ป่าดงดิบของเหล่าไม้กินแมลง
 
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
23 สิงหาคม 2553

บทที่๔ : Utricularia -ยังไม่มีชื่อไทย-

เป็นพืชกินแมลงที่มีการกระจายพันธุ์มากที่สุด พบได้ทั่วโลก ยกเว้นในทวีปแอนตาร์กติกา มีชื่อสามัญว่า Bladderworts ทั่วโลกพบประมาณ 300 ชนิด ในประเทศไทยพบประมาณ 25 ชนิด ทุกชนิดที่พบมีโครงสร้างเหมือนกันคือ ถุงดักแมลง (bladder trap) ขนาดเล็ก ใช้สำหรับดักจับลูกไร แมลงน้ำหรือสัตว์น้ำตัวเล็กๆ เป็นอาหาร

[Taylor, 1989, อ้างถึงใน นิรันดร์ วิพันธุ์เงิน, การศึกษาชีววิทยาของพันธุ์ไม้สกุล Utricularia L. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(พฤกษศาสตร์), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.]



4.1 ลักษณะทางพฤกศาสตร์
Utricularia มีทั้งที่เป็นพืชน้ำ และพืชกึ่งน้ำ มีกับดักแมลงแบบถุงดัก เป็นถุงขนาดจิ๋วเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำต้นและใบที่อยู่ในน้ำ ดอกคือสิ่งเดียวที่มองเห็นได้สะดุดตา นับเป็นพืชที่มีใบและลำต้นแปลกประหลาด ทั้งยังไม่มีราก แต่มีไหลและส่วนคล้ายรากทำหน้าที่แทน

โดยปกติการระบุให้แน่ชัดว่าเป็น Utricularia ชนิดไหน ต้องใช้การจำแนกกระเปาะดักแมลงด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อสังเกตขนาดและลักษณะของกระเปาะดักแมลง ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด จึงทำให้ระบุชนิด Utricularia อย่างทันทีได้ยาก โดยทั่วๆไปจึงรู้จักเพียงบางชนิดที่มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวเป็นเอกลักษณ์ ส่วนชนิดที่อยู่บนบกพบขึ้นเป็นกลุ่มอย่างหนาแน่น ตามลานหินเปิดโล่งที่มีน้ำขัง ในช่วงปลายฤดูฝนต่อกับต้นฤดูหนาว

4.2.1 สายพันธุ์ที่พบในประเทศไทย
ในประเทศไทยที่มีรายงานการค้นพบแน่ชัดมี ดุสิตา (Utricularia delphinioides) สร้อยสุวรรณา (Utricularia bifida) และ สาหร่ายข้าวเหนียว (Utricularia aurea)

4.2.1 ดุสิตา (Utricularia delphinioides)
ดุสิตา เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อให้ เป็นไม้ล้มลุกกินแมลง อายุปีเดียว พบเจริญอยู่บนดินที่ชื้นแฉะขึ้นเป็นกอ รากมีลักษณะเป็นเส้นยาว แตกแขนงและทอดนอนไปตามผิวดิน มีใบขนาดเล็ก เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบถึงรูปช้อน ปลายใบกลม เวลาออกดอกจะโดดเด่น เพราะมันจะแทงดอกขึ้นมาสูง 10-20 ซม. และออกดอกสีม่วงเข้ม โดยที่มองไม่เห็นลำต้น

4.2.2 สร้อยสุวรรณา (Utricularia bifida)
สร้อยสุวรรณา เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อให้ เป็นไม้ล้มลุกกินแมลง อายุปีเดียว ขึ้นเป็นกอ รากมีลักษณะเป็นเส้นยาว ไหลเป็นเส้นกลมยาว แตกแขนงและทอดไปตามผิวดิน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบยาว ปลายใบกลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ดอกมีสีเหลือง ก้านดอกสั้น ออกเป็นช่อ มักพบขึ้นปะปนกับดุสิตา

4.2.3 สาหร่ายข้าวเหนียว (Utricularia aurea)
สาหร่ายข้าวเหนียวเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นลอยอยู่ในน้ำ พบได้ในประเทศอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ในไทยพบขึ้นอยู่ในนาข้าว หนองน้ำ ลำห้วยลำคลอง ตลอดจนแหล่งน้ำนิ่งหรือน้ำขังบนภูเขาสูงทั่วทุกภาค

“ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้นหรือเป็นเกลียว เปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของใบเป็นรูปเส้นเล็ก ๆ มีอวัยวะจับแมลงตามซอกใบ เป็นกระเปาะขนาดเล็กจิ๋ว รูปไข่เบี้ยว เป็นจำนวนมาก เพื่อไว้ดักจับแมลงเล็ก ๆ กลไกบนกระเปาะดักจับแมลงมีความน่าทึ่งมาก ซึ่งตรงปากทางเข้าออกของกระเปาะจะมีเส้นขนที่ทำหน้าที่เหมือนสลักกับดัก เมื่อมีเหยื่อประเภทตัวอ่อน แมลงในน้ำ หรือไรน้ำตัวเล็ก ๆ ว่ายมาโดนก็จะทำให้ปากกระเปาะเปิดออก แล้วเกิดแรงดึงดูดอย่างแรงและเร็วเพื่อดูดแมลงให้เข้าไปในกระเปาะก่อนที่มันจะหนีได้ทัน ในที่สุดแมลงเหล่านั้นก็จะกลายเป็นอาหารของพืชพิสดารชนิดนี้ด้วยการปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยเหยื่อกลายเป็นธาตุอาหารหล่อเลี้ยงต้นต่อไป ดอกมีสีเหลืองสด”
[สาหร่ายข้าวเหนียว, [ออนไลน์], 2553.¬¬]




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2553
1 comments
Last Update : 23 สิงหาคม 2553 23:55:21 น.
Counter : 3055 Pageviews.

 

สาหร่ายข้าวเหนียวดอกสีม่วงเป็นตัวเดียวกันไหมครับ

 

โดย: ประมุข ฤๅแก้วมา IP: 49.229.11.117 14 กุมภาพันธ์ 2554 15:55:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ปีกน้ำค้าง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ยินดีต้อนรับค่ะ
เราชื่อ บี ชอบปลูกพืชกินแมลง
สะสมไว้หลายชนิดเลยละ
ที่นี่ เราตั้งใจจะลงข้อมูล แชร์วิธีปลูกของเรา
ข้อมูลอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด
เนื่องจากสภาพแวดล้อมหลายๆ อย่าง แตกต่างกัน
ดังนั้น ขอแนะนำให้ใช้เป็นแนวทางคร่าวๆ ก็พอค่ะ

และมีแผงขายของ เล็กๆน้อยๆ ด้วยละคะ
ขายขำขำๆ เพราะบางอย่างก็หาซื้อยากเหลือเกิน
เลยลงไว้เผื่อสนใจเหมือนกัน จะได้ไม่ต้องหาค่ะ :)
[Add ปีกน้ำค้าง's blog to your web]