แนะแนวโครงการ อักษรศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BALAC CU)
แนะแนวโครงการ
อักษรศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(BALAC CU)

BALAC – Arts Chula
 
ภาษาและ วัฒนธรรมนั้นเป็นส่วนหนึ่งในรากฐานของทุกๆสังคม โดยสังคมหนึ่งๆถ้าหากปราศจากสองสิ่งหรือ มีแค่อย่างใดอย่างแล้วนั้นก็คงไม่ต่างกับสังคมที่ตายแล้ว เพราะเนื่องจากตัวภาษานั้นเปรียบเสมือนกับสื่อกลางในการสื่อสารของคนในทุกๆชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือระดับชนชั้นทางสังคมใดๆในโลกก็ตามก็มักจะมีการใช้ภาษาในการสื่อสารต่อกันทั้งสิ้น และยิ่งนับในปัจจุบัน ในโลกที่มีการก้าวผ่านติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยเทคโนโลยีเพียงนิ่วสัมผัส ประเทศแต่ละประเทศ คนแต่ละกลุ่ม สามารถมาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยแค่ใช้เพียงอินเตอร์เน็ต และภาษาที่ใช้ในการสื่อสารซึ่งกันและกัน รวมไปถึงในด้านหน้าที่การงานโดยเฉพาะในงานที่มีความต้องการในการติดต่อกับชาวต่างชาติ ภาษาเปรียบเสมือนอาวุธที่สำคัญในการสื่อสารเจรจาทางธุรกิจให้มีความลุล่วงไปได้ด้วยดี นอกจากนั้นภาษาเองก็ยังเป็นใบเบิกทางสู่ความก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน ยิ่งเรารู้ภาษาต่างประเทศมากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นการเปิดโอกาสในชีวิตของเราเท่านั้นทั้งในโอกาสทางวิชาชีพ และโอกาสในการพัฒนาตนเองทั้งทัศนคติ การเข้าถึงความรู้ อย่างเช่นงานเขียน หรือพวกข้อมูลที่เป็นภาษาต่างประเทศ รวมไปถึงข่าวสารที่ฉับไวกว่าถ้าหากเรารู้ก่อนย่อมได้เปรียบ รวมทั้งในด้านของสถานะทางสังคม ที่ค่อนข้างจะได้รับการยกย่องจากผู้อื่นถ้าหากเรามีความรู้ในด้านภาษาที่มาก รวมไปถึงในด้านสถานะทางเศรษฐกิจ เพราะถ้าคนที่มีความรู้ทางภาษามากกว่าผู้อื่นก็ย่อมนำความรู้ที่ตนได้มานั้นสามารถนำไปประกอบสัมมาอาชีพต่างๆได้ และสามารถสร้างรายได้และความมั่งคั่งแก่ตนเองอย่างไม่รู้จบ
    ส่วนทางด้านวัฒนธรรมนั้นในสังคมใดๆก็ตามถ้าไม่มีวัฒนธรรมก็เหมือนกับไม่มีรากให้เอาไว้เกาะ เพราะเราเองก็จะไม่รู้ที่มาที่ไปของตัวเอง ไม่มีความภาคภูมิใจในตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น ในทุกๆที่ย่อมมีวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดอย่างโลก ทวีป ประเทศ หรือแม้แต่โครงสร้างเล็กๆ อย่างวัฒนธรรมกลุ่ม ที่มีความชอบพอกัน หรือวัฒนธรรมที่แต่ละครอบครัวนั้นมีต่อกัน โดยทางวัฒนธรรมนั้นครอบคลุมในหลายด้าน ทั้งมารยาท ประเพณี  ศาสนา ความเชื่อ อาหาร ความรู้ตกทอดซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากกันได้เลย
   ดังนั้นทั้งภาษาและวัฒนธรรมจึงกลายเป็นสิ่งที่มีความกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะฉะนั้นการศึกษาทั้งในเชิงของวัฒนธรรมและภาษาจึงเป็นสิ่งที่กระทำควบคู่กัน เฉกเช่น การแนะแนวโครงการในวันนี้ที่เราจะมาแนะแนวโครงการหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือจะเรียกสั้นๆว่า(BALAC CU) ก็ได้ ซึ่งตามความเป็นจริงโครงการBALAC เองก็ถือว่าเป็นโครงการน้องใหม่อีกโครงการหนึ่งเพราะเพิ่งก่อตั้งมาได้แค่5-6ปีเท่านั้น แต่ความใหม่นั้นก็ใช่ว่าจะใหม่แบบไม่มีพื้นฐานอะไรเลย เพราะคณะนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของขณะอักษรศาสตร์ที่ค่อนข้างมีรากฐานมาอย่างมั่นคงและยาวนาน พร้อมกับบุคลากรที่ถือว่าเป็นที่ยอมรับในวงสังคมในเรื่องของความรู้และทางด้านวิชาการสอน ที่มีความเข้มข้น และมีศักยภาพในการผลิตบัณฑิตที่จบออกมาได้อย่างมีคุณภาพอย่างแน่นอน ซึ่งตัวโครงการ BALAC เองย่อมากจาก Bachelor of Arts in Language and Culture ซึ่งก็คือ "คณะอักษรศาสตร์" โปรแกรมอินเตอร์ ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั่นเอง  การเรียนการสอนทั้งหมดจะเป็นภาษาอังกฤษ โดยนักศึกษาในคณะจะเรียนเอกเดียว คือเอก ภาษาและวัฒนธรรมและมีวิชาโทเป็นภาษาที่สาม ตามที่เราเลือก อย่าง เยอรมัน สเปน รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี วิชาหลักๆที่จะได้เรียน ก็เน้นสามส่วน  คือทางด้านวิชาวัฒนธรรมมีประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม cultural studies, theather and film แถมพวกวิชาที่ได้ใช้งานจริง อย่าง cross-cultural management สอนการบริหารธุรกิจต่างชาติแล้วก็ online info ที่สอนวิธี research ทำเปเปอร์  และก็ส่วนวิชาภาษา  และก็พวกวิชาบังคับซึ่งจะแบ่งเป็นบังคับของตัวโครงการเองอย่าง Thai Language and Culture  , Thai Literature and Culture และก็พวกวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งBALAC ไม่ได้เจาะลึกด้านภาษาศาสตร์เท่าไหร่ แต่โดยมากจะเน้นตัว media study ดูหนังฟังเพลง วิเคราะห์สื่อในการนำเสนอทางวัฒนธรรม ซึ่งการเรียนการสอนจะเป็นไปตามหลักสูตรดังนี้ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่มเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน ภาคการศึกษาที่ 2 เริ่ม เดือนมกราคม – เมษายน ภาคฤดูร้อน เริ่มเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม โดยนิสิตต้องเรียนวิชาทั้งหมดอย่างน้อย7เทอม  โดยการเรียนมีทั้งหมด 141หน่วยกิต ซึ่งตัวโครงการนั้นเหมาะกับครที่สนใจด้านศิลปะ ชอบอ่านชอบเขียน แต่ไม่ได้เน้นเรื่องที่มาของคำพวกสะกดคำ หรือว่า หารากคำแบบวิชาภาษาส่วนใหญ่เรียน และมีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีพอสมควร ไม่เน้นปูพื้นภาษา แต่ในการเรียนเรื่องวัฒนธรรม BALAC ก็เป็นอีกคณะหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมาก
 
ความเป็นมาของโครงการ อักษรศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  (BALAC CU)
 
คณะอักษรศาสตร์ถือเป็น 1 ใน 4 คณะก่อตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในอดีตใช้ชื่อว่าคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ชื่อของคณะนั้นบ่งบอกถึงสิ่งที่ต้องการจะถ่ายทอดให้แก่นิสิต ซึ่งก็คือความรู้ทางด้านภาษานั่นเอง ในปัจจุบันคณะอักษรศาสตร์เปิดสอนภาษาต่างๆทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 16 ภาษา สำหรับหลักสูตร BALAC (Bachelor of Arts in Language and Culture) เปิดรับนิสิตเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2551เพื่อเปิดโอกาสในการเรียนรู้เรื่องของภาษาและวัฒนธรรมในต่างประเทศ โดยมีลักษณะเด่นคือ นิสิตทุกคนจะต้องเรียนภาษาที่ 3 และยังมีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม หรือแม้แต่เรื่องภาพยนตร์ที่สะท้อนความเป็นไปของคนในชาติ ด้วยแนวคิดที่ว่าการเรียนภาษาอย่างเดียวแต่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของคนในชาตินั้น อาจทำให้เราไม่เข้าใจสิ่งที่จะสื่อสารอย่างถ่องแท้ได้ เพราะฉะนั้นรายวิชาเฉพาะสาขาในหลักสูตรจึง แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือวิชาวัฒนธรรมศึกษาและวิชาภาษ สำหรับวิชาวัฒนธรรมศึกษานั้น มีการออกแบบรายวิชาใหม่ๆ เพื่อตอบสนองกับปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป และประสานแขนงวิชาทางมนุษยศาสตร์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างรายวิชาที่เปิดใหม่ เช่น การวิจักษ์ละครเวทีและภาพยนตร์ ดนตรีกับวัฒนธรรม ทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษา วัฒนธรรมทัศนาการ วรรณกรรมกับภาพยนตร์      เพศสถานะกับการนำเสนอภาพแทนทางวัฒนธรรม รายวิชาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นของหลักสูตรที่มีการออกแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในกระแสโลกาภิวัตน์ ส่วนวิชาภาษานั้น นิสิตมีโอกาสเลือกเรียนภาษาต่างประเทศอีกหนึ่งภาษา นอกเหนือจากภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเรียนการสอน  นิสิตแต่ละคนจะมีการเรียนภาษาที่ 3 ตามที่เลือกไว้โดยมีให้เลือก 8 ภาษาได้แก่ Chinese ,French,German,Italian,Japanese,Korean,Russian,Spanish โดยจะต้องมีจำนวนนิสิตอย่างน้อย 25 คนจึงจะเปิดสอนในภาษานั้นๆ หากภาษาที่นิสิตเลือกเรียนไม่เปิดสอนก็ต้องเลือกเรียนภาษาอื่นแทน โดยหลักสูตรฯต้องการสร้างบัณฑิตที่มีองค์ความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรมนานาชาติ มีความสามารถในการวิเคราะห์ วิจารณ์และเปรียบเทียบวัฒนธรรมต่างชาติต่างภาษา รวมถึงมีความรู้และความฉลาดเฉลียว เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคมร่วมสมัย ด้วย
หลักสูตร BALAC จุฬาเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง
โดยBALAC จุฬา. ผู้เรียนจะต้องเรียนทั้งหมด 141 หน่วยกิต โดยนักศึกษาจะต้องศึกษาวิชาทั่วไป 33 หน่วยกิต  สองเป็นวิชาแกนหลัก 102 หน่วยกิต  ซึ่งแบ่งเป็นวิชาแกนหลักทางด้านวัฒนธรรม และวิชาแกนหลักทางด้านภาษา และวิชาเลือกเสรี อีก6 หน่วยกิต   ซึ่งแบ่งคร่าวๆดังนี้







จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง
    เฉกเช่นเดียวกับคณะทางด้านสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่ที่คณะนี้ก็สามารถจบไปและประกอบอาชีพได้หลากหลายแขนงวิชาเนื่องด้วยการเรียนแบบสหวิทยาการของหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรม ผนวกกับการเรียนในหลักสูตรสองภาษาอังกฤษ-และภาษาที่สาม การประกอบอาชีพจึงมีตั้งแต่งานราชการ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและองค์กรที่ใช้ภาษาต่างๆ เช่นสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศ ,อาจารย์,นักวิจัยด้านภาษาและวัฒนธรรม, บรรณาธิการ, นักเขียน, นักวิจารณ์, นักข่าว ผู้สื่อข่าว และผู้รายงานข่าว รวมไปถึงงานด้านการท่องเที่ยว อย่างล่าม ,มัคคุเทศก์ เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยฯลฯส่วนในงานเอกชนนั้นสามารถเป็นพนักงานสายการบินพนักงานบริษัทขนส่งทางอากาศพนักงานบริษัทขนส่งทางเรือ,เจ้าหน้าที่สนามบิน,เจ้าหน้าโรงแรม เจ้าหน้าที่-ร้านอาหารสำหรับชาวต่างประเทศ,เจ้าหน้าที่ประจำสถานที่ท่องเที่ยว ,นักแปล, เจ้าหน้าที่บริษัทการค้าระหว่างประเทศ, เจ้าหน้าที่บริษัทท่องเที่ยว ฯลฯ

เรียนโครงการBALAC  ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายตกอยู่ประมาณ 82,000 บาทต่อเทอม สำหรับนักศึกษาไทย โดยแบ่งเป็นค่าโครงการมหาวิทยาลัย 17,000 และค่าลงทะเบียน65,000 บาท และราวๆ126,500 บาท ต่อเทอมสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยแบ่งเป็นค่าโครงการมหาวิทยาลัย 17,000 และค่าลงทะเบียน109,500 บาท

ถ้าอยากเข้าโครงการ BALAC CUต้องทำอย่างไร
1. สำเร็จการศึกษา/กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
2.   มีคะแนนการสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    CU - TEP 80 คะแนนขึ้นไป 
    TOEFL  550 คะแนนขึ้นไป ( PBT > 550 : CBT > 213 : IBT > 79 ) หรือ
    คะแนน IELT ตั้งแต่ 6.0 คะแนนขึ้นไป 
3.    มีผลการทดสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง (ผลคะแนนจะต้องไม่เกิน 2 ปี) ดังต่อไปนี้
      ผลคะแนน CU - AAT (Verbal Section)  ไม่ต่ำกว่า 400 คะแนน หรือ
      ผลคะแนน SAT I (Critical Reading) ไม่ต่ำกว่า 400 คะแนน หรือ
        ผลคะแนน ACT (Math Section และ English Section)ในส่วนของ English Section ต้องไม่  
        ต่ำกว่า 18 คะแนน
4.    สอบการเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ 
    โดยจะเป็นการทดสอบทักษะการอ่าน และการเขียน แบ่งเป็น
- ข้อสอบการอ่าน  จะคล้ายกับข้อสอบเติมคำ (Cloze Test)
- ข้อสอบการเขียนจะมีคำถามให้ 5-7 ข้อ แล้วให้น้องๆเลือกตอบเพียงข้อเดียวแล้วตอบเป็น essay แนวข้อสอบเช่น
 -Bicycling is a popular trend in Bangkok. Discuss on how and why it is popular here right now and this moment. Do you believe this is a true phenomenon, is it going to vanish soon or is there any problem about it?
-ASEAN Community has the potential values and limitation. Discuss in your opinion.
- Thai ranks the lowest countries in worldwide. “Thailand Press Freedom Index Censorship of the media is a good or bad.” Describe your opinion. Argue two either ways.
-Secretary General Bun Ki Moon praised the hit song “Gangnam stlye” by PSY as ”a force of world peace” ,why ..........?
-.The famous said ” people who don’t know foreign languages, they don’t know their language” Discuss both agree and disagree?
-.Being Thai is all about to hybridization. What is your opinion toward ..........?
- .How do we learn from History?
กรรมการที่ตรวจข้อสอบของเขาจะมองหา ‘ไอเดีย ความคิด และความสามารถในการใช้ภาษา’ ซึ่งเรื่อง ‘แกรมม่า’ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เรียกได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการสอบข้อเขียน  เพราะฉะนั้น ฝึกเขียนเยอะๆ
5 สอบสัมภาษณ์
รอบสัมภาษณ์ จะถามเรื่องทั่วๆไป เพื่อดูบุคลิก และการพูดที่เหมาะสม(เน้นความมั่นใจและแสดงความเป็นตัวตนเรา)กับการเป็นนิสิตของหลักสูตรนี้ จะเน้นไปที่ต้องพูดจาฉะฉาน อธิบายเรื่องราวได้ชัดเจน และมีความสนใจในเนื้อหาของหลักสูตรสิ่งที่แนะนำคือ อย่า"โกหก"เป็นอันขาด เพราะเขาก็จะถามคำถามต่อจากที่เราตอบเนี่ยและเขามีสิทธิ์ถามเจาะลึกได้ ซื่อสัตย์ไว้ดีที่สุด อาจมีแถขึ้นมาบ้างเล็กน้อยแต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง

หลักฐานการสมัคร
1.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ
2.ใบรายงานผลการศึกษา (Transcripts)
3.ผลการเรียนและผลการทดสอบตามคุณสมบัติที่มหาวิทยาลัยกำหนดทุกข้อ
4.เจตจำนงของการศึกษา(Statement of Purpose)เป็นความเรียงภาษาอังกฤษความยาวประมาณ 100-200 คำ
5.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีเป็นชาวต่างชาติ)
6.ใบรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียนจากสถานศึกษา (สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่)
ผู้สมัครจะต้องยื่นหลักฐานการสมัครครบทุกข้อ มิฉะนั้นคณะอักษาศาสตร์จะไม่รับพิจารณาไม่ว่ากรณีใด ๆ
สนใจขอรับใบสมัครได้ที่สำนักงานหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม(หลักสูตรนานาชาติ)ห้อง 712 ชั้น 7 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ (ในวันและเวลาราชการ)หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้จากเวบไซต์https://www.arts.chula.ac.th/balac/webโทรศัพท์/โทรสาร   0-2218-4641

โครงการBALAC CU เปิดรับสมัครช่วงไหน
เปิดรับสมัครช่วงเดือนมกราคม สอบข้อเขียน กลางกุมภาพันธ์  ประกาศผู้มีสิทธิสัมภาษณ์ปลายกุมภาพันธ์  สัมภาษณ์ ปลายกุมภาพันธ์-มีนาคม โดยในแต่ละปีจะรับนักศึกษาประมาณ 100 คน และจะประกาศผลช่วงปลายๆมีนาคม



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 29 มกราคม 2564 18:21:40 น.
Counter : 11553 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]



มกราคม 2564

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
29 มกราคม 2564
All Blog