การศึกษา,แคลคูลัส,ข้อสอบทั่วไป,อย่างเก่งภาษาอังกฤษ,การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น,เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์,แวดวงอินเทอร์เน็ต เรื่องน่ารู้,วิทยาศาสตร์น่ารู้,ประวัติศาสตร์น่ารู้,การใช้ชีวิตให้มีความสุข ,ความรัก คืออะไร?,เรื่องขำขำ,เกร็ดความรู้,การถ่ายภาพ,สิ่งแวดล้อม, คุณธรรมจริยธรรม,มาคุยกันเรื่องธรรมะ,จิตวิทยา,นิยาย เรื่องสั้น,เรื่องลี้ลับ,เทคนิคการเล่นกีฬา,สุขภาพ,อาการของโรคภัยไข้เจ็บ,ข่าวสารกีฬา,Sex สุขภาพ,สมุนไพรเพื่อสุขภาพ,ผู้หญิง ความงาม,การลดความอ้วน,ครอบครัว แม่และเด็ก,บ้านและสวน,การใช้รถรักษารถ,เคล็ดลับการใช้โทรศัพท์,อาหารของญี่ปุ่น,ขนมและอารหาร,รวมสูตรการทำแยมผลไม้,สูตรการทำแซนวิชที่อร่อย,เคล็ดลับการทำสลัด,เคล็ดลับในครัว,ผลไม้,ผัก แปรรูป,โภชนาการ,นานาสาระ,อภิสิทธิ์แสงแพง
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
16 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
เมตาโบลิกซินโดรม(โรคอ้วนลงพุง) ต้นเหตุของโรคร้ายทำลายสุขภาพ(Metabolic Syndrome)



เมตาโบลิกซินโดรมหรือซินโดรมเอ็กซ์(Metabolic Syndrome) หรือโรคอ้วนลงพุง เป็นอาการของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับกระบวนการเผาผลาญอาหารภายในร่างกายนั่นเอง เป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง โรคความจำเสื่อม ฯลฯ

เกณฑ์การตัดสินว่าคุณเป็นโรคอ้วนลงพุงหรือไม่คือ เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน(ผู้ชายมากกว่า 90 เซนติเมตร ผู้หญิงมากกว่า 80 เซนติเมตร) ความดันโลหิตมีค่ามากกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท มีไขมันดี(HDL คอลเรสเตอรอล) น้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้ชาย และ น้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้หญิง มีไขมันไตรกลีเซอไรด์ตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้นคือ ตั้งแต่ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป

เมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome)อาจเรียกอีกอย่างว่า อาการดื้อต่ออินซูลิน ฮอร์โมนอินซูลินคือตัวที่นำน้ำตาลในเลือดที่ได้จากการย่อยอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน ถ้าร่างกายดื้อต่ออินซูลินจะทำให้น้ำตาลในเลือดไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสะสมและสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้การดื้อต่ออินซูลินยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและเส้นเลือดในสมองตีบอีกด้วย แม้ว่าคน ๆ นั้นจะไม่เคยเป็นเบาหวานมาก่อนก็ตาม

การป้องกันและรักษาเมตาโบลิกซินโดรม(metabolic syndrome)หรือโรคอ้วนลงพุง ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะช่วยป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัวและช่วยให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรออกกำลังกายให้ได้วันละ 30 นาที โดยการเดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือเต้นแอโรบิค การควบคุมคุณภาพและปริมาณของคาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันและรักษาโรคอ้วนลงพุง พลังงานประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์จากคาร์โบไฮเดรตควรมาจากธัญพืชไม่ขัดสี ผักและผลไม้ พลังงานอีก 40 เปอร์เซนต์ควรได้จากไขมันดีจากปลาและพืชเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันปลา พลังงานที่เหลืออีก 10 -20 เปอร์เซ็นต์ ควรมาจากโปรตีนไขมันต่ำ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน

เมตาโบลิกซินโดรม(metabolic syndrome)หรือโรคอ้วนลงพุง เป็นกลุ่มอาการที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายเช่นโรคเบาหวาน มะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ก็สามารถแก้ไขหรือป้องกันได้ด้วยการควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต ออกกำลังกาย อย่าปล่อยให้เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้.


Create Date : 16 ตุลาคม 2554
Last Update : 16 ตุลาคม 2554 18:39:28 น. 0 comments
Counter : 942 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

apisit.az
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








Friends' blogs
[Add apisit.az's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.