 |
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
12 มีนาคม 2551 |
|
 |
 |
|
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
|
City of God : สิ่งที่เลือกถือ

เมื่อก่อนผมเคยเรียนในโรงเรียนอาชีวะมาก่อน สิ่งที่เจอก็มีหลายรูปแบบทั้งๆที่ผมไม่ใช่กลุ่มที่ชอบตีกันแต่มันก็เจอ ทั้งการอยู่บนรถเมล์ท่ามกลางฝูงเด็กอาชีวะของโรงเรียนฝ่ายตรงข้าม หรือแม้แต่เห็นเพื่อนโดนเอาปืนจ่อพุงอยู่ใกล้ๆ แม้จะเจอสิ่งเหล่านี้มาเยอะๆแต่พวกผมก็จบมาได้โดยมีมีเรื่องยกพวกตีกันแม้แต่ครั้งเดียว ทั้งๆที่สภาพแวดล้อมเป็นเช่นนั้น
คงไม่ต่างอะไรกับเด็กหนุ่มผิวสี(ความจริงมันก็ผิวสีกันทุกคน)ใน City of God ที่สภาพแวดล้อมในสลัมที่เขาอยู่ ที่เต็มไปด้วยอาชญากรรมและยาเสพติด ซึ่งในขณะที่เด็กคนอื่นๆเลือกที่จะถือปืน เด็กหนุ่มผู้นี้เลือกที่จะถือกล้องและใช้มันเป็นอุปกรณ์ในการเล่าเรื่องราวอันไร้กฎระเบียบของสลัมแห่งนี้ และข้อแตกต่างอีกข้อนึงของเด็กคนนี้ก็คือ เขาเป็นเด็กส่วนน้อยที่เรียนหนังสือ
ในขณะที่เด็กคนอื่นๆมีกิจวัตรประจำวันคือการค้าขาย(ยาเสพติด)และไล่ยิงคนที่ทำให้ไม่พอใจ แต่กิจวัตรของเด็กหนุ่มผิวสีผู้นี้อาจจะแตกต่างจากคนอื่นนิดหน่อยคือ เขามีช่วงเวลาที่ต้องไปโรงเรียน แต่เพียงข้อนี้ข้อเดียวก็ทำให้เขาดูเป็นผู้เป็นคนที่สุดในสลัมแห่งนี้แล้ว
ถ้าเด็กคนอื่นๆมีโอกาสที่จะได้เรียนและใส่ใจกับมันมากกว่านี้ ผมเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาจะเลือกถือคงเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ปืนหรืออาวุธใดๆอย่างแน่นอน
น่าเสียดายที่เด็กอาชีวะส่วนใหญ่ของบ้านเรานั้นมีโอกาสที่จะได้เรียน แต่กลับไม่สนใจมันแถมยังใช้สถานศึกษาเป็นสิ่งอวดอ้างถึงคำว่าศักดิ์ศรีอีกต่างหาก ซึ่งแท้ที่จริงแล้วในทางปฏิบัติมันก็เป็นแค่สถานที่ที่พวกเด็กคึกคะนองจำนวนหนึ่งมาชุมนุมกันเท่านั้นเอง
เวลาที่มีข่าวเด็กอาชีวะตีกันครึกโครมใหญ่โตขึ้นมา ผมมักจะเห็นทางหน่วยงานของรัฐชอบพาเด็กเหล่านี้ไปดูพวกนักโทษในคุก ด้วยหวังว่าจะทำให้เด็กพวกนี้กลัวการกระทำความผิด แต่หารู้ไม่ว่าคุกเปรียบเสมือนสถานที่บ่มเพาะความคึกคะนองของเด็กพวกนี้ เพราะยิ่งใครมีประวัติเคยติดคุกมาก่อนแล้วกลับมาเรียนต่อ คนพวกนี้จะได้รับการยกย่องเป็นหัวโจกทันที
เราใส่ใจปัญหากันผิดที่มาตลอดจนบางครั้งเราลืมนึกถึงเด็กที่มีความตั้งใจในการศึกษา เขาเลือกที่จะถือวิชาชีพมากกว่าการถืออาวุธ แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็พร้อมที่จะเหมารวมเด็กที่ตั้งใจเรียนไปรวมอยู่กับนักเรียนอันธพาล ในทันทีที่รู้ว่าเขาเรียนที่โรงเรียนอะไร
เด็กหนุ่มผู้เลือกถือกล้องและความไฝ่ฝันในการเป็นช่างภาพใน City of God อาจจะไม่ใช่เด็กดีร้อยเปอร์เซ็น แต่เขาก็ทำให้รู้การศึกษาสำคัญแค่ไหน และหนังบราซิลของเฟอร์นันโด เมอร์เรลเลสเรื่องนี้ก็ทำให้รู้ว่าแม้สภาพแวดล้อมภายนอกจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าข้างในเราเข้มแข็งพอในการจะเลือกข้างที่ดี เราก็จะหลุดพ้นจากวงจรแห่งความชั่วกลายเป็นมนุษย์ที่ไม่เป็นปัญหาของสังคม
Create Date : 12 มีนาคม 2551 |
Last Update : 12 มีนาคม 2551 20:15:09 น. |
|
4 comments
|
Counter : 1337 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: คนขับช้า IP: 124.157.239.252 วันที่: 27 สิงหาคม 2552 เวลา:22:21:19 น. |
|
|
|
| |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|
แม้ฉากรุนแรงจะเยอะ แต่ก็สมควรกับสิ่งที่หนังต้องการจะสื่อน่ะค่ะ
มาตอบเรื่องที่ไปคุยที่บล็อก
คือ..ใครๆ เค้าเรียกหนังแบบง่ายๆ น่ะค่ะ แล้วประเด็นดังกล่าวมันก็โดดเด่น ก็เลยเรียกหนังเรื่องนี้ว่าหนังเกย์น่ะ
สำหรับเรามันเป็นหนังรัก-ดราม่า-ครอบครัวนะ