กำลัง ย้ายบ้านไป somagawn http://magawn19.blogspot.com/ ++++++++++++++++++++++++++++++++ +++++ เหตุเพราะความจำบล๊อกเดิมเต็มหาเก็บข้อมูลที่นี้ต่อไปจะจะต้องมี ( 2 ) เช่น กสทช. ( 2 ) แต่ทั่นี้ผมยังรักเหมือนเดิมจึงจะยังลงข้อมูลทางการสือสารและโทรคมนาคมที่สำคัญเหมือนเดิม
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
12 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 

(เกาะติดประมูล3G) เปิดคำร้องผู้ตรวจการ!! ที่ ไปยื่นต่อศาลปกครอง(ย่อให้ได้ใจความและฉบับเต็ม)กสทช.รอความชัดเจนฝันไกล18มค.

.





1..... (เกาะติดประมูล3G) เปิดคำร้องผู้ตรวจการ!! ที่ ไปยื่นต่อ ++ ศาลปกครอง ++กรณีประมูลคลื่น3G ( ย่อให้ได้ใจความและฉบับเต็ม )
2..... (เกาะติดประมูล3G) กสทช. เป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเป็นทางการบ้าง +++ พูดได้เพียง รอความชัดเจน ++ฝันไกล 18 มกราคม ให้ใบอนุญาติ
3..... (เกาะติดประมูล3G) สนธิ ( เผย TOR การประมูล3Gครั้งแรก )( เขียน TOR อย่างนี้แล้ว กสทช. ลอยตัว ใครจะกล้าเข้ามาประมูลละ







(เกาะติดประมูล3G) สนธิ ( เผย TOR การประมูล3Gครั้งแรก )( เขียน TOR อย่างนี้แล้ว กสทช. ลอยตัว ใครจะกล้าเข้ามาประมูลละ




ประเด็นหลัก


ง่ายๆ หัวข้อที่สำคัญที่สุดคือ อยู่ในหน้า 2 แผ่นที่ 2 ของเอกสารชิ้นนี้ เขาเขียนว่า “สรุปข้อสนเทศนี้ก็คืออันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบข้อมูลเท่านั้น และไม่มีข้อผูกพันใดๆ แล้วสรุปข้อสนเทศนี้ มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นฐานในการตัดสินใจการลงทุน หรือการประเมินมูลค่าประกอบการตัดสินใจเข้าร่วมประมูล และไม่ได้ถือเป็นคำแนะนำ กสทช.ใดๆ ทั้งสิ้น”

สรุปคือ อะไรเกิดขึ้นในทีโออาร์นี้ ประมูลได้แล้วถ้าผิดพลาด กสทช.จะไม่รับผิดชอบ นี่มันไม่ใช่ทีโออาร์ที่ทุกคนต้องอยู่ในกรอบกติกา คือ มันต้องระบุชัดเจนว่าผู้ใดทำผิดทีโออาร์จะไม่มีสิทธิอะไรบ้าง แต่นี่บอกว่า “กสทช.จะไม่แสดงตนแทน หรือรับประกัน หรือรับผิดชอบ หรือรับผิดใดๆ ในความถูกต้องแม่นยำ หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลในสรุปข้อสนเทศนี้”



ซึ่งถ้าเป็นบริษัทต่างชาติ แล้วต้องเข้าประมูลเป็นหมื่นๆ ล้าน ถ้ามาเจอข้อความที่บอกว่า ไม่แสดงตนแทน หรือรับประกัน รับผิดชอบ รับผิดใดๆ ในความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลนี้ จะเข้าประมูลหรือไม่ น่ากลัวฉิบหายเลยนะ



ข้อที่ 1 ในหน้า 29 ระบุชัดเจนว่า “เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินมาตรการป้องกันมิให้การกระทำอันเป็นการผูกขาด หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน หรือถ้าฮั้วกัน ในกิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการ ทรู เอไอเอส และดีแทค มีอำนาจเหนือตลาด”


ข้อที่ 2 ในหน้าที่ 35 ข้อ 7.6.7 ระบุว่า “ผู้รับใบอนุญาตต้องกำหนดอัตราค่าบริการให้เป็นธรรม สมเหตุสมผล และไม่เอาเปรียบผู้บริโภค” ในการประมูลครั้งนี้ไม่ได้ระบุชัดเจนเลยว่าเมื่อประมูลได้แล้วจะคิดราคาเท่าไหร่

ข้อที่ 3 ในหน้าที่ 36-37 กำหนดในหัวข้อกระบวนการขอรับใบอนุญาต ขั้นตอนการประมูล เขาเขียนไว้อย่างนี้ “ในกรณีที่ไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล หรือมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 1 ราย กสทช.จะเลิกการประมูล และจะพิจารณากำหนดการประมูลครั้งต่อไปตามความเหมาะสม แต่ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย และมีของอยู่ 3 ชิ้น ไม่ยกเลิก”


ข้อที่ 4 “ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย และต้องมิใช่คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว” ความจริงคือ เอไอเอส คือ เทมาเส็ก ดีแทค คือ เทเลนอร์ ผู้ลงชื่อซีอีโอดีแทคลงนาม ชื่อจอห์น อับดุลลา โกหกหรือไม่



ข้อที่ 6 ในหน้า 41 ได้กำหนดมาตรฐานรักษาความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของรัฐ “ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องไม่ทำการใดๆ ในการตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อให้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้มีสิทธิได้รับใบอนุญาตโดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นทางการ” ในความเป็นจริง ดูจากผลการประมูลที่ประชาชนส่วนใหญ่ ต่างรู้สึกว่าเป็นการฮั้วราคากัน

ข้อที่ 7 ในหน้าที่ 43 กสทช.กำหนดให้ใช้วิธีการประมูล ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน “ขั้นตอนแรกเรียกว่า ขั้นตอนการประมูลคลื่นความถี่หลัก การเปิดประมูลคลื่นความถี่ให้ใบอนุญาตพร้อมกันเลย ขั้นที่สองเรียกว่าขั้นตอนการดำเนินการกำหนดย่านความถี่ คือได้คลื่นไปแล้ว แต่จะเอาย่านที่ใกล้ตรงนี้ ย่านไกลๆ นี้ ประมูลอีกทีนึง เลือกช่วงคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกันตามจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่ชนะการประมูล โดยผู้ที่ชนะการประมูลมีผลอนุโลมเสนอราคาสูงที่สุด จะได้เลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรก”

ข้อที่ 8 สรุปข้อสนเทศหน้า 46 ระบุเอาไว้ในหัวข้อ 2.7 เรื่องสิทธิของการไม่เสนอราคา “ผู้เข้าร่วมการประมูลแต่ละสิทธิ แต่ละราย มีสิทธิของการไม่เสนอราคาจำนวน 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลาการประมูล เมื่อผู้เข้าร่วมประมูลใช้สิทธิในการไม่เสนอราคา” ออกมาเพื่อ 3 เจ้าเท่านั้นเอง เพื่อฮั้วกัน ไอ้นี่ฟ้องดีๆ เข้า พ.ร.บ.ฮั้วติดตะรางแน่นอน



//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137357&Keyword=%CA%B9%B8%D4

____________________________


(เกาะติดประมูล3G) กสทช. เป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเป็นทางการบ้าง +++ พูดได้เพียง รอความชัดเจน ++ฝันไกล 18 มกราคม ให้ใบอนุญาต
ประเด็นหลัก

เรื่องแรกที่ กสทช.ให้น้ำหนักมากที่สุดคือ คำวินิจฉัยของศาลปกครอง ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนในภายในสัปดาห์หน้า หลังจากผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนประกาศการจัดประมูล โดยขอให้ไต่สวนฉุกเฉิน และคุ้มครองชั่วคราว สั่ง กสทช.ระงับการแจกใบอนุญาต 3 จี ให้เอกชนไว้ก่อน

เรื่องที่ 2 ผลสอบของคณะกรรมการสอบสวน ที่ กสทช.ตั้งขึ้น เพื่อดูว่าเอกชนฮั้วประมูลกันหรือไม่ มีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน โดยมีนักวิชาการจากภายนอก และคนของ กสทช.ร่วมเป็นกรรมการเดิมคณะกรรมการขอเลื่อนไปอีก 2 เดือน แต่ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เห็นว่า อาจช้าเกินไป จึงสั่งให้สรุปผลใน 25 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น

ประเด็นสุดท้ายคือ การออกประกาศลดค่าใช้บริการให้ประชาชนลงจากอัตราปัจจุบันร้อยละ 15-20 ซึ่งครอบคลุมทั้งประเภทบริการเสียงและข้อมูล หรือ ดาตา โดยสัปดาห์หน้าจะหารือกับเอกชน และจะประกาศแผนเป็นทางการไม่เกิน 18 ธันวาคม ซึ่งหากทั้ง 3 เรื่องได้เกิดความกระจ่าง จะทำให้เกิดความชัดเจน ในการกำหนดช่วงเวลามอบใบอนุญาตประกอบกิจการให้เอกชนทั้ง 3 บริษัท รายละ 15 ปี



นายฐากร ย้ำว่า การพิจารณาให้ใบอนุญาตกับเอกชน จะต้องรอฟังคำสั่งศาลปกครอง รวมทั้งผลสอบของคณะทำงานสอบสวนชุดที่กสทช.ตั้งขึ้น และประกาศอัตราขั้นสูงค่าบริการ ที่จะบังคับใช้กับเอกชน ซึ่งอยู่ในกรอบเวลาภายใน 18 ธ.ค.นี้ และหากไม่มีปัญหาจะให้ใบอนุญาตกับเอกชนได้ภายใน 18 ม.ค. 2556 ตามกรอบ 90 วันที่กสทช.กำหนด

//www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137689

____________________________


(เกาะติดประมูล3G) เปิดคำร้องผู้ตรวจการ!! ที่ ไปยื่นต่อ ++ ศาลปกครอง ++กรณีประมูลคลื่น3G ( ย่อให้ได้ใจความและฉบับเต็ม )
ประเด็นหลัก

สรุป 4 ประเด็นร้อน ที่ผม สรุปเอง


เรื่องที่ 1.... ( แสดงความมั่นใจในการฟ้อง ว่า ผู้ตรวการมีสิทธิฟ้องได้)
เรื่องที่ 2.... ( กสทช. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มากพอ หรือ ไม่ โปร่งใส )
เรื่องที่ 3..... ( การประมูลไม่เอื่อต่อการแข่งขันเลย และ กฏ การไม่เสนอราคา ก็ทำไม่ให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง ขันกับการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงเพราะทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )
เรื่องที่ 4.... ( ความสำพันธ์ราคาต่ำ กับ ประโยชน์เทคโนโลยี ไม่เหมาะสมกัน ทำให้รัฐเสียรายได้มากกว่า รู้ว่าต้องจัดสรรคลื่นให้เพียงพอ แต่ จะจัดการประมูลเพื่อผ่านๆๆ ไปอย่างเดียวไม่ได้














(ระบุวัตถุประสงค์หรือความต้องการของผู้ฟ้องคดี)

1. ผู้ฟ้องคดีพิจารณาแล้ว เห็นว่า การดำเนินการของสำนักงาน กสทช. ในการจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ ที่ได้ดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ข้อ 6 และข้อ 10.2.3 ดังที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีนี้มี
ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 41 วรรคหนึ่งและวรรคเจ็ด จึงขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนการกระทำทางปกครองดังกล่าวของสำนักงาน กสทช. รวมถึงประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม เคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นมาของอำนาจหน้าที่ที่ใช้ในการดำเนินการของ สำนักงาน กสทช. ตามคำฟ้องฉบับนี้

2. ขอให้ศาลปกครองพิจารณาเป็นกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน และขอให้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวโดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีชะลอการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา








++++++++ ( เรื่องราว ย่อ ที่สุด แล้ว ) +++++++++++++





เรื่องที่ 1.... ( แสดงความมั่นใจในการฟ้อง ว่า ผู้ตรวการมีสิทธิฟ้องได้)


พิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช.ในประเด็นการใช้ดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ว่าเหมาะสมหรือไม่ และ กทค.ในประเด็นการให้ความเห็นชอบผลการประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 2.1 GHz ตามประกาสคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 เป็นกรณีปฏิบัติการใดๆ แทน กสทช. ตามนัย ที่มาตรา 40 ประกอบมาตรา 27 (4) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือไม่แล้ว




"...ประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าว มีลักษณะเป็นคำสั่งทั่วไปของฝ่ายปกครอง ที่ไม่ได้กำหนดตัวผู้รับคำสั่งทางปกครองไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่กำหนดคุณสมบัติกว้างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้มีคุณสมบัติตามคำสั่งที่ประสงค์จะเสนอตัวขอรับใบอนุญาต...โดยผ่านวิธีการประมูลผู้ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้อง...อันเกี่ยวเนื่องกับประกาศในลักษณะนี้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยตรง...หรือมีส่วนได้เสียใกล้ชิดที่อาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศดังกล่าว...ดังนี้


((((((((( ผู้มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีการตรวจสอบดุลพินิจในการออกคำสั่งทางปกครองทั่วไปในกรณีนี้ ได้แก่ ผู้ตรวจการแผ่นดิน...")))))))



ดังนั้น จึงมีประเด็นที่ผู้ฟ้องคดีจะพิจารณาต่อไปตามที่ได้มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ฟ้องคดีในกรณีนี้ ว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ ระหว่างวันที่ 16 ถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ว่า เป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ตามนัยมาตรา 14 (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552


เรื่องที่ 2.... ( กสทช. ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มากพอ หรือ ไม่ โปร่งใส )


(((((((((((((((( ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารหรือปิดกั้นการไดรับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน ))))))))))))))




เรื่องที่ 3..... ( การประมูลไม่เอื่อต่อการแข่งขันเลย และ กฏ การไม่เสนอราคา ก็ทำไม่ให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง ขันกับการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงเพราะทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )



"1. วิธีการประมูลคณะกรรมการกำหนดให้ใช้วิธีการประมูลซึ่งประกอบด้วยสองขั้นตอนขั้นตอนแรก เรียกว่าขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่ เป็นการเปิดประมูลชุดคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะให้อนุญาตพร้อมกัน และดำเนินการประมูลหลายรอบโดยราคาประมูลในแต่ละรอบจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ (Simultaneous Ascending Bid Auction) ผู้เข้าร่วมการประมูลจะเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ตามจำนวนที่ต้องการโดยไม่ระบุย่านความถี่โดยคลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ที่จะประมูลในขั้นตอนนี้ประกอบด้วยชุดคลื่นความถี่จำนวน 9 ชุดๆ ละ 2 x 5 MHz และกำหนดให้แต่ละชุดคลื่นความถี่มีคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูล (eligiblity point) 1 คะแนน ผู้เข้าร่วมการประมูลจะสามารถเสนอราคาสำหรับชุดคลื่นความถี่ในจำนวนที่ไม่เกินคะแนนกำหนดสิทธิในการประมูลของตนเอง

ทั้งนี้ ขั้นตอนการประมูลชุดคลื่นความถี่จะแบ่งออกเป็นสองช่วง ประกอบด้วยการประมูลช่วงแรก (intial phase) และการประมูลช่วงสุดท้าย (final phase) ซึ่งจะมีเกณฑ์การเสนอราคา (activity points required) แตกต่างกัน ขั้นตอนที่สอง เรียกว่าขั้นตอนการกำหนดย่านความถี่ เป็นขั้นตอนที่ผู้ชนะการประมูลแต่ละรายจากขั้นตอนแรกเลือกช่วงคลื่นความถี่ที่อยู่ติดกันตามจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่ชนะการประมูล โดยผู้ชนการประมูลที่มีผลรวมของการเสนอราคาสูงที่สุดจะได้เลือกย่านความถี่เป็นลำดับแรก"




(((((((((((((((((( ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันในการเสนอราคา ไม่เป็นการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และมาตรา 41 วรรคเจ็ด แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553

นอกจากนี้หากพิจารณาประกอบกับการจำกัดสิทธิให้ผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายยื่นประมูลคลื่นความถี่ได้สูงสุดไม่เกินสามชุด ตามข้อ 6 แห่งประกาศฯ จะเห็นว่า กรณีที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สนใจที่จะได้สิทธิในการเลือกย่านความถี่ก่อน ผู้เข้าประมูลย่อมไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันเสนอราคาเพื่อให้ได้มาซึ่งชุดคลื่นความถี่เดียวกัน เพราะชุดคลื่นความถี่ทั้ง 9 ชุดตามประกาศนี้ได้ถูกจำกัดให้จัดสรรแก่ผู้ขอรับใบอนุญาตรายละไม่เกินสามชุดเท่านั้น ))))))))))))))


ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประมูลจึงอาจคาดหมายได้ว่า ตนยังคงสามารถได้รับชุดคลื่นความถี่แม้จะเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด จึงทำให้ยากที่จะก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันใดในการประมูลตามประกาศฯ นี้ได้ ดังเช่นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 กสทช. ได้ดำเนินการประมูล โดยมีเอกชนผู้เข้าประมูล 3 บริษัท คือ (1) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (2) บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และ (3) บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ซึ่งผลการประมูลแสดงออกให้เห็นถึงพฤติการณ์ที่ผู้เข้าร่วมประมูลไม่สู้ราคากันอย่างแท้จริง กล่าวคือ มีสล็อตที่ราคาประมูลสุดท้ายจบที่เท่ากับราคาประมูลตั้งต้น คือ 4,500 ล้านบาท ถึง 6 สล็อต อันได้แก่ สล็อต B, C, D, F, G และ I โดยที่ทั้ง 6 สล็อตดังกล่าวเป็นของผู้ชนะการประมูล 2 ราย คือ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด รายละ 3 สล็อต รวมเป็นเงินประมูลเท่ากับรายละ 13,500 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้เชื่อได้ว่า พฤติการณ์ข้างต้นไม่มีการแข่งขันกันจริง โดยเฉพาะมีผู้ประกอบการ 2 รายที่มุ่งหาแต่สล็อตที่ว่างแล้วเสนอราคาตั้งต้นโดยที่ไม่มีการเสนอราคาเพิ่มแต่อย่างใด



((((((((((( ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ยังไม่เอื้อหรือสนับสนุนการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมที่แท้จริงได้ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูลไม่มากนัก )))))))))))




เรื่องที่ 4.... ( ความสำพันธ์ราคาต่ำ กับ ประโยชน์เทคโนโลยี ไม่เหมาะสมกัน ทำให้รัฐเสียรายได้มากกว่า รู้ว่าต้องจัดสรรคลื่นให้เพียงพอ แต่ จะจัดการประมูลเพื่อผ่านๆๆ ไปอย่างเดียวไม่ได้

ดังนั้น การจะทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม จึงต้องพิจารณาว่า ตลาดโทรคมนาคมของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการจำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม ทั้งในด้านของคุณภาพการให้บริการและในด้านของราคา หรือไม่ ประกอบด้วย ซึ่งข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับจำนวนผู้ประกอบการที่พึงคาดหมายว่าจะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่โทรคมนาคมเพื่อรับใบอนุญาตในกรณีนี้ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่จะมีคุณสมบัติและศักยภาพในการที่จะเข้าแข่งขันประมูลคลื่นความถี่เพื่อทำให้ประชาชนในชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการโทรคมนาคมที่มีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 อยู่ในวิสัยของ กสทช.และสำนักงาน กสทช. ที่จะดำเนินการศึกษา รวบรวม และประมาณการได้ล่วงหน้า ตามอำนาจและหน้าที่ของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. ที่มีอยู่ตามกฎหมายจัดตั้ง

((((((((((( วิธีการในการจัดสรรคลื่นความถี่ และความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนราคาขั้นต่ำที่มีความเหมาะสมกับรายรับจากการประมูลที่ยืดหยุ่นสูงพอที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อรายได้ของรัฐโดยไม่ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้โดยไม่จำเป็นและสามารถทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลตอบแทนที่พอเพียงที่จะจูงใจให้มีการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคมของประเทศและผลประโยชน์ของผู้บริโภค และเพียงพอที่จะทำให้วัตถุประสงค์ของกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่กำหนดไว้ มิใช่มุ่งแต่เพียงให้การประมูลสำเร็จลุล่วงไปเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ให้บริการไม่มากนัก ))))))))))))))))


เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริง เหตุผล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงเห็นว่า การดำเนินการประมูลคลื่นความถี่เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 ของสำนักงาน กสทช. ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications-IMT) ย่าน 2.1 Ghz พ.ศ. 2555 ยังไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 และพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 45


//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1352608216&grpid=03&catid=03




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2555
1 comments
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2555 0:02:55 น.
Counter : 3683 Pageviews.

 

เตะถ่วงกันเข้าไปปปป

 

โดย: FundZ3 12 พฤศจิกายน 2555 18:10:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


MAGAWN19
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add MAGAWN19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.