DoN'T LoVe YoU nO MoRe i'M sOrRy.
Group Blog
 
 
กันยายน 2549
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
28 กันยายน 2549
 
All Blogs
 

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ


ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ หรือสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินหนองงูเห่า เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ ถนนบางนาตราด ใน จังหวัดสมุทรปราการ เปิดใช้งานวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 และมีกำหนดการใช้งานแทนท่าอากาศยานกรุงเทพที่ดอนเมืองหลังดำเนินการระยะหนึ่ง โดยนโยบายรัฐบาลได้กำหนดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และจะเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ชื่อของสนามบินสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต จาห์นชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/จาห์นสำนักงานใหญ่ที่ชิคาโก ซึ่งแบบอาคารสนามบินได้ถูกปรับเปลี่ยน ขนาดอาคาร และวัสดุจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่นเพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย

ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต ว่า "Suvarnabhumi" แทนที่การเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ว่า "Suwannaphum"

สารบัญ
1 วาระแห่งชาติ
2 สายการบิน
2.1 สายการบินระหว่างประเทศ
2.2 สายการบินในประเทศ
2.3 ขนส่งอากาศยาน
3 การคมนาคม
3.1 รถแท็กซี่
3.2 รถโดยสารประจำทาง
4 รายละเอียดสนามบิน
4.1 ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน
4.2 อาคารผู้โดยสาร
4.3 อาคารท่าเทียบเครื่องบิน
4.4 งานศิลปะภายในสนามบิน
4.5 งานภูมิทัศน์
4.6 อาคารจอดรถ
4.7 ระบบสาธารณูปโภค
4.8 ระบบบริการคลังสินค้า
4.9 ระบบอื่นๆ
4.10 มหัศจรรย์เลข 9
4.11 ความเป็นที่สุด
5 การวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงการวางแผนและการก่อสร้าง
5.1 ปัญหาทางเทคนิควิศวกรรม สถาปัตยกรรม
5.2 การกล่าวหาและการตรวจสอบเรื่องการทุจริต
5.3 ปัญหาการพัฒนาพื้นที่
5.4 ปัญหาอื่น
5.5 การชี้แจงจาก ทอท. เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ
6 อ้างอิง
7 ดูเพิ่ม
8 เว็บไซต์อื่น




วาระแห่งชาติ
ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญด้านเศรษฐกิจ สังคม การท่องเที่ยว และด้านอื่นของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงกำหนดให้ (การก่อสร้าง) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องร่วมกันดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ได้มีการเปิดทดลองใช้สนามบิน ในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 มีผู้โดยสารจากสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบิน ได้แก่ การบินไทย บางกอกแอร์เวย์ โอเรียนไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย และ พีบี.แอร์ โดยมีจำนวนผู้โดยสาร 4,800 คน จาก 24 เที่ยวบิน โดยนายกรัฐมนตรีรักษาการณ์ ทักษิณ ชินวัตร ได้เดินทางจากสนามบินดอนเมืองมายังสนามบินสุวรรณภูมินี้ นอกจากนี้ ได้มีกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการแจกประกาศนียบัตรและบัตรโดยสารที่ระลึกแก่ผู้ร่วมเที่ยวบิน จัดให้มีการนำผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมในบริเวณสนามบิน โดยมัคคุเทศก์อาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างร่วมกับการท่าอากาศยานและรถรถโดยสาร ขสมก. ได้มีเส้นทางพิเศษเพื่อเข้าชมสนามบินและสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง

นอกจากนี้รัฐบาลคาดว่าจะได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางอากาศ ภายใต้มาตรฐานนานาชาติที่ออกโดย องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และ องค์การการบินพลเรือนสากล เพื่อเปิดใช้ในทางพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 (เริ่มย้ายและให้บินขึ้นลงได้ตั้งแต่ 15 กันยายน) และกำหนดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันแรกของการทดลองบินของสายการบินจากต่างประเทศ การเริ่มการบินของสายการบินภายในประเทศวันแรก ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วง 01.00-06.10 น. ทำให้ประสบปัญหาในการเช็คอินของสายการบินในช่วงเวลานั้น

การที่จะเปิดเป็นทางการ ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดทำแสตมป์ที่ระลึก เป็นภาพอาคารผู้โดยสาร พร้อมเครื่องบิน และตราสัญลักษณ์บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พิมพ์จำนวน 18 ล้านดวง ชนิดราคา 3 บาท พร้อมซอง (วันแรกจำหน่ายราคาซองละ 10 บาท) ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน เป็นต้นไป [1]

สายการบิน
รายชื่อสายการบินทั้งหมดที่จะให้บริการ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยเริ่มวัน 28 กันยายน 2549 เวลา ตี 3

สายการบินระหว่างประเทศ
กลัฟแอร์ (Gulf Air)
กาตาร์แอร์เวย์ (Qatar Airways)
การบินไทย (Thai Airways International)
การูด้าอินโดนีเชีย (Garuda Indonesia)
คาเธย์แปซิฟิก (Cathay Pacific)
คูเวตแอร์เวย์ (Kuwait Airways)
เคแอลเอ็มรอแยลดัตช์แอร์ไลน์ (KLM Royal Dutch Airlines)
เคนย่าแอร์เวย์ (Kenya Airways)
แควนตัส (Qantas)
โคเรียนแอร์ (Korean Air)
เจแปนแอร์ไลน์ (Japan Airlines)
เจ็ทสตาร์เอเชียแอร์เวย์ (Jetstar Asia Airways)
เจ็ทสตาร์แอร์เวย์ (Jetstar Airways)
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (China Southern Airlines)
ไชนาแอร์ไลน์ (China Airlines)
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (China Eastern Airlines)
เซี่ยเหมินแอร์ไลน์ (Xiamen Airlines)
ดรูกแอร์ (Druk Air)
เตอร์กิชแอร์ไลน์ (Turkish Airlines)
เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ (Turkmenistan Airlines)
ทรานส์แอโร (Transaero)
ไทเกอร์แอร์เวย์ (Tiger Airways)
ไทยแอร์เอเชีย (Thai Air Asia)
ไทยสกายแอร์ไลน์ (Thai Sky Airlines)
นอร์ธเวสต์ (Northwest Airlines)
บริติชแอร์เวย์ (British Arilines)
บางกอกแอร์เวย์ (Bangkok Airways)
ไบแมนบังคลาเทศ (Biman Bangladesh)
ปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (Pakistan International Airlines)
พีบีแอร์ (PBair)
เพรสิเดนท์แอร์ไลน์ (President Airlines)
ฟินน์แอร์ (Finnair)
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ (Philippine Airlines)
ภูเก็ตแอร์ (Phuket Air)
มาเลเชียแอร์ไลน์ (Malaysia Airlines)
มาฮานแอร์ (Mahan Air)
เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์เนชันแนล (Myanmar Airways International)

ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (United Airlines)
รอแยลเนปาลแอร์ไลน์ (Royal Nepal Airlines)
รอแยลจอร์แดเนียน (Royal Jordanian)
รอแยลบรูไนแอร์ไลน์ (Royal Brunei Airlines)
รอแยลพนมเปญแอร์เวย์ (Royal Phnom Penh Airways)
ลาวเอเวียชัน (Lao Aviation)
ลุฟแทนซา (Lufthansa)
เวียตนามแอร์ไลน์ (Vietnam Airlines)
ศรีลังกาแอร์ไลน์ (Sri Lankan Airlines)
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม (Scandinavian Airlines System)
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ (Swiss International Air Lines)
สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines)
เสียมเรียบแอร์เวย์ (Siem Reap Airways)
ออลนิปปอนแอร์เวย์ (All Nippon Airways)
ออสเตรียนแอร์ไลน์ (Austrian Airlines)
อินเดียนแอร์ไลน์ (Indian Airlines)
อียิปต์แอร์ (EgyptAir)
อีวาแอร์ (EVA Air)
อูซเบกิสถานแอร์เวย์ (Uzbekistan Airways)
เอธิฮัดแอร์เวย์ (Etihad Airways)
เอเชียน่าแอร์ไลน์ (Asiana Airlines)
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (Ethiopian Airlines)
เอมิเรตส์ (Emirates)
เอลอัล (El Al)
เอสเซเวนแอร์ไลน์ (S7 Airlines)
แอโรฟลอต (Aero Flot)
แอโรสวิตแอร์ไลน์ (Aerosvit Airlines)
แอร์แอสทานา (Air Astana)
แอร์ไชนา (Air China)
แอร์คอร์โย (Air Koryo)
แอร์มาเก๊า (Air Macau)
แอร์มาดากัสการ์ (Air Madagascar)
แอร์อินเดีย (Air India)
แอร์ฟรานซ์ (Air France)
แอลทียูอินเตอร์เนชันแนล (LTU International)
โอเรียนไทยแอร์ไลน์ (Orient Thai Airlines)


สายการบินในประเทศ
การบินไทย
บางกอกแอร์เวย์
นกแอร์
วัน-ทู-โก
โอเรียนไทย
พีบี. แอร์
ภูเก็ตแอร์
ไทยแอร์เอเชีย

ขนส่งอากาศยาน
Federal Express
United Parcel Service
DHL
Cathay Pacific Cargo
Lufthansa Cargo
Eva Air Cargo
China Airlines Cargo
KLM Cargo
Singapore Airlines Cargo
All Nippon Cargo
Japan Airlines Cargo
Nippon Cargo Airlines
Martin air Cargo
Shanghai Airlines Cargo
Kuzu Airlines Cargo
Korean Air Cargo
Asiana Cargo

การคมนาคม

แผนที่แสดงเส้นทางเข้าถึงสนามบิน (จากเว็บไซต์การท่าอากาศยาน)การเข้าถึงสนามบินสุวรรณภูมิสามารถเข้าถึงได้โดยทางรถยนต์ รถโดยสารประจำทาง ของ ขสมก. 6 สาย ในอนาคตมีแผนก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าจากบริเวณสถานีมักกะสันมายังสนามบินในชื่อ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (Airport Rail Link) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ท่าอากาศยานมีทางเข้าออกทั้งหมด 6 เส้นทาง [2] คือ

ทิศเหนือ เป็นถนนยกระดับขนาด 8 ช่องจราจร จากถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ เข้าสู่อาคารผู้โดยสาร
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 6 ช่อง เชื่อมกับทางยกระดับจากถนนร่มเกล้าและถนนกิ่งแก้ว
ทิศใต้ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนบางนา-ตราด และทางด่วนบูรพาวิถี
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร เชื่อมกับถนนอ่อนนุช
ทิศตะวันตก เป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร เชื่อมกับถนนกิ่งแก้ว
(กำลังก่อสร้าง) รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายพญาไท – มักกะสัน – สุวรรณภูมิ วิ่งเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร มีสถานีรถไฟฟ้าใต้อาคารผู้โดยสาร
สำหรับที่จอดรถ ในบริเวณใกล้ส่วนอาคารผู้โดยสาร จะเป็นเพียงอาคารที่จอดรถระยะสั้น 2 อาคาร จุได้ 5000 คัน บริหารงานโดยบริษัทที่ได้รับสัมปทานในการจัดเก็บค่าจอดรถในราคาต่อชั่วโมง ส่วนบริเวณจอดรถระยะยาว จะเป็นลานกว้างอยู่ห่างออกไป ใกล้กับบริเวณที่จอดรถบัส และที่จอดรถแท็กซี่สาธารณะ (402 คัน) บริเวณให้บริการเช่ารถยนต์ (408 คัน) ผู้โดยสารในบริเวณนี้สามารถเดินทางเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร โดยรถบริการภายในสนามบินผ่านทางชัตเติลบัสอีกทอดหนึ่ง

รถแท็กซี่
รถส่วนตัวและแท็กซี่ที่มีผู้โดยสารสามารถจอดชั่วคราวส่งผู้โดยสารได้ที่จุดจอดขาออก ณ ถนนวงนอกหน้าอาคาร (departure (level 4) inner curb) โดยเมื่อส่งผู้โดยสารเสร็จแล้ว ต้องออกรถทันทีโดยไม่มีข้อยกเว้น สำหรับการจอดชั่วคราวรับผู้โดยสาร รถส่วนตัวจอดได้ที่จุดจอดขาเข้า (arrival (level 2) inner curb) ส่วนรถแท็กซี่จอดได้ที่จุดรอแท็กซี่ที่สถานีรถบัส ผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการรถแท็กซี่ สามารถขึ้นรถชัตเติลบัสจากอาคารหลักไปยังสถานีรถบัสได้ [3]

รถโดยสารประจำทาง
1. เส้นทางสายสีแดง สาย 549
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - มีนบุรี - บางกะปิ
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปตามถนนลาดกระบังแยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบูรานุกิจมีนบุรี แยกซ้ายเข้าถนนเสรีไทยสุดเส้นทางที่บางกระปิ
2. เส้นทางสายสีน้ำเงิน สาย 550
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - แฮปปีแลนด์
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปตามถนนลาดกระบัง ถนนอ่อนนุช แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกไปตามถนนแฮปปีแลนด์ สุดเส้นทางที่แฮปปีแลนด์
3. เส้นทางสายสีน้ำตาล สาย 551
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ(ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง (กรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางด่วนพระราม 9 ไปตามถนนพระราม 9 ถนนอโศก-ดินแดง ถนนราชวิถี สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
4. เส้นทางสายสีเหลือง สาย 552
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานไปตามถนนบางนา-บางปะกง แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท สุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช
5. เส้นทางสายสีเขียว สาย 553
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สมุทรปราการ
เริ่มตินจากท่าอากาศยาน แยกซ้ายเข้าถนนลาดกระบัง แยกซ้ายเข้าถนนวัดกิ่งแก้ว แยกขวาไปตามถนนบางนา-บางปะกง แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท และสุดเส้นทางที่สมุทรปราการ
6. เส้นทางสายสีชมพู สาย 554
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - รังสิต(ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยาน ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง(กรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่) แยกขวาไปตามถนนวงแหวนรอบนอก(ตะวันออก) แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา ถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพ สุดเส้นทางที่รังสิต
7. เส้นทางสีม่วง (สายเฉพาะกิจ)
ท่าอากาศยานกรุงเทพ(ดอนเมือง) - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากรังสิตไปตามถนนวิภาวดีรังสิตถึงแยกดินแดงเลี้ยวซ้ายเข้าทางด่วนพระราม 9 ไปถนนศรีนครินทร์ และเข้ามอเติอร์เวย์ สุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รายละเอียดสนามบิน

แผนที่แสดงที่ตั้งอาคารต่างๆภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ ประมาณถนนบางนาตราดกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานคร 25 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยส่วนหลัก ได้แก่

ระบบทางวิ่ง ทางขับ และลานจอดอากาศยาน
ทางวิ่ง มี 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร มีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น ให้บริการขึ้น-ลง ของอากาศยานได้พร้อมกัน และเมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว จะมีทางวิ่งทั้งหมด 4 เส้น เป็นทางวิ่งข้างละ 2 เส้นขนานกัน และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานขนาดใหญ่ไว้ด้วย จำนวน 5 หลุมจอด

อาคารผู้โดยสาร

พื้นที่ส่วนเช็กอิน ภายในอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ
แผนที่ภายในอาคารผู้โดยสารแต่ละชั้นอาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตร.ม. มี 8 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน มีรายละเอียดแต่ละชั้น(ตามแผน) ดังต่อไปนี้

ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร (Bus Lobby)
ชั้น 2 - ผู้โดยสารขาเข้า (Arrivals)
ชั้น 3 - จุดนัดพบ, ร้านค้าต่างๆ
ชั้น 4 - ผู้โดยสารขาออก (Departures)
ชั้น 5 - สำนักงานบริษัทการบินไทย และพันธมิตร (Star Alliance)
ชั้น 6 - ภัตตาคาร
ชั้น 7 - ที่ชมทัศนียภาพ
ชั้นใต้ดิน - สถานีรถไฟ
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของท่าอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น จุดตรวจบัตรโดยสาร 360 จุด จุดตรวจหนังสือเดินทาง ขาเข้า 124 จุด / ขาออก 72 จุด โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 100% Hold Baggage In-line Screening System นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะสร้างสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอยู่ใต้อาคาร มีอาคารผู้โดยสารนานาชาติและภายในร่วมกัน ระยะทางเดินต่อเครื่องระหว่างสายการบินภายในและภายนอก มีความยาวเฉลี่ยราว 800-1000 เมตร ระยะไกลสุดราว 3000 เมตร เดิมมีแผนที่จะเชื่อมโดยรถรางใต้ดิน (แต่ปัจจุบันไม่ได้ก่อสร้างตามแผนนั้น)

อาคารท่าเทียบเครื่องบิน

ภายในส่วนอาคารท่าเทียบเครื่องบินและส่วนพักคอยอาคารท่าเทียบเครื่องบิน หรือคอนคอร์ส มีท่าเทียบ 51 จุด 5 จุดสามารถรอรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น Airbus A-380 ได้ ลักษณะสถาปัตยกรรมทันสมัย หลังคารูปโค้งกรุผ้าใบสลับกระจกโค้ง นอกจากการจอดเทียบท่าแล้วสามารถจอดที่ท่ากลางลานได้ รวมแล้วสามารถรองรับเครื่องบินได้ราว 120 ลำ

งานศิลปะภายในสนามบิน
ได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม ประดับหลายชิ้นภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 ชิ้น ประติมากรรมนารายณ์กวนเกษียรสมุทร มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลอง ของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย

งานภูมิทัศน์

ภูมิทัศน์สวน "ชนบท" ในบริเวณส่วนอาคารผู้โดยสาร หลังการแก้ไขแบบ โดยภูมิสถาปนิกไทยงานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบิน และภายในส่วนเปิดโล่งของสนามบิน นั้นมีลักษณะเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์คเกอร์ (Peter Walker) ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน นับเป็นงานภูมิสถาปัตยกรรมซึ่งนักวิชาการทางด้านภูมิสถาปัตยกรรมระบุว่าเป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือสวน "เมือง" (city) เป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์ และน้ำพุ และสวน "ชนบท" (country) ใช้หญ้าท้องถิ่น และต้นไม้ตัดแต่ง (topiary) รูปฝูงช้าง ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ และให้กลุ่มภูมิสถาปนิกชาวไทย ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมที่ร่วมวางแผนแม่บท เมื่อ ปี 2537 (สำนักงานภูมิสถาปนิก ดี เอส บี แอสโซสิเอส) ร่วมกับกลุ่มผู้ออกแบบชุดใหม่ สำนักงานภูมิสถาปนิกระฟ้า ปรับแบบ แต่ยังคงแนวคิดเมืองและชนบทอยู่ (ดูภาพ)





สวน "เมือง" ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

สวน "เมือง" ภายในคอร์ท (เดิม) โดย Peter Walker and Partners

ภูมิทัศน์สวน "ชนบท" ในบริเวณส่วนอาคารผู้โดยสาร หลังการแก้ไขแบบ โดยภูมิสถาปนิกไทย

สวน "ชนบท" ภายในคอร์ท (เดิม) โดย Peter Walker and Partners


งานประติมากรรม และภาพเขียนไทย ในบริเวณอาคาร

อาคารจอดรถ
อาคารจอดรถมี 2 อาคาร แต่ละอาคารสูง 5 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร สามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีที่จอดรถบริเวณอื่นๆ รวมทั้งหมดกว่า 15,677 คัน

ระบบสาธารณูปโภค
ระบบป้องกันน้ำท่วม มีการสร้างเขื่อนดินสูง 3.5 เมตร กว้าง 70 เมตร โดยรอบพื้นที่ท่าอากาศยาน และมีอ่างเก็บน้ำภายใน 6 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
ระบบน้ำประปา เชื่อมต่อกับระบบประปาของการประปานครหลวง และมีถังน้ำประปาสำรองขนาด 40,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถสำรองน้ำประปาไว้ใช้ได้ 2 วัน
สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย เป็นสถานีแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าจาก 115 กิโลโวลต์ ให้เหลือ 24 กิโลโวลต์ มีจำนวน 2 สถานี เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ทุกระบบภายในท่าอากาศยาน
ระบบบำบัดน้ำเสีย สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ระบบจัดเก็บกากของเสีย สามารถกำจัดกากของเสียได้ประมาณ 100 ตันต่อวัน

ระบบบริการคลังสินค้า
คลังสินค้ามีพื้นที่ให้บริการประมาณ 568,000 ตารางเมตร และมีการให้บริการแบบเขตปลอดพิธีการศุลกากร (Free Zone) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี

ระบบอื่นๆ
ระบบโภชนาการ - ระบบโภชนาการสามารถผลิตอาหาร ให้แก่สายการบินต่างๆ ได้ 100,000 ชุดต่อวัน
โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน - โรงซ่อมบำรุงอากาศยานมีจำนวน 2 โรง สามารถจอดอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส เอ 380 ได้
ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ - ศูนย์ควบคุมฯ มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก (132.2 เมตร) ที่พร้อมไปด้วยระบบวิทยุสื่อสารการบิน ระบบติดตามอากาศยานเขตประชิดสนามบินและระบบติดตามอากาศยานภาคพื้นดิน รวมทั้งระบบนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย
โรงแรมและบริการ - โรงแรมตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ในระยะแรกมีจำนวน 600 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
นอกจากนี้ภายในท่าอากาศยาน จะมีการบริการต่างๆ มากมาย เช่น ศูนย์บริการรถเช่า ร้านค้า ภัตตาคาร สถานีเติมน้ำมัน ฯลฯ

มหัศจรรย์เลข 9
นอกเหนือกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยการท่าอากาศยานฯ (AOT)ในวันที่ 9 เดือน 9 (กันยายน 2549) ซึ่งมีการวิ่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมีนักวิ่งจากภูมิภาคต่างๆ (จำนวนที่ลงทะเบียน 9,999 คน)แล้ว เป็นที่น่าสังเกตถึง มหัศจรรย์เลข 9 ดังต่อไปนี้ [4]

อาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน มีระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้น 9 เมตร ซึ่งเสาหลัก (เสาไพลอนที่ค้ำซูเปอร์ทรัส) หรือคานหลักรั้น มี 2 ตัวต่อ 1 คาน รวมกันเป็น 1 ชุด
เสา 2 ตัวที่ค้ำคานนี้จะห่างกัน 81 เมตร (8+1=9)
ชุดเสาที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะห่างจากชุดเสาทางด้านทิศตะวันตก 126 เมตร (1+2+6=9)
หลังคาผ้าใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งกับอาคารเทียบเครื่องบินทั้งหมด 108 ช่วง (1+0+8=9)
สำหรับทางเลื่อนระนาบผิวเฉพาะในเทอร์มินอลมีทั้งหมด 95 ชุด มีความยาวตั้งแต่ 27 เมตร (2+7=9) และ 108 เมตร (1+0+8=9)
ความเร็วของทางเลื่อนในอาคารรวมทั้งทางเลื่อนลาดเอียง มีความเร็วนาทีละ 45 เมตร (4+5=9)

ความเป็นที่สุด
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีความเป็นที่สุดในหลายๆด้าน[5] และ เป็นหนึ่งใน "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ" (สโลแกนของรายการสถานีสุวรรณภูมิ ทางโทรทัศน์เคเบิ้ล ช่อง UBC9) สามารถสรุปเป็นข้อๆดังต่อไปนี้

สนามบินที่ใช้เวลาการก่อสร้างนานที่สุดในโลก
สนามบินที่ใหญ่ที่สุด และทันสมัยที่สุดแห่งใหม่ในโลกด้วย พร้อมกันกับเป็นการปิดของท่าอากาศยานกรุงเทพ ที่ได้ชื่อว่าเป็นสนามบินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ยังคงเปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน
ตัวอาคารผู้โดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
ภายในอาคารเทียบเครื่องบิน ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก
ระบบทางวิ่ง (รันเวย์) มีความยาวที่สุดในโลก
หอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก 132.2
มีโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ที่มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง ซึ่งบริเวณล็อบบี้ของโรงแรมถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก
ระบบการบริหารจัดการท่าอากาศยานทุกกิจกรรม ที่ใช้ระบบไอทีติดอันดับโลกไปโดยปริยาย
มีเรื่อง “ฉาวโฉ่” มากที่สุด ตลอดระยะเวลาหลายๆปีที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต ได้แก่ การซื้อที่ดิน ออกแบบก่อสร้าง จ้างบริษัทที่ปรึกษา ถมทราย การว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ขั้นตอนแบ่งงานบริษัทรับเหมา จัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดที่เพิ่งเป็นข่าวปรากฎในสื่อ

การวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงการวางแผนและการก่อสร้าง
โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นโครงการที่มีความโดดเด่นในแง่ความเป็นที่สุดในด้านต่างๆ แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือมีอยู่ทั้งในช่วงการวางแผน การก่อสร้าง และปัญหาอื่นๆมากมายเช่นกัน ปัญหาเหล่านี้ได้มีการยกเป็นประเด็นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และในสื่อ ปัญหาบางปัญหาแม้นยังไม่ได้หยิบยกมาถกกันอย่างจริงจัง แต่ก็เป็นประเด็นที่สาธารณะชนเฝ้าติดตาม ตัวอย่างข้อวิพากษ์วิจารณ์ ได้แก่

ปัญหาทางเทคนิควิศวกรรม สถาปัตยกรรม
ในการก่อสร้างช่วงแรก พบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่การก่อสร้าง
ปัญหาการทรุดตัวไม่เท่ากัน ของแต่ละช่วงของ ทางขึ้นลงของเครื่องบิน และทางเชื่อมไปยังรันเวย์ (แท็กซี่เวย์) เนื่องจากเทคนิคการถมและบดอัด
ปัญหาคุณภาพและความคงทนของวัสดุผ้าใบหลังคาอาคารเทอร์มินอล
ปัญหาระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นต้องใช้พลังงานและกระแสไฟฟ้ามาก เพราะผนังอาคารเป็นกระจกและเพดานสูง20เมตร ทำให้ต้องใช้ระบบหล่อน้ำเย็นใต้พื้นชดเชย ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการดูแลยากกว่าระบบทั่วไป สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าน้ำเย็นจากโรงทำน้ำเย็น
ปัญหาระบบเสียง อคูสติกไม่มีวัสดุกรุผนังอื่น นอกจากกระจก ทำให้ไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายเสียงที่ดี อาจก่อให้เกิดปัญหาในการกระจายเสียงได้
ปัญหาความพร้อมของระบบตามมาตรฐานการบินนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อการเปิดสนามบิน ที่มีการเลื่อนวันเปิดไป-มา จนมาลงเอยที่วันที่ 28 กันยายน 2549 ซึ่งเช้ามืดในวันดังกล่าวจะมีการหยุดใช้สนามบินนานาชาติกรุงเทพ (ดอนเมือง)อย่างถาวร จึงจะต้องมีการขนย้ายทุกอย่างให้จบสิ้นลง ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ดำเนินกิจการสายการบินต่างๆเป็นอันมาก
ปัญหาหลังคารั่ว - ในวันที่ 18 กันยายน 2549 ขณะยังไม่เปิดการบริการทางพาณิชย์อย่างเต็มที่นั้น หลังคาอาคารผู้โดยสารได้เกิดรั่ว เนื่องจากซิลิโคนที่เชื่อมกระจกหลุด ซึ่งอาจเกิดจากการถูกขูดระหว่างพนักงานทำความสะอาดกระจกหลังคา นายพงศ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ยืนยันว่าจะซ่อมเสร็จภายในกำหนดการเปิดใช้ฯ และหลังจากนั้น 1 ปีแล้วทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ [6]

การกล่าวหาและการตรวจสอบเรื่องการทุจริต
ในรัฐบาลชวนสอง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้มีการจัดประมูลการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ในราคา 54,000 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคากลาง แต่ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาก่อสร้าง รัฐบาลได้ยุบสภาเสียก่อน เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่และพรรคไทยรักไทยได้เสียงข้างมากเบ็ดเสร็จในสภา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 9 พ.ย. 2544 [7]ได้ให้มีการประมูลการก่อสร้างใหม่ และสามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินไปได้กว่าสองหมื่นล้านบาท โดยใช้วิธีการลดคุณสมบัติ (specification)ของวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่ง รวมทั้งลดขนาดอาคารและพื้นที่ตกแต่งภูมิทัศน์ในหลายๆ จุด [8]
พ.ศ. 2548 ในรัฐบาลทักษิณหนึ่ง มีการกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัยในการจัดซื้อและติดตั้งระบบตรวจวัตถุระเบิดในสัมภาระ โดยที่ สเป็ก ของเครื่องรุ่น CTX 9000 อาจจะถูกล็อก เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้รับเหมา (บริษัทแพทริออต มีนายวรพจน์ ยศะทัศน์ หรือ เสี่ยเช เป็นผู้บริหาร) และบริษัทผู้ผลิต (บริษัทอินวิชั่น สหรัฐอเมริกา) เหตุการณ์นี้นำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในวันที่ 28 มิ.ย. 2548 อย่างไรก็ตาม ในความเห็นของบางฝ่าย นายสุริยะ ไม่สามารถแก้ข้อกล่าวหาทั้งหมดได้ในสภา ปัจจุบันเครื่องตรวจวัตถุระเบิด CTX ทั้ง 26 เครื่องได้ถูกติดตั้งเรียบร้อยและอยู่ระหว่างการทดสอบ [9][10]
ปัญหาสัมปทานในการก่อสร้าง และจัดสรรพื้นที่ องค์ประกอบอื่นๆ สัมปทานบริการต่างๆ ภายในสนามบิน [11]เช่น
มี.ค. 2549 สตง.ได้ทำหนังสือถึง รฟท. เพื่อขอความชี้แจงเรื่องที่ มีการจ่ายค่าบริการ 1600ล้านบาท ให้กับ บริษัทรับเหมาสร้างรถไฟขนส่ง จากตัวเมืองมายังสนามบิน (แอร์พอร์ตเรลลิงค์) เพียง 5วันหลังจากมีการเซ็นสัญญา แทนที่จะมีการจ่าย หลังจการที่โครงการสร้างเสร็จ สตง.ได้สั่งให้ รฟท. ชี้แจงภายใน 60วัน[12]
ก.ค. 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ตนจะแจ้งความกล่าวโทษต่อ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคล 6 คน (รวมถึงคนใกล้ชิดของนายกรัฐมนตร) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกรับสินบน 300 ล้านบาท จากบริษัทลัทธ์ เฟอร์ ไทย จำกัด ในโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถ (คาร์ปาร์ค) และสัมปทานเก็บผลประโยชน์ 25 ปี[13]
ก.ค. 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ตั้งข้อสังเกตในการประมูล รถเข็นสัมภาระในสนามบิน และ การจัดหาบริษัทจำหน่ายไฟฟ้า สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศ ให้กับเครื่องบินที่ลานจอด[14]
ก.ค. 2549 นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ได้ตั้งข้อสังเกตเกียวกับ บริษัทไทยแอร์พอร์ตกราวน์เซอร์วิส (แทคส์, TAGS) (บริษัทที่ได้รับสัมปทาน บริหารเขตปลอดอากร และศูนย์โลจิสติกส์ในสนามบิน) ว่าุ มีบริษัทในสิงคโปร์ถือหุ้นอย่างไม่ปรกติ และไม่มีการประกาศประมูลอย่างที่ควรเป็น[15]
ส.ค. 2549 นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้อ้่า่งว่าตนเองมี บันทึกข้อตกลงลับระหว่างคณะผู้บริหาร ทอท. กับบริษัทแทคส์ ซึ่งระบุว่ามีการแก้ไขสเปครถเข็นเอื้อให้บางบริษัทได้งาน และลดสเปคลงมาเป็นการผลิตรถเข็นในประเทศ ทำให้มีส่วนต่างกำไรมากขึ้น 200 ล้านบาท โดยได้นำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นให้กับ สตง.[16]

ปัญหาการพัฒนาพื้นที่
จากการสัมมนาทางวิชาการหลายเวที โดยเฉพาะทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ผังเมือง และวิศวกรรม ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการในงานสถาปนิก 49, การสัมมนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ , สมาคมสถาปนิกสยาม, สมาคมนักผังเมืองไทย, การสัมมนาทางวิชาการที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีปัญหาด้านการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ อาจสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้ [17]

ปัญหาการควบคุมการใช้ที่ดินรอบสนามบิน โดยมีข้อขัดแย้งว่า เหมาะสมที่จะจัดทำเป็น "เขตปกครองพิเศษ" หรือตั้งเป็นจังหวัดใหม่ (มหานครสุวรรณภูมิ) หรือไม่
ปัญหาความสมดุลย์ของระบบนิเวศ
ปัญหาแหล่งหากินของนกขนาดใหญ่ (หนองน้ำรอบสนามบิน) ที่อาจเป็นปัญหาต่อการขึ้นลงของเครื่องบิน
ปัญหาผลกระทบต่อแหล่งปลาสลิด บ่อ บึงน้ำ โดยรอบสนามบิน
ปัญหารบกวนแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดเล็กประเภท หนู งู สัตว์เลื้อยคลานอื่นๆ
ปัญหาราคาที่ดินลวง (land speculation)
ปัญหาด้านเสียงจากการจราจรทางอากาศ ต่อการพัฒนาที่ดินเป็นแหล่งพักอาศัยโดยรอบ
ปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแนวระบายน้ำหลักและพื้นที่หน่วงน้ำ (Detention area) "แก้มลิง" ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร [18]
ปัญหาระบบจราจรและโครงข่ายถนนเพื่อการเข้าถึงสนามบิน ระบบป้ายนำทาง ความสะดวกของผู้ใช้สนามบินในการเดินทางไปยังอาคารผู้โดยสาร [19]
ปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางการบินและผลกระทบของการบินต่อพื้นที่รอบสนามบิน กรณีมีอาคารที่สูงเกินมาตรฐานในเขตพื้นที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่

ปัญหาอื่น

ศาลาไทยในอาคารความเป็นเอกลักษณ์ไทยของสถาปัตยกรรมสนามบิน ที่แม้ได้แก้ไขโดยติดตั้งงานศิลปะ (ประติมากรรม และจิตรกรรม) ลงไปในโถงอาคารจุดต่างๆ แล้ว แต่อาจไม่พอเพียง
ความเป็นหนึ่งเดียวของอาคาร ปัจจุบันได้มีอาคารที่ออกแบบจากสถาปนิกคนเดียวกัน ในประเทศอื่นๆ เช่น ส่วนต่อขยายของสนามบินดูไบ ซึ่งดูคล้ายกับที่สถาปนิกคนเดียวกันออกแบบไว้ให้ในไทยมาก [20] ยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสม
การออกแบบที่ยังไม่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ โดยไม่คำนึงถึงการให้บริการในส่วนที่คนพิการจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งในระดับสากลแล้วการสร้างระบบการให้บริการจำเป็นต้องมี และทางหน่วยงานคนพิการทั้งหลายในประเทศไทยเอง พยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน [21]
เนื่องจากอาคารผู้โดยสารสายต่างประเทศและภายในอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ระยะทางเดินต่อเครื่อง ยาวโดยเฉลี่ย 800-1,000 เมตร หรือในจุดที่ยาวสุดระยะทางถึง 3,000 เมตรนั้น เป็นระยะทางที่ไกล ก่อให้เกิดปัญหาได้ในกรณีที่ระยะเวลาต่อเครื่องนั้นกระชั้นชิด อีกทั้งไม่มีรถรางขนส่งดังเช่นแผนเดิมที่ออกแบบไว้ [22]

การชี้แจงจาก ทอท. เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ
นอกจากรายการ สถานีสุวรรณภูมิ ทางโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวี ช่อง UBC 9 และสกู๊ปคั่นรายการทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 อสมท. และช่อง 11 (กรมประชาสัมพันธ์) ข้อวิพากษ์วิจารณ์ข้างต้น ยังได้รับการชี้แจง โดยบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน) ทอท. (หรือ กอท.เดิม) หรือ AOT ได้ซื้อพื้นที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวัน[23] เพื่อชี้แจงกรณีปัญหาต่างๆ ในคอลัมน์ เจาะลึกสุวรรณภูมิ วันละ 1-2 คอลัมน์ ดังหัวข้อต่อไปนี้

14 กย. 49 - ฟันธง! ประมูล 'สุวรรณภูมิ' 'โปร่งใส' ด้วยเงื่อนไข 'เจบิค, บทพิสูจน์ 'เหล็ก'สุวรรณภูมิ 'มาตรฐาน' ชัวร์ - ไม่มั่วนิ่ม!
15 กย. 49 - เจาะ 'จุดเด่นสุวรรณภูมิ' 'หลังคาผ้าใบ' ไร้ปัญหา!, 'คาร์ปาร์ค' สุวรรณภูมิ! เพียงพอ 'ปลอดซิกแซก'
16 กย. 49 - สุวรรณภูมิ 'รันเวย์ร้าว' 'เรื่องจริง' ที่ต้องชี้แจง!, สุวรรณภูมิกับ 'ผู้รับเหมา' 'ผ่อนปรน' เพื่อคุณภาพ!
17 กย. 49 - 'ไฟฟ้า-แอร์' เครื่องบิน! อีกข้อกังขา 'สุวรรณภูมิ', บริหาร 'ฟรีโซน' สุวรรณภูมิ ทำไม? ต้องเลือก 'แท็กส์'
18 กย. 49 - 'พิสูจน์' ระบบปรับอากาศ สุวรรณภูมิ 'แอร์ไม่เย็น?', 'รถเข็นกระเป๋า' สุวรรณภูมิ 'แก้เกณฑ์-เร่ง' เพื่ออะไร?
19 กย. 49 - 'ค่าธรรมเนียม' เครื่องบิน สุวรรณภูมิเก็บ 'ถูก-แพง?'
20 กย. 49 - 'หอการบิน' สุวรรณภูมิ เสี่ยง-ไม่เสี่ยง 'เอียง-ถล่ม'
21 กย. 49 - ผ่าระบบลำเลียง 'กระเป๋า' 'สุวรรณภูมิ' ชัวร์แค่ไหน?, 'ตรวจระเบิด' สุวรรณภูมิ ทำไมต้องใช้ 'CTX 9000'
22 กย. 49 - สุวรรณภูมิ 'เข้มเต็มร้อย' 'ปลอดภัย' เกณฑ์ ICAO, 'พื้นที่พาณิชย์' สุวรรณภูมิ กับข้อกังขา 'ล็อคสเปค?'
23 กย. 49 - เปิดแผนปฏิบัติการ 'ไล่นก' 'สุวรรณภูมิ' ทำอย่างไร?, ผ่าระบบ 'ไอที' สุวรรณภูมิ 'AIMS' มาตรฐานโลก
24 กย. 49 - 'กำจัดขยะ' สุวรรณภูมิ ใช้บริษัทใหญ่ 'ไร้ปัญหา', 'กล้องวงจรปิด' สุวรรณภูมิ ทำไม? ต้อง 'IP CCTV'
25 กย. 49 - 'ที่สุด' สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่ออะไร -ไฉนต้อง 'เร่งเปิด', เปิดระบบ 'ประปา - น้ำเสีย' 'สุวรรณภูมิ' พร้อมเต็มสูบ!
และทาง ทอท. ยังได้ร่วมกับสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ใหญ่รายเดียวกันนั้น [24] จัดงาน 'แท็กซี่พบผู้บริหารสุวรรณภูมิ' เพื่อชี้ช่องทางและวิธีการในการรับผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ มีการประชาสัมพันธ์ว่า 'มีการมอบสิทธิประโยชน์และของที่ระลึกเพียบ!' ในวันที่ 25 กย. 49 ที่สโมสรตำรวจ

อ้างอิง
↑ เว็บไซต์ไปรษณีย์ไทย
↑ เส้นทางเข้าออกสนามบิน ทั้ง 6 เส้นทาง
↑ แนวปฏิบัติสำหรับการคมนาคมของสนามบิน
↑ บทความที่สุดแห่งสุวรรณภูมิจาก นสพ.เดลินิวส์ 12 กย.49
↑ บทความที่สุดแห่งสุวรรณภูมิจาก นสพ.เดลินิวส์ 12 กย.49
↑ นสพ.มติชน วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 "เพ้ง"รับหลังคา"เทอร์มินอล"รั่ว อ้างเป็นเรื่องปกติสนามบินใหม่"
↑ นสพ.เดลินิวส์ 11 กย.49 กำเนิด 'สุวรรณภูมิ' 46ปีแห่งการรอคอย
↑ บทสัมภาษณ์นายศรีสุข จันทรางศุจากรายการสถานีสุวรรณภูมิ UBC9
↑ แฉกลโกง ซีทีเอ็กซ์ 9000 หมดเปลือก, ผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2548
↑ ผ่าขบวนการ สินบนอินวิชั่น, นสพ. กรุงเทพธุรกิจ
↑ นสพ.เดลินิวส์ 9 กย.49 พลิกปูม - ก่อนเปิดใช้ "จุดเด่น-จุดด่าง" สนามบินสุวรรณภูมิ
↑ Bangkokpost Newspaper March 20, 2006: Rail told to explain B2bn spending
↑ นสพ คมชัดลึก 25 กค 48
↑ "ปชป."ชำแหละประมูล4พันล. ระบบ"แอร์-ไฟฟ้า"ป้อนเครื่องบิน ท่าอากาศยาน"สุวรรณภูมิ" ข่าวจากมติชน
↑ จี้ตรวจสอบ! บ.ผีสิงคโปร์เหมาฮุบงาน สุวรรณภูมิ ข่าวจากเดลินิวส์
↑ ข่าวปชป.ปูด"เจ๊"งาบงานสุวรรณภูมิ ขู่เป็นรบ.มีคนติดคุกนับร้อย มติชนรายวัน 20 สค.49
↑ นสพ.เดลินิวส์ 9 กย.49 พลิกปูมก่อนเปิดใช้ จุดเด่น-จุดด่าง สนามบินสุวรรณภูมิ
↑ Bangkokpost newspaper (20 October 2005) Dream city called flood nightmare : Environmental chaos will ensue - Apirak
↑ นสพ.เดลินิวส์ 11 กย.49 ผู้โดยสาร 'ป่วนแน่!' 'แท็กซี่' เซ็ง! 'ไม่ไปสุวรรณภูมิ??'
↑ ภาพแบบจำลองสนามบินดูไบ
↑ สุวรรณภูมิในมุมมองวิศวกรไทย อย่าหลงระเริงกับความอลังการ มองไปข้างหน้า...ก้าวสู่ฮับให้ได้ดั่งฝัน จาก หนังสือพิมพ์มติชน 8 กย.2549
↑ สุวรรณภูมิในมุมมองวิศวกรไทย อย่าหลงระเริงกับความอลังการ มองไปข้างหน้า...ก้าวสู่ฮับให้ได้ดั่งฝัน จาก หนังสือพิมพ์มติชน 8 กย.2549
↑ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
↑ เครือมติชน




 

Create Date : 28 กันยายน 2549
0 comments
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2550 10:01:25 น.
Counter : 3737 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


pattapon
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ป.ปลา ตากลม นิสัยดี๊ ดี
wellcome to pattapon'blog

Free Counter by Pliner.Net
singles, shopping, search, classifieds


lunar phases
Color Codes ป้ามด
Get this widget | Share | Track details
Friends' blogs
[Add pattapon's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.