Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
24 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
กาลครั้งหนึ่งในแม่ตะมาน


timak@thaimail.com



     บนทางผ่านด้วยลมหายใจแห่งกาลเวลากับการทดลองด้วยกรณีศึกษาจากศูนย์นักศึกษาอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แยกออกมาเป็น คชธ.(โครงการครูช่วยสอนและห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) สู่การได้มาพบเจอกัน จนมาเป็นการรวมกลุ่มของผู้กระหายอยากเรียนรู้ อยากทดลอง ตามความคิด อุดมการณ์ การพัฒนา แบบ ความร่วมมือผสมผสานระหว่างเรา และชาวบ้าน ด้วยตนเอง นักศึกษาและครูบาอาจารย์ จาก ธรรมศาสตร์ จุฬา เท็คนิคภาคภายัพ เกษตรสวนดอก ม. เชียงใหม่ มหิดล กระทั่ง ศิลปากร หรือจากสันติบาลส่งมาร่วมงาน(หาข่าว) และอื่นๆอีกมากมาย

......สู่โครงการสหกรณ์ แม่ตะมาน ความคิดคำนึง ความใฝ่ฝัน กับโลกแห่งความเป็นจริง ที่เป็นเพียงนิยายที่เขียนไม่จบ ของ สด กูรมะโรหิต ?? เพราะยังมี นักกิจกรรม นักอุดมการณ์อีกหลายคน ที่ยังมีจินตนาการ มีความใฝ่ฝัน ยังคาใจ และยังมีความประทับใจต่ออดีตเหล่านี้อยู่





*
หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่าง หลั่งไหล ดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท
     เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง โดยบังเอิญได้พบกันและได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อ โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน
เรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไป

     เรื่องราว ในหมู่บ้าน มิได้จบลงโดยตัวมันเอง เปล่า..แต่มันถูกทำให้จบลงด้วยความ อาลัย อาวรณ์ของสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งคนในหมู่บ้านอย่างน่าเสียดาย มันคงเหมือนกับพัฒนาการของสังคมไทย ภายใต้แนวคิดอันคับแคบของข้ารัฐการไทยทั่วๆไป นั่นแหละ ที่ไม่เข้าใจ คำว่า "การพัฒนาชนบท" มันคืออะไร ใครเป็นผู้พัฒนา พัฒนากันอย่างไร น่าเสียดาย หลายโครงการ หลายกลุ่ม ที่ได้เข้าไปหล่อหลอมรวมจิต วิญญาณของปัญญาชน กับ ชาวบ้าน ภายใต้สภาพและปัญหาที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง มิใช่ทฤษฎี การพัฒนาของใคร แต่มันคือการหล่อหลอม รวมใจ ภายใต้ ความรัก ความศรัทธา ความมุ่งมั่น ความจริงใจ ไม่มีบทแห่งการแสแสร้ง ไม่มีสินจ้างรางวัล ไม่มี ผลประโยชน์ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีใครพิจารณา ให้ความดี ความชอบ และเราก็ไม่ต้องการ เพราะเราต้องการเพียงอย่างเดียว คือ อยากทำ และอยากทำให้สำเร็จ

     ถามว่าปลายทางของการพัฒนา ชนบท ปลายทางของการพัฒนา เราต้องการอะไร ผลสัมฤทธิ์ ของเป้าหมาย หรือ เงิน หรือ ผลประโยชน์ หรือ ความดี ความชอบ
นั่นแปลว่า เราได้เดินบนเส้นทางของการพัฒนา ถูกต้องแล้ว แต่ มันต้องยุติลง เพราะ เป้าหมายของข้ารัฐการไทย มันคนละอย่าง
และ จนบัดนี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากเดิมไหม ? ผมตอบได้เลย ว่า วิธีคิด เป้าหมาย แนวทาง ก็ยังคงเหมือนเดิม มิได้ เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมเลย แต่สิ่งหนึ่ง ที่ บังเกิดขึ้นเนื่องจาก เวลา และเส้นทางของประชาชน และทางราชการก็ได้เข้ามาฉกฉวย ผลงานของประชาชน เข้าเป็นรางวัลแห่งตนอีกตามเคย




























*
เป้าหมายของการพัฒนาชุมชนอยู่ที่การพัฒนาคนในชุมชน ในหมู่บ้านนั้นๆ ให้มีจิตสำนึกร่วม มีความรับผิดชอบร่วม มีความร่วมมือ และความสามัคคี
มิใช่การยัดเยียด ด้วยการสั่ง การบังคับ ด้วยวิธีคิดแบบของเรา เพียงแต่เราให้ความรู้ ให้โอกาส สนับสนุน ส่งเสริม
เขามิได้โง่กว่าเรา เพราะต่างก็พัฒนาการภายใต้สภาพแวดล้อมคนละแบบ
เรามิได้เก่งหรือฉลาดไปกว่าเขา เพียงแต่จะฉลาดและเก่ง คนละอย่าง คนละวิธี ภายใต้รากและเหง้าที่เป็นจริง ภูมิปัญญา ศักยภาพ การเรียนรู้ เป็นไปตามครรลองของท้องถิ่น

     นักพัฒนาตำราตะวันตก กลับพยายาม เปลี่ยนถ่าย ภูมิปัญญา ความคิด ให้เป็นแบบอย่างตามวิธีคิดของเรา แล้วเราหละมีวิธีคิดแบบไหน ยอมรับไหมว่าเราถูกตะวันตกครอบงำอย่างโงหัวไม่ขึ้นเสียแล้ว...โทษที เรารู้ตัว หรือเปล่าว่าเราถูกครอบงำ
เรามักเอาตัวเองเป็นตัวตั้ง ผูกขาด ความถูกผิด








                             

ภาพสเก็ต เครื่องหมาย “สหกรณ์แม่ตะมาน”
และข้อความข้างรถนี่งัย ที่ ทางราชการ และพวก ขวาจัด กล่าวขานกันว่า
เป็นรถ คอมมิวนิสต์ เพราะ ว่า มี ตรา “ ค้อน กับ เคียว ชัดเจน"
ถ้า พูดกันในสมัยนี้ ก็คง ฮา ขำกลิ้ง หลายตลบ
ซึ่งความจริง คือ เครื่องหมาย เคียวคู่ กับหมวกบัณฑิต
หมายถึง ชาวบ้าน กับ นักศึกษา ร่วมกัน พัฒนาหมู่บ้าน ครับผม
แต่โทษที สมัย นั้น เล่นเอา พวกเรา เกือบเอาชีวิต อันน้อยนิด
ทั้งกลุ่มไปทิ้งที่นั่นเสียแล้ว พ่อแก้ว แม่ แก้ว เอ๋ย ประเทศไทย
ในสมัยเผด็จการเรืองอำนาจ
ก็แบบนี้งัย ถึงได้เกิดมีคอมมิวนิสต์ เต็มเมืองไปหมด
ดีว่า มีการกลับลำทัน ออกประกาศ นโยบาย 225 /23กันเสียก่อน
มิเช่นนั้น เมืองไทย ก็ คงเป็นแบบเวียดนาม ลาวกันไปแล้ว สหายเอ๋ย


                                       





Sticker ที่ออกแบบทำขายเพื่อนๆ มิตรสหาย ครูบาอาจารย์ ของพวกเรา เพื่อหาเงินทำโครงการ รวมกับเงินที่พ่อแม่ให้มา พิมพ์ที่โรงพิมพ์ร่มไทร ใกล้กับวัดราชสิงขร ในเวลานั้น



ซองจดหมายที่ออกแบบขึ้นเพื่อหาเงินเข้าโครงการ






....



สู่เชียงใหม่ ...ได้ด้วยปาก
ตุลาคม 2516

     มันเป็นยุคสมัยที่บรรดา นักศึกษาส่วนหนึ่งได้เกิดความเบื่อหน่าย สังคมที่เป็นอยู่ ที่ยุ่งเหยิงสับสน......... สับสนทั้งการบ้าน สับสนทั้งการเมือง สับสนทั้งชีวิต ไมรู้ว่าชีวิต จะดำเนินไปทางไหน ดี ? มองไปทางไหน รอบตัว มีแต่การยื้อแย่ง แข่งขัน เอารัดเอาเปรียบ คดโกงกัน รอบตัวมีแต่การใส่หน้ากากเข้าหากัน หาความจริงใจอะไรกันไม่ได้เลย การการบ้านการเมือง เรียนไปแทบตายหาใช้ประโยชน์จากความรู้ไปทำงาน ที่จะรับใช้สังคม ตามอุดมการณ์ ไม่ค่อยจะได้ มันมีแต่การเล่นพรรค เล่นพวก ระบบอุปถัมภ์ ไม่ใช่ระบบเพื่อชาติ เพื่อสังคมอย่างในตำราเลย อำนาจอยู่เหนือ หลักการ

     เขาเหล่านั้น..จึงไม่อยากที่จะคิดทำงาน เมื่อเรียนจบแล้ว คิดอย่างเดียว ..อยากที่จะ ออกไปสู่ชนบทที่ห่างไกล ไร้คาวมายาสังคมปรุงแต่ง แสวงหาดินแดนที่สงบ เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อที่จะสร้างสรรค์สังคมใหม่ ที่จะเป็นสังคมแห่งความฝัน สังคมแห่งจินตนาการ ของสังคมยุคพระศรีอารียะ ของพระพุทธเจ้า หรือสังคมการเมืองแบบ"ยูโทเฟีย" ในจินตนาการของ "ธอมัส มร์"

     พวกเราหลายคนล้วนได้ฟัง ได้คุยกันต่อๆกันไปปากต่อปาก จากหลายสถาบันการศึกษาด้วยความกระหายอยากที่ที่จะออกสู่ชนบท ก็เลยมีการ ติดต่อนัดหมายพบปะพูดคุยกัน ซึ่งความจริงใน เวลานั้นก็มีหลายกลุ่ม หลายคณะด้วยกันที่มีแนวคิด จะทำในลักษณะเดียวกัน อยู่แล้ว จึงได้มีการนัดหมายพบกัน โดยต่างคนต่างมากันคนละทางสองทาง มิได้รู้จักกันมาก่อนเลย เราวางแผนการที่จะเดินทาง ไปสำรวจความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ของสถานที่ ที่จะไปทำโครงการฯ ตามแนวความคิด ดังกล่าว เหมือนอย่างที่ “ระย้า” พยายามทำ ในนิยายเรื่อง "ระย้า” นิยายที่เขียนไม่จบของ “สด กูรมะโลหิต” คนเขียนก็ตายเสียก่อน ซึ่งต้อยภาณุมาศ เป็นผู้นำมาเสนอ และก็คิดฝันอย่างเดียวกันกับพวกเราหลายคน และกำลัง แสวงหา เพื่อนๆที่มีแนวความคิด อย่างเดียวกันเพื่อร่วมมือช่วยกันทำ


วันที่ 9 เมษายน 2517

     และในวันนี้ ก็เลยเป็นวันที่ พวกเราได้นัดหมายมาเจอกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเรื่องที่เราอยากจะทำ สถานที่ความเหมาะสม และอื่นๆ จึงได้นัดมาเจอกัน ครั้งแรกที่บ้านพักของ กรณ์ หลังตลาดพรานนก เขตบางกอกน้อย คนที่ไม่เคยรู้จัก เจอะเจอ กันเลย แต่มีใจตรงกัน ความคิดตรงกัน อุดมการณ์เหมือนกัน ล้อมวงคุยกันอย่างออกรส ด้วยความเหี้ยนกระหือรือ ชนิดควันบุหรี่ตลบอบอวลฟุ้งกระจาย ออกจากบ้าน จนชาวบ้านแถวนั้น ตื่นตระหนก นึกว่าไฟไหม้บ้าน รีบออกมาดูกันยกใหญ่ ตั้งแต่ บ่ายโมงเย็น จนถึง สี่ทุ่ม พวกเราลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ ที่จะเดินทางไปเชียงใหม่ เนื่องจาก ขณะนั้น กรณ์กับเพื่อนๆ น้องๆในศูนย์อาสาพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพิ่ง เสร็จการทดลองทำโครงการครูช่วยสอนและห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า คชธ.ที่ จังหวัดเชียงใหม่ และหลังจากเสร็จสิ้นการทดลองโครงการครูช่วยสอน แล้วคณะผู้บุกเบิก โครงการครูช่วยสอนฯ ก็ได้ ลงมติ ให้แยก คชธ.ออกมาจากศูนย์อาสาพัฒนาธรรมศาสตร์ และ ต้อยภาณุพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานทดลองโครงการนี้ มาตั้งแต่ต้น จึงได้เป็นผู้ชักชวนให้ ไปดูสถานที่ ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อ

     กล่าวว่า ที่ตรงนั้น อยู่ใน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่จัดสรรในโครงการสหกรณ์ครูเชียงใหม่ และพวกเรา ตกลงใจทันทีว่า ในวันพรุ่งนี้ เราจะเดินทางไป สำรวจ ดูกัน ให้ จะจะ ด้วยความมันในอารมณ์ ว่า เราจะ ไปทำที่นี่ ดีหรือไม่

     เรื่องของเรื่อง ชุดแรกมีหน้าที่ ไปทำการสำรวจสถานที่เพื่อดูความเหมาะสมกันก่อนแลัวค่อยเอาข้อมูลกลับมารายงาน เพื่อตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง เพราะพวกเรายังไม่เคยมีใครไปมาก่อน ก็เพียงได้ฟังข้อมูลจาก ต้อยภาณุพันธ์ เอง จำนวน 6 คนอันประกอบด้วย คือ บุญเลิศ เพิ่งจบรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปี๊ยก บุรินทร์ กำลังเรียนรัฐศาสตร์ จากรั้วจามจุรี เป็นน้องชายของบุญเลิศ กำลังไฟแรง ต้อยธีรยุทธ กำลังเรียนปริญญาโท เรื่องดิน ที่ เกษตรศาสตร์ บางเขน ต้อยภาณุมาศ จบแล้วจาก บัญชี ธรรมศาสตร์ ส่วน กรณ์ จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ยังไม่จบเหลืออีก วิชาเดียว แล้วก็มี อ๊อด เจ้านี้ เรียนจบจากช่างก่อสร้าง เคยไปช่วยงานค่ายของศูนย์อาสาพัฒนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนออกค่ายสร้างโรงเรียนที่ บ้านใหม่แม่ทะ อำเภอจุน ตำบลลอ จังหวัดลำปาง ติดอกติดใจงานพัฒนาชนบท งานนี้ ก็เลย ขอติดตามกรณ์ไปด้วย

* วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2517 เวลาประมาณ หกโมงเย็น

     พวกเราภายใต้การนำของ ต้อยภาณุมาศ เดินผ่านตึกแถวสองชั้นเก่าๆ ย่านวรจักรภายใน ตึกแถว สามคูหา ที่เป็นที่ทำการของบริษัท ขนส่งสินค้า สายภาคเหนือ

     “เถ้าแก่ ครับ วันนี้..มีรถสิบล้อ บรรทุกของขึ้นเชียงใหม่รึป่าว” ต้อยภาณุมาศ ถาม เฮียคนที่นั่ง หลังโต๊ะเสมียน ท่าทางจะเป็น จัดการหรือที่เรียกในภาษาวงการว่า “หลงจู๊” ที่นั่น
“มี...โพกลื้อจะมาทำอารายยยยย ” หลงจู๊ ท่าทางใจดี พูดเสียงดัง แต่ฟังม่ายซัก อายุสักห้าสิบปลายๆ เงยหน้าจาก กองสมุดเล่มเก่าๆ ที่เขียนด้วยภาษาจีน ยุ่งๆ ขึ้นมามอง ต้อยภาณุมาศ
"พวกลื้อ เป็งคราย.....”
“พวกเรา เป็น นักศึกษา จะไปสำรวจ หมู่บ้านที่ เชียงใหม่ เพื่อช่วยชาวบ้านพัฒนา ครับ” กรณ์ ตอบทันที โดยไม่ต้องคิดมาก ด้วยท่าทีที่คล่องแคล่ว

"มี ....พอลี เลย แล้ว ลื้อจะไปกัง กี่คง"
" 6 คง ..เอ้ย 6 คน เถ้าแก่" บุญเลิศ ตอบเสียงดังฟังชัด เร็วปรื๋อตามสไตล์ คนที่คล่องตัว
“ นี่โซคลี ซิกหัย พอลี.คืงนี้..มีรกบังทุกสังกะสีที่จาเอาปายซ่ง ที่เซียงไหม่ รกออก ตองสี่ทุ่ม ลื้อปายล่ายรื้อป่าว ต้องนั่งกระบะบังทุกสังกาสีลูกฟูก ถ้าปายล้ายมั่ยกัวตูกพอง ลึ้มาที่นี่ก็แล้วกัง ตองสัมทุ่มครึ่งน่ะ อย่าซ้า ละ รกอั๊วไม่มีกัง ลอ นา อาตี๋ นา กว่าจามีสังกาสีลุกฟุกหยั่งงี้อีก ก็เดืองหน้าโน้น" อาเฮีย เถ้าแก่คุมรถบรรทุกสิบล้อส่งของทั่วทั้งภาคเหนือ พูดด้วยเสียงอันดัง

     ในระหว่างเดินทาง พวกเราจึงได้รู้ว่า ทำไมวันนี้พวกเราถึงโชคดี เพราะ ถ้ารถสิบล้อบรรทุกสินค้าอย่างอื่นทั่วไป ที่ไม่ใช่ สังกระสีลูกฟูกอย่างนี้ อย่างเก่ง ก็นั่งได้ไม่เกิน 2คนต่อคันเพราะ สินค้าที่บรรทุก จะเต็มกระบะ ไม่มีที่ให้นั่ง นอกจาก นั่ง คู่กับคนขับ และเด็กรถคนขับรถมือสอง แล้วนี่ พวกเราล่อตั้ง 6 คนจะต้องหารถกี่คัน แล้ววันนี้ จะมีรถบรรทุกไปเชียงใหม่หรือเปล่า หรือหากมี จะมีกี่คันถึงจะไปได้หมดทั้ง 6 คน
การเดินทางการเดินทางสู่เชียงใหม่ ด้วยรถทุกสังกะสี เต็มด้วยความสนุกสนาน เฮฮากันตลอดทาง เรื่องราว ความคิด แต่ละคน ถูกแลกเปลี่ยน ซึ่งกันและกัน ทำให้ คืนนั้นทั้งคืน เราไม่คิดว่า เราจะง่วง หรืออยากจะนอนกันเลย
เป็นการเดินทางโดยอาศัยปากโดยแท้




....



ที่ดินหมู่บ้าน ชาวบ้านห้ามเข้า

11 กุมภาพันธ์ 2518

*     "พ่อหนาน...ที่ว่าง เชิงเขา ด้านโน้น เห็นมีแต่ไม้ซุง ไม่กี่ท่อนวางระเกะระกะ สุมอยู่ มันเป็นของใคร ไม่เห็นมีพวกเรา ไปทำอะไร .ปล่อยทิ้งว่างไว้เฉยๆ ไม่ทำประโยชน์อะไรกันเลย..พ่อ หนาน ?"
"อ้าย ก๋อน...อ้ายฮู๋ก่อ ? ที่ตังปู๊น มันเป็น ก๋องสจ.ทองสืบ เปิ้น เปิ้นไต้ฮับ สัมปะตาน ฮื๊อ สำฮวด แฮ่..เปิ้น ห้าม บ่อ ฮื้อ จ๋าวป้านเก้าไป๋ ยะ อะหยัง"
"อ้าว แล้ว เปิ้น ก็บ่อ ยะ อั๊นหยั๊ง?"
"ก็ บ่อหัน เปิ๊น ยะ อะหนัง จะได๋"
"แล้วสัมปทานเปิ้นหมดอายุเมื่อได๋?"
"ป่อ บ่ ฮู้ .... ป้วก จาวป้านบ่อมีไผฮู้ จั๊กก๋น"
"งั้นวันโพก...ผมจะไป หาข้อมูลเรื่องอายุสัมปทานที่จังหวัดแล้วกัน"

-วันรุ่งขึ้น-12 กุมภาพันธ์ 2518

     ท่ามกลาง ไอเย็น หมอกเมฆที่ลอยต่ำ หนาทึบ เสียงไก่โต้งที่บุญเลิศและ วิมล อดีตประธานชมรมมวยสากลสมัครเล่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เลี้ยงไว้ แข่งกันขันระงมรอบบ้าน แข่งกับไก่ของหมู่บ้าน โดยไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุกแต่อย่างใด อ้ายก๋อนควบไอ้ควายเฒ่า.มอเตอไซค์ ยี่ห้อฮอนดา 175 ซีซี สองสูบคู่ ถังน้ำมันของ รถบีเอ็มคู่ชีพ ออกจากที่พักดอยน้ำหยาด วิ่งตามทางเดินที่เลาะตามไหล่เขาและสุมทุมพุ่มไม้ ที่ชาวบ้านและพวกเราใช้เป็นประจำ กลายเป็นถนนดินทรายแคบๆพอเพียงสำหรับ การสัญจรไปมาในชีวิตประจำวัน จนลงไหล่เขา ตัดเส้นทางที่ออกจากหมู่บ้านเลียบลำน้ำแม่แตง ณ เบื้องล่าง ออกสู่ถนน สายเชียงดาว เชียงใหม่ ที่บ้านปากทาง ตัวเมืองแม่แตง ผ่านสายหมอกสายน้ำ ที่เย็นฉ่ำ ท้องฟ้าเริ่ม สว่างรำไร สดใส เสียงนก กา ไก่ของชาวบ้านสองข้างทาง ขันรับกับเป็นระยะ ชวนให้สุขสงบ แต่แฝงด้วย พลังแห่งการสร้างนวัตกรรมชีวิตเหมือนเสียงเพลง ”นกสีเหลือง” ของ หงา คาราวาน ลำนำแห่งชีวิตของพวกเราในยุคแห่งการแสวงหา อยากเรียนรู้ อยากลอง อยากทำอะไรบางอย่างที่เป็นการ ฝ่าฟัน ทะลุทะลวง ออกจากโลกที่เป็นอยู่ สู่โลกแห่งจินตนาการ โลกแห่งความฝัน ที่เราอยากให้มันเกิดอยากให้มันเป็น อยากให้มันมี โดยมีพวกเราเป็นผู้ร่วมกันเขียนบท ร่วมกันกำกับ และร่วมกันแสดงกับชาวบ้าน

     ไอ้ ควายเฒ่าพา อ้ายก๋อน ควบตะบึง ฝ่า สายหมอก และอากาศที่เย็นฉ่ำ ณ เบื้องหน้า ดวงอาทิตย์ โผล่พ้นทิวเขา เริ่มทอแสงสีทองผ่องอำไพ พลันให้ นึกถึงบทกวีที่บุญเลิศเขียนไว้ใน บันทึกเล่มแดง บนดอยน้ำหยาด

*
          เมื่อตะวัน ทอแสงร้อนแรงกล้า
     หมู่มหา เมฆทมึน มิฝืนได้
     ต้องรอนหลีก ให้แสงทอง ผ่องอำไพ
     มาลูบไล้ชีวิน แห่งถิ่นธรรม

          เมื่อความรู้ ความสว่าง ได้ส่องโลก
     ก็เป็นโชค มวลมหา ประชาชื่น
     ไล่อธรรม ให้เร้นหลืบ มิคืบคืน
     ได้ชมชื่น ชิวิตผอง ที่ต้องการ

     เมื่อมีความมืดดำ อำมหิต
     ปวงชีวิตก็ระส่ำ ชอกช้ำไหม้
     เมื่อท้องฟ้า อร่าอร่าม งามประไพ
     ผองดวงใจ แห่งประชา ก็มาเยือน

          เมื่ออธรรม นำโลกให้ โศรกไหม้
     ผองคนไทย ก็ชอกช้ำ ศรดกำศรวล
     แต่เมื่อใด สัจจธรรม หอมตลบอบอวล
     มวลประชา ก็จะยืน ขึ้นชื่นชม”


                            บุญเลิศ                      
                         11 กุมภาพันธ์ 2518

* ผ่านอำเภอแม่แตง บ้านมาลัยระยะทางจากหมู่บ้านประมาณ11 กิโลเมตรถึงปากทาง และอีก 42 กิโลเมตรถึงตัวเมืองเชียงใหม่
พลันก็แวะเข้าบ้านพักผู้อำนวยการกองการศึกษาฯ ในสมัยนั้น เยี่ยมเยียนคุณแม่เปรมจิตต์ คุณพ่อวิวัฒน์ และต้อย ภาณุพันธ์

“หวัดดี..พ่อวิวัฒน์ แม่เปรมจิตต์ หวัดดี ต้อย...”
“อ้าว ลูกออกมาทำอะไรที่จังหวัดหรือ?”
“ครับ แม่ ...ผม มาหาข้อมูลเรื่องที่ ดินในหมู่บ้าน เห็นชาวบ้าน เขาบอกว่าเป็นที่สัมปทานสำรวจแร่วุลแฟรมของ สจ.ทองสืบ ไม่เห็นทำอะไรมาหลายปีแล้ว มีแต่ซุงไม่กี่ท่อนวางระเกะระกะ พอชาวบ้านจะเข้าไปทำไร่ ทำนา ก็โดนขู่ว่าจะดำเนินคดี ข้อหาบุกรุก จนชาวบ้านไม่กล้าเข้า .....ไม่ทราบว่า ทรัพยากรจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ตรงไหน..ครับ..”
“ไม่เป็นไร ..ตอนนี้ ลูกกินข้าวก่อน ยังเจ๊าอยู่ ลูกทานข้าวเจ๊ามาหรือยังหละ ? เดี๋ยว แม่ ให้ ต้อย เขาพาไป”

      บ้านหลังนี้ เสมือนเป็นบ้านที่สองของพวกเรา ที่ใช้เป็นที่พัก ขณะเมื่อจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ หรือ ขณะเมื่อ มาจากกรุงเทพฯจะเข้าหมู่บ้าน หรือแม้กระทั่ง ออกมาในตัวเมืองเชียงใหม่ หรือพูดกันง่ายๆ ก็คือ ไปไหนมาไหน ก็ ต้องแวะเวียนมาพัก อาศัย บ้านหลังนี้ เป็นที่พักพิง ทานข้าวปลาอาหาร ไม่ว่า พวกเราจะ มากันกี่คน หรือ กี่สิบคน บ้านหลังนี้ ยิ้มแย้มแจ่มใส ต้อนรับเรา เหมือนหนึ่งเป็นลูกเป็นหลานจริงๆ

     อ้ายก๋อนทานข้าวเหนียว จิ้มน้ำพริกน้ำปู๋กับผักดอง และแกงโฮ๊ะ น้ำตาคลอ ด้วยความซาบซึ้งในน้ำใจเจ้าของบ้านเมื่อคิดถึง ความมีน้ำใจและความเยือกเย็นในจิตใจของเจ้าของบ้านทั้งสามคน

     หลังจากนั้นอ้ายก๋อนก็ขึ้นคร่อมเจ้าควายเฒ่า พร้อมกับต้อย ภาณุพันธ์ซ้อนท้าย แล้วก็สตาร์ท "ไอ้...ควายเฒ่า" ควบมุ่งตรงดิ่งยังที่ทำการทรัพยากรจังหวัดโดยไม่ชักช้า. ไม่ช้านาน ...อ้ายก๋อน มุ่งตรงขึ้นไปบนที่ทำการขอพบท่านทรัพยากรจังหวัดทันที

      เมื่อเจ้าหน้าที่ ทราบ ว่า เป็นนักศึกษา มาพัฒนาที่หมู่บ้านก็ต้อนรับขับสู้ รีบพาเข้าพบท่านทรัพยากรจังหวัด

*“หวัดดี ครับพี่.......”
“หวัดดี น้อง มาพบพี่ด้วย เรื่องอะไร หรือ?”
“ครับพี่...ผมขอรบกวน พี่ช่วยตรวจสอบ ที่ดินสัมปทานเหมืองแร่อะไร เนี๊ยะ ชาวบ้านเขาก็ไม่รู้อะไรมากนัก ที่หมู่บ้านแม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แต่ง ให้ผมหน่อย ซีครับ”
“ได้ ....น้อง รอเดี๋ยว ...”

     ใช้เวลาไม่นาน หลังจากที่ทรัพยากรจังหวัด สั่งการให้เจ้าหน้าที่ค้นอยู่พักหนึ่ง ก็ได้แฟ้มเอกสารที่ต้องการ

“อ๋อ ...น้อง...เห็นมี เรื่องเดียว...นี่แหละ ตรงนี้ เป็น ที่ สัมปทาน สำรวจแร่ วุลแฟลม แต่ปริมาณแร่มีแร่น้อย ไม่คุ้มกับการลงทุน เขาก็เลยหยุดการสำรวจ ไม่ได้ทำอะไร และ เออ...มันหมดอายุ ไปตั้งแต่ ปี 2516 แล้ว....”
“อ้าว.นี่มัน ปี พ.ศ.2518 แล้ว..งี้หมายความว่า อะไร ครับพี่..”

“ก็หมายความว่า ที่บริเวณนี้ เป็นที่ป่า เสื่อมโทรม หมดสภาพการเป็นป่าสงวนแล้ว ..ชาวบ้านสามารถเข้าไปจับจอง ครอบครอง ทำไร่ ทำนา ทำมาหากินได้เลย”

     อ้าย ก๋อน เมื่อได้ ฟัง ท่าน ทรัพยากรธรณีจังหวัด พูดเท่านั้น ก็ ขนลุก ขนพอง ตื่นเต้น ดีใจ แทนชาวบ้านขึ้นมา จนน้ำตาไหล เหมือน สวรรค์ มาโปรด นึกถึงชาวบ้านพลเมืองไทยที่ถูกตราหน้าว่า พวกหมู่บ้านดงโจร มันขี้เกียจ มันเห็นแก่ตัว อยู่กันแบบตัวใครตัวมัน ทันที

ในสมองเรา..คิด “ใคร หว่า ที่เป็นโจร ใครหว่าที่ เห็นแก่ตัว ผม หละ งงงง....???”

"อ้ายก๋อน ..เมื่อพี่ กลับไป ในหมู่บ้าน พี่ ก็ ให้ กรรมการหมู่บ้านสหกรณ์ ฯ เขาประชุม จัดสรรแบ่งที่ดิน ให้ชาวบ้าน ทุกครอบครัวไปเลย” ต้อยให้ข้อคิด

“ดีซิ ดี อ้ายก๋อนตอบสวนทันที ชาวบ้านเขาจะได้เป็นเจ้าของที่ดินตัวจริงของเขาเองซักที .

     รุ่งขึ้น 13 กุมภาพันธ์ 2518 ขณะ เดินสวนกับ พ่อหลวงดวงจันทร์ ที่ ใต้ต้นก้ามปูใหญ่ หน้าบ้าน พ่อน้อยคำมูล
"พ่อหลวงดวงจันทร์"
“ว่าจะได๋ อ้ายก๋อน..”
"พ่อ.หลวง ผมมีข่าวดี มาบอก เรื่องเมื่อวาน ที่ผมเข้าจังหวัดมา"
“ “เอ้า ....โพดม๋า.....พ่อก็อยากฮู้จั๊ดนัก”
"ไปคุย ที่บ้านพ่อน้อยคำมูลดีกว่า เรื่องมันยาว แล้วเชิญพวกกรรมการหมู่บ้านสหกรณ์มา ทุกคนเลย มาคุยหร้อมหน้าพร้อมตากัน จะได้ พูดคุย ปรึกษากันทีเดียวจบ ไม่ต้องพูดหลายเที่ยว เดี๋ยวกลายเป็นคนละทางสองทาง"
"“ ดีดี.......เฮ้ย ไอ้ ตัน มึ๋งไปโตยหาเพิกกรรมการหมู่บ้านมา โตยหาครูทองแท่ง อ้ายวรุฒม์ ครูน้อย ครูตุ่ม อ้ายไตยเทพ มาปึ๊กษาพร้อมกั๋นตุ๊กก๋นเลย มาป๊ะกั๋นตี๊บ้านพ่อน้อยคำ”


     ชั่วอึดใจกรรมการสหกรณ์ มาพร้อมหน้าพร้อมตา กันทุกคน

“พ่อน้อยคำมูล......อ้ายก๋อนมีอะไรอู้มาเวยๆ เพิกพ่อ ใคร่อยากจะฮู้ ...ว่า มา”
“กาลครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว.......ม่ายช่าย.....ผมพูดเล่น” อ้ายก๋อนลีลา ท่ามาก ชวนโดนเตะ ยิ่งทำให้ชาวบ้าน ...หงุดหงิดด้วยความอยากรู้มากยิ่งขึ้น

“คือ อย่างงี้.....ที่ดินที่ฟากโน้น ที่พวกเรา บอกว่า เป็นที่สัมปทานของคุณทองสืบ ห้ามพวกเราเข้าไป ทำอะไร นั้น ปรากฏว่า เป็นที่ที่คุณทองสืบ ขอสัมปทานสำรวจ แร่วุลแฟรม เขามาสำรวจแล้วปรากฏว่าปริมาณมีน้อยเกินไป ไม่คุ้มกับการลงทุน เขาจึงต้องหยุด ทำการสำรวจ และทิ้งไว้เฉยๆ แบบนั้น จนมันหมดอายุสัมปทานไป เมื่อ ปี 16 แล้ว ทีนี้เราก็สามารถ จับจองทำกินกันได้เลย แม่น บ่อ??”

“อ้าว....เป็นจะ อี๋ เปิ้ล จึงบ่อ ยะ อะหยังจะได๋ ......แฮ้วเปิ้ล กั๋น จาวป้าน บ่อฮื้อเข้าไป๋ ยะอะหยังจะได๋” พี่เสริฐ คนขับรถของสหกรณ์หมู่บ้าน เปิดปากพูดบ้างทั้งๆที่ แก ไม่ค่อยได้ คุยกับใครเท่าไร
“ผมปรึกษา...กับต้อย ภาณุพันธุ์ฯ แล้ว อยากจะ ให้ พวกเรา มาจัดสรร แบ่งปันกัน เป็นรายครอบครัว จะดีไหม?” อ้ายก๋อน...ว่า
“ดี...จักนัก.....” เสียงสรรพสำเนียง ทั้งกลุ่ม ว่าเกือบพร้อมกัน โดยมิได้นัดหมาย
"เฮ้ย...แท่ง นายช่วยเป็นประธานปฎิรูปที่ดิน เอ้ย ไม่ใช่ เป็นผู้จัดการจัดสรรที่ดินให้ เป็นรายครอบครัวหน่อยแล้วกัน”


     ปรากฏผลการจัดสรร แบ่งปันที่ดิน สัมปทานที่เคยเป็นที่ต้องห้ามชาวบ้านเข้าไปบุกรุก นั้นได้ถูกแบ่งออกมาได้กับครอบครัวในหมู่บ้าน ครอบครัวละ 25 ไร่เรียบร้อย





....


เกือบ...ถูกอุ้ม..

     เหตุการณ์ เกิด คงเป็น วัน ที่ 13 เมษยน 2518 เวลาประมาณ 6 นาฬิกาเศษๆ อ้ายก๋อนกำลังนั่งอ่านหนังสือที่บ้านพักบนดอยน้ำหยาดอยู่คนเดียวเพราะ พรรคพวกกลับบ้านกันหมด ไอ้คำตัน ได้ขึ้นมาตาม บอกว่า พ่อหลวงดวงจันทร์เชิญไปร่วมวงดื่มเหล้า กับ ป๊วก ตชด. ที่บ้านพ่อหลวงบ้านเหนือหน่อย

“ได้ ไอ้ตัน ไปด้วยกัน...” พลางอ้ายก๋อนลุกขึ้น ขมวดกางเกงขาก๊วย ให้กระชับ หยิบหมวกไหมพรมสีดำคู่กายสวมกันน้ำค้าง เดินตามไอ้ต้นลงจากน้ำหยาดไปยังหมู่บ้านข้างล่าง

      ขณะที่ก้าวขึ้นไป บนเรือนของพ่อหลวง ได้ยินเสียงการสนทนาอย่างสนุกสนาน แต่พออ้ายก๋อนก้าวขึ้นบนเรือนเท่านั้น เสียงนั้นเงียบลงทันที เสียงพ่อหลวงดวงจันทร์ฯ ร้องเรียก เบาๆ

"เอ๊า..เซิญ อ้ายก๋อน..กำลังรออยู่พอดี...เซิญ นั่ง ตัง ปู๊น..."

     พ่อหนาน ซึ่งนั่งคู่กับผู้หมวด ตชด. ขยับออกห่างเว้นช่องว่างให้เขานั่ง ทันที
อ้ายก๋อนจึงค่อยเดินเข้าแทรก ลงนั่งขัดสมาธิระหว่างตรงที่ว่าง นั้น

* "สวัสดี ครับ พี่ๆ ยินดี ด้วยที่ได้รู้จัก"
“เอ๊า เชิญ..ๆๆ..ยินดี ที่ได้รู้จักเช่นกัน....พี่อยากมาเยี่ยม มาคุยตั้งนาน ไม่มีโอกาสเลย เพิ่งมามีโอกาสวันนี้เอง เชิญๆ นั่งตามสบาย พวกพี่ มาตั้งค่าย ซ้อมลาดตระเวน ที่ กลางทุ่งข้างหมู่บ้าน ได้ 2-3 วัน นี่เอง หาเวลามาเยี่ยมชาวบ้านไม่ได้สักที เพิ่งจะมีวันนี้ นี่แหละ”
“มานั่งนานแล้วหรือ” อ้ายก๋อนถาม
“สักพักนี่เอง วันนี้ วันสงกรานต์ เราได้พักสองวัน เลยเตร่มาแถวนี้”
“ครับ พี่..... พี่มีธุระ อะไรกับผม หรือ?”
“ม่าย.....หรอก ...ได้ข่าว ว่า มีนักศึกษามาอยู่กับชาวบ้าน ก็เลยอยากรู้จัก เท่านั้นเอง”
“ครับ....ผมก็ได้ข่าว ว่า มี ตชด.เข้ามาซ้อมรบ กลางทุ่งนา เชิงเขา อยู่เหมือนกัน แต่ผมไม่ค่อยได้อยู่ในหมู่บ้านเพราะ ต้องออกข้างนอกประจำ เลยไม่มีเวลาไปเยี่ยม”
“ขอบใจมากน้อง”
“พี่มีธุระอะไร ที่ให้คนไปตามผมมา “
“อ๋อ ไม่มีอะไรมากนักหรอก อยากรู้จักเท่านั้นเอง และก็อยากรู้ว่า พวกน้องมาทำอะไร ที่นี่ มาในนามสังกัดอะไร หรือ?”
“ครับ..พี่ ผม สมัครใจมากันเอง ที่มาส่วนใหญ่ก็เพิ่งมารู้จักกันที่นี่ เพราะต่างได้ข่าว ความคิดตรงกัน ก็มาช่วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่ เคยทำงานค่ายอาสาพัฒนา ในมหาวิทยาลัยกัน เรียนรู้ในตำรากันมาบ้างแล้ว ก็เลยอยากเข้ามา สัมผัส เรียนรู้ จากชีวิตจริง และก็ใจ ชอบด้วย เพราะ ส่านใหญ่ ช่วยกันทำ.....ใช้เงินส่วนตัวกัน ต่างกับพวกพี่..ที่พวกพี่ เป็นข้าราชกามีเงินเดือน ทำงานตามคำสั่ง มีสังกัด แต่ที่เหมือนกัน ก็คือ เราต่างรักชาติ บ้านเมือง อยากเห็นบ้านเมืองของเรา เจริญ พัฒนา ประชาชนอยู่อย่างมีความสุขเหมือนกัน เพียงแต่วิธีการของพวกผม คือ เข้ามาร่วมอยู่ ร่วม ทุกข์ ร่วมสุข เป็นอันหนึ่งอันเดียว ทำตัวเหมือนลูก เหมือนหลาน เหมือนพี่ เหมือนน้อง กับชาวบ้าน ส่วนพวกพี่ อยู่ ในค่าย อยู่ในสังกัด “

      พูดจบ คู่สนทนา อึ้ง เงียบ ส่วน พ่อหลวง และชาวบ้านเงียบ ตั้งแต่อ้ายก๋อนก้าวขึ้นมาบนบ้านแล้ว ไม่มีใครพูด หรือออกความเห็น แม้สักคนเดียว .
     สักครู่ เสียงหัวหน้าชุด ตชด. ลุกยืนขึ้นพรึ่บ ทำให้ลูกน้องอีก สามคนต่างยืนขึ้นพร้อมกัน จนพ่อหลวง พ่ออิ่น พ่อหนาน และ ชาวบ้านคนอื่นๆ ต่างผงะด้วยความตกใจ

"งั้น พี่ ขอกลับก่อน เย็นมากแล้ว ต้องร่วมประชุมที่ค่าย เวลาสองทุ่ม ต้องขอตัว วันหลังมีโอกาส จะมาเยี่ยมใหม่ ขอบคุณมาก พ่อหลวง และน้องๆ"

      หลังจากที่ ตชด.กลับไปได้สักครู่ พอสิ้นเสียงท๊อปบู๊ท เสียงพ่อหลวงแทรกทำลายความเงียบสงัด ขึ้นมาทันที “ อ้ายก๋อน ..พ่อนึกว่า ลูก เสร็จ มันแน่นอน คืนนี้ เพราะมันเตรียมจะ อุ้มลูก คืนนี้ รู้เปล่า ? "

     คืนนั้นอ้ายก๋อนนอนไม่หลับ ตาค้าง เหงื่อกาฬ ไหลซึมท่ามกลาง อากาศ ที่เย็นยะเยือก กลางหุบเขาบนดอยน้ำหยาด อย่างอ้างว้าง ว้าเหว่ คิดถึง บ้าน ขึ้นมาทันที

      วันรุ่งขึ้นก็ได้ ข่าวว่า ตชด.ที่เข้ามาตั้งค่าย ถอนกำลัง ออกไปจากหมู่บ้านแล้ว



....


การเดินทางอันแสนยาวนานสู่ป่าเมี่ยง ของ สมาชิก คชธ.

วันหนึ่ง ในช่วง ฤดูหนาว( ธันวาคม) ปี 2518

     ช่วงเวลา ปิดภาคการศึกษา นักศึกษาจาก โครงการครูช่วยสอนและห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คชธ.) มักจะเดินทางเข้ามายังบ้านแม่ตะมาน เพื่อเยี่ยมเยียนพวกพี่ๆ ที่อยู่ประจำ เข้ามาพูดคุย แลกเปลี่ยน และถือโอกาส เข้ามาใช้ชีวิต แบบลุยๆ ในแบบฉบับ ชาวค่ายทางความคิด อาจจะกล่าวได้ว่า โครงการหมู่บ้านบ้านสหกรณ์แม่ตะมาน คือ สนามฝึกการใช้ชีวิตแบบค่ายถาวร ของชาว คชธ.และ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆมากมาย

     ขณะนั้น ชาวบ้านป่าเมี่ยง ได้มาขอให้นักศึกษาของโครงการครูช่วยสอน (คชธ.)ที่ได้เข้ามาช่วยสอนหนังสือในหมู่บ้านเมืองกึ๊ด ซึ่งอยู่คนละฟากแม่แตง ฝั่งตรงข้ามบ้านแม่ตะมาน ไปช่วยสำรวจที่บ้านป่าเมี่ยง เพื่อดูสถานที่ที่จะให้ นักศึกษาจาก คชธ. ช่วยสร้างโรงเรียนสอนหนังสือเด็กในหมู่บ้าน จึงได้ออกเดินทาง จากบ้านแม่ตะมานเนื่องจากรถที่จะสามารถเดินทางไปยังป่าเมี่ยง จะต้องผ่านบ้านแม่ตะมานเท่านั้นจึงจะเดินทางไปยังป่าเมี่ยงได้

     ขาไปตั้งแต่เช้าตรู่ นักศึกษากลุ่ม คชธ.นี้จึงได้อาศัยรถบรรทุกโดยสารของลุงตั้งที่รับผู้โดยสารจากที่ว่าการอำเภอแม่แตง เข้าหมู่บ้านแม่ตะมาน ผ่านห้วย หนอง เนินเขา ขึ้นลง ขรุขระ ทุรกันดาร นั่งรถ โยกไปโยกมา จนหัวสั่นหัวคลอน เหมือนขี่เกวียนเทียมควายก็ไม่ปาน ไปจนถึงสุดเส้นทางเดินรถ ต้องย่ำเดินทางด้วยเท้าต่อไปอีก 12 กิโลแม้ว ขึ้นดอยสูงชัน ผ่านป่าเมี่ยงที่ชาวบ้านปลูกเป็นระยะๆ

     ระหว่างการเดินทางผ่านหมู่บ้านแม้ว เจอ หมาแม้ว ขนปุย น่ารัก สีน้ำตาล ยังจำติดตา จนถึงป่าเมี่ยง ที่นั่นมีคนพื้นราบไปตั้งรกราก ทำป่าเมี่ยง แต่เด็กๆ ของพวกเขาไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาใดๆ คืนนั้น อากาศหนาวเย็น ยะเยือกจับใจมากๆๆๆๆๆ จนเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น จึงได้กลับตั้งแต่ตอน ตีห้า เดินทางด้วยสองเท้าอันบอบบาง

*


ภาพที่ประทับใจ คือ ขาลงดอย เมฆ ครับ..เมฆ อยู่ ใต้เท้าเรา เป็นภาพที่สวยงามมิรู้ลืม ภาพ ที่ถ่ายๆ กันมา สมัยหลังจากเชียงดาว ขอบอก สู้ภาพนี้ไม่ได้แน่นอน เพราะ ป่ายังเขียวขจี เราเดินลงหุบเขา ลุยผ่านเมฆลงมา ประทับใจไม่รู้ลืม ถึงแม่ตะมานสองทุ่ม ไม่รู้เหมือนกันว่าเดินได้อย่างไร รวดเดียว 15 ชั่วโมง เป็น 15 ชั่วโมง แห่งความประทับใจ ที่ทำให้พวกเราลืมไปว่า เรายังอยู่บนผืนพิภพ ที่มีสังคมที่สับสน วุ่นวาย เบื้องล่าง ที่เราจะต้องกลับไป เผชิญกับมัน เมื่อต้องกลับออกไปจากหมู่บ้าน

จาก บันทึก โดย: ความงามของธรรมชาติที่มิรู้ลืม IP: 124.121.64.232 วันที่: 30 มีนาคม 2551 เวลา:17:46:10 น.






     ทุกลมหายใจ ทุกย่างก้าวจากสองเท้าที่บอบบาง ทุกหยาดเหงื่อที่หลั่งไหลลงสู่ดินดอย ทุกนาทีที่ผ่านมา มันกอร์ปด้วย ชีวิต จิตวิญญาณ อันพิสุทธิ์สดใส ไร้มายาการปรุงแต่ง มันช่างเป็นฉากแห่งเสี้ยวชีวิตที่ครั้งหนึ่ง พวกเราได้เคยผ่านมันมา ด้วยความหวังด้วยจินตนาการที่บรรเจิด
และมันคงไม่อาจหวลกลับคืนมาได้อีกแล้ว และก็ไม่อาจหวลกลับคืนมาได้
     แม้มันจะไม่ได้ถูกบันทึกด้วยแผ่นฟิล์มจากกล้อง แต่มันก็ยังคงหลงเหลืออยู่ในความทรงจำที่บรรเจิด ที่ถูกบันทึกลงบนแผ่นฟิล์มในดวงใจของเรา ที่ไม่มีวันจืดจางลงด้วย กลิ่นควันไฟ และ หมอก(smokey)จากปล่องควันไฟ ท่อไอเสียรถยนต์ จากความร้อนจากการระบายของแอร์คอนดิชั่น แห่งความสุขสันต์ จากความเจริญรุ่งเรืองแห่งเมืองอารยะ?








กาลครั้งหนึ่งในแม่ตะมาน ตอน ๒



Back to TOP


หน้าหลัก "สนามหลวง"







Create Date : 24 มกราคม 2551
Last Update : 30 ธันวาคม 2560 23:00:45 น. 25 comments
Counter : 4741 Pageviews.

 
มีเรื่องแบบนี้ด้วยหรือ


โดย: สหมิว (Be a good guy ) วันที่: 24 มกราคม 2551 เวลา:1:44:29 น.  

 
ว่าง ๆ จะค้นบันทึกประจำวันที่จารไว้ส่งมาให้ดู อิอิ


โดย: บุญเลิศ IP: 58.9.163.169 วันที่: 25 มกราคม 2551 เวลา:13:41:54 น.  

 
ยังจำได้..จากแม่ตะมาน...ถึง สบก๋าย ฯลฯ เส้นทางสายเดียวกัน เมื่อประมาณ 30 ปีกว่ามาแล้ว ที่กลุ่มพวกเราได้เข้าไปพัฒนาตามรอยพวกพี่ๆยามสอบเสร็จ...... ยังอยู่ในความทรงจำเสมอ...


โดย: คชธ. IP: 124.157.198.138 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:08:28 น.  

 
แวะมาติดตามย้อนรอยอดีต งานค่ายที่มุ่ง"พัฒนาคน"มากกว่าวัตถุ นวัตกรรมใหม่ในสมัยโน้นของชาว คชธ.เสียดายที่ภาพถ่ายกระจัดกระจายไปหมดแล้ว...แต่ทุกเหตุการณ์ยังแจ่มชัดในความทรงจำ


โดย: คชธ.2517 IP: 222.123.63.54 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:47:46 น.  

 
เป็นไงกรณ์บันทึกผม อ่านลายมืออกหรือเปล่า


โดย: บุญเลิศ IP: 58.9.160.127 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:00:47 น.  

 
กำลังอ่าน และ พยายาม re-write apply อยู่ อาจมีการตัดบทรำพัน เชิงโรมานซ์ ออก


โดย: Timak@msn.com IP: 58.9.112.76 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:46:37 น.  

 
ทะมายตัวอักษรมานเลกจางอะ เนื่อหาน่าสนจายดีอะแต่ทะมายมานแบบว่าอืมพูดเอ้ย! เขียนม่าออกอะ แบบว่าเนื้อหากะสีพื้นหลังมานดูลึกลับอะมานเลยแบบว่าหาความหมายมะด้ายอะ


โดย: เอน IP: 58.9.112.76 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:51:48 น.  

 
ได้ความรู้เยอะเลยอะ


โดย: พีน IP: 58.9.108.59 วันที่: 5 มีนาคม 2551 เวลา:18:45:15 น.  

 


โดย: p IP: 58.9.108.159 วันที่: 6 มีนาคม 2551 เวลา:0:29:47 น.  

 
การเดินทางอันแสนยาวนาน
วันหนึ่ง ในช่วง ฤดูหนาว ปี 2518 มีชาวบ้านป่าเมี่ยงแม่ตะมาน ขอให้ไปเปิดโรงเรียน สอนหนังสือ เราจึงไปเดินสำรวจ เส้นทาง ขาไป อาศัย รถ ลุงตั้งไปจนสุดเส้นทางเดินรถ และ เดินเท้าอีก 12 กม. ระหว่างทาง เจอ หมาแม้ว ขนปุ้ย น่ารัก สีน้ำตาล ยังจำติดตา จนถึงป่าเมี่ยง ที่นั่นมีคนพื้นราบไปตั้งรกราก ทำป่าเมี่ยงแต่เด็กๆ ของพวกเขาไม่มีโอกาสได้รับ การศึกษาใดๆ คืนนั้น จำได้ว่า หนาวจับใจมากๆๆๆๆๆ เช้าวันรุ่งขึ้น ออกจากที่นั่น ตีห้า กลับถึงแม่ตะมาน สองทุ่ม เดิน ครับ เดิน ล้วนๆ ภาพที่ประทับใจ คือ ขาลงดอย เมฆ ครับ เมฆ อยู่ ใต้เท้า เรา เป็นภาพที่สวยงามมิรู้ลืม ภาพ ที่ ถ่ายๆ กันมา สมัยหลัง จากเชียงดาว ขอ บอก สู้ภาพนี้ไม่ได้แน่นอน เพราะ ป่า ยังเขียวขจี เราเดินลงหุบ เขา ลุยผ่าน เมฆ ลงมา ประทับใจไม่รู้ลืม ไม่รู้เหมือนกันว่าเดินได้อย่างไร รวดเดียว 15 ชั่วโมง


โดย: ความงามของธรรมชาติที่มิรู้ลืม IP: 124.121.64.232 วันที่: 30 มีนาคม 2551 เวลา:17:46:10 น.  

 
ทุก ลมหายใจ ทุกย่างเก้าจากสองเท้าที่บอบบาง ทุกหยาดเหงื่อที่หลั่งไหลลงสู่ดินดอย ทุกนาที ที่ผ่านมา มันกอร์ปด้วย ชีวิต จิตวิญญาณ อันพิสุทธิ์สดใส ไร้มายาการปรุงแต่ง มันช่างเป็น ฉากแห่งเสี้ยวชีวิตที่ครั้งหนึ่ง พวกเรา ได้เคยผ่านมันมา ด้วยความหวังด้วยจินตนาการที่บรรเจิด
และ มันคงไม่อาจหวลกลับคืนมาได้อีกแล้ว และก็ ไม่อาจหวลกลับคืนมาได้
แม้มันจะไม่ได้ถูก บันทึก ด้วยแผ่นฟีล์มจากกล้อง แต่มันก็ยังคง หลงเหลืออยุ่ในความทรงจำที่บรรเจิด ที่ถูกบันทึก ลงบนแผ่นฟีล์มในดวงใจของเรา ที่ไม่มีวัน จืด จางลง ด้วย กลิ่นควันไฟ และ หมอก(smooky)จาก ปล่องควันไฟ ท่อไอเสียรถยนต์ จากความร้อนจาก การระบายของแอร์คอนดิชั่น แห่งความสุขสรรค์ จากความเจริญรุ่งเรือง แห่งเมืองอารยะ?
เราจะขอเก็บรักษาภาพแห่งความสวยงาม และบรรเจิด มีชีวิตจิตวิญญาณ ในวันนั้น ลง ใน “กาลครั้งหนึ่งในแม่ตะมาน”
ด้วยจิตตคารวะ


โดย: kunkorn@msn.com IP: 58.9.113.20 วันที่: 30 มีนาคม 2551 เวลา:18:35:16 น.  

 
อนุสนธิจาก (ความงามของธรรมชาติที่มิรู้ลืม)
IP: 124.121.64.232
ขอทราบ ว่าในครานั้น มีท่านใด ที่ เดินทางร่วม และ ได้ไปพบ ใคร ได้ความว่าอย่างไร
ขณะพักที่ หมู่บ้านแม่ตะมาน ได้พักที่ใด มีรายลัเอียดใดอยากเพิ่มเติมอีกบ้าง
เพื่อจัก ได้จารึก ไว้ให้ รุ่นน้องๆ ได้รู้และศึกษาบทบาทของนักศึกษา สมัยนั้น เพื่อพิจารณาบทบาทของนักศึกษา สมัยนี้


โดย: kunkorn@msn.com IP: 58.9.113.20 วันที่: 30 มีนาคม 2551 เวลา:20:11:24 น.  

 
วันนี้ ไปพบว่า ที่ รร.แม่ตะมาน มีการจัดตั้ง
ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ร.ร.บ้านแม่ตะมาน ซึ่งทาง ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินทร ได้มารวบรวมไว้ แต่มีแค่ คำอธิบายพื้นฐาน ยังขาด รูปถ่าย วิดีโอคลิป ถ้ามีโอกาสไป น่าจะไปรวบรวมข้อมูลมาให้ทาง ศูนย์ นี้ ขึ้น เวป ก็จะดีมาก และ น่าจะไปทำให้เป็นระบบ เพิ่มขึ้น เช่น มี การบันทึก ความเชื่อ ของ คนในแม่ตะมาน รวมทั้ง พิธีกรรม ต่างๆ ที่เคย ทำกันมา ให้ได้ รับรู้กัน ก่อนที่จะ กลืนหายไปกับ กาลเวลา และทำให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่า
//www4.sac.or.th/museumdatabase/detail_museum.php?get_id=29-070


โดย: อดีตกรรมการสหกรณ์แม่ตะมาน IP: 124.121.214.101 วันที่: 27 เมษายน 2551 เวลา:19:05:47 น.  

 
กำลังรวบรวม เรียบเรียง ข้อมูลที่เพื่อนๆ ส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเรื่องราว จากการที่พวกเรา ประชุมแลกเปลี่ยน ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดิน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม ท่ผ่านมา
เพื่อต่อเติมภาพ จิ๊กซอ ที่ลางเลือน ให้ มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื่องจากภาพนี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับพัฒนาการ กิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย ก่อน 14 ตุลา 16 จึงอาจแบ่งและแยก Blog ออกเป็น สองภาพ


โดย: kunkorn@msn.com IP: 58.9.109.134 วันที่: 29 เมษายน 2551 เวลา:22:45:45 น.  

 
ถึงอาจารย์ 14 ตุลา 2516 ทุกท่านพี่น้องชาวแม่ตะมานทุกคนคิดถึงและยังคิดถึงความหลังที่ทุกท่านได้เข้ามาให้ความรู้และสร้างความเจริญให้กับพี่น้องชาวบ้านแม่ตะมาน ตอนนี้ลูกศิษย์ของอาจารย์หลาคนก็ประสบผลสำเร็จในหน้าที่การงานและครอบครัว แตะมาน ณ วันนี้เปลี่ยนไปมากมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายสร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชน ความสำเร็จของแม่ตะมานในวันนี้ส่วนหนึ่งก็เกิดจาก อาจารย์ 14 ตุลาคม 2516 ทุกท่าน


โดย: banchengthai@hotmail.com IP: 118.172.37.76 วันที่: 14 สิงหาคม 2551 เวลา:10:14:15 น.  

 
35 ปี แห่งการรอคอย
จากวารสารคณะบัญชี Vol.12 Issue 43
"จากห้องเรียนสู่ท้องนา จับมือร่วมสร้างปัญญา"

(ช่วยเอา Link รูปภาพตามที่แจ้งใน MSN มาต่อตรงนี้ค้วยครับ)


โดย: รหัส 142028 IP: 124.121.61.159 วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:8:28:57 น.  

 
รบกวนคุณ "รหัส 142028" แจ้งข้อมูลอย่างละเอียด และขอเบอร์ติดต่อเพื่อคุยรายละเอียดด้วยค่ะ.


โดย: jenifaae วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:13:43:39 น.  

 
รายละเอียดวิชาที่ผม คาดว่าเป็นที่มาของ โครงการ "จากห้องเรียนสู่ท้องนา จับมือร่วมสร้างปัญญา" ซึ่งเป็นวิชาบังคับ
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บณ.323 โครงการรณรงค์ทางบัญชีเพื่อสังคม และประเทศชาติ 3 หน่วยกิต
AI 323 Accounting-for-Society Campaign
วิชาบังคับก่อน: สอบได้ กธ. 301 ธุรกิจกับสังคม และชุมชน
ศึกษาและพัฒนาการนำแนวคิดทางบัญชีและธุรกิจมาใช้เพื่อส่งเสริมให้องค์กรต่าง ๆ เห็นความสำคัญของการมี
ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเน้นการแก้ไขปัญหาของสังคม และประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรมในลักษณะของโครงการรณรงค์
ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม โดยมีเป้าหมายในการกระตุ้นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ธุรกิจ ชุมชน และหน่วยงาน
ของรัฐ ในการดำเนินการสร้างแนวปฏิบัติที่พึงประสงค์ในสังคม หรือการปรับเปลี่ยนและลดเลิกแนวปฏิบัติที่ไม่พึงประสงค์ใน
สังคม ทั้งนี้ โดยกลุ่มเป้าหมายของการรณรงค์อาจเป็นได้ทั้งผู้บริโภค และองค์กรต่างๆทั้งในภาครัฐ และเอกชน
(บรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)


โดย: รหัส 142028 IP: 124.121.60.188 วันที่: 4 มิถุนายน 2552 เวลา:8:06:58 น.  

 
น่าสนใจค่ะ และนี่ก็คือความทรงจำที่ดีกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้คนไทยส่วนมากไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนทราบเรื่องราว ไม่ทราบว่าหมู่บ้านนี้มีความเจริญไปถึงไหนแล้ว


โดย: Mellitus วันที่: 26 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:30:09 น.  

 
เดี๋ยวนี้การคมนาคมสะดวก ทำให้เดินทางเข้าออกไดรวดเร็วมาก เนื่องจากยังมีความเป็นธรรมชาติอยู่ค่อนข้างมาก กอร์กับ มีกลายแกครองตนเองในรูป อบต.โดยคนในหมู่บ้านเอง จึงทำให้ เปลี่ยนแปงกลายเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการล่องแพ ขี่ช้าง ของทั้งชาวต่างประเทศและคนไทย
ว่างๆ ลองไปเที่ยวชม ได้ทุกฤดูกาล ดูรายละเอียดได้ที่นี่.
//www.thaielephanthome.com/index.php
//www.tambol.com/xyz/intro1.asp


โดย: kun (jenifaae ) วันที่: 19 สิงหาคม 2552 เวลา:12:34:53 น.  

 
ใครทราบข่าวนี้บ้าง ยืนยันด้วยครับ
เรื่อง ของ นพ.อานนท์ แมนมนตรี


//www.med.cmu.ac.th/ethics/forum/index.php?topic=102.0


โดย: เพื่อนร่วมทาง IP: 125.24.72.179 วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:11:30:07 น.  

 

อาจารย์หมออานนท์ แมนมนตรี
« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2009, 09:14:05 am »
ขออนุญาตแจ้งข่าวค่ะ
...อาจารย์หมออานนท์ แมนมนตรี ...
อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ สวนดอก ...
อดีตรองคณบดีที่กำกับดูแลงานแพทยศาสตรศึกษา...
ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อ วันที่ 28 กรกฎาคม 2552


โดย: kun IP: 58.9.114.220 วันที่: 15 มิถุนายน 2553 เวลา:17:10:54 น.  

 
รำลึก ถึง วัน ริมฝั่ง ลำธาร แม่ตะมาน
อานนท์ พา เพื่อน หมอ เชียงใหม่ มา เยี่ยมเยือน
ยืน สนทนา กัน ริม ฝั่ง ลำธาร
มอง ขุนเขา และ สายน้ำ
พูดคุยกัน เรื่องจะช่วย ชาวบ้าน อย่างไร ถ้าเจ็บป่วย
เวลา ไป รพ.สวนดอก จะไปติดต่อใคร
ค่า เหมา รถ ไป รพ.สวนดอก แพงมาก จึง เป็นที่มาของ รถแดง คัน น้อย


โดย: เพื่อนร่วมทาง IP: 180.180.3.67 วันที่: 16 มิถุนายน 2553 เวลา:15:52:39 น.  

 
โครงการของ สกว. เกี่ยวกับ

การบูรณาการระบบภูมิสารสนเทศและตารางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการจัดการทรัพยากรที่ดินแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลกึ๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

อ่านต่อที่
//www.vijai.org/research/project_content.asp?projID=RDG52N0008


โดย: เพื่อนร่วมทาง IP: 125.24.3.126 วันที่: 22 มิถุนายน 2553 เวลา:7:29:12 น.  

 
zhiurgyn
[url=//www.jeuxselect.fr/14-couronne-timbre-briquets-zippo]briquet tempete zippo[/url]


โดย: briquet tempete zippo IP: 192.99.14.36 วันที่: 2 มีนาคม 2557 เวลา:15:33:11 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.