สืบสานวัฒนธรรม โดยการนำของปัญญา

สืบสานวัฒนธรรม01


พระครูพิพิธสุตาทร (พระมหา ดร.บุญช่วย สิรินธโร)

รองอธิการบดีวิทยาเขตเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่


—————————————————-


ในกระแสแห่งสังคมบริโภค (Consumeristic Society) เช่นปัจจุบันนี้
ชาวโลกต่างประสบกับปัญหาอันเนื่องมาจากการบริโภค ทั้งปัญหาทางกาย เช่น
การเกิดโรคใหม่ๆ ที่มาจากการบริโภคโดยตรง และปัญหาทางใจ เช่น
ความวิตกกังวล ความหวาดระแวง ความท้อแท้สิ้นหวัง
ซึ่งสังคมบริโภคได้ใช้วิธีการโฆษณา ชวนเชื่อ
ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารทุกรูปแบบ ด้วยความเชื่อเบื้องลึกที่ว่า
“ความอยากของมนุษย์นั้นจะต้องได้รับการตอบสนอง”
ในทำนองที่ว่ามนุษย์จะต้องสร้างสุขให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง
และวิธีการที่จะสร้างสุขที่ได้ผลก็คือ การตอบสนองความอยากให้ได้ทุกรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นความอยากเพื่อมีวัตถุมาเสพบริโภค

Eureka Vacuum Cleaner,Upright Bagless Vacuum Cleaner,Vacuum Cleaner Accessories,Vacuum Cleaner Bags,Bagless Canister Vacuum,Dyson Ball Vacuum,Dirt Devil Vacuum Cleaner,Handheld Vacuum Cleaner,Kirby Vacuum Cleaner,Miele Vacuum Cleaner,Betsey Johnson Handbags,Jessica Simpson Handbags,Leather Messenger Bag,Brown Paper Bag,Lucky Brand Handbags,Make Up Bag,Miu Miu Bag,Miu Miu Bag,Vera Bradley Bags,Boxing Punch Bag,Famous Brand Shoes,New Look Shoes,Asics Running Shoes,High Heel Shoes,Running Shoes Nike,Nike Running Shoes,Mens Running Shoes,High Top Shoes,Irregular Choice Shoes,Shoes On Sale,New Look Shoes,Asics Running Shoes,High Heel Shoes,Running Shoes Nike,Nike Running Shoes,Mens Running Shoes,High Top Shoes,Irregular Choice Shoes,Shoes On Sale,Kenneth Cole Shoes,White Sandals,Flat Sandals,Sandals White,Teva Sandals,Birkenstock Sandals,Women Sandals,Dress Sandals,Brown Sandals,Sandals Leather,Sandals Resorts

หรือความอยากที่จะให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด


วิธีคิดในการสร้างสุขนั้น สนับสนุนความโลภ
และเมื่อผู้คนต่างมีความโลภเป็นธรรมในใจ
ก็จะนำไปสู่การแย่งชิงทรัพยากรของกันและกัน เอาตัวตนของตนเองเป็นสำคัญ
มองไม่เห็นว่าผู้ที่อ่อนแอกว่าจะต้องให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูล
เอื้อเฟื้อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงเกิดปรากฏการณ์แห่งการทอดทิ้งกัน
ปล่อยให้ผู้อ่อนแอต้องกระเสือกกระสนดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดด้วยตนเอง
ปรากฏการณ์ที่ชัดเจนที่เห็นได้ในโลกปัจจุบันคือ ความยากจน
ความอยุติธรรมในสังคม ปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติด โสเภณี ความรุนแรง สงคราม
การทำลายสิ่งแวดล้อม ความเครียด พฤติกรรมที่เบี่ยงเบน


ในทางตรงกันข้าม พระพุทธศาสนามีวิธีคิดสำคัญอยู่ที่
การกำจัดทุกข์ วิธีคิดดังกล่าวนำมาซึ่งการแสวงหาทางออก
หรือทางที่จะกำจัดทุกข์ ซึ่งเป็นที่มาแห่งปัญญาเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยดี
และวิธีการหรือทางออกที่ถูกต้องที่สุดก็คือทางที่จะนำไปสู่การลดความโลภ
ความโกรธ ความหลง
ซึ่งเมื่อถึงที่สุดดังกล่าวสันติภาพอาจยอแสงในท่ามกลางแห่งกระแสนิยมในโลก
ปัจจุบันนี้ได้


การแสดงออกในทางปฏิบัติ
ชาวพุทธอาศัยประเพณีพิธีกรรมที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้เป็นช่องทางแห่ง
การเข้าสู่วิถีที่จะนำไปสู่การลดละความโลภ ความโกรธ ความหลง
เพราะในพิธีกรรมหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยการแสดงออกโดยการให้ (ทาน)
การปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ที่สร้างสรรค์ดีงาม (ศีล)
และการเจริญสติระลึกถึงความไม่เที่ยง
เป็นทุกข์และการหาตัวตนที่แท้จริงไม่ได้
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาหรือศาสนพิธีในปัจจุบัน
เหลือไว้แต่เพียงรูปแบบ แต่หาสาระได้ยากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ตัวอย่างการถวายสังฆทานของชาวพุทธในปัจจุบันน่าจะเป็นเครื่องยืนยันถึงวิกฤต
ความรู้เชิงสาระที่อยู่เบื้องหลังของพิธีกรรมการถวายสังฆทาน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเป้าหมายหลักคือการกำจัดความตระหนี่
และเป้าหมายรองคือการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
และการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ที่ขาดแคลนวัตถุมากกว่าเรา
หรือแม้กระทั่งเรื่องการให้ทานโดย

ไม่เจาะจงผู้รับซึ่งในทางพระพุทธศาสนาถือว่ามีอานิสงส์มาก


ปัจจุบัน มีความพยายามจากคนจำนวนมากที่มีความเชื่อว่า
วัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่บรรพบุรุษจะเป็นทางออกสำคัญของสังคมบริโภค
ในการที่จะนำกลับมาทบทวนและปรับประยุกต์ ตลอดถึงสืบสานสู่ลูกหลานต่อไป
การสืบสานวัฒนธรรมอย่างเข้าใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
มีตัวอย่างนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาจำนวนไม่น้อย
ที่ได้ออกมาเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงวัฒนธรรมในด้านพิธีกรรมให้เหมาะสมสอด
คล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
แต่ดูเหมือนว่าจะยังขาดผู้ที่เอาจริงเอาจังในการจัดการเรื่องนี้
สวนโมกขพลาราม วัดชลประทานรังสฤฏดิ์ วัดสวนแก้ว วัดญาณเวศกวัน
น่าจะเป็นวัดที่ประสบความสำเร็จในความพยายามในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
พิธีกรรมให้สมสมัย
แต่ก็ยังดูจำกัดอยู่ในวงแคบๆเฉพาะวัดในเครือข่ายเท่านั้น
ในขณะที่วัดโดยทั่วไปยังคงไม่ค่อยจะขยับสู่การเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก
จะเป็นด้วยเหตุผลใดก็ตาม
การปรับเปลี่ยนก็น่าจะเกิดขึ้นโดยเร่งด่วนเพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลง
ที่นับวันก็ยิ่งรุกอย่างเร็วและรุนแรงอย่างที่หลายฝ่ายตั้งตัวกันไม่ทัน


หากพูดถึงพิธีกรรมทางศาสนาโดยรวมแล้ว
ในขณะนี้พิธีกรรมทางศาสนาหลายพิธีได้ถูกหน่วยงานองค์กรทางธุรกิจเข้ามายึด
เอาไปดำเนินการแทบจะไม่เหลือแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานวันเกิด งานแต่งงาน
หรืออีกหลายๆ งาน ซึ่งถ้าไม่ถูกยึดไปทั้งหมดก็ถูกยึดไปแล้วบางส่วน ดังนั้น
ฐานที่มั่นสำคัญในเรื่องพิธีกรรมสำหรับพระสงฆ์ขณะนี้น่าจะอยู่ที่พิธีกรรม
งานศพ ที่ยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดมายึดเอาไปครอบครองอย่างเต็มรูปแบบ
แม้ว่าบางส่วนของพิธี (การรับเหมาจัดอาหาร นิมนต์พระ จัดเครื่องไทยทาน
เป็นต้น) จะถูกยึดไปแล้วในบางพื้นที่


ล้านนา
ได้ชื่อว่าเป็นภูมิภาคที่ยังคงรักษาจารีตประเพณีไว้อย่างเหนียวแน่น
นอกจากจะยังคงมีวิถีปฏิบัติที่มั่งคงแน่วแน่บนแนวทางความเชื่อทางพระพุทธ
ศาสนาแล้ว ยังมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้อง
กับความเชื่อท้องถิ่นได้อย่างกลมกลืน ด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
และการปฏิบัติที่เหมาะสม แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป
กระแสบริโภคนิยมโถมกระหน่ำท่วมทับลงมาอย่างแรงเช่นทุกวันนี้
แต่ว่าการยึดถือและวิถีปฏิบัติบางอย่างทำให้พิธีกรรมที่เคยเรียบง่ายมีสาระ
กลายเป็นสิ่งที่ยุ่งยากเป็นภาระไปเสียได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีกรรมงานศพที่ถือว่าเป็นเรื่องของความสูญเสีย
ความเศร้าโศก การไม่คาดคิดเตรียมการล่วงหน้า
นับวันจะยิ่งไหลไปตามกระแสจะอาจจะหันกลับมาเป็นแบบดั้งเดิมได้ยากทุกที


ชมชนอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน และชุมชนบ้านดง ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง โดยการนำของนายอิ่นแก้ว เรือนปานันท์ โดยการนำของพระปลัดอภินันท์ อภิปญฺโญ ได้ลุกขึ้นมาตั้งคำถามกับพิธีกรรมงานศพในชุมชนที่ตนเองคุ้นชินในหลายๆประเด็น เช่น ทำไม
การจัดพิธีกรรมงานศพจึงต้องตั้งศพบำเพ็ญกุศลกันนานหลายๆ วัน
ทำไมการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามีความแตกต่างกัน
ทำไมค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพถึงสูงมากกระทั่งเจ้าภาพถึงมีหนี้สินที่ต้อง
ชำระอีกจำนวนมากหลังเสร็จงาน
ทำไมจึงมีการเลี้ยงเหล้าสุราและเล่นการพนันในงานศพทั้งที่เป็นทางแห่งความ
เสื่อม (อบายมุข) ทำไมจึงมีการเล่นเครื่องเล่นที่เน้นความสนุกสนาน
ทำไมจึงมีการวางผ้าบังสุกุลกันมากมายทำไม….ทำไม….และทำไม…….. …??????


เมื่อมีข้อสงสัย
ชุมชนทั้งสองแห่งจึงคิดกระบวนการให้ได้คำตอบต่อคำถามเหล่านั้น
โดยการทำให้เป็นคำถามสาธารณะมากขึ้น จากหนึ่งคน เป็นหนึ่งกลุ่ม
กระทั่งเป็นข้อสงสัยที่คนในชุมชนส่วนใหญ่ต้องการคำตอบ
ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น…????? และคำตอบที่ได้ก็น่าสนใจเป็นยิ่งนัก!!!!!!!


ต่อคำถามว่า
“ทำไมการจัดพิธีกรรมงานศพจึงต้องตั้งศพบำเพ็ญกุศลกันนานหลายๆ วัน”
คำตอบที่ได้ก็คือ
เป็นเพราะชุมชนมีความเชื่อกันมาแต่โบราณในเรื่องฤกษ์ยามในการประกอบกรรมพิธี
งานต่างๆ
ซึ่งในส่วนของพิธีกรรมงานศพก็จะมีความเชื่อว่าไม่ควรทำฌาปนกิจศพในวันต่างๆ
หลายวัน ซึ่งเป็นความเชื่อที่สั่งสมกันมากจากหนึ่งแล้วเพิ่มขึ้นมาตามลำดับ
และหากผู้ใดฝ่าฝืน
ไม่ปฏิบัติตามความเชื่อหรือข้อห้ามในการประกอบพิธีกรรมดังกล่าวนั้น
ก็จะเกิดอาเพศเหตุร้ายเกิดขึ้นทั้งในครอบครัวและชุมชนแห่งนั้น
จึงไม่มีผู้ใดกล้าฝ่าฝืน กระทำนอกกรอบความเชื่อดังกล่าว
ดังนั้นเมื่อคำนวณวันเสียที่ไม่ควรทำพิธีฌาปนกิจ
ซึ่งบางครั้งไม่ตรงกันก็อาจต้องเก็บศพไว้บำเพ็ญกุศลนานถึง ๕ วัน ถึง ๗ วัน


ด้านเศรษฐกิจในการจัดงานศพแต่ละครั้ง
ค่าใช้จ่ายในการจัดงานที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ของประชาชน
เพราะหลายเรื่องชุมชนไม่ได้ดำเนินการเอง
แต่ใช้บริการเหมาจากธุรกิจเช่นอาหาร โลงศพ เครื่องไทยทาน เป็นต้น
ผสมผสานกับที่ต้องตั้งศพบำเพ็ญกุศลนานๆ โดยไม่จำเป็น
ยิ่งทำให้รายจ่ายพุ่งสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
โดยเฉพาะหากเจ้าภาพเป็นประเภทหน้าใหญ่
ก็อาจถึงกับต้องกู้หนี้ยืมสินมาจัดงานศพให้สมหน้าตา


การที่มีการเลี้ยงเหล้าสุราและเล่นการพนันในงานศพ
ก็เพราะความเชื่อที่จะช่วยให้มีคนอยู่ร่วมงานศพ
และเป็นเพื่อนเจ้าภาพตลอดเวลา
อีกทั้งเพราะมีธุรกิจการพนันที่มักจะมา(ประมูล)รับเหมาจ่ายค่าจัดงานศพให้
โดยที่เจ้าภาพจะได้ผ่อนเบาภาระของตน
ในขณะที่เมื่อเจ้าภาพงานศพบางคนได้เคยไปเห็นการนำเอาเครื่องเล่นที่สนุกสนาน
มาเล่นในงานศพในชุมชนอื่น ก็เลยเลียนแบบนำเอามาเล่นบ้าง
เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจ
และที่สุดก็คือการวางผ้าบังสุกุลที่บางแห่งใช้เวลามากเพราะมีแขกผู้มี
เกียรติไปร่วมงานมาก
ซึ่งก็จะต้องให้เกียรติกันให้ทั่วถึงอันเป็นการประกาศตัวตนให้ใหญ่ขึ้น
ทั้งๆที่งานศพน่าจะเป็นงานจะเป็นโอกาสของความเข้าใจความจริงที่เป็นสากลแห่ง
โลกและชีวิต คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
และหาตัวตนที่แท้จริงให้ยึดถือไม่ได้


นอกจากนี้
สิ่งที่สำคัญที่เป็นสาระของพิธีกรรมงานศพได้ถูกบิดเบือนและบดบังไปมาก
เช่นการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ในการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในงานศพ จะมีคำกล่าวบูชา อาราธนา
คำสวดต่างๆ รวมถึงการเทศนาธรรมเกิดขึ้นทุกขั้นตอนของพิธีกรรม
ที่นับว่าเป็นกิจกรรมหลักในพิธีกรรมศพ แต่ประชาชนส่วนมาก (กว่าร้อยละ ๙๕)
ไม่รู้ความหมายเนื่องจากเป็นภาษาบาลี
การปฏิบัติจึงเป็นการปฏิบัติตามคำชี้นำของพระสงฆ์และมัคนายก
เอาความเชื่อเรื่องบุญกุศลเป็นตัวตั้ง
ทำให้ไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ไปสู่ปัญญาตามหลักของพระพุทธศาสนา
การปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นเพียงการท่องจำและการกระทำสืบๆ กันมา


เมื่อชุมชนเข้าใจปัญหา และสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมงานศพเหล่านี้แล้ว ต่างก็พยายามที่จะช่วยกันแก้ไข


ชุมชนอำเภอนาหมื่นเลือกที่จะเริ่มจากการทบทวนความเชื่อเรื่องฤกษ์ยาม
โดยการระดมนักปราชญ์ท้องถิ่นที่มีตำราร่ำเรียนมาจากครูบาอาจารย์ที่ต่างกัน
เพื่อให้มาประชุมปรึกษาหารือหาข้อยุติเกี่ยวกับการกำหนดวันเสียหรือวันที่
เชื่อว่าไม่ควรทำพิธีฌาปนกิจเสียใหม่
เพื่อให้เกิดความสบายใจในการนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
ซึ่งก็ได้ผลดีเป็นอย่างมาก มีการลดทอนวันเสียลง
และนำมาสู่การประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดงาน


นอกจากนี้ ชุมชนยังได้แนวทางและรูปแบบพิธีกรรมที่เหมาะสมและ
เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ธรรมะ
ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ
จากเดิมค่าใช้จ่ายในงานศพเฉลี่ยประมาณ ๑๐,๐๐๐ – ๑๒,๐๐๐ บาท/วัน
โดยระยะเวลาในการจัดงานศพจากเดิมใช้เวลา ๓ – ๙ วัน
ปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมคือค่าใช้จ่ายลดลงเหลือวันละ
๗,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ บาท ระยะเวลาที่จัดงานศพลดลงอยู่ในช่วงเวลาประมาณ ๓ – ๕ วัน
และพิธีกรรมที่จัดก็เน้นความประหยัด เรียบง่าย และถูกต้องตามประเพณี
สามารถลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาประกอบพิธี
และรูปแบบพิธีกรรม

ดังกล่าวได้ขยายผลไปในอีกหลายชุมชน โดยบางพื้นที่สภาวัฒนธรรมอำเภอได้นำเอาไปใช้ในระดับอำเภอ


ในขณะที่ชุมชนบ้านดงเริ่มต้นโดยการลดการเลี้ยงเหล้าในงานศพในชุมชน
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลให้เกิดความเข้าใจและคิดร่วมกันว่า
ถ้าหากว่าผู้ตายเป็นหัวหน้าครอบครัวแล้ว ลูกเขาจะเรียนหนังสืออย่างไร
ภรรยาเขาจะไปสร้างฐานะอย่างไร ย้ำคำถามเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา
เป็นข้อคิดให้ชาวบ้านได้คิดไปทำไป


วันนี้ชุมชนบ้านดง ตำบลนายาง
ประกาศตัวเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้าในงานศพร้อยเปอร์เซ็นต์
สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชนที่สามารถเป็นต้นแบบของวิธีการและรูปแบบ
การเรียนรู้

ซึ่งมีอีกหลายๆ
โครงการที่ต่อยอดวิธีคิดจากงานจัดระเบียบสังคมลดเหล้าในงานศพของหมู่บ้าน
เช่นงานด้านสาธารณสุข งานด้านการป้องกันอุบัติภัยจราจร
การจัดค่ายพุทธบุตรสำหรับเยาวชนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในระดับตำบล
เป็นต้น


นี่เป็นตัวอย่างของความพยายามของชุมชนในการสืบสานวัฒนธรรมโดยใช้ปัญญา
เป็นตัวนำ
เริ่มต้นการคิดสืบสานด้วยการหยิบยกเอาเรื่องพิธีกรรมงานศพเป็นเครื่องมือ
แห่งการเรียนรู้
ประสบการณ์ของทั้งสองชุมชนเป็นประสบการณ์ที่น่าไปศึกษาเรียนรู้เป็นอย่าง
ยิ่ง เพราะเป็นประสบการณ์
ที่เกิดขึ้นจากการนำของพระสงฆ์และผู้นำที่นับถือพระพุทธศาสนา น่า
จะถึงเวลาที่พระสงฆ์และองค์กรชาวพุทธจะหันมาสืบสานพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
ด้วยปัญญาอย่างจริงจัง เพื่อให้พิธีกรรมยังคงคุณค่าสาระ เรียบง่าย
และประหยัด ดังที่ทั้งสองชุมชนกำลังดำเนินการ
ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่ดีของสังคมพุทธ ท่ามกลางสังคมบริโภค


——————————–


ภาพจาก //www.photogangs.com/webboard/index.php?showtopic=4120





 

Create Date : 26 มกราคม 2553
0 comments
Last Update : 26 มกราคม 2553 9:19:37 น.
Counter : 446 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kingkong0749
Location :
พะเยา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
26 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kingkong0749's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.