กำลัง ย้ายบ้านไป somagawn http://magawn19.blogspot.com/ ++++++++++++++++++++++++++++++++ +++++ เหตุเพราะความจำบล๊อกเดิมเต็มหาเก็บข้อมูลที่นี้ต่อไปจะจะต้องมี ( 2 ) เช่น กสทช. ( 2 ) แต่ทั่นี้ผมยังรักเหมือนเดิมจึงจะยังลงข้อมูลทางการสือสารและโทรคมนาคมที่สำคัญเหมือนเดิม
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
17 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
กสทช.เซ็น(คำสั่งทางครอง) AIS DTAC ต้องปรับ ลงต่ำกว่านาทีละ 99 สต. ภายใน 7 วัน (ถ้าไม่ทำโดนฟ้อง) // TOT4G 24 กุมภาพัน

.


1... กสทช.เซ็น(คำสั่งทางครอง) AIS DTAC ต้องปรับ ลงต่ำกว่านาทีละ 99 สต. ภายใน 7 วัน (ถ้าไม่ทำโดนฟ้อง)(เหตุAIS DTAC เพราะมีส่วนแย่งเกินร้อยละ25ตามกม.กำหนด)
2... 24 กุมภาพันธ์ TOTเปิดทดลองการให้บริการ 4G ทั้วกทม.//ยอมรับ3Gติดตั้งไม่ทั้น//เรื่องเชื่อมค่าปรับICที่ต้องจ่ายDTACขอคิดก่อน
3... ที่ปรึกษา กสทช.ค่า IC ใหม่อยู่ที่ 90 สต. รู้ชัด 22 มกราคมนี้ ( แพงกว่าที่ TDRI คิดไม่เกิน 25 สต. )

กสทช.เซ็น(คำสั่งทางครอง) AIS DTAC ต้องปรับ ลงต่ำกว่านาทีละ 99 สต. ภายใน 7 วัน (ถ้าไม่ทำโดนฟ้อง)(เหตุAIS DTAC เพราะมีส่วนแย่งเกินร้อยละ25ตามกม.กำหนด)


ประเด็นหลัก

รายงานข่าวระบุว่า บอร์ด กสทช.เซ็นคำสั่งเอไอเอส - ดีแทคปรับอัตราค่าบริการลงต่ำกว่านาทีละ 99 สต. ภายใน 7 วัน ถ้าไม่ทำจะคิดค่าปรับตามคำสั่งทางปกครอง ซึ่งต้องสูงกว่า 1 แสนบาทต่อวัน


สำนักงาน กสทช. ได้มีการแจ้งคำสั่งบังคับใช้ไปแล้วกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดทั้งสองราย แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงาน กสทช. ได้มีการให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจและวิเคราะห์หลังจากวันที่ 31 ธ.ค. 55 ที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีรายการส่งเสริมการขายที่มีการกำหนดอัตราค่าบริการเกินกว่าอัตราขั้นสูงของค่าบริการที่ กสทช. กำหนดไว้ แยกเป็นของ AIS จำนวน 66 รายการ และเป็นของ DTAC จำนวน 33 รายการ

ทั้งนี้ ทางสำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือแจ้งย้ำให้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ส่งไปให้บริษัททั้งสองแล้ว บริษัทผู้ให้บริการทั้งสองมีหน้าที่จะต้องแจ้งผลการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการดังกล่าวให้เป็นไปตามที่ กสทช. กำหนด หากยังคงเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามที่กำหนด สำนักงาน กสทช. จะดำเนินการตามกฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดต่อไป

//www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/9287-ais-dtac-99.html
//www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130116/486024/%A1%CA%B7%AA.%CD%B9%D8%C
1%D1%B5%D4%E0%CD%E4%CD%E0%CD%CA-%B4%D5%E1%B7%A4-
%BB%C3%D1%BA%A4%E8%D2%BA%C3%D4%A1%D2%C3%B5%E8%D3%A1%C7%E8%D2-99-%CA%B5..html
//www.ryt9.com/s/iq05/1569717
//www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=163977%3A-ais-dtac-99-&catid=176%3A2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
//www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358326971&grpid&catid=06&subcatid=0600
//www.dailynews.co.th/technology/178631
______________

24 กุมภาพันธ์ TOTเปิดทดลองการให้บริการ 4G ทั้วกทม.//ยอมรับ3Gติดตั้งไม่ทั้น//เรื่องเชื่อมค่าปรับICที่ต้องจ่ายDTACขอคิดก่อน


ประเด็นหลัก

ASTV ผู้จัดการ และ ประชาชาติธุรกิจบอก 24 กุมภาพันธ์นี้
โพสต์ทูเดย์ บอก 22 กุมภาพันธ์นี้


นายอุดม พัวสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ว่า ทีโอทีจะเดินหน้าเปิดทดลองการให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE บนคลื่นความถี่ 2.3 GHz ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะทำการขออนุญาตติดตั้งสถานีฐานจำนวน 100 - 200 สถานี เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทดลองภายในกรุงเทพฯ และปริมณฑณก่อน ซึ่งจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ 4G บนสถานีฐานของ 3G เดิม

เบื้องต้นทีโอทีจะต้องเข้าไปดำเนินการขอทดลองใช้เทคโนโลยี LTE กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) อีกครั้งก่อนจึงจะสามารถเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์ และเปิดทดลองใช้ในวันดังกล่าวต่อไปได้

"ต้องยอมรับว่า 24 กุมภาพันธ์. เราไม่สามารถติดตั้งสถานีฐานใน 3G เฟสแรกจำนวน 5,320 สถานี ได้ทันเวลา แต่ก็จะเดินหน้าเปิดให้บริการตามกำหนดเดิมโดยเฉพาะกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ประมาณ 4,000 สถานี"


นายอุดม กล่าวว่า ล่าสุดบอร์ดทีโอทียังได้มีคำสั่งให้ฝ่ายบริหาร ไปยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เพื่อขออนุญาต ทดลองการให้บริการ 4 จี ด้วยเทคโนโลยีแอลทีอีบนคลื่นความถี่2.3 กิกกะเฮิรตซ์ เป็นรายแรกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พร้อมทั้งขออนุญาตติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคมสำหรับ 4จี บนสถานีฐานของ 3จี ที่มีอยู่จำนวน100-200 แห่ง คาดการทดลองบริการจะเริ่มใช้งานได้ในพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล


การนำคลื่น 2.3 กิกะเฮิร์ตซมาพัฒนาสู่บริการแอลทีอี ทีโอทีได้ตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานและขออนุญาตจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ที่ทีโอทีได้สิทธิ์ถือครองอยู่แล้ว รวมถึงจะเจรจากับกสทช. เรื่องการดำเนินการเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ) กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เพราะทีโอทีไม่ต้องการเสียค่าปรับให้กับกสทช.

นายอุดม กล่าวด้วยว่า สำหรับกรณีปัญหาค่าเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม(ไอซี) ที่กสทช.มีคำสั่งทางปกครองปรับเงินทีโอทีจำนวนวันละ 2 หมื่นบาทย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2553 จากการที่ทีโอที ไม่สามารถทำสัญญาเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้ โดยบอร์ด ทีโอที นั้นได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายไปหารือกับกสทช.และให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาอย่าง ละเอียดและรอบคอบอีกครั้ง เนื่องจากมีประเด็นทางกฎหมายที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน และไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เพราะทีโอทีมีความตั้งใจจะปฏิบัติตามคำสั่งของ กสทช. นอกจากนี้ในส่วนของความคืบหน้าในการแต่งตั้ง นายยงยุทธ วัฒนสิทธิ์ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของทีโอทีนั้น ขณะนี้ขั้นตอนอยู่ในระหว่าง รอการลงนามในหนังสือว่าจ้างจากกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คาดกระบวนการจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคมอน่างแน่นอน ส่วนค่าตอบแทนอยู่ในอัตราไม่เกินเดือนละ 4 แสนบาท


นอกจากนี้ เตรียมว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อวิเคราะห์แผนยุทธศาสตร์และจุดคุ้มทุนของโครงการ 3 จีเฟส 2 จำนวน 1.5 หมื่นสถานีมลค่า 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะปรับสู่ 4 จีทั้งหมด และเป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่าเฟสแรกสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท จึงต้องศึกษาและวิเคราะห์อย่าละเอียด เพื่อให้การลงทุนคุ้มค่ามากที่สุด

ขณะที่แผนการให้บริการ 3 จีที่จะเปิดให้บริการวันที่ 22 ก.พ.นั้น จะเปิดให้บริการเพียง 90% หรือประมาณ กว่า 4,000 สถานีจากทั้งหมด 5,320 สถานี เนื่องจากส่วนที่เหลือไม่สามารถติดตั้งเสร็จได้ทัน แต่หากไม่รีบเปิดให้บริการ โครงการนี้ก็จะยิ่งล่าช้ามากขึ้น เพราะตามแผนเดิมต้องเปิด ตั้งแต่เดือน พ.ค.2555 แล้ว


//www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000006243
//www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0
%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/199238/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%82%
E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B
8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2
%E0%B8%A3-4-%E0%B8%88%E0%B8%B5-22-%E0%B8%81-%E0%B8%9E-%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89
//www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358333789&grpid=03&catid=06&subcatid=0600
______________

ที่ปรึกษา กสทช.ค่า IC ใหม่อยู่ที่ 90 สต. รู้ชัด 22 มกราคมนี้ ( แพงกว่าที่ TDRI คิดไม่เกิน 25 สต. )

ประเด็นหลัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) วันที่ 16 ม.ค.นี้ จะมีการพิจารณาการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย หรืออินเตอร์คอนเน็กชั่น ชาร์จ (ไอซี) ใหม่ โดยที่ปรึกษาเสนอให้จัดเก็บในอัตรา 0.45 บาทในปีแรกและจะปรับลดลง 40% ใน 3 ปี จากปัจจุบันมีการจัดเก็บไอซีที่นาทีละ 0.50 บาท ทั้งนี้ การปรับปรุงค่าไอซีดังกล่าว จะสอดคล้องกับการกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงนาทีละ 99 สต. ซึ่งผู้ให้บริการจะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค

การดูแลผู้บริโภคในการกำหนดอัตราค่าเชื่อมโยงโครงข่าย (อินเตอร์คอนเนคชั่นชาร์จ หรือ ไอซี) เป็นอัตราเดียวกันทั้งอุตสาหกรรม โดยจะจะเข้าบอร์ด กทค.ในวันที่ 22 มกราคมนี้







ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

05 มิถุนายน 2555 TDRI ชี้ค่า IC (ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย)จริง0.25-0.50บาทไม่ใช้ 1 บาท ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คนไทยประหยัดปีละ 3,600 ลบ.
ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ TDRI ต้องการผลักดันให้กสทช.ออกประกาศบังคับใช้ค่าไอซีที่เป็นอัตราเดียวกันทั้ง อุตสาหกรรมซึ่ง TDRI ได้สำรวจสภาพแวดล้อมและการแข่งขันในตลาดพบว่าค่าไอซีที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 0.25-0.50 บาท จากปัจจุบันที่ผู้ประกอบการทุกรายตกลงร่วมกันที่นาทีละ 1 บาท

'หากกำหนดให้ค่าไอซีเท่ากันทั้งอุตสาหกรรมจะสามารถช่วยให้ผู้บริโภคประหยัด ค่าใช้บริการราวปีละ 3,600 ล้านบาท จากยอดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในไทยรวมกว่า 90 ล้านเลขหมาย'

ในปี 2554 TDRI ได้สำรวจการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมร่วมกับองค์กร LIRNEasia พบว่าศักยภาพการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมไทยอยู่ลำดับ 3 เมื่อเทียบกับประเทศแถบเอเชีย จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนไทยได้ 2.7 คะแนน ในส่วนการเชื่อมต่อโครงข่ายได้ 2.6 โทรศัพท์พื้นฐานได้ 2.4 โทรศัพท์มือถือได้ 2.8 และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไทยได้ 2.6 คะแนน

ด้านนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ในด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ได้มีมติเบื้องต้นเห็นชอบให้มีการประกาศใช้อัตราค่าไอซีกลางที่ 0.50 บาทต่อนาที และได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช.กลับไปพิจารณาหาช่องทางด้านกฎหมาย เพราะในประกาศของกทช.นั้น ให้สิทธิ์ผู้ประกอบการแต่ละรายกำหนดราคาค่าไอซีด้วยตัวเอง ตามความพึงพอใจของสองฝ่าย แต่หากตกลงไม่ได้กสทช.จึงมีสิทธิ์เข้าไปไกล่เกลี่ยและกำหนดอัตราชั่วคราว


//somagawn.blogspot.com/2012/10/05-2555-tdri-ic-025-050-1-3600.html

23 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) TDRI ค่าICต้องไม่ให้เกินนาทีละ 25 สตางค์ //สามารถลดได้ทันทีเพราะจ่ายสป.21-23% เป็น 5.5% ของรายได้
ประเด็นหลัก

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ บอกว่า ค่าบริการ 3G มีแนวโน้มถูกลงแม้ กสทช. ไม่ดำเนินการใดๆ เพราะต้นทุนผู้ประกอบการลดลงทันทีจากการไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐประมาณ 21-23% ของรายได้ จากการปลี่ยนมาจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมอื่นๆ รวมประมาณ 5.5% แทน
แต่เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือของไทยในปัจจุบันยังมีอุปสรคคอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะค่าเชื่อมต่อ โครงข่าย หรือ IC ซึ่งเปรียบเหมือนราคาขายส่งระหว่างผู้ประกอบการ ยังถูกกำหนดอยู่ที่นาทีละ 99 สตางค์ ซึ่งสูงกว่าต้นทุนจริงที่เคยคำนวณไว้ที่นาทีละ 27 สตางค์ จึงทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือแพงกว่าที่ควรจะเป็น
ดังนั้นกสทช.ควรเร่งปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายมือถือไม่ให้เกินนาทีละ 25 สตางค์ และปรับลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายสื่อสารข้อมูลให้สอดคล้องต้นทุนจริง // รวมทั้งควรตั้งเป้าให้ค่าบริการโทรคมของไทยมีราคาถูกอย่างน้อยเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน // เร่งรัดพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค สนับสนุนการทำหน้าที่ของคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมอย่างเต็มที่ // และลดอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบกิจการโทรคม โดยยกเลิกประกาศห้ามการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ซึ่งมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ทั้งในการประมูล 3Gที่ผ่านมา จนมีผู้เข้าประมูลเหลือเพียง 3 ราย



ด้านนายสมเกียรติ ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การประมูลราคาถูกไม่เกี่ยวกับการลดค่าบริการ 3 จีแก่ผู้บริโภค เพราะเป็นส่วนของต้นทุนไม่เกี่ยวกับกำไร และการประมูลคลื่นความถี่ในราคาถูกทำให้รัฐและประชาชนเสียหาย ขณะที่ตัวเลขเดิมจากระบบสัมปทาน ผู้ประกอบการอย่างเอไอเอสได้กำไรปีละ 2.2 หมื่นล้านบาท และดีแทคกว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่ กสทช.กำหนดราคาประมูลตั้งต้นไว้ต่ำ 4.5 พันล้านบาท ซึ่งผู้ประกอบการได้รายละ 3 สลอต หรือ 13,500 ล้านบาท คิดต่อปีประมาณ 900 ล้านบาทเท่านั้น จึงทำให้รัฐเสียประโยชน์อย่างมาก และเมื่อเทียบกับการประมูล 17 ประเทศ ที่มีแจกใบอนุญาต 19 ใบ โดยการศึกษาวิธีการทางสถิติแล้ว ตัวเลขราคาประเมิน 6,440 ล้านบาท แต่ กสทช.เอาราคาขั้นต้น 4,500 ล้านบาท ทำให้รัฐเสียหาย 17,000 ล้านบาท ส่วนการกำหนดค่าประมูลต่ำทำให้รายย่อยเข้าร่วมนั้นไม่เป็นความจริง เพราะมีค่าต้นทุนโครงข่ายสูง จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีรายย่อยมาร่วมประมูล อย่างไรก็ตามสิ่งที่ กสทช.ให้ความสนใจไม่ใช่รายย่อยแต่ควรให้ความสนใจผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีเงินทุนเข้าร่วมแข่งขันมากขึ้น

//somagawn.blogspot.com/2012/10/23-2555-3g-tdri-ic-25-21-23-55.html


//www.thairath.co.th/content/eco/320458
//www.naewna.com/business/37734


Create Date : 17 มกราคม 2556
Last Update : 17 มกราคม 2556 6:32:06 น. 0 comments
Counter : 3689 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

MAGAWN19
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add MAGAWN19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.