space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2567
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
2526272829 
space
space
16 กุมภาพันธ์ 2567
space
space
space

อานาปานสติ คืออะไร ฝึกนั่งสมาธิอย่างไร จิตเจริญปัญญา อานาปานสติ นับว่าเป็นกองกรรมฐานที่สำคัญที่พระพ
อานาปานสติ คืออะไร ฝึกนั่งสมาธิอย่างไร จิตเจริญปัญญา อานาปานสติ นับว่าเป็นกองกรรมฐานที่สำคัญที่พระพ
อานาปานสติ คืออะไร ฝึกนั่งสมาธิอย่างไร จิตเจริญปัญญา

อานาปานสติ นับว่าเป็นกองกรรมฐานที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง และ พระฝ่ายกรรมฐาน หรือ สายพระป่า พระอาจารย์มั่น ก็ยกย่องส่งเสริมการฝึกเจริญสติสมาธิด้วย อานาปานสติ หรือ การดูลมหายใจ แต่มีหลักการและความสงสัยในการฝึกลม หายใจเข้าออกนั้น ทำให้ยังเกิดการติดขัดสงสัยต่อการฝึก
https://www.blogger.com/blog/post/edit/3426552867501591911/4010971922942722394

อานาปานสติ คืออะไร

อานาปานสติหมายถึงการมีความระลึกรู้ตัวในลมหายใจเข้าออก

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก
ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้

อานาปานสติสูตร พระไตรปิฏก เล่ม ๑๔
 

อานาปานสติเกี่ยวข้องกับการนั่งสมาธิอย่างไร

สมาธิ แปลตามบาลีแปลว่า ความตั้งใจมั่น หรือ สมาธิในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต

ซึ่งตามจุดมุ่งหมายของการนั่งสมาธินั้นคือ การทำให้จิตสงบหรือ ที่เรียกว่า สมถะกรรมฐาน คือทำให้จิตสงบเสียก่อน เมื่อจิตสงบแล้วจะทำให้การโน้มไปสู่การเกิดปัญญาได้ตามลำดับของการนั่งสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ สุดท้าย อัปณาสมาธิ ดังนั่งสมาธิที่เร่ิมต้นนั้นจะมีการนำสติเป็นเป็นเครื่องมือช่วยการละลึกให้รู้ตัว ในการนั่งสมาธิ  และ นำมาใช้คู่กับ สติ(คือความระลึกได้) + สัมปะชัญญะ (คือความรู้ตัว)

 

อานาปานสติฝึกอย่างไร

อานาปาสติคือการฝึกดูลมหายใจเข้า และ หายใจออก และ มักจะใข้คู่กับ พุทธานุสติ หรือ ที่เรียกว่า การกำหนดรรู้ พุทโธ ซึ่งมีวิธีการเบื้องต้นดังนี้

  • ฝึกให้รู้ลมเข้า  เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเร่ิมต้น โดยการเริ่มจาก ลมรู้ที่ปลายจมูก ผ่านเข้ามาที่หน้าอก และลงท้อง    มักจะควบคู่กับ พุทธานุสติ คือ กำหนดลมเมื่อถึงท้อง ก็จะกำหนด พุธ
  • ฝึกให้รู้ลมออก เป็นการปล่อยลมช้าตามสบายจากท้อง อก และ มาสิ้นที่ปลายจมูก แล้วกำหนด โธ
  • ฝึกจนเคยชิน และดูลมอย่างนี้ไปเรื่อย แล้วจิตจะมีความสงสัยว่า มีอะไรต่อเห็นอะไรต่อ ก็ปล่อย เพราะจิตกำลังจะเกิดความสงสัยที่มาจากนิวรณ์ ทำให้สมาธิไม่สงบ คิดโน่นคิดนี่
  • การกำหนดลม ไม่ต้องสนใจว่าจะเร็ว หรือ ช้า หายใจแบบไหนก็กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ เพราะจะทำให้เราฟุ้งซ่าน แค่รู้ว่าลมเข้าและลมออก เดี๋ยวจิตจะพัฒนาการรู้ลม ไม่อึดอัด เดินลมสะดวก และมีผลการการนั่งอย่างสงบใจ
  • ฝึกบ่อย จนจิตชิน จะทำให้เกิด ขณิกสมาธิขฌิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถนำมาใช้การงานในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ หรือขับรถขณิกสมาธิ เหมือนเด็กที่เพิ่งหัดเดินขณิก(ชั่วขณะ) + สมาธิ(ความทรงไว้พร้อม ความตั้งมั่น)

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ https://dharayath.com/




Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2567
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2567 7:06:39 น. 0 comments
Counter : 15 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 7881572
Location :
ขอนแก่น Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 7881572's blog to your web]
space
space
space
space
space