แนะแนวโครงการสาขาวิชานวัตกรรมการบริการ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (BSI TU)
แนะแนวโครงการสาขาวิชานวัตกรรมการบริการ(หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนวัตกรรม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (BSI TU)

BSI Curriculum
ทุกวันนี้เราคงต้องยอมรับว่าแนวทางในการประกอบอาชีพของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากขึ้น จากแต่เดิมนั้นความต้องการในการประกอบอาชีพของคนไทยมักจะนิยมประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับทางภาคของราชการ เพราะเนื่องจากเป็นอาชีพที่มีการนับหน้าถือตาในวงสังคมสูง และมีความมั่นคงทางอาชีพอยู่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาชีพที่เข้ามาแทนที่คืออาชีพในด้านธุรกิจทางการเงินหรือการทำงานเอกชน เพราะเนื่องจากให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง  แต่เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้น ตัวเลือกที่มีการส่งเสริมขึ้นมาคือในด้านของการท่องเที่ยวและการบริการต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ และต่อมาได้กลายเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศ  

 และในตอนนี้เราจะมาแนะแนวหลักสูตรที่เรียนเกี่ยวข้องกับงานด้านการบริการกัน ซึ่งหลักสูตรนั้นก็คือ หลักสูตร โครงการสาขาวิชานวัตกรรมการบริการ  (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   หรือ(BSI TU) ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4ปีแบบทวิภาค 1ปีการศึกษา มี2ภาคการศึกษาเรียนเต็มเวลาในวัน – เวลาราชการ แบ่งออกเป็น3 ภาค
 คือ   ภาคการศึกษาที่ 1   เดือนสิงหาคม – ธันวาคม  

 ภาคการศึกษาที่ 2  เดือนมกราคม – พฤษภาคม และ     

   ภาคฤดูร้อน   เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 

โดยเปิดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์และมีการเรียนการสอนเป็น ภาษาอังกฤษ   ซึ่งเนื้อหาทางการเรียนการสอนส่วนใหญ่นั้นมีอยู่อย่างหลากหลาย แต่หลักๆคือเน้นการผสมผสานผ่านองค์ความรู้ต่างๆ เข้ากับศาสตร์เกี่ยวกับด้านการบริการ ไม่ว่าจะเป็น บริหาร ,จิตวิทยา,กฎหมาย ,การตลาดเพื่อพัฒนาด้านทักษะการใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์แก่ผู้เรียน
 โดยเนื้อหาเด่นๆจะเน้นในเรื่องของการบริหาร และการสื่อสารทางด้านการบริการ  หรือในการบริหารสื่อ รวมทั้งการวางแผนกลยุทธ์ภาคการบริการ อย่างเช่นวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาการโรงแรมระหว่างประเทศ,การจัดการธุรกิจการบริหารความเสี่ยงสำหรับอุตสาหกรรมการบริการการประชุม การจัดแสดงและนิทรรศการ,การสร้างและบริหารเอกลักษณ์ตราสินค้า  รวมทั้งมีวิชาเลือกเกี่ยวกับด้านภาษา ที่สามเป็นทางเลือกแก่ผู้ศึกษาอย่างเช่นภาษาจีน ,ภาษาเกาหลี และภาษารัสเซีย ซึ่งในโครงการนั้นการเรียนการสอนส่วนใหญ่ จะสร้างการเรียนรู้ผ่านรูปแบบกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น การศึกษานอกสถาน ที่ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการฝึกงานในช่วงปิดภาคฤดูร้อน อย่างเช่น วิชา การฝึกงานระดับปฏิบัติการ และ การฝึกงานระดับบริหาร รวมทั้ง การเรียนการสอน แบบบทบาทสมมุติ ,การวิเคราะห์กรณีศึกษา, การอภิปรายกลุ่ม และการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อรองรับความต้องการด้านบุคลากรของอุตสาหกรรมการบริการที่มีความซับซ้อนและทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน

  เพราะงานด้านการบริการในปัจจุบัน ถือเป็นหนึ่งในนโยบายการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ดังนั้นงานพัฒนา ด้านการบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการนำเครื่องมือที่เหมาะสมกับยุคสมัยเพื่อให้ผู้บริโภคสินค้า ได้รับประโยชน์การบริการสูงสุด จึงน่าจะเป็นช่องทางในการดำเนินธุรกิจที่ก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี

หลักสูตร BSI มธเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

สำหรับหลักสูตรนี้จึงเน้นการพัฒนางานด้านการบริการ ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน โดยเฉพาะในอนาคต การบริการจะมีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาความก้าวหน้าขององค์กร  จึงทำให้งานด้านการบริการลูกค้า ทั้งในแง่ของการสื่อสาร การพัฒนารูปแบบการให้บริการ น่าจะต้องปรับเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพื่อเพิ่มศักยภาพให้การตอบสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง โดยวิชาที่ทางหลักสูตรเปิดสอน จะเป็นการพัฒนาทั้งองค์กรธุรกิจ หน่วยงานราชการและเอกชน นอกจากงานด้านการบริการแล้ว

   นักศึกษาในหลักสูตรนี้    ยังสามารถเลือกศึกษาในงานด้านต่างๆได้อีกด้วย เช่น งานด้านการติดต่อ สื่อสาร การขนส่งรวมไปถึงการกระจายสินค้า งานด้านสันนทนาการ การท่องเที่ยว  การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม งานด้านการบริการสังคม การเงิน การศึกษา เป็นต้นและการเรียนที่วิทยาลัยนวัตกรรมไม่เพียงแต่เปิดโอกาสด้านการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเปิดโอกาสด้านการสนับสนุนทุนสำหรับโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความร่วมมือกับคณะต่าง ๆ และมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ดังนั้น หลักสูตรมุ่งเน้นที่จะเปิดโลกทางการศึกษา แนวความคิด นวัตกรรมใหม่ ๆ การเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติต่อการทำงานที่ดี มีความเป็นสากล สามารถทำงานได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน โดยรูปแบบของหลักสูตรแบ่งออกเป็น

 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 126 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | General Education Courses     30 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ | Specific Courses                              90 หน่วยกิต
2.1 วิชาบังคับ | Core Courses                                            78 หน่วยกิต
2.2 วิชาเลือก | Elective Courses                                        12 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | Free Elective Courses                    6  หน่วยกิต
                                                                  รวมทั้งหมด    126 หน่วยกิต     
 จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง
หลักสูตร BSI TUมุ่งผลิตนักศึกษา สามารถทำงานได้ทั้ง  องค์กรต่างชาติ เช่น ASEAN Secretariat, Pacific Asia Travel Association (PATA), Mekong Tourism Coordinating Office (MTCO), UNDP, UNEP, Asian Development Bank (ADB) องค์กรและบริษัทธุรกิจการบริการสาขาต่าง ๆ เช่น โรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจจัดงานอีเวนท์ สายการบิน โรงพยาบาล ธนาคาร สถาบันการเงิน ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจบริการโทรคมนาคม การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่งบริษัทและธุรกิจภาคการผลิตที่มีหน่วยงานด้านการบริการ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และอื่น ๆรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวง ICT และอื่น ๆ

เรียนโครงการ BSI  ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

โดยมีค่าเรียน ตก4ปีคิดเป็น 450,000บาท โดยมีการบริหารจัดการเป็นโครงการบริการการศึกษา (เพื่อรับปริญญา) (โครงการพิเศษ) นักศึกษามีค่าใช้จ่ายหลักได้แก่ ค่าหน่วยกิต ๆ ละ 2,500 บาท ค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตามระเบียบ และค่าธรรมเนียมพิเศษของวิทยาลัยนวัตกรรมภาคการศึกษาละ 10,000 บาท (สำหรับนักศึกษาไทย) ยกเว้นภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อหัวนักศึกษาตลอดระยะเวลาหลักสูตรนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานต่างประเทศ ค่าเอกสารประกอบการสอนและตำรา 


ถ้าอยากเข้าโครงการBSI TUต้องทำอย่างไร

มีคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่า 2.00
มีผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
คะแนนสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS โดยผลสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร และมีผลคะแนน ดังนี้
TOEFL  Paper-based   500
TOEFL Computer-based 173  
TOEFL Internet-based  61
TU-GET                         500
IELTS                                6.0

ในกรณีผู้สมัครเข้าศึกษามีคะแนนสอบภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่มีคุณสมบัติอื่น ๆ ดี เช่น ผลการเรียนระดับดีมาก มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับนานาชาติ เป็นต้น สามารถรับเข้าศึกษาแบบมีเงื่อนไขได้ โดยต้องมีคะแนนสอบภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ ดังนี้
TOEFL  Paper-based   400
TOEFL Computer-based 97
TOEFL Internet-based     32
TU-GET     400
IELTS       4.5

ในกรณีที่นักศึกษาต่างชาติเป็นผู้ที่มีสัญชาติและมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ จะได้รับการพิจารณายกเว้นไม่จำเป็นต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรายชื่อประเทศดังนี้ คือ ออสเตรเลีย, แคนาดา, ไอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือ สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ จะต้องยื่นใบเทียบวุฒิการศึกษา หรือ ใบรับพิจารณาเทียบวุฒิการศึกษา (หนังสือชั่วคราว) อ้างอิงตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย เรื่องการเทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศ ทั้งนี้ กรณียังไม่ได้หลักฐานการเทียบวุฒิมหาวิทยาลัยจะอนุโลมผ่อนผันการยื่นหลักฐานการเทียบวุฒิเพื่อขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันเปิดภาคการศึกษา หากพ้นกำหนดนี้จะถูกถอนชื่อจากทะเบียนนักศึกษา

รายละเอียดการสมัคร

ช่องทางการสมัคร
ช่องทางที่ 1 :    ยื่นด้วยตนเองที่เคาท์เตอร์ฝ่ายบริการการศึกษา ชั้น 1 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้ทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 16.00 น.

ช่องทางที่ 2 :    ยื่นทางไปรษณีย์ โดยส่งเอกสารตามที่อยู่
ฝ่ายบริการการศึกษา (สมัครเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาตรี)
วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

หมายเหตุ: การส่งเอกสารและหลักฐานการสมัครทั้งหมด กำหนดให้เป็นการจัดส่งแบบลงทะเบียน ทั้งนี้ วิทยาลัยนวัตกรรม จะถือวันประทับตราไปรษณีย์เป็นวันสุดท้ายของการส่งเอกสาร

หลักฐานประกอบการรับสมัคร
ผู้สมัครจะต้องยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานประกอบ ดังต่อไปนี้

ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว Download ใบสมัครได้ที่นี่

รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว                                                         จำนวน 3 รูป

สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย       จำนวน 1 ฉบับ

หรือ สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้น ม.4-5)

กรณีสำเร็จการศึกษาต่างประเทศ จะต้องยื่นสำเนาใบเทียบวุฒิการศึกษา    จำนวน 1 ฉบับ
หรือ ใบรับพิจารณาเทียบวุฒิการศึกษา (หนังสือชั่วคราว) อ้างอิงตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยเรื่องการเทียบวุฒิการศึกษาต่างประเทศ

ผลการสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS ตามระดับคะแนนที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา โดยผลสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปีนับถึงวันสมัคร 
       
ใบนำฝากธนาคาร (ฉบับจริง) ที่โอนเงินค่าสมัคร            จำนวน 1,000 บาท
สำเนาบัตรประชาชน                                               จำนวน 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน                                                 จำนวน 1 ฉบับ
สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล (หากมี)                 จำนวน 1 ฉบับ


อัตราค่าธรรมเนียมการสมัคร
อัตราค่าธรรมเนียมการสมัคร คนละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกหลักสูตรของวิทยาลัยนวัตกรรม ซึ่งชำระค่าสมัครโดยการโอนเงินเข้าบัญชี “วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางลำพู บัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 003-3-09797-9 เท่านั้น
 
ผู้สมัครจะต้องส่งหลักฐานการโอนเงิน (ใบนำฝากเงิน) ฉบับจริง แนบมาพร้อมกับเอกสารการสมัคร โดยเขียนชื่อ-นามสกุล ลงบนใบนำฝากให้ชัดเจน หากผู้สมัครไม่ได้แนบหลักฐานใบนำฝากเงินมาพร้อมกับใบสมัคร ทางวิทยาลัยจะถือว่าใบสมัครที่ส่งมานั้นไม่สมบูรณ์
 
วิธีการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
วิธีการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาสำหรับการรับตรง พิจารณาจากการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งการพิจารณาและการตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการวิทยาลัยนวัตกรรม ถือเป็นที่สิ้นสุด

การสอบข้อเขียนของหลักสูตร
การสอบข้อเขียนเป็นแบบอัตนัย ตอบคำถามสั้น ๆ ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ เน้นการวัดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ความคิด ทักษะการแก้ปัญหาของผู้สมัคร และความรู้ทั่วไปด้านการบริการประเภทต่าง ๆ เช่น การบริการโรงแรม รถประจำทาง รถไฟ ธนาคาร ร้านค้าปลีก ร้านอาหาร เป็นต้น
การสอบสัมภาษณ์
การสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยผู้สมัครสามารถนำ Portfolio หรือประกาศนียบัตร หลักฐานแสดงถึงการได้รับรางวัล ความรู้ ความสามารถพิเศษต่าง ๆ เพื่อเสนอต่อกรรมการสอบสัมภาษณ์ในวันสอบได้

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 29 มกราคม 2564 22:08:01 น.
Counter : 4534 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการหลักสูตรควบปริญญาตรี-โท สาขาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (BMIR TU)
แนะแนวโครงการหลักสูตรควบปริญญาตรี-โท สาขาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ)  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (BIR TU)

Announcement for BMIR Graduate Admission

    สำหรับหลักสูตรที่จะมาแนะนำกันในตอนนี้ค่อนข้างจะมีความพิเศษมากกว่าหลักสูตรอื่นเสียหน่อยตรงที่หลักสูตรที่เคยเขียนไปเมื่อคราวก่อนๆนั้นจะเน้นเป็นหลักสูตรภาคปริญญาตรีเป็นเสียส่วนใหญ่  หลักสูตรนี้ก็เป็นหลักสูตรปริญญาตรีเช่นกัน แต่ว่าในมีความพิเศษมากกว่านั้นก็คือภายในตัวหลักสูตรนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรนี้สามารถเลือกที่จะเรียนทั้งปริญญาตรี และ ปริญญาโทได้ในคราวเดียวกัน  ซึ่งหลักสูตรนั้นก็คือหลักสูตร ควบปริญญาตรี-โท สาขาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือเรียกสั้นๆว่าBMIRนั่นเอง  แค่ฟังชื่อก็ชักน่าสนใจกันแล้วสิว่าเจ้าหลักสูตรนี้ มีดีอะไรเรียนอะไร และต้องเรียนป.โทด้วยจริงๆไหม อยากรู้อ่านต่อเลยจ้า   
 
    สำหรับหลักสูตรBMIR ย่อมาจาก The Combined Bachelor and Master Degree in Politics and International Relations, Faculty of Political Science  โดยตัวโครงการนั้นเป็นโครงการที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เปิดสอนที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์

โดยมีการศึกษาตามระบบทวิภาคโดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติ มีระยะเวลา 16 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนโดยใช้เวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ ซึ่งมักจะเปิดช่วงตอนขึ้นปี3 

และจะแบ่งเป็นตามภาคการศึกษาย่อยๆ ซึ่งเทอมภาค 1 จะเริ่มเดือนสิงหาคม – ธันวาคม เทอม2 จะเริ่มช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ส่วนในภาคฤดูร้อน จะเปิดช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 

ระบบการศึกษาจะมีแบ่งออกเป็นในส่วนของเฉพาะ ปริญญาตรี 126 หน่วยกิต และถ้าควบปริญญาโทจะรวมเพิ่มอีก39หน่วยกิต ซึ่งนักศึกษาที่ต้องการต่อปริญญาโทนั้นจะต้องมีการทำวิทยานิพนธ์อีกด้วย โดยเนื้อหาการเรียนส่วนใหญ่จะเป็นไปในด้านการเมืองและการระหว่างประเทศ ซึ่งการเรียนควบปริญญาตรี-โท(เรียน5ปีซึ่งต้องได้เกรด3.00ขึ้นไปค่ะถึงจะมีสิทธิ์ต่อโท)

  โดยนักศึกษาจะได้เรียนวิชาเอกในกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสามารถเลือกวิชาโทได้ในช่วงตอน ปี สองเทอม1-2 2กลุ่มคือ การเมืองการปกครอง และ บริหารรัฐกิจ ซึ่งความสำคัญของหลักสูตรนี้ก็เพื่อที่จะ เป็นฐานรากในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา และเป็นการพัฒนาการศึกษาให้เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้ครอบคลุมหลากหลายวิชาการที่จะนำไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ  ให้เกิดความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันในทุกเรื่องที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศให้มากที่สุด

  นอกจากนี้อันเป็นความประสงค์ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ทั้งการเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการบริหารรัฐกิจ รวมทั้งมีความรู้เบื้องต้นในทางปฏิบัติรวมไปถึงการต้องการให้นักศึกษา มีความรอบรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง นอกจากนี้ตัวหลักสูตรเองก็ยังต้องการส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวมผ่านการ มีความรู้ในระดับสากลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศ ภูมิภาค และองค์การระหว่างประเทศ สำหรับตัวโครงการนั้นเปิดรับนักศึกษาจำนวน 100คนต่อรุ่น

หลักสูตรBMIR มธเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
    เนื่องจากสังคมไทยมิได้ดำรงอยู่ในสูญญากาศ หากแต่อยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งมาพร้อมกับการแข่งขันด้านต่างๆที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบุคลากรที่มีความแข็งแกร่ง เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้ ความสามารถและมีศักยภาพสูงทัดเทียมนานาอารยประเทศ  เพราะฉะนั้นตัวหลักสูตรจึงได้พัฒนามาจาก2ปัจจัยหลัก นั่นก็คือ

1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
      เนื่องจากไทยอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การเรียนการสอนในหลักสูตรจึงได้คำนึงถึงความสำคัญของสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว

2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม

    และจากสถานการณ์ตามข้อ 1 ทำให้สังคมและวัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีความขัดแย้งเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างสังคมและวัฒนธรรมแบบใหม่กับสังคมและวัฒนธรรมที่เคยมีมาแต่เดิม ดังนั้นในการวางแผนหลักสูตรจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม มีคุณธรรมจริยธรรมที่จะช่วยขับเคลื่อนให้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นไปในลักษณะสอดคล้องและเหมาะสมกับสังคมไทย ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
     โดยสำหรับหลักสูตรBMIR นั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนของปริญญาตรี และปริญญาโทโดยใช้ระยะเวลารวมกันทั้งหมด5 ปี สำหรับ (ปริญญาตรี-โท) 3 ปีครึ่ง (เฉพาะปริญญาตรี) และ1 ปีครึ่ง (เฉพาะปริญญาโท) โดยการจัดการเรียนการสอนนั้นจะเป็นวิชาบรรยายในชั้นปีแรกๆ ต่อมาจึงจะเริ่มมีวิชาสัมมนาในชั้นปีสูงๆ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ฝึกการคิดวิเคราะห์ และการนำเสนอในสถานการณ์จริง
สำหรับโครงสร้างหลักสูตร ปริญญาตรีแบ่งออกเป็น 126 หน่วยกิต แบ่งออกเป็น 

1) วิชาศึกษาทั่วไป                         30 หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ                                  90 หน่วยกิต
     2.1)  วิชาบังคับคณะ                   30 หน่วยกิต
     2.2)  วิชาบังคับเฉพาะ                 24 หน่วยกิต
     2.3)  วิชาบังคับนอกคณะ            3 หน่วยกิต
     2.4)  วิชาเลือก                           12 หน่วยกิต
      2.5)  วิชาโท                              21 หน่วยกิต
    2.5.1) วิชาบังคับ                          9 หน่วยกิต
    2.5.2) วิชาเลือกในกลุ่มวิชา           6 หน่วยกิต
    2.5.3) วิชาเลือกนอกกลุ่มวิชา         6 หน่วยกิต
3)  วิชาเลือกเสรี                                6 หน่วยกิต
รวมหน่วยกิต                             126 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร (ปริญญาโท)
นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต ดังนี้
1. วิชาบังคับ                                                          18 หน่วยกิต
2. วิชาบังคับเลือกกลุ่มวิชา                                     6 หน่วยกิต
3. วิชาเลือกนอกกลุ่มวิชา                                        3 หน่วยกิต
4. วิทยานิพนธ์                                                       12 หน่วยกิต

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง
สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การประกอบอาชีพก็คงจะเน้นๆหลักๆไปในด้านของภาครัฐ อย่างเช่นทำงานเป็นนักการทูต รับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ  ผู้แทนรัฐบาลไทยในต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ หรือในส่วนของเอกชนก็อย่างเช่น ทำงานในบริษัทเอกชน บริษัทข้ามชาติ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล (สำหรับโทบริหารรัฐกิจ) หรือ ทำงานอื่นๆ อันได้แก่ ด้านวารสารศาสตร์  เป็นนักข่าว นักเขียน นักวิจารณ์ นักวิเคราะห์ ด้านเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์การเมืองและการระหว่างประเทศ  และได้ใช้ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์  ศึกษาปัญหา  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการอธิบายและแก้ปัญหาสังคมต่อไป รวมไปถึงวิชาชีพอื่นๆที่มีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และผู้ศึกษาวิชาดังกล่าวมีความรู้และความสนใจ

เรียนโครงการBMIR ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

รวมเบ็ดเสร็จ ประมาณ50,000-60,000บาทต่อเทอมค่าเทอม  และเฉลี่ยรายปีโดยประมาณคิดเป็น  นักศึกษาปริญญาตรี (ชาวไทย) 107,000 บาท นักศึกษาปริญญาตรี (ชาวต่างชาติ) 126,000 บาท     นักศึกษาปริญญาโท (ชาวไทย) 99,000 บาท   นักศึกษาปริญญาโท (ชาวต่างชาติ) 112,000 บาท


ถ้าอยากเข้าโครงการBMIR TUต้องทำอย่างไร
1.       กรณีในประเทศไทย
 1.1 กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมี GPAX > 2.8 (4 เทอม หรือ 6 เทอม) 
  1.2  กรณีสอบเทียบ GED > 2,800 หรือ IGCSE > C (อย่างน้อย 5 วิชา) หรือ IB > 4
(ในกรณีที่ไปแลกเปลี่ยนจะต้องยื่นในผลการเรียนทั้งของไทยและต่างประเทศที่ไปแลกเปลี่ยนด้วย
ในกรณีที่ไม่มีผลการเรียนจากประเทศที่ไปแลกเปลี่ยน จะต้องมีใบรับรองการไปศึกษาจากประเทศที่
ไปแลกเปลี่ยนด้วย)
2.    กรณีในต่างประเทศ
 2.1  กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาในระดับ Grade 12 และมี GPAX > 2.8 (4 เทอม หรือ 6 เทอม) 
และจะต้องมี Letter of Reccommendation จำนวน 3 ฉบับและต้องแนบ Resume หรือ CV ด้วย)
3.       ต้องมีคะแนนสอบ ภาษาอังกฤษ TU - GET  ( 500 คะแนนขึ้นไป ) 
              คะแนนสอบ CU - TEP  60 ขึ้นไป 
              คะแนนสอบ TOEFL  ( 500 (PBT), 60 (iBT), 170 (cBT) คะแนนขึ้นไป 
               คะแนนสอบ IELT  ( 5.5 คะแนนขึ้นไป ) 
               คะแนนสอบ SAT I  ( 50% คะแนนขึ้นไป ใน Part Critical Reading และ Writing ) 

4.    ข้อสอบปรนัยและข้อเขียนเป็นภาษาอังกฤษ  อย่างแรกฝึกทำข้อสอบภาษาอังกฤษบ่อยๆ เน้นการเตรียมอ่านภาคไทยเป็นหลัก ทั้งข้อสอบเก่า ความรู้ทางรัฐศาสตร์ และที่สำคัญอ่านข่าวของ bbc จะทำให้เราคุ้นชินกับพวกคำศัพท์มากขึ้น 


   แนวข้อสอบปรนัย จะเน้น ข่าวมากๆจะมี 5ตัวเลือก  และออกค่อนข้างกว้างเรื่องราวทั้งโลก มีทั้งแนว ประวัติศาสตร์และ กับพวกข่าวที่เป็นปัจจุบันเรื่องที่ออกทุกปีเช่น พวกสงครามต่างๆ ,ข้อพิพาทดินแดน ,lock land,รูปแบบรัฐ ,ประธานาธิบดี ,องค์กรสำคัญต่างๆ ,ระบบเศรษฐกิจ , การเมืองไทย   
ตัวอย่างข้อสอบช้อยส์
1.OIC = Organisation of The Islamic Conference 
2.ถามว่าข้อใดไม่ใช่  IMT – GT เราตอบคู่ที่เป็น มาเลย์-สิงคโปร์  เพราะสิงคโปร์ไม่ใช่  แต่มีข้อไม่ใช่ทั้งหมดด้วย อันนี้ไม่แน่ใจ
3.ซีเกมส์ 25 ตอบ ลาว
4.Folkland War =  UK , Argentina 
5.เรียงลำดับนายก ชาติชาย , อานันท์ , สุจินดา , อานันท์, ชวน
6.พรรคของญี่ปุ่น DPJ
7.ข้ออิสลาม the most populous ตอบอินโดนีเซีย
8.UNHCR = refugess
9.ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ = จอร์จ วอชิงตัน
10.ยูโกสลาเวีย แตกออก ตอบ อุสเบกิสสถาน
11.แผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ = เริ่มตอนสฤษดิ์
12.ประเทศที่ไม่ใช่ EU ตอบ นอร์เวย์ 
13.คดีศิวรักษ์ เราตอบข้อสุดท้าย เรื่องขโมยเอกสารลับ เพราะเค้าบอกว่า โจรกรรมข้อมูลตารางบิน ข้อนี้ไม่กล้าเฉลย
14.ประชุมโลกร้อนจัดที่โคเปนเฮเกน 
15.ถามสนธิสัญญา reduce greenhouse gas ปะ เราตอบ พิธีสารเกียวโต ไม่แน่ใจ
16.OAS = organization of american states 
17.OAU = organization of afican unity 
18.ASEM เราตอบ ASEAN+EU เพราะไม่มี อเมริกา ข้อนี้เราผิด
19.ADB อยุ่ที่ฟิลิปปินส์ 
20.IAEA อยุ่ที่เวียนนา
21.ปธน.USA คนแรก ที่สังกัดริพับลิกัน ตอบ อับราฮัม ลินด์คอน เราผิด
22.asean ministrail summit 42  ตอบไทย
23.ผู้อำนวยการIAEAเป็นคนญี่ปุ่น
24.คอมมิวนิสท์ในไทยเริ่มเมื่อไหร่นั้น ตอบว่า October 1976 
25.saarcคือเอเชียใต้
26.ปธน.USA ที่ไม่โดนฆาตกรรม ตอบคนที่ไม่ใช่ ลินคอน JFK การ์ฟิล แม็คคิลลี่ เพราะ 4 คนนี้โดนฆาตกรรมในตำแหน่งหมด
27.คนที่ไม่อยู่ช่วงสงครามโลก 2 ตอบ JFK
28.ปธน.ช่วงวิกฤตคิวบา ตอบ ครุชอฟ
29.Land lock คือ เช็ก
30.นายกยาวสุด จอมพลปอ
31.ปธน เยอรมันช่วงสงครามเย็น ตอบ ฮอร์สท เคอแลร์  จำไม่ได้ว่าตอบไร
32.WTO ตอบเจนีวา
33.The United Liberation Front of Asom ULFA ตอบ อินเดีย เราผิด
34.ขบวนการพูโล ตอบไทย
35.รัฐเดี่ยว ตอบ ฝรั่งเศส
36.ข้อที่ผิดเกี่ยวกับรัฐและระบอบการปกครอง เราตอบฝรั่งเศส เพราะในนั้นเป็นรูปแบบรัฐสภา แต่ความจริงเป็นระบบกึ่ง
37.IPCC เราตอบ carbon credit ไม่แน่ใจ
38.เรื่ององค์กรที่ไม่อยู่ใน รธน.40 ตอบ เรื่องการอุดมศึกษาอ่า
ส่วนเรียงความ ก็ออกกว้างๆมีสามข้อ ข้อละประมาณ 5-6บรรทัด  อย่างเช่น
  1ให้เปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่างระหว่างการเมืองกับการบริหาร 
  2 อีโบล่าส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไหม 
  3 คิดยังไงกับคำพูดที่ว่า ขณะนั้นประเทศไทยไม่ใช่ทั้งระบบประชาธิปไตยและระบบเผด็จการ 
เป็นการเขียนแสดงความคิดเห็นธรรมดาๆดูว่าเราจะเขียนได้ไหม
การสอบสัมภาษณ์ จะเน้นถามตั้งแต่พื้นๆจนถึงคำถามเชิงรัฐศาสตร์ อาจจะมีการแสดงความเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนั้น  ตอบอย่ามั่นใจ ไม่รู้ก็อย่าแถ

โครงการBMIR เปิดรับสมัครช่วงไหน

ส่วนมากโครงการนี้จะ เปิดรับสมัครช่วง ต้นตุลาคม – กลางธันวาคม โดยต้องยื่นผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ ตัวจริงด้วย และเริ่มสอบมกราคม ส่วนเริ่มสัมภาษณ์เริ่มช่วงมีนาคมโดยการสมัครต้องมี
หลักฐานการสมัครดังต่อไปนี้
1.ใบสมัครที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว (ใบสมัครดาวน์โหลดได้จาก https://www.polsci.tu.ac.th/bmir)
2.รูปถ่ายสีหรือขาวดำ ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 รูป (ติดในใบสมัคร 1 รูปและบัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ 2 รูป)
3.ใบนำฝากธนาคารที่โอนเงินค่าสมัคร
4.ใบรับรองผลการสอบภาษาอังกฤษตามที่คณะกำหนด จำนวน 1 ชุด

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 2:31:04 น.
Counter : 3695 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี isc tu
แนะแนวโครงการหลักสูตรวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   (ISC TU)

isc tu | aims.co.th

ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันศาสตร์ที่มีความสำคัญมากที่สุดในชีวิตของเราศาสตร์ที่ว่านี้คือศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นั่นเอง ซึ่งไม่ว่าเราะทำอะไรที่ไหนเมื่อไหร่เรามักจะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ เพราะสิ่งของ ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้  ต่างๆ ก็มักจะผ่านกระบวนการในการผลิตที่ผสมผสานกับวิทยาศาสตร์อยู่เสมอๆ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่นปัจจัยสี่และจะดีแค่ไหนถ้าหากนำการเรียนการสอนของทางวิทยาศาสตร์มาผนวกเข้ากับเรื่องของการจัดการและการบริหารทางธุรกิจ 

   ถ้าคุณกำลังหาคำตอบอยู่ คำตอบนี้อยู่ที่โครงการหลักสูตรวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   (ISC TU) ซึ่งISCนั้นย่อมาจาก Industrial Science and Management  ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง ศาสตร์เรื่องของวิทยาศาสตร์ในระดับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม ผนวกกับรูปแบบของการจัดการ

   เพราะ ในความเป็นจริงการนำทรัพยากรต่างๆมาแปรรูปเพื่อผลิตและจำหน่ายนั้น หากไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ดีพออาจทำให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร หรือในเรื่องของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆออกมาแต่ไม่มีช่องทางหรือไม่มีความรู้ความสามารถในการจัดช่องทางการจัดการทางผลิตภัณฑ์ทั้งในเรื่องคำนวณต้นทุน การขนส่งและการจัดจำหน่าย ก็อาจจะไม่สามารถต่อสู้ในเชิงการแข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยต้องมีการแข่งขันกับนานาชาติในการผลิตสินค้าต่างๆ  ดังนั้นทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้ทำการเปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้น
 
     ซึ่งการเรียนการสอนนั้นจะแบ่งออกเป็น3เอกหลักๆ คือ

Industry in Chemistry จะเน้นประยุกต์ใช้สารเคมีต่างๆ มาทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

 Industry in Food Science and Technology เน้นการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาอาหาร ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ

 Industry in Biotechnology เน้นงานเกี่ยวกับการใช้ความรู้ทางชีววิทยามาประยุกต์กับเทคโนโลยี
 
 ซึ่งการเรียนการสอนจะเป็นการเรียนการสอนแบบการใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมดตลอดสี่ปี และทั้งสามเอกจะต้องเรียนเก็บหน่วยกิตตลอดหลักสูตร  139 หน่วยกิต  และมีการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต โดยมีการจัดการเรียนการสอนตามระบบทวิภาคระบบ โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์  ส่วนการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน จะมีการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อนในการเรียนชั้นปีที่ 3  โดยวันเวลาจัดการเรียน ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มเดือน สิงหาคม – ธันวาคม  ภาคการศึกษาที่ 2  เดือน มกราคม – พฤษภาคม  และภาคฤดูร้อน เดือน มิถุนายน – กรกฎาคม
 
หลักสูตร ISC  ธรรมศาสตร์เป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
ดังที่กล่าวไปแล้วว่าในหลักสูตรนี้ได้แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น3เอกใหญ่ๆโดยนักศึกษานั้นจะสามารถเลือกเอกได้ก็ต่อเมื่อศึกษาในช่วงชั้นปีที่2  ซึ่งเอกต่างๆแบ่งเป็น

Industry in Chemistry

Industry in Food Science and Technology

และIndustry in Biotechnology ซึ่งการเรียนการสอนนั้นตอนแรกจะเรียนร่วมกันก่อน แต่พอขึ้นชั้นปีที่สองก็เริ่มแยกย้ายไปตามเอกต่างๆโดยลักษณะการเรียนก็จะเป็นไปตามเอก อย่างสาขา Industry in Chemistry ก็คงหนีไม่พ้นการผสมสารเคมี ค้นคว้าอยู่ในห้องปฏิบัติการในภาควิชาหรือในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนสาขา Food Science and Technology จะวนเวียนอยู่ระหว่างห้องปฏิบัติการกับการออกภาคสนามเพื่อเก็บตัวอย่างต่างๆ และสาขา Biotechnology ก็มักจะอยู่ในห้องปฏิบัติซะส่วนใหญ่  ซึ่งในการเรียนทั้งสามเอกนั้นจะมีการเรียนทั้งหมด 139 หน่วยกิต   แบ่งออกเป็น
1) วิชาศึกษาทั่วไป 30  หน่วยกิต
2) วิชาเฉพาะ103         หน่วยกิต
   2.1)  วิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์    26      หน่วยกิต
            2.2)  วิชาบังคับในสาขา 45     หน่วยกิต
            2.3)  วิชาเลือก  32        หน่วยกิต                                    
 3) วิชาเลือกเสรี                6     หน่วยกิต

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการสามารถประกอบอาชีพได้อย่างเช่น เจ้าหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรมด้านการวางแผนการผลิต ,เจ้าหน้าที่การควบคุมการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ, เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเคมีประยุกต์ ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ เทคโนโลยีการอาหาร , เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเคมีหรืออาหาร ,   เจ้าหน้าที่กำหนดมาตรฐานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเคมีประยุกต์ ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ เทคโนโลยีการอาหาร, นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์, พนักงานขายผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเคมีประยุกต์ ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ เทคโนโลยีการอาหาร 


เรียนโครงการISC TUใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

สำหรับค่าใช้จ่ายในภาคการเรียนทั่วไปที่ตกอยู่ราวๆ75,000 - 84,447 บาทต่อเทอมและเฉลี่ย4ปี 675,580 บาท

ถ้าอยากเข้าโครงการ ISC TU ต้องทำอย่างไร

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
คะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษ (เลือกตัวใดตัวหนึ่ง)
SAT (Critical Reading) ไม่ต่ำกว่า 400
IELTS ไม่ต่ำกว่า 4.5
TOEFL iBT ไม่ต่ำกว่า 70
TU-GET ไม่ต่ำกว่า 450
SMART-I (Reading) ไม่ต่ำกว่า 60%
และคะแนนสัมภาษณ์

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 29 มกราคม 2564 20:30:31 น.
Counter : 1122 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการรับตรง วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล หลักสูตรนานาชาติ idd tu
แนะแนวโครงการรับตรง
 วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (IDD TU)


 
   ในยุคปัจจุบันสังคมเริ่มที่จะก้าวเปลี่ยนผ่านจากสังคมในเชิงอุเทคโนโลยีแบบเดิมเข้าสู่ สังคมในรูปแบบดิจิตอลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของสื่อที่เป็นดิจิตอล ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นประกอบวิถีชีวิตของคนเราเริ่มเปลี่ยนไปผู้คนเริ่มมีการเร่งรีบมากยิ่งขึ้น เทคโลยีต่างๆเริ่มถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองชีวิตอันเร่งรีบของคนเราโดยเฉพาะในเรื่องของความสะดวกสบายและครบครัน จากแบบอนาล็อค เป็นรูปแบบดิจิตอล โทรศัพท์ก็เริ่มเน้นการสื่อสารในเชิงดิจิตอลและเปลี่ยนจากระบบ2g มาเป็นระบบ3g 4gและ5g และยังไม่นับนวัตกรรมดจิตอลอื่นที่เกิดขึ้นกับตัวเรา มากมายตั้งแต่ยามตื่น จนถึงยามหลับด้วยความสำคัญเช่นนี้ การเรียนเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับดิจิตอลจึงถือกำเนิดขึ้น

    อย่างเช่นในโครงการ วิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล หลักสูตรนานาชาติ (IDD TU) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและได้รับความร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง DigiPen ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมออกแบบดิจิทัล (Digital Innovative Design and Technology Center (DIDTC)) ประเทศไทย สำหรับความร่วมมือกับศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digital Innovative Design and Technology Center (DIDTC)) ประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท โพสท์ อิลิเม็นท์ จำกัด ร่วมกับสมาคมวิชาชีพอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 4 แห่ง คือ

สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (Thailand Animation and Computer Graphic Association (TAGGA) ,

Bangkok ACM SIGGRAPH ,

สมาคมดิจิทอลคอนเทนท์ไทย (Digital content Association of Thailand (DCAT)

, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association (TGA)

โดยทาง    ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยีจะช่วยในการประสานงานกับส่วนอุตสาหกรรม และมีส่วนร่วมในคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อชี้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม  รวมถึงทางศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยีจะร่วมมือในการจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อมาร่วมสอนในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ใช้งานจริงในอุตสาหกรรม และในการจัดหาบริษัทสำหรับทำโครงงานและฝึกงาน

  สำหรับเนื้อหาทางการเรียนนั้นจะมีความแตกต่างจากหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยอื่นๆตรงที่ มหาวิทยาลัยได้มีการจัดการเรียนการสอนด้านดิจิทัลคอนเทนท์ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และศิลปะ   รวมทั้งระดมความรู้ทั้งจากบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญระดับโลก และมีความชำนาญด้านการจัดการเรียนการสอน โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ผ่านหลักสูตรที่เป็นนานาชาติ โดยผู้เรียนได้เรียนลักษณะการดำเนินกิจการ องค์ความรู้ด้านศิลปะของประเทศไทย ผนวกกับความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตจากต่างประเทศ เพื่อผลิตงานสร้างสรรค์  และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศที่ได้รับความร่วมมือจากสมาคมวิชาชีพในประเทศถึง 4 สมาคมที่จะร่วมกันจัดการเรียนการสอน รวมทั้งเป็นหลักสูตรแห่งแรกที่มีความร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยี DigiPen ซึ่งทำหน้าที่ผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนท์โดยตรง

ซึ่งการเรียนจะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

Animation and Visual Effect เป็นสาขาที่เรียนด้านการผลิต animation สองและสามมิติโดยใช้พื้นฐานศิลปะมาประยุกต์ใช้กับโปรแกรม 3 มิติในการสร้างฉากและตัวละคร รวมถึงการเขียน script ควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวละครให้ดูสมจริงโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การซ้อนภาพ

Game Art & Design เน้นในด้านการออกแบบและผลิตเกม โดยใช้ความรู้ในการใช้ภาษา script และสร้างเกมต้นแบบ 3 มิติ โดยจะได้เรียนพื้นฐานต่างๆ เช่น การจัดแสง การกำหนดพื้นผิวและวัสดุ ระบบฐานข้อมูล ระบบเสียงจากพื้นฐานเกมทั่วไป (non-digital) เช่น เกมทอยลูกเต๋า เกมบันไดงู ตลอดจนการทำแบบสำรวจและวิจัยคนเล่นเกมเพื่อพัฒนาเกมให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายภายในงบประมาณของผู้ว่าจ้างผลิต นอกจากนี้ในโครงการดังกล่าวนี้นักศึกษายังสามารถที่จะเลือกรูปแบบการเรียนสองระบบกล่าวคือ


ระบบแรก นักศึกษานักศึกษาเลือกศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 4 ปี และได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระบบที่สอง เมื่อนักศึกษาศึกษารายวิชาครบตามหลักสูตรรายวิชาที่กำหนดไว้ในปี 1 และ ปี 2 แล้ว และผ่านการสอบวัดคุณสมบัติได้คะแนนตามที่หลักสูตรกำหนด นักศึกษาสามารถเลือกไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยในความร่วมมือ เมื่อศึกษาจบนักศึกษาในสาขาแอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์จะได้ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (การออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ Bachelor of Fine Arts in Digital Art and ของ Digipen ในกรณีจบการศึกษาในสาขาศิลปะและการออกแบบเกมจะได้ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (การออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ Bachelor of Arts in Game Designของ Digipen

   นอกจากนี้ทางหลักสูตรยังได้มีการร่วมมือในการส่งอาจารย์ในหลักสูตรไปอบรมที่สถาบันเทคโนโลยี DigiPen และมีอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยี DigiPen มาร่วมสอนในบางวิชาด้วย โดยการเรียนนั้นจะมีหน่วยกิตดังนี้ ในกรณีศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตจะมี 148 หน่วยกิต  ส่วนในกรณีที่ใช้รูปแบบการศึกษาปีที่ 1-2 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปีที่ 3-4  ที่สถาบันเทคโนโนยี DigiPen  วิชาเอก แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ จะต้องเรียนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร   154      หน่วยกิต และในส่วนของวิชาเอก ศิลปะและการออกแบบเกม จะต้องเรียนหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร160  หน่วยกิต

    โดยการเรียนนั้นจะเป็นการเรียนระบบ ตามระบบการศึกษาแบบแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์โดยช่วงเวลาของการศึกษานั้นจะแบ่งเป็น      ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มเดือนสิงหาคม – ธันวาคม  ภาคการศึกษาที่ 2  เดือนมกราคม – พฤษภาคม และภาคฤดูร้อนช่วง เดือนมิถุนายน – กรกฎาคมโดยมักจะจัดเฉพาะสำหรับนักศึกษาปีที่หนึ่ง
 
จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัลสามารถประกอบอาชีพ อย่างเช่น นักออกแบบเลขศิลป์ (กราฟิก) ,นักออกแบบภาพประกอบดิจิทัล , นักออกแบบเว็บ,นักออกแบบโปรแกรมประยุกต์,แอนิเมเตอร์ (Animator), นักออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product designer) ,นักออกแบบเกม (Game designer) , ผู้อำนวยการงานสร้างสรรค์ (Creative director)
ผู้อำนวยการสร้าง (Producer),ผู้อำนวยการด้านเทคนิค (Technicial Director),ผู้ทำหุ่นจำลอง (Modeler) ,ริคเกอร์ (Rigger)

เรียนโครงการIDD TUใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่


ตกเฉลี่ยอยู่ ประมาณ149,985 บาทในปีการศึกษาที่1 และ 120,195บาทประมาณปีการศึกษาที่2 ส่วนภาคการศึกษาฤดูร้อนช่วงปีที่1ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 33,235 บาทส่วนปีการศึกษาสำหรับปี2ภาคเรียนที่1 จะประมาณ 118,405บาท ภาคเรียนที่2120,195 ปี3ภาคเรียนที่1 123,905 ภาคเรียนที่2 120,195บาทและปี4ภาคเรียนที่1 96,405ซึ่งราคาเฉลี่ยจะประมาณ882,520บาท สำหรับนักศึกษาที่จะประสงค์จะไปเรียนต่อที่สถาบัน DigiPen     สหรัฐอเมริกา ราคาเฉลี่ยสำหรับค่าหน่วยกิต16-22 จะตกอยู่ประมาณ US$14,935  ยกเว้นจะเพิ่มหน่วยกิต23หน่วยกิตขึ้นไป จะเพิ่มอีก $700 

ถ้าอยากเข้าโครงการ IDD ต้องทำอย่างไร
ผู้สมัครศึกษาในหลักสูตร IDD ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ต้องมีคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
TOEFL iBT ไม่ต่ำกว่า 61
TU-GET ไม่ต่ำกว่า 500
นักเรียนที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษาตั้งแต่ 2.50 ขึ้นไปสามารถนำผลในข้อ 1 และ 2 ไปยื่นสมัครได้เลย (หากมีผลการเรียนต่ำกว่า 2.50 จะต้องมีคุณสมบัติในข้อ 3 ด้วยดังนี้)
ต้องมีคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
SAT I หรือ SAT II (Level I หรือ II) ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า 450
IGCSE หรือ GCE หรือ A-Level ในวิชา Math ไม่ต่ำกว่า C
GED Math ไม่ต่ำกว่า 500
PAT 1 (Math) ไม่ต่ำกว่า 20%
จากนั้นจึงสอบสัมภาษณ์ผู้สมัครในขั้นสุดท้าย

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 
 



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 29 มกราคม 2564 20:17:00 น.
Counter : 2467 Pageviews.

0 comment
แนะแนวโครงการรับตรง วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีดิจิตอลแนวสร้างสรรค์(หลักสูตรนานาชาติ) cdt tu
แนะแนวโครงการรับตรง วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีดิจิตอลแนวสร้างสรรค์(หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CDT TU)


โครงการเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์(หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือที่เรียกว่าโครงการ (CDT TU) โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการที่มีการเรียนการสอนในเรื่องของเทคโนโลยีทางด้านสื่อเชิงดิจิตอล และการพัฒนาทางด้านสื่อ รวมทั้งหลักสูตรดังกล่าวนั้นยังเป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี DigiPen (DigiPen Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา และ ศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี (Digital Innovative Design and Technology Center (DIDTC)) ประเทศไทย

โดยหลักสูตรCDT นั้นนักศึกษาจะสามารถเลือกเรียนในสองลักษณะคือในลักษณะแรกจะเป็นปริญญาของหลักสูตรที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถาบันเทคโนโลยี DigiPen ในลักษณะที่1 เมื่อนักศึกษาศึกษารายวิชาครบตามหลักสูตรระยะที่ 1 (รายวิชาที่กำหนดไว้ในปี 1 และ ปี 2) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว และผ่านการสอบวัดคุณสมบัติได้คะแนนตามที่หลักสูตรกำหนด นักศึกษาสามารถเลือกไปศึกษาต่อ ณ สถาบันเทคโนโลยี DigiPen เมื่อสำเร็จการศึกษานักศึกษาจะได้ปริญญาตรี 2 ปริญญา ทั้งของหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ และปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยี DigiPen   

หรือลักษณะที่2นักศึกษาจะสามารถเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอด4ปีก็ได้

  โดยหลักสูตร CDT เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเพื่อต่อยอดเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิคแสดงภาพเคลื่อนไหว    การจำลองปรากฏการณ์ และการสร้างเกม

ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองเอกย่อยๆคือ Digital Interactive Simulation  หรือวิชา เอกการจำลองการโต้ตอบแบบดิจิทัล  เป็นสาขาที่ผสมผสานการเรียนรู้ในสาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์กราฟฟิค คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์และศิลปะเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาซอฟแวร์สำหรับงานอุตสาหกรรม เช่น การสร้างโปรแกรมแบบจำลองที่ซับซ้อนสำหรับการจำลองการบิน (Flight Simulator) การประมวลผลและสร้างภาพทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ หรือนิติวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงซอฟแวร์สำหรับงานสร้างสรรค์และบันเทิงต่างๆ เช่น การสร้างสื่อบันเทิง animation และเกม  

    ส่วนGame Engineering and Design หรือสาขาวิศวกรรมและการออกแบบเกม มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมเกมโดยประยุกต์เทคนิคทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ในการออกแบบเกมเพื่อนำมาสร้างสรรค์เกมอย่างมืออาชีพ โดยการสร้าง Art Work และโมเดล 2D & 3D การสร้างภาพเคลื่อนไหว รวมถึงความรู้เรื่องการจัดการฐานข้อมูล คอมพิวเตอร์กราฟฟิค และ Artificial Intelligence (AI)

โดยทั้งสองเอกจะมีการเรียนในกรณีศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตจะมี 148 หน่วยกิต  ส่วนในกรณีที่ใช้รูปแบบการศึกษาปีที่ 1-2 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปีที่ 3-4  ที่สถาบันเทคโนโนยี DigiPen 

  โดยการเรียนนั้นจะเป็นการเรียน ตามระบบการศึกษาแบบแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์โดยช่วงเวลาของการศึกษานั้นจะแบ่งเป็น ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มเดือนสิงหาคม – ธันวาคม  ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – พฤษภาคม และภาคฤดูร้อนช่วง เดือนมิถุนายน – กรกฎาคมโดยมักจะจัดเฉพาะสำหรับนักศึกษาปีที่หนึ่ง รวมทั้งการเรียนตลอดการศึกษาทั้งหมด เรียนในระบบสี่ปี และมีการเรียนการสอนแบบภาษาอังกฤษทั้งหมด  โดยจัดการศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีศูนย์รังสิต  และสถาบัน DigiPen ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลักสูตรฺ CDT TU เป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
  สำหรับหลักสูตรของ CDT TU นั้น จะเรียนกันที่148 หน่วยกิต  ยกเว้นในส่วนของกรณีที่ใช้รูปแบบการศึกษาปีที่ 1-2 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และปีที่ 3-4  ที่สถาบันเทคโนโนยี DigiPen  วิชาเอกการจำลองการโต้ตอบแบบดิจิทัล นั้นจะต้องเรียนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 162 หน่วยกิต และในส่วนของวิชาเอกวิศวกรรมและการออกแบบเกมจะต้องเรียนหน่วยกิตทั้งหมดตลอดหลักสูตร163 หน่วยกิต 

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง
สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านเทคโนโลยีดิจิตอลแนวสร้างสรรค์สามารถประกอบอาชีพ อย่างเช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบจำลองและเกม,นักออกแบบเกม, นักพัฒนาเครื่องมือและเอมจินเกม,นักออกแบบประสบการณ์ของผู้เล่นเกม,ผู้จัดการโครงการเกม,นักวิจัยสำหรับงานวิจัยที่ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมีเดีย,นักออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านกราฟิกส์,นักสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์,วิศวกรควบคุมคุณภาพซอฟต์แวร์,  นักพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ 

เรียนโครงการCDT TUใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ตกเฉลี่ยอยู่ ประมาณ149,985 บาทในปีการศึกษาที่1 และ125,695บาทประมาณปีการศึกษาที่2 ส่วนภาคการศึกษาฤดูร้อนช่วงปีที่1ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 33,235 บาทส่วนปีการศึกษาสำหรับปี2ภาคเรียนที่1 จะประมาณ123,905บาท ภาคเรียนที่2 120,195 ปี3ภาคเรียนที่1107,405 ภาคเรียนที่2109,195 บาทและปี4ภาคเรียนที่1112,905ซึ่งราคาเฉลี่ยจะประมาณ882,520บาท สำหรับนักศึกษาที่จะประสงค์จะไปเรียนต่อที่สถาบัน DigiPen     สหรัฐอเมริกา ราคาเฉลี่ยสำหรับค่าหน่วยกิต16-22 จะตกอยู่ประมาณ US$14,935  ยกเว้นจะเพิ่มหน่วยกิต23หน่วยกิตขึ้นไป จะเพิ่มอีก $700

ถ้าอยากเข้าโครงการ CDT ต้องทำอย่างไร
ผู้สมัครศึกษาในหลักสูตร CDT ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
ต้องมีคะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
TOEFL iBT ไม่ต่ำกว่า 61
TU-GET ไม่ต่ำกว่า 500
นักเรียนสายวิทย์-คณิตที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 5 ภาคการศึกษาตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไปสามารถนำผลในข้อ 1 และ 2 ไปยื่นสมัคร ได้เลย (หากมีผลการเรียนต่ำกว่า 3.00 จะต้องมีคุณสมบัติในข้อ 3 ด้วยดังนี้)
ต้องมีคะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์    ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
SAT I หรือ SAT II (Level I หรือ II) ในวิชา Math และ SAT II Physics ไม่ต่ำกว่า 600
IGCSE หรือ GCE หรือ A-Level ในวิชา Math และ Physics ไม่ต่ำกว่า B
GED Math และ Science ไม่ต่ำกว่า 650
PAT 1 (Math) และ PAT 2 (Science)ไม่ต่ำกว่า 35%
จากนั้นจึงสอบสัมภาษณ์ผู้สมัครในขั้นสุดท้าย

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 29 มกราคม 2564 19:51:45 น.
Counter : 2330 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



All Blog