับนักเรียนทั้งหมด90 คน แต่ก็จะมีรอบสำรองอีก30คน เผื่อไว้ในกรณีที่นักเรียนตัวจริงสละสิทธิ์

ถ้าใครสนใจลองเข้าไปดูข้อมูลที่  https://www.bec-tu.com 

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 1:37:58 น.
Counter : 5651 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการหลักสูตรวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม(หลักสูตรนานาชาติ)(GSSE TU)
แนะแนวโครงการหลักสูตรวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม(หลักสูตรนานาชาติ)วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (GSSE TU)

GSSE Program Requirements - The School of Global Studies, Thammasat  University

  สำหรับบทความนี้ขออนุญาตแนะนำหลักสูตโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม(หลักสูตรนานาชาติ)วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ(GSSE TU) โดยย่อมาจาก Global Studies and Social Entrepreneurship เป็นหลักสูตรนานาชาติ ป.ตรี เเน้นสร้างเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำ นักเปลี่ยนแปลง และนักธุรกิจเพื่อสังคม ที่มีความสนใจ ใส่ใจ และอยากที่จะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น

    โดยปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนนักธุรกิจและผู้ประกอบการที่มีความเป็นธรรมและรับ ผิดชอบต่อสังคมยังคงเป็นกระแสที่ทั้งทางภาครัฐและบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มีผลพวงมาจากระบบการศึกษาที่เน้นคนเก่ง แต่ทว่าในการแข่งขันส่วนมากจะเน้นด้านความเก่งและผลงานความเป็นเลิศทางวิชาการแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

   ทำให้หลายครั้งเมื่อผลิตบัณฑิตออกมาจากรั้วมหาวิทยาลัยมักจะพบว่าบัณฑิตเหล่านั้นเป็นคนเก่ง แต่ทำงานกับใครไม่ได้ รู้เชิงลึก แต่มองภาพใหญ่ไม่ออก มีความสามารถ แต่มิอาจปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ ที่สำคัญ คิดเก่ง คิดใหญ่ แต่ไม่ได้สร้างคุณค่าอะไรให้กับสังคมรวมไปถึงบางทีการจบออกมาอาจจะใช้ความเก่งทางที่ผิดและไม่ได้ช่วยเหลือในทางสังคมอย่างแท้จริงดังนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงคิดค้นหลักสูตร GSSE (นานาชาติ) เพื่อเร่งผลิตบัณฑิตให้สอดรับกับตามความต้องการของตลาดธุรกิจและการประกอบกิจการ การที่ไม่มุ่งเน้นถึงผลกำไรขององค์กรเพียงอย่างเดียว แต่คำนึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตของแต่ละคนและในสังคมไป พร้อมๆ กันเช่นการพัฒนาเศรษฐกิจ การคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และการกระจายองค์ความรู้ให้แก่ชุมชน

    โดยหลักสูตรGSSE จึงเป็นการบูรณาการสาขาวิชาที่หลากหลายทั้งศาสตร์ด้านสังคม การสื่อสาร ภาวะผู้นำ การบริหารจัดการ และการสร้างนวัตกรรม ซึ่งในหลักสูตร นักศึกษาจะสามารถคิดวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันเสนอแนวทางและนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาสังคมและธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล บริหารธุรกิจอย่างเป็นธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
  ซึ่งในระบบการเรียนนั้นจะมีการเรียนการสอนในจำนวนไม่น้อยกว่า136 หน่วยกิต ภายในระยะเวลา4ปี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษซึ่งตัวเนื้อหาที่เรียนนั้นจะเน้นการพิจารณาถึงปัจจัย และกระบวนการของโลกาภิวัตน์ และเข้าใจการดำเนินไปรวมถึงผลของโลกาภิวัตน์ในภูมิภาคต่างๆ ในปัจจุบัน รวมทั้งตระหนักรู้ถึงแง่มุมต่างๆ ของธรรมชาติของปัญหา และข้อจำกัดของวิทยาการบางประเภท และวัฒนธรรมทางการศึกษาพร้อมทั้งปฏิบัติงานตามแนวคิดที่มาจากมุมมองที่ต่างกันของการวิเคราะห์ และในทางทฤษฎี และสามารถเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบในเรื่องแนวคิด และรูปแบบในด้าน สังคม-เศรษฐกิจ-การเมือง รวมทั้งปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของแนวคิดทั้งสามด้าน รวมทั้งเข้าใจการผลิต นวัตกรรมการดำเนินการ นวัตกรรมด้านการออกแบบ และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรมการสนับสนุนด้วยการเชื่อมนวัตกรรมทางสังคมกับโลกาภิวัตน์, ความมั่นคง และสุขภาวะของมนุษย์ได้

หลักสูตร GSSE มธเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

สำหรับหลักสูตรนี้จะมีการเรียนการสอนอยู่สองส่วน 

ส่วนแรก คือGlobal Studies  - เน้นเรียนเป็นสหสาขาเพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงความเชื่อมโยงของโลก สร้างเด็กให้เป็นผลเมืองโลก ผ่านการเรียนการสอนแบบหลักสูตรอินเตอร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้เด็กไทยพร้อมที่จะก้าวไปทำงานในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้ โดยมีทักษะทางด้านภาษา ผ่านอาจารย์ที่มีทั้งอิมพอร์ทจากต่างประเทศ และอาจารย์ในประเทศที่ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ เช่นจาก United Nations ,UNICEF, World Bank, World Health Organization, UNDP เป็นต้น

   โดย Global Citizen คือการเข้าใจวัฒนธรรมและสามารถสื่อสารทำงานกับคนต่างชาติได้ นอกจากจะมีการเรียนในส่วนของการสร้างความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม และการสื่อสาร โดยการเรียนจะไม่เน้นแต่ทฤษฎีแต่เป็นการเรียนแบบ Experiential Learning เน้นลงมือปฏิบัติถึง ทั้ง ทำโปรเจคจริง  เพราะว่าตำราอ่านวิธีทำเท่าไหร่ก็คงยังทำไม่ได้ นอกจากการลงมือเท่านั้น

รวมถึงไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ พ่วงกับทักษะพูดเป็น ทำเป็น และนำเสนอเป็น ซึ่งเป็นจุดเด่นของหลักสูตรนี้คือจุดเด่นคือ 25%ทฤษฎี 25%ลงมือทำ และ 50% internship นักศึกษาจะต้องทำSocial Innovation Project 7จาก8เทอมอีกด้วย ดังนั้นนักศึกษาที่จบจาก GSSE จะได้มีมุมมองที่หลากหลาย มีทักษะในการเชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆในสังคม และทักษะในการสร้างสรรค์ทางออกใหม่ๆเพื่อการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้

2. Social Entrepreneurship - ธุรกิจเพื่อสังคม 
สำหรับในส่วนของหลักสูตรคำว่า"ธุรกิจเพื่อสังคม" มันคือการสอนการทำธุรกิจที่ได้รายได้แต่แก้ไขหรือพัฒนาสังคมไปด้วย เช่น ดอยตุง คือดอยตุงช่วยให้ชาวเขาเปลี่ยนจากปลูกฝิ่นมาปลูกกาแฟ แล้วดอยตุงก็ขายกาแฟนั้น ซึ่งตัวธุรกิจแก้ปัญหายาเสพติดของคนบนดอย แถมยังได้รายได้อีกด้วย เพราะฉนั้นธุรกิจแบบนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนมาก หรือ Toms ยี่ห้อรองเท้าชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ที่มีรูปแบบการทำธุรกิจแบบ One for One โดยที่รองเท้าหนึ่งคู่ที่ลูกค้าซื้อ ทางบริษัทจะบริจาครองเท้าอีกคู่หนึ่งให้กับเด็กด้อยโอกาสที่ไม่มีรองเท้าใส่ จะเห็นได้ว่าธุรกิจเพื่อสังคมเช่นนี้ ยิ่งเติบโต ยิ่งมีกำไรมาก ก็จะสามารถขยายผลกระทบที่ดีต่อสังคมในวงกว้างได้มากขึ้นเเช่นกัน

  โดยนักศึกษาที่จบจากหลักสูตรนี้ จะเป็นคนที่ใส่ใจและมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นโดยใช้หลักการของการประกอบธุรกิจ และมากกว่าการที่สอนให้ทำธุรกิจเพื่อสังคม คือการสอนให้เด็กรุ่นใหม่เป็นนักเปลี่ยนแปลง ช่วยแก้ไขและพัฒนาสังคมและประเทศของเรา GSSE ก็เหมือนหลักสูตรพัฒนาผู้นำนั้นเอง เพราะจะสอนให้คิดแตกต่าง คิดนอกกรอบ และกล้าแสดงออก• โดยนักศึกษาจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แสดงความคิดทั้งในและนอกห้องเรียน ผ่านการทำโปรเจค การคิดค้นนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาสังคม และการอภิปราย

ซึ่งตัวหลักสูตรจำนวน 136หน่วยกิต ถูกจำแนกออกเป็น


1) วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

2) วิชาเฉพาะ    100 หน่วยกิต

     2.1) วิชาบังคับ   49 หน่วยกิต

     2.2)   วิชาภาคปฏิบัติ      30 หน่วยกิต

     2.3)   วิชาโท      15 หน่วยกิต

        2.3.1. สาขาการปรับเปลี่ยนและนวัตกรรมสังคม

         2.3.2. สาขาการเคลื่อนไหวและนวัตกรรมสังคม
 
        2.3.3. สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสังคม

     2.4)    วิชาบังคับเลือกนอกคณะ        6  หน่วยกิต

 3). วิชาเลือกเสรี         6  หน่วยกิต


จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในวิชาชีพหลักสูตรวิชาโลกคดีศึกษาและการประกอบการสังคม หรือGSSE นั้นสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายแบบ เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ (CSR) , นักวางแผน, นักวิชาการ , นักปฏิบัติการเชิงวิชาชีพทางการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม , นักสื่อสารสังคม, นักพัฒนาองค์กร, นักออกแบบนวัตกรรมสังคม   รวมไปถึงถ้าทางครอบครัวมีกิจการอยู่แล้วก็สามารถนำแนวทางนี้ไปปรับใช้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนขององค์กรได้เลย หรือก็สามารถเป็นผู้ประกอบการเองได้ 

ถ้าอยากเข้าโครงการGSSE TUต้องทำอย่างไร

สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรGSSE จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.       จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2.       เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
3.       คะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษ แนะนำ
•       TOEFL iBT  > 61
•       IELTS  > 5.5
•       TU-GET > 500
•       SAT Critical Reading > 400
 4. การสอบสัมภาษณ์จะมีทั้ง การสอบข้อเขียน การวัดจากกิจกรรมกลุ่ม และการสัมภาษณ์เดี่ยว
(แนะนำให้ผู้สัมภาษณ์นำ portfolio ขนาดไม่เกิน 10 หน้า มาด้วย)

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 




Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 1:29:52 น.
Counter : 3095 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



All Blog