ป่าดงดิบของเหล่าไม้กินแมลง
 
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
23 สิงหาคม 2553

บทที่๑ : บทนำ

ทักทายกันนิดหน่อยก่อนจะอ่านบทความนี้นะค่ะ
ค่อนข้างเขียนอย่างเป็นทางการ เพราะเป็นงานที่ต้องทำส่ง(ในวิชาการเขียนรายงาน)
ซึ่งก็ส่งไปนานแล้ว ว่างๆ เลยอัฟไว้ในบล๊อคให้อ่านๆ กันเพลินๆ ค่ะ

+หากจะคัดลอกไป ขอความกรุณาให้เครดิตด้วยค่ะ+

บทที่๑ : บทนำ


ในประเทศไทย อันเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆหลากหลาย ก็มีไม้กินแมลงขึ้นอยู่ด้วยเช่นกัน ตามรายงานการค้นพบที่แน่ชัดมีอยู่ 3 สกุลคือ หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง และสาหร่ายข้าวเหนียว ซึ่งสามารถพบได้ตาม ทุ่งหญ้า หุบเขา ป่า ทุ่งนา และภูเขา ในประเทศไทยเราสามารถพบได้มากในอุทยานแห่งชาติ เช่น ภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

แต่เป็นที่น่าแปลกที่สายพันธุ์ไม้กินแมลงในบ้านเราไม่เป็นที่ที่รู้จักเท่าที่ควร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ามีนักพฤษศาสตร์น้อยรายที่จะเข้ามาสำรวจความหลายหลายทางชีวภาพของพืชกินแมลงในประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งประเทศไทยเองก็ขาดข้อมูลพื้นฐานที่จะจูงใจให้เกิดการสำรวจวิจัยพืชกินแมลงในประเทศ หรืออาจมีแต่ไม่ได้ตีพิมพ์ข้อมูลไว้ในระดับสากล ทำให้ผู้เลี้ยงและสะสมไม้กินแมลงไม่รู้จักพันธุ์ไม้กินแมลงในบ้านเรา

ถึงแม้จะไม่มีความรู้ทางด้านพฤษศาสตร์ แต่ผู้เขียนก็พยายามที่จะทำการศึกษาสายพันธุ์ของพืชกินแมลงบางชนิด ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย รวมทั้งรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเท่าที่กำลังจะอำนวยเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับใครก็ตามที่สนใจเรื่องไม้กินแมลงในประเทศไทย

1.1 ทฤษฎีวิวัฒนาการของต้นไม้กินแมลง
ในพื้นที่ที่ดินมีสารอาหารไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอยู่ของพืช ทำให้เกิดการดิ้นร้นที่จะมีชีวิตรอดต่อไปในพื้นที่ขาดแคลนสารอาหารนั้น ทำให้พืชต้องพัฒนาวิวัฒนาการตัวเองให้สามารถอยู่รอดในพื้นที่ขาดแคลนด้วยการหาอาหารจากทางอื่น ๆ มาทดแทน แหล่งอาหารที่หาได้ง่ายและอยู่ใกล้ตัวคงไม่พ้น เหล่าแมลงตัวเล็กตัวน้อย ซึ่งมีจำนวนมากพอเพียงและเป็นแหล่งอาหารชั้นดี มีธาตุไนโตรเจนที่พืชต้องการอยู่เต็มเปี่ยม พืชเหล่านั้นจึงได้สร้างสิ่งที่เรียกว่ากับดักขึ้น และสร้างต่อมน้ำย่อยเพื่อย่อยสลายแมลงเหล่านั้น ให้กลายเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยงต้นต่อไป พืชเหล่านั้นยกระดับตัวเองจากผู้ผลิตกลายเป็นเป็นผู้บริโภคเสียเอง



Create Date : 23 สิงหาคม 2553
Last Update : 24 สิงหาคม 2553 0:01:32 น. 4 comments
Counter : 787 Pageviews.  

 
หากสนใจเรื่องราวต่าง ๆ สามารถหาอ่านอย่างละเอียด ๆ ได้ตามนี้.....

บรรณานุกรรม :

“จอกบ่วาย,”
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0
%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0
%B8%B2%E0%B8%A2,

“พันธุ์ไม้กินแมลง,”
//guru.sanook.com/search/พันธุ์ไม้กิน
แมลง(insectivorous_plants),

“พืชกินแมลง มันกินแมลงได้ยังไง แล้วเมื่อกินแมลงไปแล้ว ซากแมลงจะเป็นอย่างไร,”
//topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock
/2007/07/X5588225/X5588225.html,

“พื้นฐานเล็กๆ กับพืชกินแมลง,” //cep.kucomsci18.in.th/art001/art001.htm,

นิรันดร์ วิพันธุ์เงิน. การศึกษาชีววิทยาของพันธุ์ไม้สกุล Utricularia L.
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(พฤกษศาสตร์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.

นิรันดร์ วิพันธุ์เงิน และ สุมน มาสุธน. สัณฐานวิทยาเปรียบเทียบของพืชกินแมลง
สกุล Utricularia L. ในเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน จ.สกลนคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.

“ประกวดพันธุ์ไม้กินแมลง ครั้งแรกในประเทศไทย,”
//www.ryt9.com/s/prg/ 58466,

พืชกินแมลง. กรุงเทพฯ : บ้านและสวน, 2552.


“ไม้กินแมลงในประเทศไทย และเพื่อนบ้าน,”
//www.neofarmthailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=167080&Ntype=2,

“ไม้พระนามสิริกิติ์,” //www.rspg.thaigov.net/homklindo
kmai/queen_flora/queen11.htm,


“สกุลหยาดน้ำค้าง,”
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%
AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%A2
%E0%B8%B2%E0%]B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87,


“สาหร่ายข้าวเหนียว,” //bemew.multiply.com/reviews/item
/27,

“หม้อข้าวหม้อแกงลิง,”
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%
AB% E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%89%
E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%
E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%
B8%B4%E0%B8%87,

“หม้อแกงลิง,”
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%
E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%
B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87,




“หญ้าไฟตะกาด,”
//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A
B%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%940%B8%87,

“หยาดน้ำค้าง,” : //www.tourdoi.com/general/flower/page/
042.htm,


โดย: ปีกน้ำค้าง วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:0:00:03 น.  

 


โดย: หนูเมเปิล วันที่: 25 สิงหาคม 2553 เวลา:19:26:37 น.  

 
เอา ออก เหอะครับ like หายหมดแล้วครับกดไปก็ไม่เจอข้อมูล เสียชื่อเปล่าๆ


โดย: kenny99b IP: 171.99.103.238 วันที่: 15 เมษายน 2556 เวลา:22:37:46 น.  

 
post ผิดที่ครับ รบกวน ลบทิ้งให้ที่ครับ ขอบคุณมากครับ


โดย: kenny99b IP: 171.99.103.238 วันที่: 15 เมษายน 2556 เวลา:22:40:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ปีกน้ำค้าง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ยินดีต้อนรับค่ะ
เราชื่อ บี ชอบปลูกพืชกินแมลง
สะสมไว้หลายชนิดเลยละ
ที่นี่ เราตั้งใจจะลงข้อมูล แชร์วิธีปลูกของเรา
ข้อมูลอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด
เนื่องจากสภาพแวดล้อมหลายๆ อย่าง แตกต่างกัน
ดังนั้น ขอแนะนำให้ใช้เป็นแนวทางคร่าวๆ ก็พอค่ะ

และมีแผงขายของ เล็กๆน้อยๆ ด้วยละคะ
ขายขำขำๆ เพราะบางอย่างก็หาซื้อยากเหลือเกิน
เลยลงไว้เผื่อสนใจเหมือนกัน จะได้ไม่ต้องหาค่ะ :)
[Add ปีกน้ำค้าง's blog to your web]