Q&A ถามตอบข้อสงสัยในการสอบ tu-get(ทียูเก็ต) และ cu-tep(ซียูเท็บ)
Q&A ถามตอบข้อสงสัยในการสอบ tu-get(ทียูเก็ต) และ cu-tep(ซียูเท็บ)
 
บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในการเตรียมตัวสอบข้อสอบดังกล่าว ซึ่งถ้า ใครอยากจะเข้าสอบเพื่อเรียนต่อ ในระดับปริญญาตรี โดยเฉพาะภาคอินเตอร์หรือภาคภาษาอังกฤษ หรือในระดับปริญญาโทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองสถาบัน อย่างจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คงพอจะรู้จักหรือพอจะเคยได้ยินชื่อข้อสอบทั้งสองข้อสอบนี้มาอย่างแน่นอน แต่ถ้าหากใครที่ยังไม่เคยสอบ หรือไม่รู้จัก ข้อสอบสองตัวนี้มาก่อนทางเราก็จะขออนุญาตมาแนะนำ เกี่ยวกับ cu-tep (ทียูเก็ต) และ tu-get(ซียูเท็บ)ให้รู้จักกัน
tu-get  และ cu-tep คืออะไร??
สำหรับทั้ง tu-get ( อ่านว่า ทียูเก็ต )และ cu-tep (อ่านว่า ซียูเท็บ)ทั้งสองชื่อนั้นเป็นชื่อของข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบความรู้ทางภาษาอังกฤษ โดยTU-GET  นั้นย่อมาจาก Thammasat University General English Test  ซึ่งจากชื่อเต็มก็น่าจะพอคาดเดาได้ว่า เป็นชื่อของข้อสอบที่ใช้วัดความรู้สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ใช้สำหรับในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตรภาคอินเตอร์
อาทิเช่น 
สาขากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาวิชาอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาวิชาจีนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
หลักสูตรปริญญาตรีควบโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาการสื่อมวลชนศึกษา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาอังกฤษและอเมริกันศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
สาขาภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( หลักสูตรนานาชาติ )
รวมทั้งหลักสูตร ปริญญาโท (ทั้งภาคภาษาไทยและอินเตอร์) และปริญญาเอก (ทั้งภาคภาษาไทย และภาคอินเตอร์)เช่นกัน ส่วน CU-TEP นั้นย่อมาจาก Chulalongkorn University Test Of English Proficiency ซึ่งเป็นแบบทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่จัดทำโดยสถาบันภาษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งใช้สำหรับคัดเลือกนิสิตเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรี(ภาคอินเตอร์)
ตัวอย่างเช่น
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทุกสาขา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะวิทยาศาสตร์ ทุกสาขา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
สาขาภาษาและวัฒนธรรม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หลักสูตรนานาชาติ)
 และภาคภาษาไทยบางวิชาที่ต้องใช้คะแนน cu-tep สำหรับการลงทะเบียนเรียน) รวมถึงการคัดเลือกนิสิตในระดับปริญญาโทและ เอก ทั้งภาคภาษาไทยและภาคอินเตอร์
 
ข้อสอบtu-get และ cu-tep เป็นอย่างไร??
สำหรับทียูเก็ตนั้นข้อสอบ จะมีอยู่3 ส่วนคือ Structure หรือว่าในส่วนของgrammar
ซึ่งในส่วนนี้จะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ                   
 1.1 Sentence Completion  คือจะเป็นการเติมประโยคให้สมบูรณ์ถูกต้อง
1.2 Error Identification    ดูว่าอันไหนผิดแกรมม่า
 ส่วนที่2 คือ Vocab แบ่งออกเป็น สองส่วน เช่นกันคือ
2.1 ข้อสอบแบบ Cloze test เน้นการเติมคำในช่องว่างให้ถูกต้องจากโจทย์ที่กำหนดให้                   
2.2 ข้อสอบที่มีการขีดเส้นใต้คำในประโยค และให้เลือกคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับกลุ่มคำที่กำหนดให้              
ส่วนในพาร์ท Reading นั้นจะมีลักษณะเป็น Reading Comprehension โดยจะมีบทความมาให้อ่าน เฉลี่ย 7-8 บทความ ซึ่งลักษณะของโจทย์ในส่วนนี้จะเป็นการถามในเชิงการหา main idea ,รายละเอียดของตัวบทความว่าเขาถามอะไรบ้าง, บทความนี้ต้องการสื่ออะไร หมายถึงอะไรเป็นต้น ซึ่งแต่ละpart จะไม่มีการกำหนดเวลาในการทำข้อสอบผู้สมัครสอบสามารถเลือกที่จะpart ไหนก่อนก็ได้ตามระดับความถนัดของผู้สมัครสอบ แต่ต้องทำให้ทันภายในเวลาที่กำหนด คือ 3ชั่วโมง โดยข้อสอบของtu-get นั้นทั้งหมดคะแนนเต็ม1000 คะแนน โดยมีข้อสอบทั้งหมด 100 ข้อเป็นแบบตัวเลือกปรนัย (ช้อยส์) 4 ตัวเลือก ซึ่งในส่วนของ grammar และvocab จะมีประมาณ อย่างละ25 ข้อ  250คะแนน  ส่วนในpart reading จะมี50 ข้อ 500 คะแนน  
ส่วนข้อสอบซียูเท็บนั้นจะค่อนข้างแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยเพราะว่าในส่วนของข้อสอบ cu-tep  จะมีอยู่3 คือ part สำหรับการสอบแบบปกติ คือ Listening,  Reading,  และ Writing  ซึ่งจุดแตกต่างกันของทั้งสองข้อสอบก็คือในส่วนของตัว     ซียูเท็บนั้นจะมีส่วนของpart  listening หรือการฟังที่จะบังคับทุกคนต้องสอบภายในตัวข้อสอบปกติ  และในส่วนของpart Speakingที่จะมีการแยกสอบต่างหาก หรือที่เรียกว่า cu-tep speaking โดยผู้สมัครสามารถจะเลือกสอบหรือไม่เลือกสอบในส่วนนี้ก็ได้  ซึ่งโดยทั่วไปเราจะนิยมสอบกันแค่ 3 ทักษะ คือ ทักษะ Listening, Reading และ Writing
และสำหรับแนวข้อสอบcu-tep นั้นจะแบ่งเป็นรูปแบบดังนี้
Partแรกของข้อสอบ จะเป็นในส่วนของการฟังหรือ listening ในส่วนนี้จะมีข้อสอบทั้งหมด 30 ข้อกำหนดเวลาทั้งหมด30นาที และผู้เข้าสอบต้องบังคับทำในส่วนนี้เป็นอันดับแรก ซึ่งข้อสอบจะแบ่งย่อยๆออกอีกเป็น3 ส่วน
  1. การพูดคุยสนทนาระหว่างบุคคลในเหตุการณ์สั้นๆ short dialogue
  2. การสนทนาแบบเชิงลึก และเน้นการจดจำรายละเอียด long dialogue
  3. การบรรยายบทความในเชิงวิชาการ เช่นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์
 
ส่วนที่สองคือในpart ของ Reading หรือ การอ่าน ในส่วนนี้จะมีทั้งหมด  60 ข้อ ใช้เวลา 70นาที  ในส่วนนี้ก็จะแบ่งข้อสอบออกเป็นสามส่วนย่อยๆเช่นกัน
2.1 Cloze reading   หรือการอ่านเพื่อการเติมคำในช่องว่างที่โจทย์เว้นเอาไว้
2.2 จะเป็นการตอบคำถามจากบทความที่กำหนดเอาไว้ short passage
2.3  ตอบคำถามจากบทความยาว  long passage
 
และส่วนสุดท้ายในส่วนของ writing หรือการเขียน หรือจะเรียกว่า เป็นข้อสอบในเชิงไวยากรณ์ของการสอบของcu-tep ก็ว่าได้โดยในส่วนนี้ของข้อสอบ จะเป็นลักษณะ2 แบบทั้งหมดมี 30 ข้อ เวลา 30 นาที
3.1 ERROR Correction หรือการหาข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ 
3.2 SENTENCE COMPLETION ข้อสอบจะให้ประโยคข้อความมา พร้อมเว้นช่องว่างไว้ในประโยค เพื่อให้ผู้สอบหาข้อความ วลี หรือประโยค ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เติมลงในช่องว่าง
 ซึ่งข้อสอบทั้งหมดในการสอบ จะมีข้อสอบ120 ข้อ คิดข้อละ1คะแนน คะแนนรวมทั้งหมดก็120 คะแนนและจะใช้เวลาในการสอบประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาที  โดย แต่ละ part ในการสอบนั้นจะมีช่วงหยุดพักในการสอบ เพื่อเปลี่ยนกระดาษคำถาม ประมาณ 10 นาที  ซึ่งการสอบจะเริ่มตั้งแต่ 9.00-11.30 แต่ว่าผู้สอบตั้งมาก่อนเวลา โดยต้องมาถึงห้องประมาณ 8.30  แต่ไม่เกิน 8.45  มิฉะนั้นจะถือว่าหมดสิทธิ์สอบทันที
 
สอบtu-get และ cu-tep สอบที่ไหนและเมื่อไหร่??
สำหรับ tu-getเวลาสอบนั้นจะจัดสอบทุกวันอาทิตย์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน เวลาประมาณ9.00 -12.00 น. และจะสอบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต ในกรณีที่เป็นรอบปกติ แต่ถ้าเป็นรอบพิเศษ ก็จะจัดตามสถานที่ข้างนอกอย่างเช่นตามโรงเรียนต่างๆอย่างเช่น โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ฯลฯ 
ส่วน cu-tep  เวลาสอบนั้นจะจัดสอบทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือน เวลาสอบก็จะประมาณ 9.00- 11.30  น. และจะสอบที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้น
ซึ่งการสอบทั้งซียูเท็บ และทียูเก็ตนั้นจะมีการสอบที่เท่ากันคือภายใน1ปีจะมีการจัดสอบ 12 ครั้ง
 
ผลการสอบทั้งสองอย่างมีการกำหนดอายุหรือไม่??
มีค่ะ โดยข้อสอบทั้งสองจะมีการกำหนดอายุ การใช้ผลสอบ เป็นเวลา 2ปี โดย ถ้าพ้น2ปีไปแล้ว ต้องการใช้สำหรับการยื่นผลการศึกษา หรือสมัครงาน ก็จะต้องสอบใหม่
 
ขั้นตอนการสมัครสอบของทั้งtu-get และ cu-tep นั้นทำอย่างไร??
สำหรับการสมัครสอบ tu-get นั้นผู้สมัครสามารถสมัครสอบผ่านอินเตอร์เน็ตโดยวิธี online ได้ที่ เว็บไซต์https://litu.tu.ac.th/TUGET/Login.aspx แล้วดูช่วงเวลาในการสอบพร้อมกรอกรายละเอียดประวัติหรือข้อมูลที่สำคัญสำหรับการสอบเมื่อเสร็จแล้วก็ให้ปริ้นรายละเอียดใบชำระเงิน และนำไปชำระเงินที่เค้านท์เตอร์ ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา โดยค่าสมัครสอบ ทียูเก็ตนั้นจะคิดค่าใช้จ่ายในการสอบสำหรับบุคคลธรรมดา จำนวน 500 บาท และสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น จะคิดราคา 40 บาท (เฉพาะเดือนพฤษภาคม และเดือนตุลาคม)  ซึ่งเมื่อจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นผู้สมัครสามารถตรวจสอบสถานที่ วันและเวลาสอบ ทางเว็บไชต์ก่อนสอบได้ประมาณ1สัปดาห์              
ส่วนการสมัครสอบ cu-tep นั้น จะเริ่มจากผู้สมัครสอบต้องลงทะเบียนแบบOnline ทาง Internet ที่เว็บ https://www.atc.chula.ac.th  และหลังจากที่ผู้สมัครลงทะเบียนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว โปรแกรมจะสร้างใบลงทะเบียนให้ผู้สมัคร โดยใบสมัครนั้นจะประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
ส่วนแรก : แสดงตารางสอบที่ผู้สมัครเลือกและค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระ
ส่วนที่2 : เป็นหลักฐานการชำระเงินของผู้สมัคร  หลังจากจ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่ทางธนาคารจะประทับตรา ที่เราต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานในการชำระเงินของเรา
ส่วนที่ 3 : เป็นหลักฐานการรับเงินของธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารจะฉีกส่วนนี้เก็บไว้
 โดยเมื่อกรอกประวัติเสร็จแล้วก็ให้ไปชำระเงินค่าสมัคร จำนวน600บาท พร้อมค่าธรรมเนียมของธนาคาร 15 บาทต่อใบลงทะเบียน 1 ใบ โดยในการชำระค่าธรรมเนียมผู้สมัครจะต้องไปชำระค่าธรรมเนียมที่ี่เคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์หรือไทยธนาคาร (ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ)แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินวันที่ระบุไว้บนใบลงทะเบียนและให้เจ้าหน้าที่ธนาคารประทับตราชำระเงินบนใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน การสมัครจะถือว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สมัครลงทะเบียนถููกต้องและชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
ในวันสอบtu-get และ cu-tep ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง??        
    เตรียมใจค่ะ 555  นั่นก็ส่วนหนึ่งนะคะแต่ตามความเป็นจริงสำหรับการสอบ tu-get cu-tep สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ เอกสารสำคัญทางราชการอย่างบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ว่าหนังสือเดินทางสำหรับผู้สอบต่างชาติ เพราะเนื่องจากจะเป็นหลักฐานอย่างเดียวที่ใช้แสดงตนของผู้สอบซึ่งถ้าหากไม่ตรง หรือว่าไม่สามารถระบุตัวตนได้จะไม่สามารถสอบได้เป็นอันขาด ต่อมาคือพวกเครื่องเขียน อย่างดินสอ 2B, ปากกา, ยางลบ และผู้เข้าสอบทั้งtu-get และcu-tep จะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย อย่างในกรณีการสอบtu-get นักศึกษาทางธรรมศาสตร์ก็จะต้องแต่งชุดนักศึกษาเพื่อการเข้าสอบเท่านั้นแต่ถ้าหากเป็นบุคคลธรรมดาทั้งทาง cu-tep และ tu-get นั้นจะต้องแต่งกายสุภาพของผู้ชายก็ควรจะสวมใส่เสื้อเชิ้ต          กางเกงขายาว สีและแบบสุภาพ (โดยเฉพาะ cu-tep ห้ามสวมกางเกงยีนส์) และสวมรองเท้าหุ้มส้น ส่วนผู้หญิงให้ใส่เสื้อมีแขน สวมกระโปรงที่ไม่สั้นเกินไป หรือกางเกงขายาว สีและแบบสุภาพ และก็ควรมาถึงห้องสอบอย่างน้อยก่อนเวลาสอบ 40 นาที โดยเฉพาะทางจุฬา ที่จะเปิดประตูห้องสอบตอน 8.15 และไม่สามารถเข้าห้องสอบและหมดสิทธิ์สอบถ้าหากมาช้าเกิน 8.40 และเครื่องมือสื่อสารควรเก็บไว้ในที่ที่ให้จัดเก็บไว้ รวมทั้งปิดการสื่อสารทั้งหมดขณะทำการสอบด้วย
สามารถรับผลคะแนนได้เมื่อไหร่หลังจากสอบเสร็จ??
สำหรับtu-get นั้นสามารถที่จะตรวจสอบคะแนนได้ทางเว็บไซต์ หลังจากวันสอบ 1 สัปดาห์ โดยสถาบันภาษาจะส่งคะแนนอย่างเป็นทางการให้ผู้สมัครสอบ ภายหลังการสอบ 2 สัปดาห์)
เช่นเดียวกับcu-tep ที่จะสามารถตรวจสอบผลสอบผ่านเว็บไซต์ หลังจากสอบ1-2 สัปดาห์โดยจะส่งคะแนนมาให้หลังจากสอบไปแล้วสองสัปดาห์
ถ้าเกิดปัญหาในการสอบcu-tep และtu-get สามารถติดต่อได้ที่ไหน??
สำหรับการติดต่อสอบถามในกรณีการสอบ cu-tep สามารถติดต่อได้ที่ อาคารจามจุรี 8 ชั้น 3 ที่ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 0-2218-0617-9  โทรสาร: 0-2218-3700  หรือ E-mail:cuatc@chula.ac.th หรือทางเว็บไซต์ //www.culi.chula.ac.th
ส่วนในกรณีของtu-get นั้น สามารถสอบถามได้ที่สำนักงานเลขานุการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์  วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30-18.30 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.00 น. (เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ) โทรศัพท์ 0-2623-5134, 08-7972-7755 โทรสาร 0-2623-5138  หรือE-mail: tugetlitu@gmail.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
www.culi.chula.ac.th
https://www.atc.chula.ac.th 
https://litu.tu.ac.th

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2
 



Create Date : 30 มกราคม 2564
Last Update : 30 มกราคม 2564 19:51:54 น.
Counter : 6624 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



มกราคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
30 มกราคม 2564
All Blog