space
space
space
 
สิงหาคม 2562
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
28 สิงหาคม 2562
space
space
space

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ใครถูก ใครแพง ที่นี่มีคำตอบ!

ค่าโดยสารรถไฟฟ้า หลายคนบ่นว่าตอนนี้ราคาสูงเหลือเกิน
งานนี้ต้องขอเจาะลึก "โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร" กันหน่อยละ
ว่าทั้ง BTS - MRT - ARL มีสูตรคำนวณยังไงบ้าง
แนวคิดอัตราค่าโดยสารแบบเหมาจ่ายราคาเดียว จะเกิดขึ้นจริงได้มั้ย?


ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า "ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในเมืองไทย แพงติดอันดับโลก" เลยนะ แต่ทุกคนก็ยังต้องใช้ทุกวัน นั่งไป-กลับเวลาทำงาน เพราะบนท้องถนนก็รถติดซะเหลือเกิน สำหรับรถไฟฟ้าที่มีการเดินรถในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้วจำนวน 4 เส้นทาง คือ BTS สายสีเขียว, MRT สายสีน้ำเงิน, MRT สายสีม่วง และ ARL รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แต่อนาคตอันใกล้จะมีเส้นทางรถไฟฟ้าเกิดขึ้นอีกเพียบ ไม่ว่าเป็นสายสีแดง, สีชมพู, สีส้ม หรือสีเหลือง ซึ่งแต่ละเส้นทางก็มีผู้ให้บริการที่แตกต่างกันไป และยังไม่ได้มีการเชื่อมโยงกันในเรื่องบัตรโดยสาร ค่าโดยสารก็เลยยังไม่ได้ทำให้เป็นระบบเดียวกัน คราวนี้ พี่ Promotion เลยนำข้อมูลค่าโดยสารของแต่ละเจ้า เค้าคำนวณมาจากอะไรกันบ้าง?

Fare

สำหรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าในประเทศไทย จากข้อมูลที่ พี่ โปรโมชั่น ได้มาจะ คิดตามจำนวนสถานี ไม่ได้คิดตามระยะทาง ซึ่งจากตารางแสดงโครงสร้างค่าโดยสารจะพบความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย

  • รถไฟฟ้า BTS จะเสียค่าโดยสารสูงสุดที่ 44 บาท เมื่อเดินทางจำนวน 8 สถานีขึ้นไป และถ้าหากเดินทางไปยังส่วนต่อขยาย จะเสียเงินเพิ่มอีก 15 บาทด้วย
  • รถไฟฟ้า MRT ทั้งสายสีน้ำเงิน และสีม่วง จะเสียค่าโดยสารสูงสุดที่ 42 บาท เมื่อเดินทางจำนวน 11-12 สถานีเป็นต้นไป
  • มองไปที่อัตราค่าโดยสาร ราคา 23 บาทเท่ากัน > BTS เดินทางได้เพียง 2 สถานี, MRT สายสีม่วง เดินทางได้ 3 สถานี และ MRT สายสีน้ำเงิน เดินทางได้ถึง 4 สถานี
  • นั่งรถไฟฟ้าสถานีเดียว > MRT สายสีม่วง คิดค่าโดยสารสูงสุดที่ 17 บาท
  • นั่งรถไฟฟ้าไกลๆ > รถไฟฟ้า ARL แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ คิดค่าโดยสารสูงสุดที่ 45 บาท

ตอนนี้ประชาชนทุกคนสามารถนั่งรถไฟฟ้า ฟรี! สำหรับช่วงส่วนต่อขยาย ถึง 3 เส้นทาง ซึ่งมีรายละเอียดตามนี้เลยจ้าาาา~

Trial

  • BTS ช่วงแบริ่ง-เคหะฯ : เปิดให้ทดลองนั่งฟรี มาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 61 จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้คิดค่าโดยสารนะ ต้องรอประกาศอีกครั้งว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสารเมื่อไหร่
  • BTS ช่วงหมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว : สามารถนั่งฟรีได้ตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 62 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป คาดว่าจะเก็บค่าโดยสารได้ เมื่อเปิดส่วนต่อขยายถึงสถานีคูคตแล้ว
  • MRT ช่วงวัดมังกรฯ-บางหว้า (ข้อมูล ณ วันที่ 24 ส.ค. 62) แต่จะมีการทดลองวิ่งจากสถานีหัวลำโพง-หลักสอง จนถึงวันที่ 28 ก.ย. 62

รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อน และสีเขียวเข้ม

BTS Skytrain

โครงสร้างราคาของรถไฟฟ้า BTS ค่อนข้างมีความซับซ้อนกว่าเส้นทางอื่นๆ เนื่องจากเส้นทางเดินรถที่ยาวมากกว่า 50 กิโลเมตร และแต่ละช่วงก็มีสัมปทานที่แตกต่างกันไป

  • เส้นทางช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และ สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน : เป็นระบบสัมปทานเดิม เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายปี 2542 จนถึงปี 2573
  • ส่วนต่อขยายช่วง อ่อนนุช-แบริ่ง และ สะพานตากสิน-บางหว้า : ทาง กทม. เป็นผู้ดำเนินก่อสร้างโครงการ และจ้างให้ BTS เดินรถ
  • ส่วนต่อขยายช่วง แบริ่ง-เคหะฯ และ หมอชิต-คูคต : ทาง รฟม. เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการ และ กทม. รับโอนโครงการดังกล่าว และจ้างให้ BTS เดินรถ

ขณะนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยกันระหว่างหน่วยงานของ กทม. และ BTS ในเรื่องการเดินรถส่วนต่อขยาย อัตราค่าโดยสารสูงสุด และสัมปทานการเดินรถที่จะมีการขยายเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปออกมา ต้องมาลุ้นกันว่า BTS จะได้เดินรถสายสีเขียวทั้งเส้นทาง คูคต-เคหะฯ และสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า หรือไม่อย่างไร

อัตราค่าโดยสาร : เริ่มต้น 16-44 บาท (สำหรับเส้นทางสัมปทานเดิม) และ 15 บาทตลอดสาย (สำหรับเส้นทางส่วนต่อขยาย) ทำให้อัตราค่าโดยสารตลอดเส้นทาง จะเท่ากับ 16-59 บาท

โปร แบบเรา ถ้าเดินทางบ่อย ซื้อแบบเที่ยวคุ้มกว่า!

ถ้าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS เป็นประจำ จะซื้อตั๋วแบบเที่ยวเดียว จ่ายราคาเต็มก็ไม่ได้แล้วล่ะ เพราะเค้ามีโปรโมชั่นแบบเที่ยวโดยสาร ไม่ว่าจะนั่งไกลแค่ไหนก็จ่ายเท่าเดิม ใช้สำหรับเดินทางในช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่เท่านั้น (ไม่รวมช่วงส่วนต่อขยาย) สามารถใช้งานได้ 30 วัน มีให้เลือกถึง 4 แบบ 

  • จำนวน 15 เที่ยว ราคา 465 บาท (เฉลี่ยเที่ยวละ 31 บาท)
  • จำนวน 25 เที่ยว ราคา 725 บาท (เฉลี่ยเที่ยวละ 29 บาท)
  • จำนวน 40 เที่ยว ราคา 1,080 บาท (เฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท)
  • จำนวน 50 เที่ยว ราคา 1,300 บาท (เฉลี่ยเที่ยวละ 26 บาท)

หมายเหตุ : กรณีที่เดินทางข้ามไปยังสถานีในช่วงส่วนต่อขยาย จะถูกหัก 1 เที่ยวเดินทาง + หักเงิน 15 บาท


รถไฟฟ้า MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน)

MRT Blue Line

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บริหารงานการเดินรถโดย BEM หรือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีเส้นทางให้บริการในปัจจุบัน ระหว่างสถานีเตาปูน-หัวลำโพง และเตรียมเปิดให้บริการส่วนต่อขยาย จำนวน 2 ช่วง คือ หัวลำโพง-หลักสอง ช่วงเดือน ก.ย. 62 (ปัจจุบันอยู่ระหว่างทดลองให้บริการฟรี) และบางซื่อ-ท่าพระ ช่วงเดือน มี.ค. 63 ซึ่งหลังจากเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้วอัตราค่าโดยสารจะยังเท่าเดิมอยู่ เพราะถือเป็นเส้นทางเดิม แต่มีการขยายเส้นทางออกไป และสัมปทานการเดินรถได้ขยายระยะเวลาจากเดิมไปจนถึงปี 2593 เพื่อให้การเดินรถมีความต่อเนื่องจากผู้ให้บริการรายเดิม

อัตราค่าโดยสาร : เริ่มต้น 16-42 บาท (เดินทางในเส้นทางสีน้ำเงิน) และสูงสุด 70 บาท (เดินทางข้ามไปยังสายสีม่วง)


รถไฟฟ้า MRT สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)

MRT Purple Line

(ภาพจาก Shutterstock)

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือรถไฟฟ้าสายสีม่วง เป็นรถไฟฟ้าสายใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการมาได้เพียง 3 ปี เส้นทางให้บริการระหว่างสถานีเตาปูน-คลองบางไผ่ และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีเตาปูน โดยไม่ต้องออกจากระบบ สามารถใช้บัตรโดยสารร่วมกันได้เลย เมื่อโดยสารข้ามระหว่างสีน้ำเงิน และสีม่วง จะได้รับส่วนลดค่าแรกเข้า จำนวน 14 บาท จึงทำให้เมื่อผู้โดยสารเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้า MRT ทั้งสองเส้นทาง จะมีอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 70 บาท (42+42-14 = 70)

อัตราค่าโดยสาร : เริ่มต้น 14-42 บาท (เดินทางในเส้นทางสีม่วง) และสูงสุด 70 บาท (เดินทางข้ามไปยังสายสีน้ำเงิน)


รถไฟฟ้า AIRPORT RAIL LINK

Airport Rail Link

(ภาพจาก Shutterstock)

สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะมีเส้นทางให้บริการจากสถานีพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ เชื่อมต่อผู้โดยสารในเมืองไปยังสนามบิน มีทั้งหมด 7 สถานี โดยคิดค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท จะคิดเพิ่มสถานีละ 5 บาท ถ้านั่งตลอดเส้นทางก็เสียทั้งหมด 45 บาท ถือว่าการกำหนดค่าโดยสารไม่วุ่นวาย แต่เมื่อเทียบกับราคาสูงสุด

อัตราค่าโดยสาร : เริ่มต้น 15-45 บาท


แนวคิดค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย ทำได้จริงมั้ย?

สิ่งแรกที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก ก็คือ "บัตรโดยสารร่วม" เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การเกิดเชื่อมโยงกันของการเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ทางภาครัฐได้เปิดตัว 'บัตรแมงมุม' ออกมาสู่สาธารณชน เพื่อพัฒนาตั๋วร่วมให้สามารถใช้งานระบบขนส่งได้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า, รถโดยสารประจำทาง หรือเรือโดยสาร แต่ปัจจุบันบัตรดังกล่าวจะใช้ได้แค่บางที่ เช่น รถไฟฟ้า MRT เท่านั้น ยังใช้งานบัตรข้ามระบบไม่ได้ อยู่ระหว่างพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ ก็ต้องมารอลุ้นกันว่าจะใช้ได้ทุกระบบขนส่งเมื่อไหร่น้าาาา?

สำหรับแนวคิดค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหมาจ่ายราคาเดียว ฟังดูแล้วน่าจะเกิดขึ้นจริงได้ยากอยู่ เพราะต้นทุนในการดำเนินการของแต่ละผู้ให้บริการก็ไม่ใช่น้อยๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางภาครัฐจะเข้ามาให้เงินอุดหนุนในส่วนนี้หรือไม่ ก็อาจใกล้ความเป็นจริงได้มากขึ้น แต่ถ้าบัตรร่วมไม่เกิด ค่าโดยสารจะถูกลง ก็คงยากอยู่ดี

Mangmoom card

บัตรแมงมุม ปัจจุบันสามารถใช้เดินทางในระบบรถไฟฟ้า MRT ได้


 ปันโปรสรุปให้ 

  • รถไฟฟ้าในประเทศไทย คิดค่าโดยสารโดยนับจำนวนสถานีที่เดินทาง ไม่ได้คิดตามระยะทางที่ใช้เหมือนกับบางประเทศ ทำให้ไม่ว่าจะเดินทางจากต้นทาง หรือปลายทางจากจุดใด ก็จะเสียค่าโดยสารในเรตเดียวกันหมด ไม่ว่าจะใกล้หรือใกล้ต่างกันยังไง
  • ในอนาคตอันใกล้นี้ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าในไทย น่าจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เมื่อมีบัตรโดยสารร่วมเกิดขึ้นแล้ว และเชื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้นค่าโดยสารน่าจะถูกลงได้อีก เรามารอลุ้นกันนะ!
  • แนะนำวิธีเดินทางแบบประหยัดมากขึ้น เวลาเติมเงินเข้าบัตรโดยสาร จะมีสิทธิประโยชน์จาก Loyalty Program ที่ร่วมรายการ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายมือถือ หรือบัตรเครดิต จะทำให้เซฟเงินในกระเป๋าเดือนนึงก็ไม่น้อยเลย

-- ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก เว็บปันโปร เว็บแจ้งข้อมูล Promotions และ สินค้า SALE --




Create Date : 28 สิงหาคม 2562
Last Update : 28 สิงหาคม 2562 9:40:06 น. 1 comments
Counter : 9723 Pageviews.

 
ขอบคุณ


โดย: Kavanich96 วันที่: 29 สิงหาคม 2562 เวลา:3:54:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 5399748
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5399748's blog to your web]
space
space
space
space
space