Group Blog All Blog
|
Free Motion Quilting 4 ประสบการณ์จากความล้มเหลว ประสบการณ์จากความล้มเหลว ในปี พ.ศ.2558 ![]() ความล้มเหลวในปีนี้คือ ล้มเหลวในส่วนการออกแบบ ล้มเหลวในการประเมินศักยภาพตัวเอง และล้มเหลวในส่วนของการทำงาน ในปีนี้ ตอนแรกจะไม่ทำ เพราะไม่มีเวลาทำ เหลือเวลาแค่ไม่ถึง 2 เดือน แต่ความบ้าไม่เข้าใครออกใคร ดันทุรังทำจนได้ บ้าเพราะปีที่แล้ว(2557) จขบ ทำขนาด 150-180 ซม ด้วยเวลา 2 เดือนกว่า ปีที่ทำงานชิ้นนี้ (2558) จขบ ทำขนาด 250*250 ซม ขนาดที่เห็นคือ ใหญ่กว่าเตียง 6 ฟุตออกมา จขบ หาอะไรมารองข้างล่างเพื่อถ่ายรูป ![]() ใช้โต๊ะทำงานขนาด 150 เมตร ต่อกับ 120 เมตร ยังไม่พอเลย จะใหญ่ไปไหน ![]() ในปี พ.ศ. 2557 จขบ เน้นไปที่การควิลท์เป็นหลัก ในปีนี้ คือปี พ.ศ. 2558 ตั้งเป้าไว้ว่า จขบ จะพัฒนาตัวเองในส่วนการต่อผ้าเพิ่มเติมจากการควิลท์ ในงานชิ้นนี้จึงมีส่วนประกอบทั้งการควิลท์และการต่อผ้า การต่อผ้าใช้แพทเวิร์คคือ log cabin ต่อกัน 9 ชิ้น ด้วยผ้าโทนขาว ครีม และกรอบงานโทนดำ ![]() จขบ ทำงานควิลท์ทีละชิ้นก่อน แล้วค่อยเอามาประกอบกันกับผ้าที่ต่อเอาไว้แล้ว เพื่อจะทำนูนหลายมิติ ที่บอกว่าล้มเหลว ในส่วนงานออกแบบคือ จขบ ไม่ได้ออกแบบในส่วนของงานควิลท์ไว้ละเอียด คือ ทำไปออกแบบไป ช่วงแรกๆ ที่ทำ งานดูโอเค แต่ทำไปเรื่อยๆ ในเวลารีบๆ จะลน ทำให้งาน ขาดๆ เกินๆ อีกทั้งงานภาพรวมก็ยังไม่โดดเด่น ไม่โดนใจพอ ล้มเหลวในการประเมินศักยภาพตัวเอง คือ ทำทั้งๆ ที่ก็ไม่น่าจะทัน อันที่จริงแล้วเราไม่ได้หวังว่างานเราจะสมบูรณ์ทันเวลาตั้งแต่แรก แต่เป้าหมายหลักเราคือการพัฒนาตัวเอง การตั้งเป้าไว้ชัดเจน แม้จะทำไม่ได้ 100% ความตั้งใจทำให้สุด จะทำให้เราได้ประสบการณ์มากมายจากการลงมือทำ และล้มเหลวในส่วนของการทำงาน ความที่ประสบการณ์การทำงานยังไม่มากพอ เราไม่รู้ว่า อุปกรณ์เครื่องมือเราจะมีปัญหาในที่สุด เพราะพอเราทำงานชิ้นใหญ่มาก ปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทำให้เราต้องม้วนพับโครงการนี้ไป ทำต่อไม่ได้คือ 2 จุดด้วยกัน ปัญหาอย่างแรก เราซื้อใยสังเคราะห์มาแล้วไม่ได้สเปคเดิมที่เราเคยใช้ เดิมซื้อ 120 กรัม แล้วทำงานควิลท์ได้ แต่ล๊อตที่ซื้อมา พลาดเองที่ไม่ได้เช็คของก่อน ดันซื้อมาล๊อตใหญ่ เลยแก้ปัญหาด้วยการซ้อนกัน 2 ชั้น ทำให้ชิ้นงาน ขนาดก็ใหญ่อยู่แล้ว ยังหนาเข้าไปอีก ความที่ตั้งใจทำควิลท์ให้มีหลายมิติด้วยแล้ว ยิ่งหนามากกว่าปกติ 2 เท่า ปัญหาอย่างที่ 2 คือ ด้วยขนาด และความหนาแล้ว จักรก็จักรบ้าน ช่องแขนจักรเล็ก ขนาดของชิ้นก่อนหน้านี้ที่ 150*180 ซม ที่บางกว่า 2 เท่าตัว ยังเคลื่อนผ้าลำบาก แต่นี่ขนาด 250*250 ซม เกินมาด้วย เพราะเผื่อสำหรับผ้าหดเข้าไป ความหนาที่เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า ทำให้ควิลท์ได้ไม่ถึง 10 นาที เข็มหักระนาว จะเย็บมือแทนก็ไม่ไหว หนาเกินไป แค่เนาผ้าก็ปวดมือจะแย่ เลยควิลท์ได้แค่นี้ ![]() จากรูปเต็ม ทำได้แค่มุมบนขวาเล็กๆ เท่านั้นเอง จากที่ต้องควิลท์ทั้งหมดเต็มผืน ![]() เลยตัดใจ ม้วนพับโปรเจ็คนี้ไป ด้วยการแยกร่าง ออกมา เป็นงานควิลท์แต่ละชิ้น และแยกส่วนผ้าต่อออกมา แยกกันไป ทำประโยชน์ได้มากกว่าอยู่รวมกันเป็นก้อนใหญ่ๆ ตัวอย่างชิ้นเล็กๆ ก็เอามาประกอบ กระเป๋าควิลท์ผ้ายีนส์ คลิกอ่านเพิ่มเติม ส่วนผ้าต่อแยกร่างกลายเป็น กระโปรงผ้าต่อออกงานได้เยี่ยงนี้ ![]() จขบ เอาผ้าต่อ log cabin สีขาวครีม มาต่อกันเป็นผืน 4 เหลี่ยมขนาดความกว้างเท่าความยาวกระโปรงที่ต้องการ ความยาว ลองพันรอบตัวดูว่าเราอยากให้บานเท่าไหร่ ส่วนเอว เราก็วัดเอวเรา แล้วเก็บเป็นจีบรอบเอว ติดซับใน เพื่อไม่ให้ผ้าที่ต่อกันรุ่ย เก็บเอว และติดกระดุม ไม่ได้ติดซิป เพราะทำใช้ชั่วคราว เดี๋ยวงานใหม่แปลงร่างใหม่ จะได้ผ้าเต็มผืนมาแปลงร่างได้หลากหลายกว่า เราไม่ได้อ้วนนะ แต่กระโปรงมันหนา และพอง (จริงๆ ก็พุงนั่นแหล่ะ 555)
จากประสบการณ์ที่ป่านมา
กลายเป็นงานครีเอทที่โอเค โหวตให้เลยค่ะ โดย: อุ้มสี
![]() ![]() เป็นงานที่ละเอียดมาก ต้องใช้เวลา ถ้ามีเวลาน้อยก็ทำให้พลาดได้
ถือว่าเป็นประสบการณ์ในครั้งต่อไปค่ะ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น ประสบการณ์จากความล้มเหลว ก็ยังได้กระเป๋าน่ารัก และกระโปรงสวยๆ ยังไม่ถึงกับล้มเหลวทั้งหมด ninicraft Craft Blog โดย: ข้ามขอบฟ้า
![]() ![]() |
ninicraft
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ ศีลธรรมและวินัยในตัวเอง
Friends Blog
|
ความล้มเหลว
กลายเป็นประสบการณ์ที่ดีเลยนะครับ