แนะแนวโครงการอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ (PBIC Indian Studies TU)
แนะแนวโครงการอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ
ปรีดี พนมยงค์ (PBIC  Indian Studies TU)

PBIC (@PBICTHAMMASAT) | Twitter
   โครงการอินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตัวหลักสูตรที่เปิดนั้นเป็นหลักสูตรปริญญาตรี แบบ(นานาชาติ) ที่มีการใช้ภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนทั้งหมด ซึ่งตัวโครงการนั้นตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีนักเรียนเฉลี่ยรับต่อปี ประมาณ80คน และรับนักศึกษาทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ   ผ่านการเรียนการสอนในระบบทวิภาคแบบเต็มเวลา โดยแบ่งเวลาศึกษาในปีหนึ่งๆ เป็นสองภาคการศึกษาปกติ ซึ่งภาคการศึกษาที่บังคับ คือ ภาคการศึกษาที่หนึ่ง(เดือนสิงหาคม-เดือนธันวาคม) และที่สอง(เดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม) ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลา 16 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อน(เดือนพฤษภาคม) ได้โดยใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์  

    โดยหลักสูตรการเรียนแบ่งออกเป็น135 หน่วยกิต แบ่งออกเป็นวิชาทั่วไป วิชาหมวดภาษาฮินดี วิชาอินเดียศึกษา วิชาภาษาสันสกฤต เป็นต้น โดยถ้าพูดถึงสาธารณรัฐอินเดีย นั้นเราคงจะนึกถึงวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ในวันนี้อินเดียถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทสำคัญในโลกยุคปัจจุบัน โดยอิทธิพลต่อเหตุการณ์ต่างๆในนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งยังมีอารยธรรมที่มีรากอันยาวนานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมไทย และความสำคัญของอินเดีย ทั้งในบริบทสังคมโลก ตลอดจนสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษา เรื่องอินเดียศึกษาจึงเริ่มทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นกอปรกับความขาดแคลนบุคลากรด้านอินเดียศึกษาในประเทศไทย วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ จึงได้พัฒนาหลักสูตรอินเดียศึกษา เพื่อสร้างบัณฑิต ระดับปริญญาตรีที่สามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับประเทศอินเดีย ตลอดจนศึกษาต่อในระดับสูงด้านอินเดียศึกษาต่อไปได้
 

หลักสูตรPbic อินเดียศึกษา มธเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
สำหรับหลักสูตร อินเดียศึกษานั้นได้มีการพัฒนาผ่านสองปัจจัยหลักๆ
1 การเรียนเกี่ยวกับสถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ในช่วงศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการใช้นโยบายเปิดประเทศ ส่งผลให้อินเดียกลายเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในภูมิภาคเอเชียและเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลก จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจอันรวดเร็ว ทำให้อินเดียสามารถบูรณาการภาคเศรษฐกิจของอินเดียให้เข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ ส่งผลให้อินเดียกลายเป็นผู้นำด้านการนำเข้าและส่งออกในอันดับต้นของโลก อีกทั้งยังเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนที่สำคัญของโลก โดยประเทศไทยและประเทศอินเดียต่างมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นมายาวนาน การพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันจึงจำเป็นที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้รอบด้านอินเดียศึกษา และความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาฮินดี ซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศอินเดียอย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรสาขาวิชาอินเดียศึกษาซึ่งมีลักษณะ “สหวิทยาการ” และการใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษและภาษาฮินดีเป็นสื่อการเรียนการสอน จึงสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้รอบด้านอินเดียศึกษา เพื่อตอบสนองตลาดแรงงานและการศึกษาขั้นสูงต่อไปได้   

2การเรียนที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
    ในปัจจุบันการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมนั้นจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางภาษา สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างชนชาติต่างๆ และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข การพัฒนาเนื้อหาวิชาและรูปแบบหลักสูตรจึงต้องบูรณาการความรู้และทักษะสังคมเข้าด้วยกัน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เปรียบเทียบสถานการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมด้วย
ซึ่งหน่วยกิตทางการเรียนของโครงการอินเดียศึกษานั้นมีอยู่ 135 หน่วยกิต

3) การศึกษาในประเทศอินเดีย ระยะเวลา 1เทอม

จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

       เฉกเช่นเดียวกับคณะทางด้านสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่ที่คณะนี้ก็สามารถจบไปและประกอบอาชีพได้หลากหลายแขนงวิชาเนื่องด้วยการเรียนแบบสหวิทยาการของหลักสูตรอินเดียศึกษา ผนวกกับการเรียนในหลักสูตรสองภาษาอังกฤษ-ฮินดีการประกอบอาชีพจึงมีตั้งแต่งานราชการ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่ใช้ภาษาฮินดี และ ภาษาอังกฤษ เช่นสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศ ,อาจารย์,นักวิจัยด้านอินเดียศึกษา, บรรณาธิการ, นักเขียน, นักวิจารณ์, นักข่าว ผู้สื่อข่าว และผู้รายงานข่าว รวมไปถึงงานด้านการท่องเที่ยว อย่างล่าม ,มัคคุเทศก์ เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยฯลฯส่วนในงานเอกชนนั้นสามารถเป็นพนักงานสายการบินพนักงานบริษัทขนส่งทางอากาศพนักงานบริษัทขนส่งทางเรือ,เจ้าหน้าที่สนามบิน,เจ้าหน้าโรงแรม เจ้าหน้าที่-ร้านอาหารสำหรับชาวต่างประเทศ,เจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ท่องเที่ยว ,นักแปล, เจ้าหน้าที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศ, เจ้าหน้าที่บริษัทท่องเที่ยว ฯลฯ

เรียนโครงการอินเดียศึกษา ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ค่าใช้จ่ายตกอยู่ประมาณ 55,000-60,000 ต่อเทอม รวมสี่ปีก็ประมาณ 400,000 - 500,000 ซึ่งในค่าใช้จ่ายนี้รวมถึงค่าเรียนในการศึกษาต่อประเทศอินเดียด้วย แต่นักศึกษาสามารถที่จะขอทุนจากทางมหาวิทยาลัยที่มีความร่วมมือสถานทูตอินเดียประจำประเทศไทยได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น
ค่าธรรมเนียมการศึกษา

1. ค่าหน่วยกิต 2,000 บาท/หน่วยกิต
2. ค่าธรรมเนียมโครงการ 15,000 บาท/ภาคการศึกษา
3. ค่าขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา 400 บาท (เฉพาะภาคการศึกษาแรก)
4. ค่าบำรุงสุขภาพ 125 บาท/ภาคการศึกษา
5. ค่าบำรุงกีฬา 200 บาท/ภาคการศึกษา
6. ค่าบำรุงห้องสมุด 2,000 บาท/ปีการศึกษา (รวมภาคฤดูร้อน)
7. ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
สำหรับนักศึกษาชาวไทย 450 บาท/ภาคการศึกษา
สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติ 10,000 บาท/ภาคการศึกษา
8. ค่าธรรมเนียมการศึกษาเพื่อการพัฒนา 3,600 บาท/ภาคการศึกษา (ยกเว้นภาคฤดูร้อน)
9. ค่าประกันอุบัติเหตุ 110 บาท/ปีการศึกษา
10. ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการเครือข่าย 1,600 บาท/ปีการศึกษา (รวมภาคฤดูร้อน)
11. ค่าเอกสารในการจดทะเบียนรายวิชา 200 บาท (เฉพาะภาคการศึกษาแรก)
12. ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา 200 บาท/ภาคการศึกษา (ยกเว้นภาคฤดูร้อน)
 
ถ้าอยากเข้าโครงการอินเดียศึกษา มธต้องทำอย่างไร
  

เกณฑ์ในการสอบเข้าคณะ(อย่างคร่าวๆ)ก็มีดังนี้
1.       ต้องสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ( สำหรับนักเรียนในประเทศไทย ) หรือเทียบเท่า
หากเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องมีใบเทียบวุฒิของกระทรวงศึกษาธิการ

2.       ต้องมีผลสอบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ และผลสอบต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา

IELTS ( Academic ) 4.5 ขึ้นไป หรือ

TOEFL : CBT = 97 ขึ้นไป หรือ PBT = 400 ขึ้นไป หรือ IBT = 32 ขึ้นไป หรือ

TU - GET 400 คะแนนขึ้นไป (คอร์สแนะนำคือ TU-GET) หรือ

(* เกณฑ์ขั้นต่ำข้างต้นนี้มีสิทธิสมัครสอบได้ แต่หากได้รับเลือก จะต้องเรียนปรับพื้นฐานทางภาษาอังกฤษที่วิทยาลัยฯ จัดสอน และจะต้องสอบผ่านวิชาดังกล่าวก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1  มิเช่นนั้นจะถือว่าไม่มีสิทธิในการเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้

** ในกรณีที่มีคะแนน IELTS > 6.0 หรือ TOEFL(pBT) > 500 หรือ TU-GET > 500 ไม่ต้องเรียนปรับพื้นฐานทางภาษาข้างต้น)

3. สอบการเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอินเดียศึกษา  90%
      เทคนิคการเขียนessayต้องดูเรียงความที่ถูกต้องแบบฉบับภาษาอังกฤษ ใช้คำเชื่อมทั้งทุกส่วนคำนำหน้า และต้องอ่านโจทย์ให้แตก โดยศึกษาจากเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆอ่านข่าวให้เยอะๆ แล้วตอนเราเขียนessayก็เขียนเหตุผลรองรับสิ่งที่เราเขียนให้ดูน่าเชื่อถือเข้าไปด้วย

4. สอบสัมภาษณ์ 10%  

โครงการPBIC-อินเดีย เปิดรับสมัครช่วงไหน

      ส่วนมากโครงการนี้จะ เปิดรับสมัครช่วง กลางมีนาคม – ปลายพฤษภาคม โดยต้องยื่นผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ ตัวจริงด้วย และเริ่มสอบข้อเขียนต้นมิถุนายน ส่วนเริ่มสัมภาษณ์เริ่มช่วงปลายเดือนมิถุนายน และจะประกาศผลช่วงต้นมิถุนายนเช่นกัน

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 29 มกราคม 2564 18:07:32 น.
Counter : 785 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



มกราคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
29 มกราคม 2564
All Blog