Nepenthes-trong ข้อมูลหม้อข้าวหม้อแกงลิงแปล จากหนังสือและเวบไซท์ภาษาต่างประเทศ

Nepenthes mirabilis ที่ อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฏร์ธานี

Photobucket

Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce


Rep. Exch. Cl. Br. Isl. (1916): 637.


ชื่อไทย: หม้อข้าวหม้อแกงลิง


ความหลากหลายและรูปแบบที่พบ: รูปแบบธรรมดา


ถิ่นที่พบ: อุทยานแห่งชาติน้ำตกธารเสด็จ-เกาะพะงัน อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี


ระดับความสูง: 150 ม. จากระดับน้ำทะเล


นิเวศวิทยา: แอ่งน้ำ ซึ่งมีน้ำขังบริเวณลำน้ำ ซึ่งมีแสงแดดส่องถึงเกือบตลอดทั้งวัน ดินที่พบเป็นทรายแม่น้ำ ผสมซากใบไม้ผุ


ลักษณะของพืช:


ลำต้น: ทรงกระบอก ยาวไม่เกิน 15 ม. หนาไม่เกิน 20 มม. ระยะระหว่างข้อไม่เกิน 15 ซม. ใบ:  บางเหมือนกระดาษ  ต้นโตเต็มที่จะมีก้านใบ เนื้อใบรูปไข่หรือรูปปลายหอก ยาวไม่เกิน 30 ซม. กว้างไม่เกิน 7 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบค่อย ๆ แคบลงหรือแคบลงอย่างลาดชัน โคนใบธรรมดา-โอบรัดลำต้นกึ่งหนึ่งหากไม่มีก้านใบ เส้นใบแนวยาวเห็นได้ชัดเจน ฝั่งละ 3-4 เส้น เส้นใบย่อยจำนวนมาก สายหม้อยาวไม่เกิน 10 ซม. หม้อ: ก้นหม้อเป็นกระเปาะ มีเอวช่วง 1 ใน 3 จากก้น ด้านบนทรงกระบอก สูงไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. มีครีบ 1 คู่  (กว้างไม่เกิน 4  มม.) ตั้งแต่ขอบปากถึงก้นหม้อ บริเวณต่อมผลิตน้ำย่อยอยู่บริเวณก้นหม้อที่เป็นกระเปาะ ปากหม้อกลม ขนานกับพื้นหรือเฉียง ขอบปากแบนโค้งที่ขอบ หนาไม่เกิน 10 มม. ฟันเห็นไม่ชัดเจน ฝาหม้อสัณฐานกลมรี ไม่มีเดือยใต้ฝา มี 1-2 จุก ยาวไม่เกิน 5 มม. หม้อบนทรงกระบอกครีบหดเล็กลง ช่อดอก: ช่อกระจะ ก้านช่อเดี่ยว ยาวไม่เกิน 15 ซม. ช่อดอกยาวไม่เกิน 30 ซม. ก้านดอกยาวไม่เกิน 15 มม. ไม่มีฐานรองดอก กลีบดอกรูปกลมหรือรูปไข่ ยาวไม่เกิน 7 มม. ขน: ต้นอ่อนปกคลุมด้วยขนหนาสั้นสีขาว แต่มีการผลัดขน ต้นที่โตเต็มที่ไม่มีขน ขอบใบของต้นที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่เป็นขอบใบจัก


ข้อสังเกต


N. mirabilis รูปแบบที่พบบนเกาะพะงัน เป็นกลุ่มต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ ปกคลุมไม้พุ่มเกือบทั้งต้น อาจมีเพียง 2-3 ต้น ซึ่งพบมีรากและโคนต้นขนาดใหญ่ แช่ลงในแอ่งน้ำ รากหยั่งลงถึงก้นแอ่งน้ำซึ่งมีดินทรายและซากใบไม้ผุตกตะกอนอยู่ นอกจากนั้นมีการแตกหน่อ แตกยอดจากต้นเดียวกัน แยกออกไปเป็นหลายยอด ลำต้นมีการยืดขึ้นไปถึงยอดไม้ แล้วหักงอลงมา แล้วยืดขึ้นไปอีกหลายครั้ง ซึ่งน่าจะมีความยาวมากกว่า 15 เมตร หม้อที่พบเป็นรูปแบบธรรมดาโดยทั่วไป มีลักษณะใกล้เคียงกับ รูปแบบที่พบทางภาคตะวันออก แต่มีส่วนที่แตกต่างกันเล็กน้อย คือหม้อค่อนข้างสั้นป้อมกว่ารูปแบบที่พบในบริเวณอื่น ๆ สีค่อนข้างจืด มีบ้างที่ขอบปากหม้อสีแดงสด แต่ส่วนใหญ่หม้อเป็นสีเขียวอ่อน มีสีแดงเรื่อ ๆ บริเวณก้นหม้อและขอบปากหม้อ ในบริเวณนั้นมีเพียงต้นเดียวที่มีลักษณะหม้อค่อนข้างกลม และมีสีแดงล้วน ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกแยก บริเวณใกล้เคียงยังมีต้นขนาดเล็กซึ่งคาดว่าเกิดจากเมล็ด แต่กระจายตัวไม่ห่างจากพุ่มใหญ่มากนัก ต้นที่พบในบริเวณมีตั้งเพศผู้และเพศเมีย เท่า ๆ กัน ช่วงที่ไปพบ เป็นช่วง ที่ช่อดอกตัวเมียได้รับการผสมแล้ว แต่ฝักยังไม่แก่จัดจึงไม่สามารถเก็บเมล็ดนำมาเพาะพันธุ์ได้ แต่ก็มีฝักที่สมบูรณ์ประมาณ 2-3 ฝัก จึงทดลองเก็บมาเพาะเลี้ยง ว่าสามารถใช้เมล็ดจากฝักที่ยังไม่แก่ เพาะได้หรือไม่






Free TextEditor
Photobucket

Photobucket

Photobucket Photobucket

Photobucket

Photobucket Photobucket

Photobucket Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket Photobucket

Photobucket Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket Photobucket






 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2552    
Last Update : 10 กรกฎาคม 2552 8:13:41 น.
Counter : 2209 Pageviews.  

Nepenthes mirabilis ที่ อ.เมือง จ.ระยอง

หลังจากเที่ยวที่จันทบุรีเสร็จแล้ว พ่อผมต้องกลับแต่เช้ามืดเพราะมีภาระกิจ ผมเลยให้พ่อแวะส่งที่ อ.แกลง ก่อนจะเลี้ยวเข้าเส้นทาง มอเตอร์เวย์ เพื่อต่อรถไปที่ ต.ตะพง ตามที่มีข้อมูลจากเว็บหม้อข้าวหม้อแกงลิง ว่ามีดง N. mirabilis ขึ้นปะปนกับป้าอ้อ หรือป่ากก

ผมนั่งรถเมล์จาก อ.แกลงเพื่อมาลงที่แยกตะพง แล้วเดินเข้าไปถามที่วินมอเตอร์ไซค์บริเวณหน้าวัดตะพง...(จำไม่ได้ว่าเหนือหรือใต้) มีป้าวินคนหนึ่งบอกว่าเคยเจอ เคยไปขุดมาปลูก(แต่ปลูกแล้วตาย) อยู่บริเวณป่าละเมาะใกล้หาดแม่รำพึง ไม่ห่างจากสีแยกนัก ผมจึงว่าจ้างให้ป้าพาผมไปดู ด้วยราคา 30 บาท เมื่อแรกไปถึงก็พยายามหา เท่าไรก็หาไม่เจอ วินมอเตอร์ไซค์ก็ตั้งใจช่วยเต็มที่ พยายามหาคนที่น่าจะรู้

ระหว่างทางเจอกับ P.coronariam หัวใหญ่ ข้างทางเลยจอดแวะดูครับ เป็นชายผ้าสีดามงกุฏภาคตะวันออก ซึ่งเจ้านี่ผมก็ได้หัวเล็ก ๆ มาหัวนึงจากบ้านเพื่อนพ่อครับ
Photobucket

จนไปได้แหล่งข่าวจากหมอยาสมุนไพรว่า พบอยู่อีกตำบลหนึ่ง ซึ่งห่างออกไปประมาณ 30 กม.จากที่นี่ ที่บ้านหมอท่านดังกล่าวผมได้พบคุณยายคนหนึ่ง ซึ่งผมถามถึงหม้อข้าวหม้อแกงลิงแกบอกไม่รู้จัก ผมจึงเปิดภาพในกล้องดิจิตอลที่ผมพกติดตัวไปให้แกดู พอแกเห็นแกก็ร้องอ๋อ "...ทอกลิง" ผมฟังไม่ชัด เพราะแกพูดเหน่อ แบบคนระยอง เลยถามอีกทีให้ชัด ๆ แกบอกว่า ไอ้ต้นพรรค์นี้ชาวบ้านเขาเรียกว่า "ควยถอกลิง"(Unsencer) เห็นไหมล่ะ ตอนที่ฝามันยังไม่เปิดมันเหมือน...ของลิงเปี๊ยบเลย(ละไว้ในฐานที่เข้าใจ) อ๋อ เลยได้ทราบภาษาถิ่นอีกชื่อหนึ่ง ซึ่งน่าบันทึกไว้มากเชียวครับ

ผมพยายามต่อรองให้ป้าพาไปให้ได้ เพราะไหน ๆ ก็มาแล้วไม่อยากเสียเที่ยว อีกอย่างผมมีเวลาทั้งวัน ไม่รีบร้อน ป้าแกก็ไม่ค่อยอยากไป ติว่ามันไกล แค่ไปบ้านเพ แกก็คิด 300 แล้ว นี่มันไกลว่านั้นอีก ผมก็เลยต้องนั่งต่อรองกับแก ว่า เอาเถอะป้าจะเอาเท่าไรก็ว่ามา ผมอยากไปดูจริง ๆ ผมสู้ราคาไหวผมก็ไป ถ้าไม่ไหวผมก็กลับ ป้าแกเลยคิดราคาไปกลับ 500 บาท ผมไม่ต่อรองมาก เอาก็เอา

เสร็จแล้วก็นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์แกไป ตากแดด ตัวแดงกันเลย เสื้อคลุมก็ไม่มี หมวกก็ไม่มี แถมใส่กางเกงขาสั้นซะอีก ยังดีที่ช่วงแรก ๆ มีเมฆมาก เพราะเมื่อคืนฝนตก เลยไม่ค่อยร้อนเท่าไร แต่ขากลับนี่สิ แดดเปรี้ยง ๆ เลยครับ

เมื่อไปถึงตำบลที่ว่า ก็ยังต้องไปถามต่อเรื่อย ๆ เค้าว่าหนทางอยู่ที่ปาก ถ้าคุยกับชาวบ้านรู้เรื่องก็หาทางไปถูก ยิ่งมีคนท้องถิ่นไปด้วยยิ่งเข้าใจดีใหญ่ จนได้ทางไปยังบ้านหลังหนึ่งซึ่งทอเสื่อกก ชาวบ้านบอกว่านอกจากทอเสื่อกกแล้ว แกยังเก็บต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาชำแล้วก็ขายตามตลาดนัดด้วย ผมก็สืบเสาะไปจนเจอ พอดีกับที่แวะถามว่าบ้านหลังนั้นไปทางไหน ผมเหลือบไปเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่แกชำไว้หน้าบ้านพอดีเลย

ที่บ้านแก มีต้นใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ปลูกในวงบ่อปูนซีเมนต์ ต้นสูงประมาณ 2 เมตร กำลังออกดอกสะพรั่ง ผมก็เลยได้เก็บภาพมา ทั้งต้น และหม้อ
Photobucket
นี่ครับ ต้นที่อยู่ที่บ้านคุณพี่ที่ทอเสื่อ

Photobucket
หม้อที่ส่วนใหญ่เป็น upper แล้ว มีทั้งสีแดง ๆ

Photobucket
แลสีออกเขียวเหลือง

แต่ต้นที่แกเพาะชำไว้ขายผมไม่ได้ถ่ายมา เพราะไม่ค่อยน่าชมเท่าไร หม้อก็ไม่มี ทำไงได้ล่ะครับ เลี้ยงกับแบบบ้าน ๆ ไม่รู้วิธีการมากมาย ป้าวินมอเตอร์ไซค์ แกก็ชอบของแกด้วย แกเลยซื้อมา 1 ต้น ราคา 30 บาท

พี่ท่านนี้เล่าให้ฟังว่า บริเวณที่แกพบเป็นบึงที่อยู่กลางหุบเขา มีน้ำขังตลอดปี เป็นพื้นที่ป่าเสม็ด ที่มีต้นกก จำนวนมาก เวลาที่แกไปเก็บต้นกกมาทอเสื่อ แกก็เก็บหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาเลี้ยงเล่น ๆ นาน ๆ ไปเริ่มมีคนสนใจ แกก็เลย ชำใส่ถุงขาย โดยเก็บแต่ต้นเล็ก ๆ ขนาดพอใส่ถุงดำได้ แล้วก็มาเลี้ยงต่อจนรอด แกค่อยเอาไปขายตามตลาดนัด หรืองานออกร้านพร้อมกับเสื่อที่แกทอเอง(ถึงจะเป็นการทำลายธรรมชาติ แต่ผมก็ว่าน่าชื่นชมกว่าการเก็บถอนจำนวนมาก ๆ แล้วส่งมาขายในเมืองอีก) แต่ตอนนี้ในบึงนั้นเหลือหม้อข้าวหม้อแกงลิงไม่เยอะ โดยเฉพาะในหน้าแล้ง เพราะชาวบ้านใกล้บึงจะเผาป่า เพื่อให้โล่ง จะได้มีพื้นที่ในการทอดแห หาปลา(วิธีนี้ทำลายธรรมชาติ มากกว่าการเก็บต้นไม้มาขายเสียอีก) แกก็บอกว่าถ้าไปดูตอนนี้ไม่ค่อยได้เห็นต้นใหญ่ ๆ แล้วเพราะโดนเผาไปหมด จะมีก็ต้นเล็ก ๆ ที่เพิ่งเริ่มโต อีกอย่างหนึ่ง เมื่อก่อนที่บึงจะน้ำตื้น สามารถเดินไปได้ทั่ว แต่ตอนนี้ อบต. ทำโครงการคลองรอบบึง จึงมีการขุดคลองรอบบึง เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้ ทำให้บริเวณที่เป็นคลองรอบบึงน้ำจะค่อนข้างลึก ถ้าลงไปก็เปียกหมดทั้งตัวกว่าจะข้ามไปในบึงในส่วนที่ตื้นได้

แต่ก็เอาล่ะ ไหน ๆ ก็มาแล้ว ขอไปดูเสียหน่อยก็แล้วกัน ไว้โอกาสหน้าเอารถมาเองจะลงไปลุยในบึงเลย ผมกับคุณป้ามอเตอร์ไซค์ก็ขี่รถหาบึงนี่อีก ซึ่งห่างจากบ้านทอเสื่อประมาณ 3 กม. แล้วก็ได้พบ สภาพบึงเป็นแบบนี้ครับ

Photobucket

Photobucket
ตรงกลางที่มีต้นกก และต้นไม้ขึ้นห่าง ๆ กันคือบึงที่ว่าครับ มีเนื้อที่น่าจะเป็นพัน ๆ ไร่ ส่วนบริเวณที่มีดอกบัวขึ้น คือคลองที่อบต.ขุดไว้รอบบึงครับ ไว้คราวหน้ามีเสื้อผ้ามาเปลี่ยนจะลงไปถ่ายถึงในบึงเลยครับ เรื่องราวการผจญภัยตามล่าหาหม้อข้าวหม้อแกงลิงของผม ในครั้งนี้ก็มีเท่านี้ครับ ทีนี้มาดูข้อมูลรายละเอียดของ N. mirabilis กันหน่อยดีกว่า

Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce
Rep. Exch. Cl. Br. Isl. (1916): 637.

ชื่อพ้อง: N.albolineata F.M. Bailey, N.aliciae F.M. Bailey, N.armbrustae F.M. Bailey, N.beccariana Macfarl., N.bernaysii F.M. Bailey, N.cholmondeleyi F.M. Bailey, N.fimbriata Blume, N.garrawayae F.M. Bailey, N.jardinei F.M. Bailey, N.kennedyana F. Muell., N.kennedyi Benth., N.macrostachya Blume, N.moorei F.M. Bailey, N.obrieniana Linden & Rodrigas, N.pascoensis F.M. Bailey, N.rowanae F.M. Bailey, N.tubulosa Macfarl.

ชื่อไทย: กระบอกน้ำพราน (ใต้), เขนงนายพราน (ใต้), ปูโยะ (มลายู ปัตตานี), ลึงค์นายพราน (พัทลุง), หม้อแกงค่าง (ปัตตานี), หม้อข้าวลิง (จันทบุรี), ควยถอกลิง (ระยอง),หม้อข้าวหม้อแกงลิง (ใต้, นราธิวาส), เหน่งนายพราน (ใต้)

ความหลากหลายและรูปแบบที่อธิบายไว้: var. biflora Adam & Wilcock, var. echinostoma (Hook. f.) Adam & Wilcock, var. leptostachya Blume, N. phyllamphora var. macrantha Hook. f., N. phyllamphora var. pediculata Lacomte, N. phyllamphora var. platyphylla Bulme,

ถิ่นกำเนิด: ลำปาง, ชัยภูมิ, อุดรธานี, หนองคาย, มุกดาหาร, สุรินทร์, นครราชสีมา, อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, ระยอง,ตราด, ชุมพร, ระนอง, นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ภูเก็ต, พังงา, กระบี่, ตรัง, สตูล, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี

ระดับความสูง: 0-1,500 ม.
ชนิดผสมตามธรรมชาติ: x N. ampullaria, x N. gracilis, x N. kampotiana, x N. smilesii

นิเวศวิทยา: บริเวณที่ชื้นแฉะเปิดโล่ง โดยเฉพาะบริเวณบึงที่มีน้ำขังตลอดทั้งปี

ลักษณะของพืช:
ลำต้น: ทรงกระบอก ยาวไม่เกิน 10 ม. หนาไม่เกิน 10 มม. ระยะระหว่างข้อไม่เกิน 15 ซม. ใบ: บางเหมือนกระดาษ ต้นโตเต็มที่จะมีก้านใบ เนื้อใบรูปไข่หรือรูปปลายหอก ยาวไม่เกิน 30 ซม. กว้างไม่เกิน 7 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบค่อย ๆ แคบลงหรือแคบลงอย่างลาดชัน โคนใบธรรมดา-โอบรัดลำต้นกึ่งหนึ่งหากไม่มีก้านใบ เส้นใบแนวยาวเห็นได้ชัดเจน ฝั่งละ 4-5 เส้น เส้นใบย่อยจำนวนมาก สายหม้อยาวไม่เกิน 10 ซม. หม้อ: ก้นหม้อเป็นกระเปาะ มีเอวช่วง 1 ใน 3 จากก้น ด้านบนทรงกระบอก สูงไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. มีครีบ 1 คู่ (กว้างไม่เกิน 4 มม.) ตั้งแต่ขอบปากถึงก้นหม้อ บริเวณต่อมผลิตน้ำย่อยอยู่บริเวณก้นหม้อที่เป็นกระเปาะ ปากหม้อกลม ขนานกับพื้นหรือเฉียง ขอบปากแบนโค้งที่ขอบ หนาไม่เกิน 10 มม. ฟันเห็นไม่ชัดเจน ฝาหม้อสัณฐานกลมรี ไม่มีเดือยใต้ฝา มี 1-2 จุก ยาวไม่เกิน 5 มม. หม้อบนทรงกระบอกครีบหดเล็กลง ช่อดอก: ช่อกระจะ ก้านช่อเดี่ยว ยาวไม่เกิน 15 ซม. ช่อดอกยาวไม่เกิน 30 ซม. ก้านดอกยาวไม่เกิน 15 มม. ไม่มีฐานรองดอก กลีบดอกรูปกลมหรือรูปไข่ ยาวไม่เกิน 7 มม. ขน: ต้นอ่อนปกคลุมด้วยขนหนาสั้นสีขาว แต่มีการผลัดขน ต้นที่โตเต็มที่ไม่มีขน ขอบใบของต้นที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่เป็นขอบใบจัก

ข้อสังเกต
ชนิด N. mirabilis เป็นชนิดที่พบในบริเวณกว้างมากที่สุดในสกุล รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งพบได้ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และที่พบมากที่สุดคือ ภาคใต้ น่าแปลกที่ไม่ค่อยพบในภาคกลาง ทั้งที่นิเวศวิทยาของชนิดนี้เป็นแบบที่ราบลุ่ม น้ำท่วมขัง โดยเฉพาะบึงที่มีน้ำขังตลอดทั้งปีหรือเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งพื้นที่ลักษณะสามารถพบได้มากในภาคกลาง สาเหตุอาจเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคกลาง ใช้ในการทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะนาข้าว มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ทำให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณนั้นถูกทำลายไปเพื่อทำการเกษตร และสำหรับบริเวณที่ไม่ได้มีการทำเกษตรกรรม ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็อาจสัมผัสกับเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งภาคกลางนับเป็นพื้นที่ทำนาที่ใช้สารเคมีมากที่สุดในประเทศ สารเคมีเหล่านี้อาจปะปนไปกับน้ำซึ่งมักท่วมอย่างทั่วถึงในช่วงฤดูน้ำหลากของทุกปี ดังนั้นหากจะพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงตามธรรมชาติ ก็มักจะต้องเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือเขตห้ามล่าสัตว์ ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำ และชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปทำอันตรายพืชในบริเวณนั้นได้ อีกประการหนึ่ง สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีการทำการเกษตรส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี แต่ท่วมในปริมาณไม่สูงมากนัก ทำให้ไม่สามารถหาประโยชน์ใด ๆ ในบริเวณดังกล่าวได้ พืชที่ขึ้นปะปนในบริเวณนั้นมักจะเป็นต้นหญ้า ต้นกก ไมยราพ และวัชพืชอื่น ๆ ซึ่งทำไห้ไม่ค่อยมีคนสนใจจะเข้าไปสำรวจ หรือแม้แต่เข้าไปเก็บของป่ามากนัก บางครั้งบางทีในบริเวณเหล่านั้นอาจมี N. mirabilis อาศัยอยู่ โดยที่ไม่มีใครสังเกตก็เป็นได้

ลองสำรวจดูสิครับ บางทีบึงน้ำหลังบ้านคุณอาจเป็นแหล่งหม้อข้าวหม้อแกงลิงแหล่งใหม่ ที่ไม่เคยมีการสำรวจก็ได้ ถ้าเจอแล้วยังไงก็ถ่ายรูปมาลงให้ชมกันบ้างนะครับ...




 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 11:55:46 น.
Counter : 2139 Pageviews.  

Nepenthes smilesii ที่อช.น้ำหนาว

     เมื่อช่วงปลายปี 51 ผมเคยมาที่นี่ครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนั้นแค่ผ่านมา แล้วก็แวะเข้าห้องน้ำ แวะดูที่ศูนย์บริการข้อมูลอุทยาน พบหนังสือรวบรวมภาพถ่ายและพันธุ์ไม้ป่าในอุทยานแห่งนี้ แล้วผมก็ได้พบกับภาพนี้ครับ




Photobucket

           เมื่อได้เห็นภาพนี้แล้ว ผมก็มีความตั้งใจว่า ครั้งหน้าจะต้องแวะมาค้างแรมที่นี่ แล้วออกตามหา หม้อข้าวหม้อแกงลิงให้เจอให้ได้


     แล้วผมก็ได้มาอีกครั้งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 พร้อมทั้งเต๊นท์คู่ใจ วันแรกที่มาถึง ผมขับรถตรงเข้าไปยังภูกุ่มข้าวทันที ก่อนจะเข้าไปกางเต๊นท์ในอุทยานเสียอีก แต่ก็ต้องผิดหวังครับ เพราะไปถึงแล้วพยายามเดินหา ตามโคนต้นสนใหญ่ (เหมือนอย่างที่พบบนภูกระดึง) แต่ก็ไม่พบเลยแม้แต่ต้นเดียว อีกทั้งระยะทางจากปากทางเข้าไปยังภูกุ่มข้าวก็เป็นทางลูกรัง ระยะทางถึง 15 กม. จึงไม่รู้จะแวะตรงไหนดี


     เย็นวันนั้นผมกลับเข้าไปพักในอุทยานฯ สอบถามแม่ค้าว่า สวนสนบ้านแปก(เห็นป้ายอยู่ข้างทาง) กับ ดงแปก เนี่ยมันคือสถานที่เดียวกันหรือเปล่า แม่ค้าบอกว่า ที่เดียวกัน ทำให้มั่นใจขึ้น คิดไว้ว่า เอาวะ... ยังเหลืออีกที่หนึ่ง คือ ดงแปก เดี๋ยวพรุ่งนี้เจอกัน...


     เช้าขึ้น หลังจากเก็บเต๊นท์ ดื่มกาแฟ และเดินเล่นในบริเวณอุทยานจนพอใจแล้ว ผมก็ออกเดินทางต่อไปยัง สวนสนบ้านแปก ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานเพียงไม่มากนัก แต่เมื่อเข้าไปก็ต้องผิดหวังอีก นอกจากจะไม่ได้เจอกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงแล้ว ยังเห็นสภาพสวนสนบ้านแปก ซึ่งถูกไฟป่าเผาจนต้นสนล้มระเนระนาด(อ่านเรื่องนี้และดูสภาพป่าสนที่ถูกไฟใหม้ได้ที่บล๊อก "เที่ยวเขาค้อ ต่อ น้ำหนาว")ทำให้คิดว่า ถ้าบริเวณนี้มีหม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่ก็คงถูกไฟป่า เผาวอดไปหมดด้วยเช่นกัน


     ผมออกจากสวนสนบ้านแปกมาเป็นเวลาใกล้เที่ยง จึงแวะกลับเข้าไปยังอุทยานฯ เพื่อเข้าห้องน้ำและทานข้าวกลางวัน ก่อนจะเดินทางกลับอย่างสิ้นหวัง ที่ป้อมตรวจการ ด้านหน้าอุทยานฯ ผมได้พบกับเจ้าหน้าที่ซึ่งแนะนำว่า ถ้าอยากเห็นช้างป่าให้มาดูที่กล้องของ เจ้าหน้าที่อีกท่านหนึ่งซึ่งถ่ายไว้ได้ ผมก็คิดในใจว่า เอาล่ะ ดูหน่อยก็ดี จึงเดินเข้าไปดูภาพในกล้องดิจิตอลของคุณลุงท่านนั้น ระหว่างที่ดูผมเหลือบไปเห็นแผ่นซีดี ซึ่งมีภาพหม้อข้าวหม้อแกงลิงและดอกไม้ป่าจำนวนหนึ่งอยู่ ผมจึงถามว่า ถ้าผมอยากจะไปถ่ายรูปหม้อข้าวหม้อแกงลิง ผมจะไปที่ไหนได้ เพราะผมเข้าไปมาหมดแล้วยังหาไม่เจอเลย แกบอกว่า จริง ๆ แล้วมันก็ไม่ได้หายากนัก แต่ตามริมทางไม่มีให้เห็น ต้องเข้าไปในป่านิดหนึ่ง ถ้าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่รู้จุดก็หาไม่เจอหรอก แกบอกให้ผมไปกินข้าวก่อน แล้วไปหาแกที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เดี๋ยวแกจะพาไปดู (ทราบทีหลังว่าแกชื่อลุงสุรินทร์ เป็นหัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานนี้)


     หลังจากทานอาหารกลางวันแล้ว ผมก็รีบไปหาแกที่หน่วยฯ ไปถึงแกเปลี่ยนชุดจาก ชุดเจ้าหน้าที่เป็นชุดเดินป่า จุดแรกแกพาผมไปดูบริเวณที่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ เพียง 300 เมตร



PhotobucketPhotobucket

สภาพป่าเป็นแบบนี้ครับ แตกต่างจากบนภูกระดึง ซึ่งเป็นป่าสนเพียงอย่างเดียว แต่ที่นี้เป็นป่าดิบแล้ง ผสมกับป่าสน ซึ่งมีต้นหญ้าขึ้นสูงท่วมเอวทีเดียว



PhotobucketPhotobucket
PhotobucketPhotobucket
PhotobucketPhotobucket
PhotobucketPhotobucket

หม้อที่พบก็มีหลากหลายมาก ทั้งหม้อบนหม้อล่าง ซึ่งมีขนาดและสีสันที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่สีแดง สีส้ม สีเขียว สีเหลือง หม้อที่นี่มีขนาดใหญ่กว่าบนภูกระดึงมาก เหลือบไปเห็นหม้อซึ่งเหี่ยวไปแล้ว มีขนาดใหญ่มาก ลุงสุรินทร์บอกว่า ถ้าอยากเห็นหม้อใหญ่ ๆ สีสวย ๆ ต้องมาดูช่วงหน้าฝน จะงามมาก ๆ



Photobucket
Photobucket

ลำต้นก็มีทั้งที่อยู่ตามพื้นดิน และที่ไต่ขึ้นไปบนต้นไม้หรือพุ่มไม้เตี้ย ๆ ใบมีขนาดที่ยาวมากกว่าที่พบบนภูกระดึง ที่นี่วัดความยาวได้ถึง 65 ซม.หม้อก็มีขนาดความสูงมากที่สุดถึง 21 ซม. และกว้างถึง 6 ซม. ทีเดียว(วัดจากหม้อขนาดใหญ่ซึ่งเหี่ยวแห้งไปแล้ว แต่ลำต้นยาวไม่มากนัก ลุงสุรินทร์บอกว่า บริเวณนี้เป็นทางช้างผ่าน ก็เลยทำให้ต้นไม้แถวนี้โดนช้างเหยียบและไปบ้าง
เมื่อถ่ายรูปบริเวณนี้จนหนำใจแล้ว ลุงสุรินทร์จึงพาเข้าไปดูอีกที่หนึ่งซึ่งต้องเข้าไปประมาณ 3 กม. บริเวณนี้เป็นบึงในช่วงฤดูฝนและจะแห้งในฤดูหนาว



Photobucket

บริเวณนี้เป็นที่โล่ง มีเพียงไม้พุ่มเตี้ย ๆ ล้อมรอบบึงด้วยป่าสน และป่าดิบแล้ง ที่เห็นเสื้อเหลือง ๆ นั่นแหละ ลุงสุรินทร์ เนวิเกเตอร์ของผม



Photobucket

กอหม้อข้าวหม้อแกงลิงในบริเวณนี้ จะเป็นพุ่มเตี้ยกว่า เพราะเป็นที่โล่ง แดดส่องได้ทั่วถึง ทำให้ใบและหม้อมีขนาดย่อมกว่าจุดแรกเล็กน้อย



PhotobucketPhotobucket
PhotobucketPhotobucket
Photobucket

หม้อบริเวณนี้ดูจะมีสีสันสดใส เพราะได้รับแสงแดดมากกว่า มีความหลากหลายเช่นเดียวกัน



Photobucket
Photobucket

ดินที่นี่เป็นดินเหนียวปนทราย ซึ่งแม้หน้านี้จะเป็นหน้าแล้งแล้ว แต่ยังคงมีความชื้นสะสมอยู่ใต้ดิน เนื่องจากเป็นบึงน้ำมากก่อน



Photobucket
PhotobucketPhotobucket
PhotobucketPhotobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket

เมื่อถ่ายรูปจนพอใจแล้วจึงแวะส่งลุงสุรินทร์ แล้วเดินทางกลับนครสวรรค์ รวมทั้งตั้งใจว่า เอาไว้หน้าฝนจะมาใหม่อีกครั้งนึง





 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2552    
Last Update : 11 มีนาคม 2552 19:06:20 น.
Counter : 2102 Pageviews.  

Nepenthes smilesii ที่อช.ภูกระดึง

Photobucket
Photobucket
รูปที่ 1 หม้อล่างของชนิด N. smilesii ภูกระดึง จ.เลยรูปที่ 2หม้อก้ำกึ่งของชนิด N. smilesii ภูกระดึง จ.เลย

Nepenthes smilesii Hemsl.,


Kew Bull. (1895) 116.


ความหมายของชื่อ: หม้อข้าวหม้อแกงลิงของ Smiles (นักพฤกษศาสตร์ผู้ค้นพบ)


ชื่อพ้อง: N. anamensis


ชื่อไทย: น้ำเต้าพระฤาษี (เลย)


ความหลากหลายและรูปแบบที่อธิบายไว้: ไม่มี


ถิ่นกำเนิด: พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, เลย, ชัยภูมิ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ตราด


ระดับความสูง: 100-1,300 ม.


ชนิดผสมตามธรรมชาติ: x N. mirabilis


นิเวศวิทยา: ที่ราบทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาสูงซึ่งเป็นดินทราย แห้งแล้งในบางฤดู


ต้น: ลำต้นทรงกระบอก ยาวไม่เกิน 3 ม. หนาไม่เกิน 15 มม. ระยะระหว่างข้อยาวไม่เกิน 5 ซม. ลำต้นมีสีเขียว ส้ม หรือแดง เมื่อแก่เป็นสีเทา ใบ: หนาเหนียวเหมือนหนัง ใบเดี่ยว เรียงตัวเป็นเกลียว เนื้อใบรูปหอกแกมขอบขนาน ยาวไม่เกิน 30 ซม. กว้างไม่เกิน 4  ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบมีขนเล็กน้อย โคนใบแคบ ไม่มีก้านใบ โคนใบโอบลำต้นเต็มลำ มีเส้นใบแนวยาวฝั่งละ 3-4 เส้น เส้นใบย่อยไม่ชัดเจน ใบมีสีเขียวอ่อนหรือสีแดง สายหม้อยาวไม่เกิน 4 ซม. บางครั้งมีครีบยืดออกตั้งแต่เนื้อใบยาวตลอดสายหม้อเชื่อมต่อกับครับที่หม้อ หม้อ: หม้อล่างทรงกระบอก ก้นหม้อทรงกระเปาะเล็กน้อย สูงไม่เกิน 15 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. มีครีบ 1 คู่ กว้างไม่เกิน 10 มม. ยาวจากขอบปากจรดก้นหม้อ ผนังด้านนอกหม้อมีสีแดง ส้ม เหลืองหรือเขียวอ่อน เจือสีส้มแดง ผนังด้านในหม้อมีสีขาว มีจุดสีแดง-แดงเข้มประปรายหรือเกือบทั่วทั้งผนังด้านในหม้อ ปากหม้อรูปกลม-รูปหัวใจ ขอบปากหม้อทรงกระบอก หนาไม่เกิน 3 ม.ม. เฉียงขึ้นไปทางด้านหลัง ฟันไม่เด่นชัด ขอบปากหม้อมีสีเดียวกับผนังด้านนอกหม้อหรือสีเหลือง ฝาหม้อเป็นรูปวงรี-รูปหัวใจ ไม่มีเดือยใต้ฝาหม้อ จุกหม้อเดี่ยว ยาวไม่เกิน 2 มม. หม้อบนทรงเรียวกว่า ครีบหดลงเป็นแนว มีสีสันไม่สดใส ช่อดอก: ตัวผู้กับดอกตัวเมียมีขนนุ่ม ดอกมีขนาดยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร กลีบดอกตัวเมียเมื่อแก่จะไม่บานออก ผลเป็นแบบแคปซูล เมื่อแก่จะแตกเป็นพู 4 พู ขน: ลำต้นและใบมีขนสั้นนุ่ม สีขาว ทั้งด้านบนและท้องใบ ยอดอ่อนมีขนหนาสั้นสีน้ำตาลอ่อน


ข้อสังเกต


N. smilesii เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิง กลุ่มพื้นที่สูง ที่พบได้ในแถบอินโดจีน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย นิเวศวิทยาที่พบในเมืองไทย มักพบบนที่ราบสูง ซึ่งมักเป็นทุ่งหญ้าแห้งแล้ง โล่งแจ้ง อาจมีป่าสนปะปนอยู่ประปราย ดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ซึ่งมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชน้อย เช่น อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย, อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก, อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่า บริเวณที่มีภูมิประเทศ เป็นที่ราบทุ่งหญ้าป่าสนเขาบนพื้นที่สูง น่าจะพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ได้เกือบทุกแห่งทั่วประเทศ


ชนิด N. smilesii เคยถูกจัดเป็นเพียงความหลากหลายของชนิด N. mirabilis แต่ด้วยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่แตกต่างกันมากทั้งลำต้น รูปร่างของเนื้อใบ รวมถึงขนจำนวนมาก ซึ่งไม่มีในชนิด N. mirabilis ทำให้มีการจัดลำดับอนุกรมวิธานเป็นชนิดใหม่ โครงสร้างลำต้นและใบของชนิด N. smilesii มีลักษณะใกล้เคียงกับ N. thorelii  แต่จะมีขนาดใหญ่กว่ามาก รวมทั้งยังมีขนสั้นนุ่ม สีขาว ปกคลุมผิวใบ ซึ่งไม่พบในชนิด N. thorelii ส่วนชนิด N. anamensis (Anam =ชื่อเมืองทางภาคกลางของเวียดนาม, -ensis = มาจาก) มีลักษณะหลายประการที่เหมือนกับชนิดนี้ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวกัน ผู้เขียนจึงใช้ชื่อ N. smilesii ซึ่งเป็นชื่อชนิดที่นิยมใช้แพร่หลายมากกว่า และมีการบันทึกไว้ในเอกสารของหอพรรณไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเห็นส่วนตัวอีกประการหนึ่งคือ smiles แปลว่ารอยยิ้ม ดังนั้ง N. smilesii ก็มีความหมายตามตัวอักษรว่า “หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งรอยยิ้ม” ซึ่งเหมาะกับ เมืองไทย ดินแดนแห่งรอยยิ้มด้วย


อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย (17 มกราคม 2552)


พบที่ระดับความสูง 1,300 ม. เหนือระดับน้ำทะเล บริเวณทุ่งหญ้าป่าสนทั่วทั้งยอดภู มักพบใกล้กับโคนต้นสน เพื่อได้รับร่มเงาจากต้นสนในวันที่แสงแดดจัด ในช่วงฤดูแล้งชนิดนี้จะชะลอการเจริญเติบโต หม้อจะเหี่ยวเกือบทั้งหมด ใบจะเหี่ยวแห้งลง เหลือเพียง 3-5 ใบ ต่อต้น และไม่ค่อยแตกใบใหม่ จนกว่าจะมีฝนตก เพื่อป้องกันการคายน้ำ รากจะมีลักษณะเป็นเหง้าปมเพื่อใช้ในการเก็บสะสมน้ำในช่วงฤดูแล้ง พบต้นแก่ที่มีความยาว 3 เมตรแต่ไม่ค่อยเลื้อยอิงอาศัยต้นไม้ใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตจนมีความยาวมักเกินกว่าลำต้นจะรับน้ำหนักได้ก็จะโค้งลงต่ำอาจพาดเกี่ยวกับกิ่งไม้อื่นและเมื่อเจริญเติบโตต่อไปก็จะยืดขึ้นไปอีก ต้นที่พบมีการม้วนขดขึ้นลงในลักษณะนี้หลายรอบด้วยกัน และมีการแตกยอดมากว่า 5 ยอดในต้นเดียวกัน ตั้งแต่โคนจรดปลาย ชนิดนี้พบลักษณะใบสีเขียวปกติ และใบสีแดงทั้งหมดหรือน้ำตาลแดง ซึ่งยังต้องสังเกตต่อไปว่าลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะทางพันธุกรรมหรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม


ปล. ฤดูที่เหมาะสมในการไปเที่ยวชมหม้อข้าวหม้อแกงลิงบนภูกระดึงคือ ช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค. ซึ่งเป็นช่วงฤดูที่ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสมบูรณ์มีทั้งหม้อและใบ ทั้งยังมีสภาพอากาศที่ง่ายต่อการเดินชม เพราะไม่ใช่ฤดูฝน ส่วนช่วงฤดูหนาวที่ไปนี้จะมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ทำให้หาหม้อข้าวหม้อแกงลิงงาม ๆ ไม่ได้ ทั้งหม้อและใบที่พบก็จะมีขนาดเล็ก


Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
รูปที่ 3-8 ลำต้นที่เหี่ยวแห้งในฤดูแล้งของชนิด N. smilesii บนภูกระดึง
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
Photobucket
รูปที่ 9-14 หม้อที่มีรูปร่างและสีที่แตกต่างกันของชนิด N. smilesii

ข้อแนะนำสำหรับการอนุรักษ์


เพื่อเป็นการอนุรักษ์หากพบหม้อข้าวหม้อแกงลิงในป่าธรรมชาติ ไม่ควรนำกลับมาปลูก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงหรือขยายพันธุ์ เพราะโอกาสที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงป่าจะรอดนั้นมีน้อยมาก สำหรับผู้มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ ขอแนะนำให้ใช้วิธีการตัดยอดแล้วนำกลับไปชำในจำนวนไม่มากนัก เมื่อรอดแล้วค่อยขยายพันธุ์ด้วยกระบวนการอื่น ๆ ต่อไป ไม่ควรขุดรากถอนโคน เพราะหากเราตัดยอดหม้อข้าวหม้อแกงลิงยังมีโอกาสแตกยอดใหม่และเจริญเติบโตต่อไปได้ และที่สำคัญควรทำเพื่อการศึกษาค้นคว้าไม่ควรทำเพื่อการพาณิชย์หรือเพื่อความบันเทิง


*ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเท่าที่ผมได้พบกับตัวเองเท่านั้น ข้อมูลใหม่จะมีการอัพเรื่อย ๆ หากการสำรวจของผมมีความก้าวหน้าขึ้น*





 

Create Date : 24 มกราคม 2552    
Last Update : 18 กรกฎาคม 2552 8:59:24 น.
Counter : 1861 Pageviews.  


trongtham
Location :
นครสวรรค์ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




ผมเป็นเพียงคนหนึ่งที่ปลูกเลี้ยง "หม้อข้าวหม้อแกงลิง" แต่เมื่อปลูกได้สักระยะหนึ่ง ก็พบว่าเราน่าจะรู้และเข้าใจถึงพืชชนิดนี้ให้มากหน่อยนะ นับแต่นั้นก็เริ่มศึกษามากขึ้น(แต่ซื้อมาเลี้ยงน้อยลง) จนวันหนึ่ง หลังจากได้แปลหนังสือ นำไปให้พี่ ๆ ที่เป็นครู จัดนิทรรศการ ทำวิจัย ฯลฯ แล้วได้รู้จัก Bloggang ก็เลยอยากเขียนบทความให้คนอื่น ๆ ได้อ่านกัน สักวันหนึ่งในอนาคตอาจจะพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือสักเล่มก็ได้...หวังว่าวันนั้นคงมาถึงไม่ไกลเกินเอื้อม
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add trongtham's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.