Group Blog All Blog
|
Free Motion Quilting 3 ขอแชร์ประสบการณ์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ขอเวลาเรียบเรียงเนื้อหา และตัดต่อคลิปสักอาทิตย์นะค่ะ เนื่องจากต้องทำใหม่เลยขอเวลาทำสักหน่อย เลยขอคั่นเวลาด้วยการแชร์ประสบการณ์การทำงานในช่วง 3 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา เริ่มกันด้วยงานชิ้นแรกกัน ![]() งานชิ้นนี้ถูกจัดแสดงในงาน Thailand Great Quilt Festival 2014 Asian Show Case ชิ้นนี้เป็นชิ้นแรกที่หัดทำหลังจากที่เพิ่งซื้อจักรเย็บแบบ Free Motion Quilting มา ใช้เวลาทำประมาณ 2 เดือน จขบ พอเย็บผ้าได้ แต่สำหรับงานควิลท์แล้วยังเตาะแตะ เลยวางเป้าหมายว่าปีที่ทำคือปีพ.ศ. 2557 นั้น จะเน้นที่การฝึกทักษะ คือ Free Motion Quilting อย่างเดียว ทักษะอย่างอื่น พวกต่อผ้า แอปลิเค เอาแค่เป็นส่วนเสริมให้งานพอ สำหรับ จขบ เอง เนื่องจากเรียนลักพักจำเอาเอง จากตำราบ้าง จากอินเตอร์เน็ตบ้าง เลยมีรูปแบบการเรียนรู้ในแบบของตัวเอง โดยแต่ละปีจะตั้งเป้าหมายที่ใหญ่และชัดเจนของเราเอง รางวัลถือเป็นแรงจูงใจ แต่ที่สำคัญกว่าคือ ทำให้เราคิดงานและวางแผนเป็นกระบวนการ และมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง แรงบันดาลใจในการออกแบบงานมันจะมาจากประสบการณ์ในชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งแรงบันดาลใจของหลายๆ คน จะไปในทิศทางเดียวกัน เพราะคุณอยู่ในสิ่งแวดล้อมเหมือนๆ กัน การเปิดโลกทัศน์จึงเป็นส่ิงสำคัญของนักออกแบบ จขบ มาจากพื้นฐานของงานคอมพิวเตอร์ จะทำอะไรคือข้อมูลต้องมาก่อน แรงบันดาลใจจึงมาจากประสบการณ์ชีวิตในช่วงเวลานั้นๆ ผสมผสานกับข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ออกแบบบนคอมพิวเตอร์ จขบ จะใช้โปรแกรมกราฟฟิก คือ Photoshop ออกแบบงานตามขนาดที่กำหนด เช่น งานชิ้นนี้ กำหนดให้ไม่เกิน 150*180 ซม จขบ จะตั้งค่าเท่าขนาดจริง แล้วพิมพ์ออกมาบนกระดาษ A4 ที่ละส่วนแล้วเอา A4 มาต่อกันจนเป็นผืนเท่าขนาดจริง ในเมื่อตัดสินใจว่าจะเป็นการ Free Motion Quilting เป็นหลัก ไม่เน้นที่การต่อผ้า หรือการแอปลิเค แล้วเราจะสร้างงานให้ตรงกับที่เราออกแบบไว้อย่างไร นั้นก็คือ การสร้างลายภาพขึ้นมาเองนั่นเอง ในส่วนของภาพหลักด้านในกรอบ เอาทักษะในตอนนั้นที่มีอยู่มาใช้ คือ การทำผ้าบาติก ผ้าที่ใช้คือผ้าไหมฟูจิญี่ปุ่น ส่วนผ้าที่ทำสีธงชาติ และผ้ากรอบและผ้าชิ้นด้านหลังรองจากใยสังเคราะห์จะไปเดินหาตามร้านขายผ้า ตามสำเพ็งบ้าง ตามร้านขายผ้าในห้างบ้าง การคำนวณผ้า จะคำนวณคร่าวๆ จากขนาดงานจริงที่เราออกแบบ แล้วเวลาซื้อเราจะซื้อเบิ้ลไป 2 เท่า เช่น เราคำนวณว่าผ้าขอบ และพื้นด้านหลังจะใช้ 5 เมตร เราจะซื้อเป็น 10 เมตร เหตุผลที่ต้องทำอย่างนั้น เพราะสำหรับมือใหม่ เราต้องลองผิดลองถูกบนสภาพแวดล้อมจริงๆ ของงาน ลองจากวัสดุและอุปกรณ์จริงๆ จนได้งานที่ต้องการ แต่เราก็ต้องฝึกพื้นฐานมาก่อนการทดสอบกับผ้าจริงด้วย จขบ เอาเศษผ้าที่ไม่ได้ใช้ เช่น เสื้อผ้าเก่า หรือเศษผ้าจากงานตัดเย็บมาทดลองการควิลท์เป็นลวดลายต่างๆ ก่อน แล้วค่อยมาลองกับผ้าจริง เพราะไม่เช่นนั้น ผ้าจริงก็อาจจะเสียไป ไม่พอใช้งาน ภาพตัวอย่างขั้นตอนการทำงาน 1.หลังจากได้ภาพที่ออกแบบไว้แล้ว จะร่างใส่ผ้า แล้วเอาไปเขียนเทียน ![]() ![]() ![]() 2. ลงสี โดยใช้สีบาติก ลงสีเสร็จแล้ว ไม่ได้เอาไปซักแต่ใช้วิธีรีดเทียนออก โดยเอากระดาษมาวางข้างบนและล่างของผ้า แล้วรีดให้น้ำเทียนซึมเข้าไปในกระดาษจน ไม่เหลือน้ำเทียนออกมา เติมสีซ้ำเพื่อลบรอยเทียน แล้วเอาผ้ามาต่อกันตามแบบ ![]() 3. แปะแอปลิเค ตรงแผนที่และตัวนกยูงบางส่วน และเย็บขอบ ส่วนแผนที่คือเย็บต่อผ้าสีก่อน แล้วรีดแปะด้วยผ้ากาว 2 หน้า ตัดเป็นแผนที่แล้วไปรีดติด 4.เย็บควิลท์ ตัวครุฑ ใช้ปากกาแบบรีดด้วยความร้อน ลอกลายครุฑลงไปบนผ้า แล้วควิลท์เป็นลาย ![]() ลายค่อนข้างละเอียด ในตอนนั้น ยังควิลท์ไม่เก่ง เลยวาดลายอย่างละเอียด (ถ้าเป็นตอนนี้จะใช้เส้นร่างหยาบๆ ) ![]() ทำไปได้ จะละเอียดไปไหน ![]() ปักลงสีทีละสี ![]() ![]() ตัดขอบแล้วเอามาแปะ บนผ้าผืนใหญ่ด้วยการเย็บซิกแซกแบบละเอียด โลโกก็ทำแบบเดียวกัน ส่วนตัวอักษร แปะติดด้วยผ้ากาว 2 หน้า เช่นเดียวกันกับแผนที แต่ใช้วิธีเดินขอบแบบคัทเวิร์ค ![]() ลายไทยด้านล่างทำเช่นเดียวกันกับตัวหนังสือ แต่ตัดขอบด้วยซิกแซก 5. การปักด้านใน เราจะปักไปกับใยสังเคราะห์เพื่อทำเทคนิคนูนที่เรียกว่า Trapunto วิธีการคือ ตัดใยสังเคราะห์ให้ได้ขนาดใหญ่กว่า รูปส่วนที่เราจะปักก่อน เช่น เราจะปักตัวนูกยูง เราก็ตัดใยสังเคราะห์ให้ใหญ่กว่านกยูง แล้วปักผ้าด้านหน้าไปบนใยสังเคราะห์ เมื่อปักเสร็จแล้ว ก็ตัดในสังเคราะห์ส่วนเกินจากเส้นขอบของนกยูงออก ![]() ตัวอย่างการปักนกยูง ปักไปทีละสี ![]() ![]() ส่วนอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน เราอยากให้ส่วนไหนนูนยื่นมามากกว่าส่วนอื่นๆ เราก็จะปักด้วย ใยสังเคราะห์ แล้วตัดส่วนที่เกินเส้นขอบออก ![]() ตัวอย่างการตัดใยสังเคราะห์ ถ้าเราอยากให้นูนหลายมิติ เราจะเย็บด้วยใยสังคราะห์หลายๆ เลเยอร์ เช่น แมวป่า เย็บปักกับใยสังเคราะห์แค่ส่วนหัวก่อน แล้วเย็บทั้งตัวอีกเลเยอร์ 6. เมื่อปักนูนส่วนที่ต้องการทำ Trapunto เสร็จหมดแล้ว ถึงคราวที่ต้องเย็บบุทั้งผืน คือผ้าชิ้นบน แผ่นใยสังเคราะห์ และผ้าชิ้นล่างเข้าด้วยกัน จขบ ใช้กาวเอนกประสงค์ชั่วคราวแบบฉีดพ่น ติดให้ทั้ง 3 ชิ้นติดกันก่อน แล้วเย็บเนาอีกรอบ แล้วก็เย็บควิลท์ทั้งผืน 7. ควิลท์ทั้งผืนเสร็จแล้ว เราก็มาเก็บขอบ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ![]() ![]() ภาพตัวอย่างเทคนิคนูน
เก่งมากค่ะ
เป็นงานฝีมือที่ละเอียดอ่อนมาก ninicraft Craft Blog โดย: ข้ามขอบฟ้า
![]() ![]() ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับ
ช่วงนี้เป็นบล็อกธรรมะต่อเนื่องเลยครับ โดย: กะว่าก๋า
![]() ![]() |
ninicraft
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ ศีลธรรมและวินัยในตัวเอง
Friends Blog
|
และดูออกเลยว่าคนทำงานด้านนี้
ต้องมีพื้นฐานศิลปะมากๆเลย
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับ