แนะแนวโครงการ   นโยบายสังคมและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาส
แนะแนวโครงการ   นโยบายสังคมและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
(SPD TU)

Social Policy & Development Thammasat University - 549 Photos - College &  University - 2 Prachan Road, Bangkok, Thailand 10200


เมื่อเรานึกถึงนักสังคมสงเคราะห์เราก็มักจะมองว่าอาชีพเหล่านี้มักจะเป็นอาชีพที่ค่อนข้างจะเกี่ยวพันในด้านของการช่วยเหลือเฉพาะในด้านการสงเคราะห์ผู้ยากไร้เป็นหลัก อย่างเช่นการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในโดยการให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  หรือการทำให้เกิดความเท่าเทียม  กันในสังคมและความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส เช่น เด็ก ผู้ยากไร้ ผู้  ทุพลภาพ 

   แต่ใครจะรู้บ้างนอกจากการช่วยเหลือผู้ยากไร้แล้ว การเป็นนักสังคมสงเคราะห์นั้นจะช่วยให้สังคมไทยเกิดความมั่นคงขึ้นแม้ในเรื่องที่คาดไม่ถึง เช่น การลดการเกิดอาชญากรรม การทำให้เศรษฐกิจทั้งในขนาดชุมชน และประเทศดีขึ้น รวมไปถึงทำให้เกิดการกระจายทางด้านโอกาสทางการศึกษา และการรักษาพยาบาล ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นคุณลักษณะทางวิชาชีพของนักวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ในประเทศที่ที่พัฒนาแล้ว 

ซึ่งในวันนี้เราจะมาแนะนำทางหลักสูตรด้านคณะสังคมสงเคราะห์กันบ้าง โดยเฉพาะต้นตำรับของคณะสังคมสงเคราะห์อย่างสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์  แต่พิเศษไปมากกว่านี้คือหลักสูตรกล่าวนั้นเป็นหลักสูตรนานาชาติซึ่งนั่นก็คือ  หลักสูตรคณะสังคมสงเคราะห์นโยบายสังคมและการพัฒนา (หลักสูตรนานาชาติ) Social Policy and Development หรือเรียกสั้นๆว่า(SPD) TU

   สำหรับโครงการSDP นั้นเป็นโครงการที่มีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยเปิดสอนที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ผ่านใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค  โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออก เป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ  1 ภาคการศึกษาปกติ ระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ การเรียนการสอนภาคทฤษฎีจัดในช่วงวันและเวลาราชการ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม สำหรับภาคการศึกษาที่ 1 และตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม สำหรับภาคการศึกษาที่2 ส่วนภาคการศึกษาฤดูร้อนในรายวิชา นสพ. 418 โครงงานสวัสดิการสังคมและการพัฒนา ของนักศึกษาปีที่ 3 กำหนดจัดในระหว่างภาคฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม
ซึ่งการเรียนทั้งหมดจะมีอยู่120 หน่วยกิต โดยเปิดรับนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติปีละ 60 คน

หลักสูตรSPD มธเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

อย่างที่กล่าวมาในตอนต้นสำหรับตัวหลักสูตร SPD ใช้ระบบการศึกษาแบบ 2 ภาคการศึกษาต่อปีซึ่งใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่าภาคการศึกษาละ 16 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนโดยใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ สำหรับในชั้นปีที่ 3 จะมีการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อนในส่วนการศึกษาภาคสนาม ซึ่งมี 120 หน่วยกิตโดยรูปแบบหลักสูตรนั้นจะเป็นดังต่อไปนี้
1. วิชาศึกษาทั่วไป  30 หน่วยกิต
2 วิชาแกนหลัก     36 หน่วยกิต
3 วิชาบังคับเลือก   36 หน่วยกิต
4. วิชาเฉพาะเลือก   15 หน่วยกิต
5 วิชาการประเมินบังคับเลือก 6 หน่วยกิต
6 วิชาเลือกเสรี    6 หน่วยกิต

โดยการเรียนในชั้นปีแรกจะเป็นการปูพื้นฐานภาษาอังกฤษและความรู้พื้นฐานที่ควรทราบ เช่น English Course อย่างน้อย 2 วิชาและIntroduction to ASEAN

ส่วนชั้นปีที่ 2 เน้นทางด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ เช่น Introduction to Political Science, Introductory Economics โดยมีอาจารย์ประจำแต่ละคณะมาช่วยสอน

ส่วนชั้นปีที่ 3 และ 4  วิชาจะเป็นพวก Welfare Economics, Socio-Political Economies of Global Communities, Introduction to ASEAN, Social Welfare Policies and Development in ASEAN Countries, Theories of Social Policy and Development, International Organizations and Human Rights Frameworks
 
เจาะลึกด้านนโยบายสังคมและการพัฒนา เช่นผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์นโยบายสังคมและการพัฒนารัฐสวัสดิการ เจาะลึกลงไปในแต่ละประเทศ เช่น ปัญหาของพม่า ซึ่งสอนโดยอาจารย์ของคณะร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่รับเชิญมาสอน เช่น จาก United Nations หรือหน่วยงาน NGOซึ่งจะเห็นได้ว่ามีการเรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และสวัสดิการสังคมค่อนข้างมากเพราะทั้งสองศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันและยังมีการเรียนเกี่ยวกับบริบทของอาเซียนโดยเฉพาะด้วย

นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับอีก 3 มหาวิทยาลัยได้แก่ San Diego State University (สหรัฐอเมริกา)  Graduate School of  Social Welfare, Ewha Womans University (เกาหลีใต้) และ Faculty of Social and Political Sciences, University of Padjadjaran (อินโดนีเซีย) และก่อนจบนักศึกษาจะต้องร่วมกันทำโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในต่างประเทศซึ่งสามารถเลือกประเทศตามที่สนใจซึ่งคณะฯได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียนเพื่อส่งนักศึกษาไปทำโครงการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกด้วย


จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง
สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านสังคมและการพัฒนา การประกอบอาชีพก็คงจะเน้นๆหลักๆไปในด้านของภาคสังคมสงเคราะห์ อย่างเช่น นักวิเคราะห์นโยบายและแผน , นักสวัสดิการแรงงาน 
ผู้จัดบริการสังคม , นักพิทักษ์สิทธิ , นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ , ผู้จัดการโครงการ , ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม, ที่ปรึกษาโครงการระหว่างประเทศรวมไปถึง เป็นนักข่าว นักเขียน นัก รวมไปถึงวิชาชีพอื่นๆที่มีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร และผู้ศึกษาวิชาดังกล่าวมีความรู้และความสนใจ

เรียนโครงการSPD ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
รวมเบ็ดเสร็จ ประมาณ70,000  สำหรับนักศึกษาไทย และ 92,000บาทต่อเทอม และเฉลี่ยรายปีโดยประมาณคิดเป็นนักศึกษาปริญญาตรี (ชาวไทย) 140,000 บาท นักศึกษาปริญญาตรี (ชาวต่างชาติ) 184,000 บาท  รวมทั้งปี นักศึกษา (ชาวไทย) 560,000 บาท   นักศึกษา (ชาวต่างชาติ) 740,000 บาท

ถ้าอยากเข้าโครงการSPD TUต้องทำอย่างไร

1. ม.6 หรือ เที่ยบเท่า
2. เกรดเฉลี่ย (GPAX) 2.50 
3. มี GPA ในวิชา คณิตศาสตร์ และ สังคมศึกษาฯ 2.50
4. สามารถใช้ General Educational Development (GED) ยื่นสมัครได้ โดยต้องมีคะแนน อย่างต่ำ 2,250 คะแนน จากทั้งหมดห้าวิชา
5. มีผลคะแนนการทดสอบเกี่ยวกับภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ (เลือกส่งอย่างน้อย 1 ประเภท)
• TU-GET          500 
• IELTS            6 
• TOEFL           500 (PBT) 
• TOEFL           173 (CBT)
• TOEFL           61 (IBT) 


หลักฐานการสมัครดังต่อไปนี้

1. ใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชาน หรือ สำเนาหนังเดินทาง พร้อมลายเซ็นต์
3. หลักฐานการศึกษา (Transcript)
4. ผลคะแนนการทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ (TU-GET / IELTS / TOEFL)
5. เรียงความแสดงความประสงค์ในการเข้าศึกษาฉบับสมบูรณ์ (A completed statement of   
            purpose) ความยาว 350 - 500 คำ 
6. จดหมายอ้างอิง (ถ้ามี)
7. ใบเสร็จค่าธรรมเนียมการสมัคร 1,500 บาท

วิธีการสมัครสอบ
• สามารถดาว์นโหลดใบสมัครได้ที่ 
   www.spdtu.com หรือ //www.facebook.com/thammasat.socialpolicy
• ขอรับใบสมัครได้ที่ฝ่ายรับเข้าศึกษา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
• ส่งเอกสารการสมัครทางไปรษณีย์ หรือ ส่งด้วยตนเองที่ฝ่ายรับเข้าศึกษา คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์  ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
• ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ
ค่าสมัคร 1,500 บาท (ประมาณ US $ 49 ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน) 
1. สำหรับการโอนเงินภายในประเทศกรุณาโอนเงินเข้าบัญชีดังต่อไปนี้:
ชื่อบัญชี : ธรรมศาสตร์ SPD ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาท่าพระจันทร์
เลขที่บัญชีออมทรัพย์ : 114-219456-7
2. สำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศกรุณาโอนเงินไปที่ :
Beneficiary’s bank : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด
Beneficiary’s bank address : 17, 19 ถนนพระจันทร์เขตพระนครกรุงเทพฯ ประเทศไทย 10200
Beneficiary’s Account name : SPD ธรรมศาสตร์
เลขที่บัญชี : 114 -219,456-7
Swift transfer : SICOTHBK

โครงการSPD TU เปิดรับสมัครช่วงไหน

ส่วนมากโครงการนี้จะ เปิดรับสมัคร4ช่วง โดย ช่วงแรก และ ช่วงที่ 2 จะเป็นช่วง inter portfolio  หรือรอบที่ต้องยื่นคะแนนสอบ แต่จะเน้นการนำเสนอผลงาน portfolio และทักษะการตอบคำถามการสัมภาษณ์  โดยรอบแรกจะอยู่ช่วงตุลาคม – ต้นธันวาคม  รอบที่สอง คือจะเปิดรับสมัคร ช่วงประมาณ ต้นมกราคม – ปลายกุมภาพันธ์ และเมื่อหมดช่วงนี้แล้วก็จะเป็นช่วงของ inter admission อีก 2ช่วง  ช่วงนี้คือเน้นการยื่นคะแนนสอบ และการสอบข้อเขียน และการสัมภภาษณ์ ซึ่ง จะอยู่ประมาณมีนา สำหรับช่วงที่ 3 และพฤษภาคม สำหรับช่วง 4


 โดยต้องยื่นผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ ตัวจริงด้วย และเริ่มสอบและเริ่มสัมภาษณ์เริ่มช่วงกุมภาพันธ์

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2564 1:04:20 น.
Counter : 2186 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



All Blog