Photobucket

~ ♡♥ คลอดลูกแล้วยังได้บุญ คุณเองก็ทำได้ ♡♥~



สวัสดีค่ะ เพื่อนๆคงจะงงว่า คลอดลูกแล้วได้บุญอย่างไร ได้แน่นอนค่ะถ้าคุณได้ทำการบริจาค STEM CELLS (เซลล์ต้นกำเนิด) จาก CORD BLOOD นั่นเอง

อยู่ที่เมืองไทยคุณก็บริจาคได้ค่ะ แพทอยู่ที่อเมริกา แพทได้บริจาคให้สาธารณะชนค่ะ ไม่ได้เก็บไว้ให้ครอบครัวตนเอง เพราะแพทคิดว่าโอกาสที่จะได้ใช้น้อย คุณหมอเองก็แนะนำให้บริจาคให้สารธารณะชนด้วยค่ะ ถ้าประวัติการเจ็บป่วยของครอบครัวไม่มีอะไรที่ร้ายแรง

แพทอยากที่จะช่วยคนที่เค้าต้องการจริงๆ เพื่อช่วยชีวิตพวกเค้าให้มีชีวิตอยู่รอด ดีกว่าทิ้งลงขยะไปเสียไม่ก่อให้เกิด ปย อันใดค่ะ

นึกถึงที่ได้บริจาคทีไร ทำให้ใจอิ่มเอมทุกครั้งไปค่ะ เพราะเราได้ช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในชีวิตของแพทก็คงบริจาคได้เพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้นค่ะ เนื่องจากแพทจะมีลูกแค่ 2 คน อิอิ

อย่างไรก็ตามแพทอยากให้เพื่อนๆที่มีโอกาสจะมีลูก เก็บไว้พิจารณาด้วยนะคะ

เรามาทำความรู้จักกับ Umbilical Cord Blood Stem Cells กันดีกว่านะคะ

อาจจะยาวสักนิดนึง แต่แพทคิดว่ามันเป็น ปย มากๆ และได้ความรู้ด้วยค่ะ ที่สำคัญ ยังได้บุญมหาศาลอีกด้วย


สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับสเตมเซลล์จากเลือดสายสะดือ (Umbilical Cord Blood Stem Cells) คืออะไร ?


สายสะดือ (Umbilical Cord) เป็นส่วนสำคัญต่อการเชื่อมโยงระหว่างทารกในครรภ์กับมารดา ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหารและของเสียผ่านทางสายสะดือนี้จนกว่าทารกจะคลอดออกมา

นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งสำคัญของเซลล์ต้นกำเนิดบางชนิดที่เรียกว่าสเตมเซลล์ (Stem cells) ซึ่งมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนเป็นเซลล์อื่นๆ ได้โดยเซลล์ที่พบในสายสะดือนี้จะเปลี่ยนเป็น

• เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cells) มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนให้แก่ร่างกาย

• เซลล์เม็ดเลือดขาว (Write Blood Cells) มีหน้าที่เป็นภูมิต้านทานเชื้อโรค

• เกร็ดเลือด (Platelets) มีหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดในกรณีที่มีบาดแผล

ปัจจุบันวงการแพทย์สามารถนำสเตมเซลล์ไปรักษาโรคซึ่งรวมถึงโรคมะเร็งต่างๆ โรคไขกระดูกฝ่อ โรคโลหิตจางแบบธาลาสซีเมียที่พบมากในคนไทย การรักษาด้วสเตมเซลล์เป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่เป็นที่สนใจ และมีงานวิจัยใหม่ๆ ออกมาอย่างมากจนเป็นที่คาดหมายว่าการักษาโรคด้วย Stem cells Therapy จะเปลี่ยนเป็นการรักษาโรคแบบเดิมๆ อย่างสิ้นเชิง

นอกเหนือจากนั้นอาจสามารถนำไปใช้ในการปลูกถ่าย หรือเปลี่ยนอวัยวะที่เสียหายในร่างกายได้ในอนาคต อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคสมองเสื่อม


ประโยชน์ที่ได้รับจาก Stem Cells


การปลูกถ่ายโดยการใช้ Stem Cells สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ดังนี้

• มะเร็งในเม็ดเลือด เช่น Leukemia และ Lymphoma

• โรคโลหิตเนื่องจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ เช่น Thalassemia และ Sickle cell anemia

• โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบเมตาโบลิซึม

• ภาวะภูมิคุ้มกันโรคต่อต้านตนเอง (Autoimmuneb diseases)

• โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immunodeficiency ailments)

• ความผิดปกติของหัวใจ

• อาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

อย่างไรก็ดี ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ สเตมเซลล์นั้นต้องสามารถเข้ากันได้ระหว่างผู้ป่วยและผู้บริจาค อีกทั้งต้องมีจำนวนมากเพียงพอสำหรับการปลูกถ่ายด้วย จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ไม่พบผู้ป่วยที่ได้ประโยชน์

จากการรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ในประเทศไทยมากนัก ทั้งที่วิธีรักษาดังกล่าวสามารถทำได้ในโรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่งในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้การที่มีทางเลือกในการรักษาสเตมเซลล์ของเราเองไว้สำหรับไว้ใช้ในอนาคต จึงเป็นทางเลือกที่ได้ประโยชน์กับเจ้าของสเตมเซลล์เป็นอย่างมาก


การปลูกถ่ายสเตมเซลล์ทำได้อย่างไร


การรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ (Stem Cells Transplant) คือตัวอย่างหนึ่งของการบำบัดโรคโดยใช้สเตมเซลล์ โดยการนำสเตมเซลล์ของตัวเอง ที่เก็บไว้หรือของผู้บริจาคที่ปกติ ฉีดเข้าระบบไหลเวียนโลหิตแก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์เม็ดเลือด ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ป่วยหลังการรักษามะเร็งด้วยการให้เคมีบำบัดหรือฉายแสง จนทำให้สเตมเซลล์ของผู้ป่วยเสียหายหรือตายไปด้วย

เมื่อสเตมเซลล์ถูกฉีดเข้ากับร่างกาย จะฝังตัวในไขกระดูกของผู้ป่วยและเริ่มกระบวนการแบ่งตัว และกลับกลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดที่จำเป็นทั้งสามชนิดในตัวผู้ป่วย จนระดับเซลล์เหล่านั้นกลับเข้าสู่ภาวะปกติหรือหายจากโรคดังกล่าว
เทคนิคดังกล่าวได้เริ่มในการรักษาเป็นครั้งแรกในผู้ป่วยเด็กอายุ 5 ขวบ ที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Fanconl Anemla ที่ทำให้เกิดโรคซีดรุนแรงเมื่อเกือบยี่สอบปีก่อน

ซึ่งผลการรักษาดังกล่าวได้เปลี่ยนโฉมวงการแพทย์ในการใช้สเตมเซลล์จากเลือดสายสะดือ ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกทิ้งไปกับสายสะดือและรก จนปัจจุบันมีผู้ป่วยทั่วโลกมากกว่าสามพันคนที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้


สเตมเซลล์สามารถพบได้ที่ใดบ้าง


นอกจากเลือดในสายสะดือ (Umbilical Cord Blood) แล้วสเตมเซลล์สามารถพบในส่วนต่างๆ ของร่างกายผู้ใหญ่ได้ในปริมาณน้อย เช่น

ไขกระดูก (Bone marrow) ปกติในไขกระดูกสามารถพบที่สเตมเซลล์ได้อยู่แล้ว ซึ่งเป็นที่มาของการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิธีดั้งเดิมของการปลูกถ่ายสเตมเซลล์

เลือด (Peripheral blood)เราสามารถพบสเตมเซลล์ได้จากเลือดที่เจาะออกมาจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิธีนี้เป็นวิธีหลักในการเก็บสเตมเซลล์ในผู้ใหญ่ ซึ่งต้องใช้เลือดในปริมาณที่มากพอที่จะสกัดได้สเตมเซลล์ในจำนวนที่ต้องการ

เนื้อเยื่ออื่นๆ ดังเช่น เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) ผิวหนัง (Epithelial) น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาหรือแม้กระทั่งเส้นผมก็พบสเตมเซลล์ได้เช่นกัน แต่มีจำนวนน้อยและยังอยู่ในระดับงานวิจัยเท่านั้น

ความแตกต่างที่สำคัญของการเก็บสเตมเซลล์จากส่วนต่างๆ ของร่างกายคือ การเก็บสเตมเซลล์จากเลือดสายสะดือสามารถทำได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต คือ เมื่อเกิดการคลอดเท่านั้น เพราะต้องนำสายสะดือและรกทิ้งไป ขณะที่การเก็บจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายสามารถทำได้หลายครั้ง


การปลูกถ่ายสเตมเซลล์ โดยใช้เซลล์ของเราเองดีกว่าอย่างไร ?


การปลูกถ่ายสเตมเซลล์ด้วยเซลล์ของเราเองมีข้อดีอย่างมากเหนือกว่าวิธีเดิมที่นำสเตมเซลล์ที่ได้มาจากผู้บริจาคหรือการปลูกถ่ายไขกระดูกเดิมดังนี้

ปราศจากภาวะการปฏิเสธเนื้อเยื่อ (Graft vs Host Disease GvHD) ซึ่งโรคดังกล่าวเกิดจากการไม่เข้กันของเซลล์ระหว่างผู้บริจาคและผู้ป่วยอาการของโรคดักล่าวอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ และยากที่จะหลีกเลี่ยง แม้จะเป็นผู้บริจาคที่ตรวจความเข้ากันได้ในเบื้องต้นแล้วว่ามีความเข้ากันได้สูงกับผู้ป่วยก็ตาม

มีผลข้างเคียงอื่นๆ จากการปลูกถ่ายน้อยกว่า เช่น ภาวะเลือดออกในสมอง (Cerebral Hemorrhage) ซึ่งอาจเกิดจากความสดใหม่ของสเตมเซลล์ในทารกมมากกว่าเมื่อเทียบกับสเตมเซลล์ที่พบในผู้ใหญ่ จึงเกิดภาวะนี้น้อยกว่า

ไม่เกิดความเสี่ยงกับผู้บริจาคในขั้นตอนการจัดเก็บ ผู้บริจาค (โดยมากมักเป็นญาติ) อาจต้องมีความเสี่ยงจากการจัดเก็บสเตมเซลล์จากไขกระดูกบางรายอาจต้องวางยาสลบซึ่งเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนและการติดเชื้อ ขณะที่การจัดเก็บ Stem Cells จากสายสะดือคือไม่มีความเสี่ยงใดๆ ต่อมารดาและทารก

โอกาสเกิดการติดเชื้อที่แพร่กระจายจากการให้เลือดต่ำกว่ามีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการตรวจหาสเตมเซลล์จากผู้บริจาค ที่เข้ากับเราได้นั้นมีราคาแพง

ไม่ต้องเสี่ยงต่อการรอคอยผู้บริจาคเป็นเวลานาน การรอคอยผู้บริจาคที่มียีนที่เข้ากันได้กับผู้ป่วยไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งอาจรอนานเกินกว่าผู้ที่ป่วยจะรอไหวและทำให้เสียชีวิตไป่อนเมื่อโรคลุกลาม โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีเชื้อชาติที่พบได้น้อยหรือเป็นลูกครึ่ง อย่างไรก็ดีการปลูกถ่ายสเตมเซลล์ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เพราะมักเก็บเลือดมาไดจำนวนน้อยทำให้มี Cord Blood Stem Cells ในปริมาณที่ไม่มากพอสำหรับการรักษาผู้ป่วยเด็กโต

ปัจจุบันจึงมีความพยายามในการเพิ่มปริมาณของ Stem cells เพื่อสามรถใช้ได้หลายครั้งและกว้างขวางมากขึ้น การเก็บรักษา Cord Blood Stem Cells เพื่อนำไปใช้ในอนาคตได้หรือไม่ ?

หลังจากทารกคลอดออกมา แพทย์จะทำการตัดสายสะดือและส่งทารกให้กุมารแพทย์นำไปดูแลต่อ เราจะเจาะเลือดจากสายสะดือในขั้นตอนนี้ ใส่ในชุดเก็บที่บริษัทจัดเตรียมมาให้ ซึ่งจะได้เลือดจากสายสะดือมาประมาณ 30 - 100 ซีซี. ซึ่งกระบวนการดังกล่าวไม่ก่อให่เกิดความเจ็บปวดหรืออันตรายแต่อย่างใดกับทั้งมารดาและทารก

อีกทั้งใช้เวลาเพียงประมาณสามนาที หลังจากนั้นนำเลือดที่ได้ไปตรวจคัดกรองการติดเชื้อต่างๆ สกัดหาสเตมเซลล์และเข้ากระบวนการแช่แข็งภายใต้อุณหภูมิ 196 องศาเซลเซียส เพื่อรอเวลาถูกนำไปใช้ในอนาคต

โดยปกติสามารถจัดเก็บเซลล์ต่างๆ ด้วยวิธีดังกล่าวได้เป็นเวลาหลายปี (มากกว่า 15 ปี) ก่อนนำไปใช้ โดยสามารถคงสภาพของเซลล์ทั้งหมดไว้ได้เหมือนเดิม


มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะได้ Cord Blood ?


หลายท่านอาจสงสัยว่าการจัดเก็บสเตมเซลล์จากเลือดสายสะดือ เป็นการสิ้นเปลืองที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่โดยเฉพาะครอบครัวที่ไม่มีประวัติป่วยเป็นโรคใดๆ เลย
นักวิทยาศาสตร์หลายคนนิยมที่จะใช้สเตมเซลล์ที่สกัดจากตัวอ่อนซึ่งมีคุณสมบัติในการเจริญเติบโตเป็นเซลล์ต่างๆ ได้ดีกว่า แต่ก็กำลังเป็นที่ถกเถียงทางด้านศีลธรรมอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการสกัดสเตมเซลล์หมายถึงการทำลายตัวอ่อนนั้นทิ้งไป


จากการวิจัยทั่วโลก พบว่ามีโอกาสที่จะนำสเตมเซลล์ดังกล่าวไปใช้เพียง 4 ต่อ10,000 หรือ 0.04% ซึ่งต่ำมาก จนไม่แน่ใจว่าการจัดเก็บจะเกิดประโยชน์หรือไม่อย่างไรก็ตามพบว่า


1. ตัวเลขดังกล่าวนับเฉพาะการรักษาในปัจจุบันเท่านั้น ไม่นับการค้นคว้าใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยสเตมเซลล์ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ วันในอนาคต

2. ตัวเลขดังกล่าวเป็นค่าเฉลี่ยของคนทั่วๆ ไปที่ปราศจากความเสี่ยง บางครอบครัวอาจต้องพิจารณาปัจจัยทางพันธุกรรมในครอบครัวของตนเองร่วมด้วย เช่น อัตราการเกิดมะเร็งหรือโรคเลือดที่ค่อนข้างสูงในบรรดาญาติๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงขึ้นจนโอกาสนำไปใช้สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ระบุไว้

3. สำหรับเด็กที่มีเชื้อชาติเป็นลูกครึ่งหรือมีเลือดผสม โอกาสที่จะพบ Stem cells ของผู้บริจาคที่เข้ากันได้นั้นยิ่งน้อยกว่าเด็กปกติอื่นๆ มาก การที่ไม่เก็บสำรองไว้อาจมีความเสี่ยงแบบเดียวกับบุคคลที่มีหมู่เลือดพิเศษ ซึ่งหาผู้บริจาคยาก


ในระหว่างการเก็บ Cord Blood นั้น จะมีความเสี่ยงต่อมารดาและทารกหรือไม่


ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ทั้งสิ้นเนื่องจาก Cord Blood จะถูกเก็บหลังจากทารกคลอดและสายสะดือจะถูกตัดออก ซึ่งโดยปกติ Cord Blood นั้นไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ใดๆ ฉะนั้นการเก็บจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด สะดวก และปลอดภัยต่อมารดา และทารกและไม่เป็นการรบกวนปกติ โดยเฉลี่ยแล้วใช้เวลาในการเก็บไม่เกิน 5 นาที


โรงพยาบาลจะต้องเตรียมชุดอุปกรณ์ในการจัดเก็บ Cord Blood หรือไม่


คำตอบคือไม่ต้อง เพราะว่าคุณจะได้รับชุดอุปกรณ์ในการจัดเก็บจากบริษัทที่ได้ตกลงกันไว้ เพื่อที่จะได้นำไปจัดเก็บ Cord Blood Stem Cells ของลูกคุณ ชุดอุปกรณ์จัดเก็บนี้จะบรรทุกชิ้นส่วนที่ต้องใช้ในการเก็บ Cord Blood อย่างไรก็ตามคุณต้องระลึกเสมอว่า จะต้องนำชุดอุปกรณ์ติดตัวไปกับคุณที่โรงพยาบาลและมอบให้กับแพทย์หรือพยาบาลเมื่อถึงเวลาคลอด


การเก็บ Stem Cells เหมือนกับการทำประกันชีวิตหรือไม่


คำว่าประกันชีวิต แท้จริงเป็นการใช้คำในความหมายตรงกันข้าม เนื่องจากในความเป็นจริงแล้ว การประกันชีวิตเป็นการประกันว่า ภายหลังจากเสียชีวิตบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับครอบครัวหรือทายาท แต่ไม่ให้ประโยชน์กับผู้ทำประกันขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ด้วยวิทยาการที่ล้ำหน้าในปัจจุบันทำให้มนุษย์สามารถเลือกที่จะมีประกันชีวิตที่แท้จริง ซึ่งสามารถนำไปใช้รักษาชีวิตหรือยืดอายุขัยเจ้าของหรือผู้ทำประกัน นั่นคือการเก็บรักษา Stem Cells ไว้เป็นหลักประกันสุขภาพ สำหรับการรักษาที่จะเป็นในอนาคตได้


ทำไมต้องลงทุนเก็บ Stem cells


การเก็บ Stem Cells ของท่านเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมหาศาล ไม่สามารถประเมินค่าได้สเตมเซลล์อาจจะเป็นทางสู่ชีวิตใหม่ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเพราะไม่ว่ามนุษย์เราจะมีการเตรียมตัวที่ดีเพียงใด ก็ไม่สามารถลดความเสี่ยงที่เกิดจากความเจ็บปวดและความเสื่อมของร่างกาย ซึ่งบางครั้งอาจจะหมายถึงชีวิต สเตมเซลล์ของท่านที่เก็บสำรองก่อนเกิดวิกฤติของชีวิตอาจเป็นทางออกของปัญหารุนแรงเหล่านั้น

การฝากสเตมเซลล์ก่อนการเจ็บป่วยจะทำให้ได้สเตมเซลล์ที่มีคุณภาพดี ปราศจากการปนเปื้อนจากโรค ซึ่งจะมีคุณประโยชน์เหนือกว่าการเก็บสเตมเซลล์ที่อ่อนแอภายหลังจากการเจ็บป่วยการรักษาสเตมเซลล์ที่แข็งแรงในวันนี้

เป็นการเพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคหลายโรค ที่อาจเกิดในอนาคต ซึ่งกับนักวิทยาศาสตร์ยังคงศึกษาความมหัศจรรย์ในการนำไปใช้รักษาโรคและการค้นพบใหม่ๆ ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา


การและขั้นตอนในการเก็บ Umbilical Cord Blood เป็นอย่างไร?


1. ทารกคลอดออกมาจากครรภ์มารดาพร้อมกัน Umbilical Cord (สายสะดือ)

2. Umbilical Cord จะถูกตัดออก หลังจากนั้นแพทย์หรือพยาบาลจะดำเนินการดูดเลือดออกจาก Umbilical Cord นั้น ในขณะเดียวกันทารกก็จะถูกนำไปทำความสะอาดและตรวจร่างกาย

3. เลือดจาก Umbilical Cord จะถูกจัดเก็บไว้ในถุงเก็บเลือด ซึ่งอยู่ในชุดอุปกรณ์ที่ได้จัดเตรียมไว้

4. หลังจากนั้นจะนำ Cord Blood ไปที่ห้องปฏิบัติการของบริษัทที่ได้ตกลงจัดเก็บสเตมเซลล์

5. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคการแพทย์จะทำการแยก Stem Cells ออกจาก Cord Blood นั้น และ Stem Cells จะถูกเก็บรักษาไว้ในแทงค์แช่แข็งในไนโตรเจนเหลว เพื่อสามารถนำไปใช้ในอนาคต


เมื่อไรที่ควรตัดสินใจเก็บ Umbilical Cord Blood Stem Cells


ถ้าหากเป็นไปได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถติดต่อกับบริษัทที่ให้บริการได้ตั้งแต่รยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือระยะ 3 - 6 เดือน จนถึงระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพื่อที่บริษัทผู้ให้บริการจะได้จัดเตรียมชุดอุปกรณ์ในการจัดเก็บ Cord Blood ไว้ก่อนในกรณีคลอกก่อนกำหนดและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวกับท่านได้


Stem Cells ยังสามารถใช้กระบวนการฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยที่รักษามะเร็งได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่สามารถรักษาโรคดังต่อไปนี้ได้คือ


• โรคความจำเสื่อม (อัลไซเมอร์)
• โรคเบาหวาน
• โรคประสาทที่มีปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวน้อยลงและอาการสั่น (โรคพาร์กินสัน)


ทำไมต้องเก็บรักษาเลือดในสายสะดือของทารก


การเก็บ Stem Cells จากเลือดโดยสายสะดือของทารกถือเป็นสิ่งพิเศษที่คุณสามารถมอบให้แก่สมาชิกในครอบครัวได้

Stem Cells มีประโยชน์ในการรักษาโรคต่างๆ หรือยืออายุของสมาชิกในครอบครัวของคุณการเก็บเลือดจากสายสะดือไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด และไม่มีภาวะเสี่ยงต่อทั้งมารดาและทารก

วิธีการเก็บง่าย ใช้เวลาน้อยแต่ต้องเก็บทันทีหลังคลอด เพื่อนำไปจัดเก็บ Stem Cells ในห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพต่อไป

การใช้ Stem Cells จากสายสะดือจะเกิดการต่อต้านจากเซลล์ในร่างกายน้อยกว่าการใช้ Stem Cells จากไขกระดูก


Tip ที่ควรรู้เกี่ยวกับการเก็บ Stem Cells


โปรดแจ้งผู้ที่ทำคลอดของท่านให้ทราบว่าท่านต้องการเก็บ Stem Cells จากสายสะดือทารก และโทรศัพท่ติดต่อบริษัทที่ตกลงในการจัดเก็บเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลหรือมีการเปลี่ยนกระบวนการในการคลอด

สิ่งสำคุญที่สุดคือให้แจ้งให้บริษัทที่ตกลงจัดเก็บทราบทันทีเมื่อท่านไปถึงโรงพยาบาลเพื่อคลอดทารก เพื่อที่บริษัทดังกล่าวจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการจัดเก็บ และนำเลือดจากสายสะดือของทารกท่านเข้าสู่กระบวนการการจัดเก็บ Stem Cells ต่อไป


ข้อมูลการวิจัยต่างประเทศ


การพัฒนาเนื้อเยื่อจากสเตมเซลล์สร้างความหวังต่อวิทยาศาสตร์ เดอะ เดลี่ โอกลาโฮม. ตุลาคม 2545 สติลล์วอเทอร์ บนชั้นสี่ของอาคารศูนย์วิศวกรรมศาสตร์ที มหาวิทยาลัยโอกลาโฮมาสสเตท นักวิจัยหนุ่มคนหนึ่ กำลังก้มหน้าก้มตาทำงานวิจัยที่อาจเรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในสุดยอดงานวิจัยทางการแพทย์เท่าที่เคยปรากฏมาก่อน

Sundra Modihally ได้ค้นพบวิธีการที่สามารถสร้างเซลล์ผนังเส้นเลือดจาก Cord Blood Stem Cells ได้เรียบร้อยแล้ว เขาคาดว่าภายในห้าปีนับจากนี้จ สามารถพบวิธีที่สามารถผลิตเส้นเลือดขึ้นมาได้ทั้งเส้น หลังจากนี้เขาวางแผนที่จะเปลี่ยนสเตมเซลล์เป็นเซลล์ตับและลิ้นหัวใจต่อไป เขากล่าวต่อว่าแนวทางดังกล่าวในที่สุดจะสามารถนำไปสังเคราะห์อวัยวะทุกชิ้นขึ้นมาได้ ซึ่งสามารถนำมาช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังรอคอยการปลูกถ่ายอวัยวะทั่วโลก ซึ่งเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเหล่านั้นที่สามารถได้รับอวัยวะจากผู้บริจาค ส่วนที่เหลือต้องเสียชีวิตในที่สุด

เฉพาะเส้นเลือดที่นำมาใช้ในการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจในสหรัฐอเมริกาอย่างเดียวก็มีความต้องการกว่า 300,000 เส้นต่อปี โดยนำมาจากเส้นเลือดจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้หรือทำมาจากสารสังเคราะห์
พื้นฐานของการค้นพบนี้คือการดัดแปลงทางพันธุกรรมในสเตมเซลล์ที่พร้อมต่อการเปลี่ยนเป็นเซลล์อื่นๆ อยู่แล้ว ทั้งนี้เซลล์ที่เขานำมาใช้ มาจากสายสะดือของทารกที่ปกติถูกนำไปทิ้งหลังการคลอด

โดย Madihally ค้นพบ คุณสมบัติมหัศจรรย์ดังกล่าวอย่างบังเอิญขณะที่เขากำลังทำวิจัยระดับปริญญาโทอยูที่ฮาร์วาร์ด เมื่อจบการศึกษาจึงนำงานดังกล่าวมาทำต่อทีโอกลาโฮมาโดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์ จนนำมาสู่การค้นพบในที่สุด
กระบวนการดังกล่าวจะสามารถทำให้แพทย์ได้อวัยวะจริงมาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วย แทนที่จะนำมาจากอวัยวะเทียมที่ทำจากไททาเนียมหรืออวัยวะที่นำมาจากร่างกายของคนอื่น
การรักษาโรคด้วยสเตมเซลล์สร้างความตื่นตะลึงแก่วงการแพทย์โดย สตีฟ โดว ดิ เอดจ์ 12 เม.ย 2546

ซีดนีย์ Cord Blood จะสามารถซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจหรือสร้างเซลล์ตับใหม่ให้แก่ผู้ป่วยโรคตับได้เร็วๆ นี้แล้ว ก่อนหน้านี้สเตมเซลล์จากสายสะดือก็ถูกค้นพบว่าสามารถนำไปรักษาโรคมะเร้งหลายชนิดได้ ทั้งในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันสเตมเซลล์กำลังก้าวหน้าต่อไปอีก

ศาสตราจารย์ Marcus Vowel ผู้อำนวยการ The Australian Cord Blood Bank หรือ Aus Cord ที่ Sydney Children' Hospital เชื่อว่าภายในสองปีจากนี้ไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวาย อาจได้รับการรักษาโดยการฉีดสวเตมเซลล์ที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมแล้ว เพื่อที่เจริญเติบโตต่อไปเป็นกล้ามเนื้อหัวใจใหม่ทดแทนของเดิมที่เสียหาย ทั้งนี้ด้วยกระบวนการที่คล้ายกัน สเตมเซลล์สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ต่างๆ มากมาย อาทิ เซลล์กล้ามเนื้อ สมอง ตับ และกระดูก

มีงานวิจัยอย่างน้อยสองชิ้นในสหรัฐอเมริกาที่สเตมเซลล์จากสะดือสามารถเปลี่ยนเป็นกล้ามเนื้อหัวใจได้ในการทดลองกับมนุษย์ ส่วนงานทดลองที่ทำขึ้นในออสเตรเลียเองกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ และยังไม่สามารถสรุปผลได้

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่านักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังพุ่งเป้าไปที่งานวิจัยทุกอย่างที่เกี่ยวกับสเตมเซลล์ที่จะส่งผลให้การรักษาโครเปลี่ยนโฉมหน้าอย่างสิ้นเชิง

อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์หลายคนนิยมที่จะใช้สเตมเซลล์ที่สกัดจากตัวอ่อน ซึ่งมีคุณสมบัติในการเจริญเติบโตเป็นเซลล์ต่างๆ ได้ดีกว่า แต่ก็กำลังเป็นที่ถกเถียงทางด้านศีลธรรมอย่างมาก เนื่องจากกระบวนการสกัดสเตมเซลล์ หมายถึงการทำลายตัวอ่อนทิ้งไป

ศาสตราจารย์ Vowel กล่าวว่าสิ่งที่สำคัญ คือสเตมเซลล์ที่ได้จากสายสะดือก็มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ดีเช่นกัน โดยที่ไม่เกิดปัญหาทั้งทางด้านกฎหมายและศีลธรรม

รัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลียได้เปิด Cord Blood Bank ครั้งแรกในปี 1995 หลังจากนั้นมีการเปิดตามอีกในรัฐวิคตอเรียและบริสเบน

ในปีที่ผ่านมารัฐมนตรีสาธารณสุขของรัฐบาลกลางได้เปิด AusCord ขึ้นที่ Sydney Childen's Hospital โดยหวังว่าจะให้ AusCord เป็นศูนย์กลางการบริจาคเลือดจากสายสะดือจากเครือข่ายต่างๆ โดยตั้งเป้าไว้ที่ 22,000 ตัวอย่างในสี่ปีแรก


การใช้ระโยชน์เพื่อช่วยชีวิตมนุษย์จากของที่ครั้งหนึ่งเคยถูกทิ้งลงถังขยะ เป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มาก” ศาสตราจารย์ Vowel กล่าวทิ้งท้าย


การบริจาคสเตมเซลล์ เพื่อชีวิตใหม่ต่อเพื่อนมนุษย์


ในแต่ละปีประเทศไทยมีเด็กคลอดประมาณ 8 แสนราย และเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว 7,350 ราย น่าเสียดายที่เซลล์ที่มีคุณค่าจำนวนไม่น้อยถูกทิ้งไป วันนี้คุณสามารถร่วมบริจาคสเตมเซลล์ให้กับเพื่อนมนุษย์ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

การลงทะเบียนเข้าเป็นอาสาสมัครร่วมโคงการรับบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตฯทำได้ไม่ยาก เพียงผู้บริจาคมีคุณสมบัติครบถ้วนคือ เป็นผู้ที่มีอายุ 17-55 ปี น้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 48 กิโลกรัม เคยบริจาคโลหิตมาแล้ว 2 ครั้ง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อร้ายแรง ไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง

การบริจาคสเตมเซลล์จากรก แพทย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริจาคแก่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และมีประวัติสุขภาพแข็งแรง ตั้งครรภ์เดี่ยว (ไม่แฝด) มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่ต้องผ่านการคัดกรองการติดเชื้อซิฟิลิส ตับอักเสบบี และโรคเอดส์โดยให้ผลเป็นผลลบ (แปลว่าไม่ติดเชื้อ) ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจะให้ข้อกำเนิดที่ผิดปกติ และน้ำหนักของทารกประมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม


สถานที่ที่ให้บริการจัดเก็บ Stem Cells ในประเทศไทย


ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยมีธนาคารเลือดจากรก (Cord Blood Bank) ที่ประสานงานในการเก็บสเตมเซลล์จากรกกับโรงพยาบาลจุฬาฯ โทร. 0 - 2252 - 4106 - 9

• THAI Stemlife co.,Ltd. โทร. 0 - 2613 - 1515 - 8 ฮอตไลน์ 24 ชั่วโมง และ 0 - 1340 - 7676

• Cordlife Sciences co.,Ltd. โทร. 0 - 2655 - 0450 , 0 - 9450 - 2018*


ข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสเตมเซลล์


• //www.bioexchage.com/news/stemcell.com
• //www.news.wis.edu/packages/stemcell.com
• //www.stemcellsresearchnews.com
• //www.parentsguidecordblood.com
• //www.thaistemlife.co.th
• //www.cordlife.com.






 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2550
17 comments
Last Update : 21 พฤษภาคม 2550 2:15:16 น.
Counter : 586 Pageviews.

 




หนี่ฯ ยังไม่นอน แวะมาทักทายพี่แพทฯ คะ
ได้อ่านแล้ว มีประโยขน์มากๆ
ขอขอบคุณพี่แพทมากนะคะ

 

โดย: หนี่หนีหนี้ (แพรวขวัญ ) 21 พฤษภาคม 2550 0:36:46 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่แพท เดี๋ยวนี้พี่เอาบทความที่มีประโยชน์มาแบ่งปันเสมอๆ ขอบคุณค่ะ ฝนเลยพลอยได้ความรู้ไปด้วย เพราะว่าถ้าจะให้ไปค้นหาอ่านตามลิ้งค์ ตามเว็บคงขี้เกียจ แต่ถ้าเพื่อนๆ เอามาให้อ่านอย่างนี้ ก็ได้อ่านค่ะเพราะถือว่าได้มาเยี่ยมเยียนกันด้วย

รักษาสุขภาพนะคะ

 

โดย: Malee30 21 พฤษภาคม 2550 0:57:20 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะที่นำมาฝากัน..
แต่หาพ่อพันธ์ยังไม่เจอ..หุหุหุ

แวะมาเซวเล่นคะ...

 

โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย 21 พฤษภาคม 2550 1:19:41 น.  

 

อ่า ได้ความรู้ใหม่อีกอย่าง

 

โดย: เสียงซึง 21 พฤษภาคม 2550 1:26:03 น.  

 

โหความรู้ล้วนๆเลย

 

โดย: ปลายเทียน 21 พฤษภาคม 2550 1:57:34 น.  

 

ดีจังเลยนะคะ ได้หนุ่มน้อยน่ารักมาชื่นชมแถมยังได้บุญอีกด้วย

ไม่รู้ว่าตัวเองจะมีโอกาสมีลูกปล่าวนะคะเนี่ย

 

โดย: random-4 21 พฤษภาคม 2550 6:24:02 น.  

 

เป็นความรู้ใหม่เลยนะค่ะเนี่ย ขอบคุณนะค่ะคุณแพทที่นำความรู้มาแบ่งปัน แถมคนที่กำลังจะมีลูกก็จะได้ทำบุญด้วย...

 

โดย: thattron 21 พฤษภาคม 2550 8:40:48 น.  

 

ไม่เคยทราบมาก่อนเลย สำหรับเรื่องนี้คะ ขอบคุณคะที่มาบอกกล่าว

 

โดย: หน่อยอิง 21 พฤษภาคม 2550 9:35:48 น.  

 

เป็นอีกหนึ่งข้อมูลเลยนะค่ะในการทำบุญ ...

อ่านแล้วก็มีงงบ้างล่ะค่ะ เพราะว่าเพิ่งมาอ่านเจอ แต่ว่าก็ดีนะค่ะ เพราะว่านอกจากได้ความรู้แล้วใครที่ต้องการทำบุญด้วยก็จะได้มีการร่วมกันทำบุญตามข้อมูลที่ไดรับมาค่ะ

 

โดย: JewNid 21 พฤษภาคม 2550 9:50:13 น.  

 

แวะมาเยี่ยมค่ะ

สบายดีนะคะ

อ่านแล้ว

อยากท้องอีกจัง 555

 

โดย: run to me 21 พฤษภาคม 2550 10:20:00 น.  

 

มาเก้บเกี่ยวความรู้ค่ะ..คุณแม่เปลี่ยนโฉมบ้านใหม่น่ารักมากค่ะ..

หัวข้อด้านบนก็น่ารัก...

รูปลูกชายใน display comment ก็เท่ห์...ชอบมากๆค่ะ

 

โดย: ขนมตะโก้ 21 พฤษภาคม 2550 11:03:21 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ที่เอาความรู้มาฝาก ฝนไม่เคยรู้เลยนะค่ะเรื่องเนีย อ่านแล้ว

 

โดย: namfonJC 21 พฤษภาคม 2550 11:12:20 น.  

 

ตอนคลอดคิดอยู่เหมือนกัน เรื่องเก็บ สเตมเซลล์อ่ะ แต่ไม่รู้ว่าบริจาคได้ด้วย นึกว่าเก็บไว้ได้เองอย่างเดียวซะอีก น่าเสียดายเนอะ .....

 

โดย: หนูชล 21 พฤษภาคม 2550 11:13:53 น.  

 

โอ
ไม่น่าเชื่อว่าเดี๋ยวนี้วิทยาการจะก้าวหน้าขนาดนี้
ชื่นชมวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่นชมคุณแม่ใจบุญทุกคนครับ

 

โดย: กุมภีน 21 พฤษภาคม 2550 12:51:40 น.  

 

ยาวบรื้ดเลย ฮา...ไม่ได้อ่าน
เพราะเราผู้ชาย อิอิ

 

โดย: smack 21 พฤษภาคม 2550 18:22:54 น.  

 

ได้ความรู้ดีๆค่ะ
ขอบคุณมากนะค่ะ

 

โดย: whitelady 21 พฤษภาคม 2550 19:11:04 น.  

 


ขอชื่นชมคุณแพทจริงๆค่ะ ใจบุญมากๆ ...

ขอให้คุณแพทและครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ

 

โดย: Htervo 6 มิถุนายน 2550 16:57:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Baby I love you
Location :
Amphur Muang Songkhla Thailand / St.Louis Missouri United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Photobucket
Photobucket
♥สวัสดีค่ะ เป็นคุณแม่ฟูลไทม์ค่ะ ทำงานพาร์ทไทม์เล็กๆน้อยๆพอที่จะมีสังคมและมีพอคเกตมันนี่กับเค้าบ้าง♥ ♥แต่งานหลัก..เลือกที่จะรักและดูแลลูกๆ ภูมิใจที่สุดสำหรับงานคุณแม่ฟูลไทม์ค่ะ♥
♥จงรักและปฏิบัติต่อลูกของคนอื่น♥ ♥เหมือนที่รักและปฏิบัติต่อลูกของตนเอง♥



free website counters
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
21 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add Baby I love you's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.