Home ตั้งเวปนี้เป็นหน้าแรก

PIWAT
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




Online Users
     

Custom Search

วิทยุธรรมะออนไลน์ Free counter and web stats
Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
25 เมษายน 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add PIWAT's blog to your web]
Links
 

 

โรค พาร์กินสัน โรคพาร์กินสัน Parkinson

Custom Search

1. โรคพาร์กินสัน คือโรคอะไร ?

ในอดีตคนไทยน้อยคนที่จะรู้จักโรคนี้ ในยุคปัจจุบันคนไทยมี อายุเฉลี่ย ยืนยาวกว่าเดิมมาก คือ ผู้ชายอายุเฉลี่ย ถึง 63 ปี ส่วนผู้หญิงอายุเฉลี่ย 64 ปี (อดีตคนไทยเราอายุเฉลี่ยเพียง 45 ปี) ดังนั้นโรคในผู้สูงอายุจึงพบบ่อยขึ้นมากในคนไทยเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางระบบประสาทที่มีชื่อเรียกว่า โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันนี้เป็นโรคที่รู้จักกันครั้งแรกในวงการแพทย์ในปี พ.ศ.2360 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้ว โดย นายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน แห่งประเทศอังกฤษ เป็นคนรายงานผู้ป่วยเป็นคนแรก โรคนี้จะทำให้ผู้ป่วยซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป) มีอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 3 ประการได้แก่

1.อาการ สั่น
2.อาการ เกร็ง และ
3.อาการ เคลื่อนไหวช้า

ในอดีตโรคดังกล่าวนี้รักษาไม่ได้ และอาการของผู้ป่วยจะเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเคลื่อนไหวไม่ได้เลยต้องนอนอยู่กับเตียงตลอด ซึ่งในที่สุดก็จะเสียชีวิตเพราะ โรคแทรกซ้อน ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้สามารถรักษาโรคนี้ได้อย่างดี และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นมาก จึงสมควรจะรู้จักโรคนี้ไว้บ้าง



2. สาเหตุของโรคพาร์กินสันมีอะไรบ้าง ?

โรคพาร์กินสันอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ มากมาย ได้แก่

1.ความชราภาพของสมอง ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนลดลง ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่พบบ่อยที่สุด และจัดว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุจำเพาะแน่นอน มักพบในผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป และพบได้บ่อยพอ ๆ กันในเพศชายและเพศหญิง ไม่มีใครทราบว่าในอนาคตใครจะเกิดโรคนี้บ้างในช่วงวัยชรา แต่จากสถิติอุบัติการณ์เกิดโรคนี้ในต่างประเทศจะพบราว 1-5 % ในผู้ที่อายุเกิน 50 ปี สำหรับประเทศไทยเรายังไม่ทราบสถิติของโรคนี้

2.ยากล่อมประสาทหลัก หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน ซึ่งผู้ป่วยโรคทางจิตเวชจำเป็นต้องได้ยากลุ่มนี้ เพื่อควบคุมอาการคลุ้มคลั่ง เพ้อหรือสับสน ยากลุ่มนี้ในอดีตใช้กันมากในปัจจุบัน ยานอนหลับรุ่นหลัง ๆ ปลอดภัยกว่าและไม่มีผลต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน

3.ยาลดความดันโลหิตสูง ในอดีตมียาลดความดันโลหิตที่มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ทำให้สมองลดการสร้างสารโดปามีน จึงเกิดโรคพาร์กินสันได้ อย่างไรก็ตามยาควบคุมความดันโลหิตสูงในระยะหลัง ๆ ส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย จึงไม่มีผลต่อสมองที่จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอีกต่อไป

4.หลอดเลือดในสมองอุดตัน ทำให้เซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนมีจำนวนน้อยหรือหมดไป

5.สารพิษทำลายสมอง ได้แก่พิษสารแมงกานีสในโรงงาน พิษจากสารคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งสามารถทำให้เซลล์สมองเสื่อมและเกิดโรคพาร์กินสันได้

6.สมองขาดออกซิเจน ในผู้ป่วยจมน้ำ ถูกบีบคอ หรือมีการอุดตันในทางเดินหายใจ จากเสมหะหรืออาหารเป็นต้น

7.อุบัติเหตุศีรษะถูกกระทบกระเทือน หรือกระแทกบ่อย ๆ เช่น อุบัติเหตุรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ นักมวยที่ถูกชกศีรษะบ่อย ๆ จนเป็นโรคเมาหมัด เช่น โมฮัมหมัด อาลี เป็นต้น

8.การอักเสบของสมอง

9.โรคพันธุกรรม เช่น โรควิลสัน ที่มีโรคตับพิการร่วมกับโรคสมอง เนื่องจากมีธาตุ
ทองแดงไปเกาะในตับและสมองมากจนเป็นอันตรายขึ้นมา



4.อาการของโรคพาร์กินสัน มีอะไรบ้าง ?

ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันนั้น อาจมีอาการและอาการแสดงของโรคมากน้อยแตกต่างกันได้มาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุผู้ป่วยระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่ตามมา โรคพาร์กินสันนี้นอกจากจะมีอาการเด่น 3 อย่างดังกล่าวแล้ว อาจเกิดมีอาการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้อีกดังในรายละเอียดังนี้

1.อาการสั่น ราว 60-70% ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่นเป็นอาการเริ่มต้นของโรค อาการสั่นนี้จะมีลักษณะเฉพาะคือ สั่นมากเวลาอยู่นิ่ง ๆ แต่ถ้าเคลื่อนไหวหรือยื่นมือทำอะไรอาการสั่นจะลดลงหรือหายไป (ผิดจากอาการสั่นอีกแบบที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั่วๆ ไปที่จะสั่นมากเวลาทำงานอยู่เฉย ๆ ไม่สั่น) อาการสั่นในโรคพาร์กินสันนี้ถ้านับอัตราเร็วจะพบว่าสั่นราว 4-8 ครั้งต่อวินาที และอาจสั่นของนิ้วหัวแม่มือ-นิ้วมืออื่น ๆ คล้ายแบบปั้นลูกกลอน อาการสั่นของโรคอาจเริ่มเกิดขึ้นที่มือ, แขน, ขา, คาง, ศีรษะหรือลำตัวก็ได้ ระยะแรกของโรคอาจเกิดข้างเดียวก่อนและต่อมาจึงมีอาการทั้งสองข้างก็ได้

2.อาการเกร็ง จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของร่างกาย โดยเฉพาะแขนขาและลำตัว โดยที่ผู้ป่วยไม่ได้เคลื่อนไหว หรือทำงานหนักแต่อย่างใด กล้ามเนื้อของร่างกายจะมีความตึงตัวสูงและเกร็งแข็งอยู่ตลอดเวลา จนผู้ป่วยบางรายต้องกินยาแก้ปวดเมื่อย หรือหายามาทา บรรเทาตามร่างกายส่วนต่างๆ หรือหาหมอนวดมาบีบคลายเส้นเป็นประจำ

3.อาการเคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยในระยะแรก ๆ จะรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรช้าลงไปจากเดิมมาก ไม่กระฉับกระเฉงว่องไวแบบเดิม เดินช้า และงุ่มง่าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้น ๆ ของการเคลื่อนไหว ในรายที่เป็นมากขึ้นอาจพบว่า อาจหกล้มบ่อย ๆ จนบางรายกระดูกต้นขาหัก, สะโพกหัก, หลังเดาะ, แขนหัก, หัวแตกเป็นต้น ในรายที่เป็นมากอาจเดินเองไม่ได้ต้องใช้ไม้เท้า หรือคนคอยพยุง

4.ท่าเดินผิดปกติ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะมีลักษณะท่าเดินจำเพาะตัวที่ผิดจากโรคอื่น คือจะเดินก้าวสั้น ๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรก ๆ และต่อมาจะก้าวยาวขึ้นเรื่อยๆ จนเร็วมากและหยุดทันทีทันใดไม่ได้จะล้มหน้าคว่ำเลย นอกจากนี้ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเดินหลังค่อม, ตัวงอโค้งและแขนไม่แกว่งตามเท้าที่ก้าวออกไป มือจะชิดแนบตัวเดินแข็งทื่อแบบหุ่นยนต์

5.การแสดงสีหน้า ผู้ป่วยพาร์กินสันจะมีใบหน้าแบบเฉยเมย ไม่มีอารมณ์เหมือนคนใส่หน้ากาก ไม่ยิ้มหัวเราะหน้าตาทื่อ เวลาจะพูดก็จะมีมุมปากยับเพียงเล็กน้อย เหมือนคนไม่มีอารมณ์

6.เสียงพูด ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะพูดเสียงเครือ ๆ และค่อยมากฟังไม่ชัดเจน และยิ่งพูดนานไปๆ เสียงจะค่อยๆ หายไปในลำคอ บางรายที่เป็นไม่มากเสียงพูดจะค่อนข้างเรียบรัว และอยู่ในระดับเดียวกันตลอด ไม่มีพูดเสียงหนักเบาแต่อย่างใด

7.การเขียนของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะทำได้ลำบาก และตัวเขียนจะค่อยๆ เขียนเล็กลงๆ จนอ่านไม่ออก

8.การกลอกตา ในผู้ป่วยโรคนี้ จะทำได้ลำบากช้า และไม่คล่องแคล่วในการมองซ้ายหรือขวา บนหรือล่าง ลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุกไม่เรียบ

9.น้ำลายไหล เป็นอาการที่พบได้บ่อยอันหนึ่ง คือมีน้ำลายมาสออยู่ที่มุมปากสองข้างและไหลเยิ้มลงมาที่บริเวณคาง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีลักษณะแบบมีน้ำลายมากอยู่ตลอดเวลา

credit : //www.manager.co.th
ชุดความรู้สำหรับประชาชน ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์
สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล




 

Create Date : 25 เมษายน 2550
26 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2553 11:52:01 น.
Counter : 5790 Pageviews.

 

เข้ามาเก็บความรู้ซะหน่อย งิบงิบ

 

โดย: พีทคุง (redistuO ) 25 เมษายน 2550 16:36:32 น.  

 

นำความรู้มาฝากอีกแล้วขอบคุณนะค่ะ...

 

โดย: thattron 25 เมษายน 2550 18:06:50 น.  

 


ขอบคุณสำหรับบทความดีๆที่นำมาฝากค่ะ

 

โดย: เพียงแค่เหงา 25 เมษายน 2550 18:37:56 น.  

 

เป็นความรู้ที่ดีมากค่ะ
นั่งอ่านอยู่นานเหมือนได้เคาะสนิมในสมองของตัวเอง
เรื่อง Parkinson สำหรับในเมืองไทยแล้วไม่มีใครเก่งเกิน ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ เลยค่ะ
หนังสือที่อ.เขียนทำให้สอบผ่านตอนป.ตรีมาอย่างสบายเลย

 

โดย: I am SeRaPh 25 เมษายน 2550 18:48:43 น.  

 

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีที่นำมาให้ค่ะ

 

โดย: ดวงตะวัน (Doungtawan ) 25 เมษายน 2550 20:53:45 น.  

 

รู้จักคตนนึงเป็น โรค นี้ เขาก็ทรมาณอยู่เเล้ว แถม ตอนนี้ ยังเป็นมะเร็ง ปอด อีก เราต้องรกษาสุขภาพกันเนาะ

มาส่งเข้านอน ค่า

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

 

โดย: ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ 26 เมษายน 2550 0:37:49 น.  

 

มาเยี่ยมเยือนค่ะ ขอแป๊บลิงก์หน่อยได้ไหมค่ะ เราทำให้คุณลุงท่านหนึ่งเกี่ยวกับการนวดเขี่ยเส้น ซึ่งมีโรคพาคินสันเกี่ยวข้องด้วยค่ะ

 

โดย: JeaNie (CM-ThaiMassage ) 30 เมษายน 2550 21:18:22 น.  

 

แวะมาเก็บความรู้ใหม่ๆ

 

โดย: iamorange 4 พฤษภาคม 2550 16:49:36 น.  

 

เรารู้จักพี่คนหนึ่งชื่อพี่เล็ก แม่พี่เค๊าอายุร่วม 80 เป็นโรคพาร์กินสันนี้เลย แต่ตอนนี้หายแล้วร่างกายแข็งแรงมาก เพราะว่าได้มีคนได้แนะนำให้รู้จัก น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว ผลิตจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ออไรซา ของแพทย์จากศิริราชที่ได้วิจัยขึ้นมา ดีมากๆเลย
แถมยังสามารถช่วยซ่อมแซมและช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อีกด้วยนะ
ถามข้อมูลจากเราเพิ่มเติมได้ ที่ เจเจ 083-8916163
หรือ mail มาที่ phat_yos@hotmail.com ค่ะ

 

โดย: เจเจ IP: 202.183.217.251 12 พฤษภาคม 2550 17:06:06 น.  

 

ขอบคุณ สำหรับ ความรู้ดีๆค่ะ

 

โดย: Happy Noonat 3 มิถุนายน 2550 11:20:17 น.  

 

THANK YOU ABOUT KNOWLAGE 6 SEP 07

MY MAM HAS PARKINSON PLEASE HELP

 

โดย: KENTA IP: 203.209.90.87 6 กันยายน 2550 18:39:22 น.  

 

good...............

 

โดย: nalongded IP: 202.136.241.63 11 ธันวาคม 2550 11:09:25 น.  

 

ปัจจุบัน ผมเป็นโรคนี้อยู่ กินยาหลายชนิด อยากร่วมเสนอความรู้ ว่าแต่ละท่านใช้ยาอะไรบ้างครับ ผมอายุ 42 ปี เป็นมา9 ปีแล้วครับ...........................search แล้วเข้ามาอ่านครับ

 

โดย: ตั้งชีววิทยา IP: 210.1.21.35 27 ธันวาคม 2550 14:45:05 น.  

 

ทำไมเพิ่งมาเห้นเว็บนี้นะ เพิ่งจะสอบโรคนี้ผ่านไปหยกๆ ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

 

โดย: เดีย IP: 91.152.229.30 19 กุมภาพันธ์ 2551 2:05:48 น.  

 

ผมอายุ28ปี ก็มีอาการสั่นอยู่เฉยจะสั่นไปมา หันหน้าตรงๆไม่ได้ต้องเอียงขวาทำให้เสียบุคลิก สั่นแถมเกร็งที่ต้นคอ และปวดเส้นที่คอด้วย รักษาอย่างไรดีอายมากถ่ายรูปเอียง นั่งตัดผมแทบไม่ได้ไม่กล้าไปพูดกับคนมากๆสั่นจนไม่ค่อยอยากไปทำกิจกรรมอะไร มียาดีช่วยบอกด้วยครับทรมานมา10กว่าปี

 

โดย: ต้อง IP: 58.8.49.185 22 กุมภาพันธ์ 2551 20:33:17 น.  

 

คุณพ่อผมอายุ 86 เป็นมา4-5 ปีแล้ว เดิมเป็นมากๆนอนอย่างเดียว ปัจจุบัน ใช้ยา 2 ชนิด

ชนิดแรก รับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา ครั้งละ ครึ่งเม็ด ชื่อยา มาดูพาร์ (Mardoopar )

ชนิดที่ 2 รับประทานหลังอาหาร 2 เวลา เช้าเย็น ครั้งละ ครึ่ง เม็ด ถึง 1 เม็ด
ชื่อยา ทางการค้า ไซฟอล ( Sifrol ) 250 mcg

ปัจจุบันเดินได้ แต่ถ้าหยุดยาก็จะมีอาการอ่อนเพลียเดินไม่ค่อยได้ โรคนี้จะมีท้องผูกเป็นของคู่กัน

 

โดย: สถิตย์ IP: 118.174.22.169 28 เมษายน 2551 21:32:40 น.  

 

คุณแม่ก็เป็นพาร์กินสัน เคยรักษากับอาจารย์หมอนิพนธ์ มาเป็นเวลานานแล้วไม่หาย อาการเกร็งมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นเพราะอาจารย์หมอมีคนไข้เยอะตลอด ทำให้ไม่ค่อยมีเวลา เลยไปที่จุฬา พบหมอคนหนึ่งเก่งมาก รักษาโรคนี้โดยตรงชื่อ รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ก้อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยโรคนี้ แต่เท่าที่รู้มาคิวคุณหมอแน่นมากนะแต่เท่าที่ทราบคุณหมอเก่งมาก

 

โดย: Krita IP: 58.9.204.185 11 มิถุนายน 2551 16:30:45 น.  

 

มือส่นและชาที่ข้อศอกและเวลานอนชาที่แขน

 

โดย: ช.พิชิต IP: 118.175.149.56 19 มิถุนายน 2551 22:12:12 น.  

 

ก็มีอาการมือสั่นข้างขวาเหมือนกันค่ะ อายุ 34 ค่ะ แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นหรือเปล่า ผู้รู้ช่วยแนะนำได้มั้ยค่ะ ว่าต้องไปตรวจที่ไหนถึงจะแน่นอนว่าเป็นหรือไม่เป็นค่ะ ขอขอบคุณมากล่วงหน้าค่ะ

 

โดย: ดา IP: 124.120.126.141 20 มีนาคม 2552 16:46:19 น.  

 

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นทุกๆ ท่าน เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ป่วยและผู้สนใจค้นคว้า

 

โดย: มินนี้ IP: 116.58.231.242 25 เมษายน 2552 23:43:34 น.  

 

อยากรู้วิธีช่วยบำบัดและรักษาให้อาการเบาบางลงหรือมีวิธีไหนที่สามารถรักษาให้หายขาดช่วยแนะนำด้วยค่ะ เพราะตอนนี้คุณอาเป็นอยู่จนถูกที่ทำงานเชิญออกเพราะทำงานช้า แล้วจะกลับมาอ่านนะค๊ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

 

โดย: ติ๊ก IP: 118.173.83.85 2 กรกฎาคม 2553 20:44:23 น.  

 

ผมเคยให้การรักษาผู่ป่วย พากินสัน มาหลายรายบางคนหายสนิท บางคนใกล้จะหาย แต่ผมมีเวลาให่การรักษาน้อยต้องไปต่างประเทศ หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ ไม่นานผมได้เดินทางเข้ามาเมืองไทย เชิญพบปรึกษาผมได้ ที่ เชียงใหม่ประมาณ มกรา ๕๔ หมอ ริชเชอร์

 

โดย: ผมมีความรู้ที่จะช่วยดูโรคนี้อยู่ IP: 69.150.21.133 11 สิงหาคม 2553 0:05:19 น.  

 

อยากทราบว่า จะมีวิธีรักษาโรคนี้ได้อย่างไร เป็นมานานมาก รักษาทุกวิถีทางแล้ว แต่ก็ไม่สามารถดีขึ้นกว่าเดิม จนต้องนอนอยู่กับเตียงทุกวันนี้

 

โดย: สมลักษณ์ IP: 58.11.69.25 8 พฤศจิกายน 2553 17:29:51 น.  

 

ลองไปหา นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ เป็นหมออายุรกรรมระบบประสาท อาจารย์ท่านนี้เก่งจริงคะ รักษาปรับยาเก่งมาก ประจำอยู่ที่รพ.จุฬา คะ ลองไปหาดูได้ แต่รอคิวก็แน่นพอสมควรคะ รู้สึกจะมีคลินิกส่วนตัวด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าอยู่ทีไหนคะ ยังไงก็ให้ข้อมูลไว้เผื่อเป็นทางเลือกค่าา

 

โดย: lakkana IP: 125.24.15.232 4 ธันวาคม 2553 17:49:40 น.  

 

โรคนี้ไม่หายขาด แต่ถ้ากินยาเป็นประจำก็จะคุมอาการได้ ใช้ชีวิตเหมือนปกติคะ แต่ว่าต้องกินยาไปตลอดนะๆๆ หรือไม่ก็ผ่าตัดฝังคลื่นไฟฟ้าเข้าไป (ไม่ทราบวิธีผ่าเหมือนกันคะ)

 

โดย: lakkana IP: 125.24.15.232 4 ธันวาคม 2553 17:51:23 น.  

 

อาจารย์ใจดีและเปนกันเองมาก รับรองหาย แต่ราคาแพงมากๆ ติดต่อที่ท่านอาจารย์โดยตรงได้ตลอด นพ.รุ่งโรจน์ 089 541 9999 (9.00 - 22.00)

 

โดย: DR.Know IP: 124.122.199.0 2 กันยายน 2555 18:57:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.