ตุลาคม 2552

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
15
16
17
18
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
เทคนิค 9 ข้อ (ยา 9 เม็ด) ในการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ
morkeaw.com

morkeaw.net

เทคนิค 9 ข้อ (ยา 9 เม็ด) ในการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ
เพื่อควบคุมป้องกันโรค บำบัดบรรเทาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ ในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง
รวบรวม/เรียบเรียงโดย ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์ทางเลือกแนวบุญนิยม (แพทย์วิถีพุทธ) ครูฝึกแพทย์แผนไทย
โดย งานแพทย์วิถีพุทธ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ร่วมกับ ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 114 ม.11 ต.ดอนตาล จ.มุกดาหาร
สมัครเข้าค่ายสุขภาพฯ ได้ที่ โทร 045-511941-9 ต่อ 1221

สถิติพบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 1,397 คน หลังจากที่ใช้เทคนิคการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักการแพทย์วิถีพุทธภายใน 5 วัน ผู้ป่วยมีอาการของความเจ็บป่วยลดน้อยลง จำนวน 1,291 คน คิดเป็น 92.41% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรค หรืออาการที่แพทย์แผนปัจจุบันวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง ต้องตาย หรือรักษาไม่หาย เช่นมะเร็ง เนื้องอก เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ภูมิแพ้ เก๊าท์ รูมาตอยด์ ปวดตามข้อ ปวดตึงเมื่อยตามร่างกาย โรคทางเดินกระเพาะอาหารลำไส้เรื้อรัง อ่อนเพลียอ่อนล้า หน้ามืดวิงเวียนปวดศีรษะเรื้อรัง ภูมิต้านทานลด และการอักเสบเรื้อรังตามอวัยวะต่างๆ เป็นต้น

ในจำนวนดังกล่าวนั้น มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 117 คน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงคิดเป็น 88.03% ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 158 คน ระดับความดันโลหิตสูงลดลง คิดเป็น 83.54% ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง จำนวน 78 คน ไขมันไตรกลีเซอรไรด์และคลอเรสเตอรอลในเลือดลดลง คิดเป็น 73.78% ผู้ป่วยมะเร็ง 111 คน อาการเจ็บป่วยทุเลาลง 85.59% (ในจำนวนผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด หลังจากปฏิบัติตัวอย่างต่อเนื่อง มีผลตรวจร่างกายจากแพทย์แผนปัจจุบันไม่พบมะเร็ง หรือสภาพร่างกายมีอาการเหมือนคนปกติต่อเนื่องกัน 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 22.52% “มีชีวิตอยู่ด้วยอาการไม่สบายจากพิษของมะเร็งลดน้อยลง หรือยืดอายุออกไปได้มากกว่าการคาดการของแพทย์แผนปัจจุบัน 63.07%” อาการไม่ทุเลาลง 14.41%) ผู้ป่วยโรคหัวใจ 12 คน อาการเจ็บป่วยทุเลาลง 75%

นอกจากนี้ยังพบว่า อาการไข้ขึ้น ปวดหัวตัวร้อน เป็นหวัด เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว หรือความเจ็บป่วยเล็กน้อยอื่นๆ ก็สามารถบำบัดบรรเทาให้ทุเลาเบาบางได้ ด้วยเทคนิคการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักการแพทย์วิถีพุทธ

ท่านอาจเลือกทำเพียงข้อใดข้อหนึ่งหรือทำหลายข้อร่วมกัน ตามแต่สภาพร่างกายหรือการทุเลาเบาบางของความเจ็บป่วยในแต่ละท่าน โดยมีตัวชี้วัดคือ ให้เกิดสภาพพลังชีวิต ได้แก่ สบาย เบากาย มีกำลัง






1. การรับประทานสมุนไพรปรับสมดุล
ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติ
วิธีทำ ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น เช่น
ใบย่านางเขียว 5-20 ใบ
ใบเตย 1-3 ใบ
บัวบก ครึ่ง – 1 กำมือ
หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น
ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง – 1 กำมือ
ผักบุ้ง ครึ่ง – 1 กำมือ
ใบเสลดพังพอน ครึ่ง – 1 กำมือ หยวกกล้วย ครึ่ง – 1 คืบ
ว่านกาบหอย 3-5 ใบ เป็นต้น
จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ โขลกให้ละเอียด หรือขยี้ ผสมกับน้ำเปล่า 1-3 แก้ว (บางครั้งอาจผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว น้ำมะขาม ในรสไม่จัดเกินไป เพื่อทำให้ดื่มง่ายในบางคน) กรองผ่านกระชอน เอาน้ำที่ได้มาดื่ม ครั้งละประมาณ ครึ่ง – 1 แก้ว วันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือดื่มแทนน้ำตอนที่รู้สึกกระหายน้ำ ปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรอาจมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ตามความต้องการของร่างกาย ณ เวลานั้นๆ โดยดูความพอดีได้จากความรู้สึกที่กลืนง่าย ไม่ฝืดไม่พะอืดพะอมและความสบายตัว





กรณีที่ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสดแล้วรู้สึกไม่สบาย
ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือนำไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรืออาจนำสมุนไพรฤทธิ์ร้อนมาผสมก่อนดื่มก็ได้ เช่น นำน้ำต้มขมิ้น/ขิง/ตะไคร้ มาผสม เป็นต้น หรืออาจดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์ร้อนอย่างเดียวก็ได้ ถ้าดื่มแล้วรู้สึกสบาย

2. กัวซา หรือขูดซา หรือขูดพิษ หรือขูดลม
เป็นการแพทย์ดั้งเดิมของชาวไทยภูเขา ชาวจีน พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประสิทธิภาพโดดเด่นในการเอาพิษออกจากร่างกาย โดยระบายพลังงานที่เป็นพิษจากเลือดที่ถูกกระตุ้นให้เคลื่อนมาระบายพิษที่ผิวหนัง ทำให้สามารถบรรเทาอาการไม่สบายได้อย่างรวดเร็ว

วิธีกัวซา
- ควรทำการกัวซาในสถานที่โล่งโปร่ง และลมไม่โกรกจัด
- ใช้ขี้ผึ้งย่านาง ขี้ผึ้งเสลดพังพอน ขี้ผึ้งแก้หวัด ยาหม่องดำ น้ำมันเขียว น้ำมันเหลือง น้ำมันพืช น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือน้ำเปล่า อย่างใดอย่างหนึ่งทาบนผิวหนังก่อนขูดซา ในบริเวณที่รู้สึกไม่สบายหรือบริเวณที่ถอนพิษจากร่างกายได้ดี เช่น บริเวณหลัง แขน ขา เป็นต้น แม้ไม่มีสมุนไพรทาเลย ก็สามารถขูดซาได้เลย โดยที่ไม่ต้องทาอะไร ก็ช่วยถอนพิษได้

ถ้ารู้สึกหนาวเย็น ควรใช้น้ำอุ่น น้ำมันพืช หรือขี้ผึ้งที่ไม่เย็นเกินไป ทาก่อนขูดซาหรือขูดซาโดยที่ไม่ต้องทาอะไรเลยก็ได้
- ใช้อุปกรณ์เรียบง่าย เช่น ช้อน ชาม เหรียญ ไม้ขอบเรียบหรือวัสดุขอบเรียบต่างๆ ขูดได้ทั้งที่ผิวหนังตรงๆ หรือจะขูดผ่านเสื้อผ้าก็ได้ การกัวซาควรเริ่มจากด้านซ้ายก่อนเสมอ ยกเว้นเกิดอาการไม่สบายเด่นชัดที่ด้านขวามมากกว่าด้านซ้ายก็ให้ขูดด้านขวาก่อน
- การขูดแต่ละครั้งให้ลงน้ำหนักแรงพอสบาย ไม่แรงเกิน ไม่เบาเกิน ความแรงที่ได้ผลดีนั้นให้ลงน้ำหนักไปค่อนข้างแรงหน่อย เท่าที่จะไม่เจ็บ/ไม่ทรมานเกินไป อาจไม่รู้สึกเจ็บเลยหรือรู้สึกเจ็บเล็กน้อยในขีดที่ทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบากก็ได้ ลงน้ำหนักสม่ำเสมอ การขูดที่พอดีคือ ขูดให้ผิวมีสีแดง จนกว่าจะไม่แดงไม่กว่านั้น หรือขูดจุดละประมาณ 10-50 ครั้ง อาจขูดมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ เท่าที่รู้สึกสบาย
- หลังทำกัวซา ควรเกิน 4-8 ชั่วโมงขึ้นไป จึงสามารถอาบน้ำได้ ถ้าจำเป็นที่จะต้องอาบน้ำทันทีหลังกัวซาก็ควรอาบน้ำอุ่นหรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือถ้าจำเป็นที่จะต้องอาบน้ำอาจอาบน้ำธรรมดาหลังกัวซา อย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้เลือดที่เคลื่อนมาบริเวณผิวหนังมีเวลาระบายพิษออกไปได้มาก ถ้าเรารีบอาบน้ำเย็นเร็วเกินไปเส้นเลือดจะหดตัวบีบเลือดที่ยังระบายพิษได้ไม่มากกลับคืนไปสู่เซลล์เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในของเรา ทำให้ระบายพิษได้น้อย

ทิศทางของการกัวซา

ขูดศีรษะ ขูดกลางจากกลางศีรษะจนถึงตีนผม จนทั่วศีรษะ
ขูดใบหน้า บริเวณใบหน้า ให้เอากึ่งกลางหว่างคิ้วเป็นจุดศูนย์กลาง แล้วขูดออกไปเป็นรัศมีวงกลามทุกทิศทุกทางหรือขูดออกด้านข้างก็ได้ สำหรับบริเวณตาให้หลับตาลง แล้วขูดเบาๆ จากหัวตา มาหางตา และให้ทั่วบริเวณรอบตาทั้งหมด ลงน้ำหนักและปริมาณการขูดแค่พอรู้สึกสบาย



ขูดแผ่นหลัง ส่วนที่ชิดกระดูกสันหลัง ขูดตั้งแต่ต้นคอยาวลงมาจนถึงเอว พื้นที่แผ่นหลังส่วนที่เหลือให้ขูดออกข้าง
ขูดบริเวณลำตัวด้านหน้า เริ่มจากกลางหน้าอกให้ขูดลง ใต้ไหล่ด้านหน้าให้ขูดออกข้างหรือขูดลงก็ได้ ใต้ราวนมขูดตามร่องซี่โครงเฉียงเข้าหาสะดือ บริเวณท้องขูดลงหรือขูดเข้าหาสะดือก็ได้
ขูดคอ แขน มือ สะโพก ขา เท้า และ จุดที่ไม่สบายอื่นๆ หรือจุดที่จำทิศทางการขูดไม่ได้ ให้ขูดลงหรือขูดตามทิศที่เราขูดแล้วรู้สึกสบาย เพราะสภาพที่เกิดการบำบัดรักษาคือ สภาพที่รู้สึกสบาย ตามหลักปฏิบัติเพื่อความแข็งแรงอายุยืน ในพระไตรปิฎก อนายุสสสูตรข้อที่ 1 การรู้จักทำความสบายแก่ตนเอง

ข้อควรรู้ของการกัวซา

1. การใช้แรงขูดควรสม่ำเสมอ ควรขูดจนเห็นรอยจุดแดงปรากฎขึ้นมาจนกว่าจะไม่แดงไปกว่านั้น (หากขูดสักพักแล้วไม่แดง ก็ย้ายจุดขูดได้) หรือขูดจนบริเวณที่ขูดนั้นรู้สึกสบายขึ้น จากนั้นจึงขูดตำแหน่งอื่นต่อไป

2. บางครั้งหลังจากการขูดแล้ว 2-3 วัน ตำแหน่งที่ขูดอาจจะมีอาการระบมปรากฎขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปรกติ

หลังขูดจนเกิดรอยแดง ณ จุดนั้นๆ ออกมาแล้ว เราสามารถแปลผลได้ ดังนี้
1. สีชมพูหรือสีแดงเรื่อๆ แสดงว่า ดี
2. เป็นปื้น แสดงว่าพิษเริ่มสะสม
3. เป็นจ้ำเหมือนไข้เลือดออก แสดงว่า พิษสะสมนานแล้ว ในแพทย์ทางเลือก เรียกว่า ลมแตก
4. ถ้าเป็นลักษณะช้ำ แสดงว่า มีพิษสะสมมาก ยิ่งถ้าช้ำจนถึงขั้นสีม่วง หรือสีดำ ในทางแพทย์ทางเลือกถือว่ามีพิษมากถึงขั้นมะเร็ง ซึ่งการตรวจในทางการแพทย์แผนปัจจุบันอาจพบว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ก็ได้ ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เรียบเรียงพบว่า ผู้ป่วยที่แพทย์แผนปัจจุบันวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง มากกว่าร้อยละ 80 มักขูดซาพบสีม่วงหรือสีดำ การกัวซาจึงเป็นทั้งการวินิจฉัยโรคและการรักษาโรค ไปพร้อมกัน ส่วนใหญ๋ไม่เกิน 7 วัน รอยแดงนั้นมักจะยุบหายไป

มักจะมีคำถามว่าเมื่อกัวซาแล้วจะกัวซาอีกครั้งเมื่อไหร่ คำตอบก็คือ เมื่อรู้สึกไม่สบายอีกครั้ง ถ้าเป็นผู้ป่วยหนักอาจจะกัวซาทุกวันหรือกัวซาวันละหลายคร้งก็ได้ ถ้าการกัวซานั้นทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น

3. ไม่ควรขูดในจุดที่เป็นแผลฝีหนอง หรือจุดที่เมื่อถูกขูดแล้วรู้สึกไม่สบายเจ็บปวดแสบร้อนทรมานเกินไป แต่สามารถขูดตรงข้ามกับจุดที่ไม่สบายนั้นๆ ก็สามารถรักษาจุดที่ไม่สบายนั้นได้

3. การสวนล้างลำไส้ใหญ่ (ดีทอกซ์)
ผู้ป่วยที่อาการหนัก ทำวันละ 1-2 ครั้ง ส่วนคนทั่วไปทำสัปดาห์ละ 1-3 ครั้งหรือเท่าที่ร่างกายรู้สึกสบาย
วิธีทำ
เลือกสมุนไพรที่เหมาะสม คือ เมื่อใช้ทำดีทอกซ์แล้วรู้สึกสดชื่นโปร่งโล่งสบาย ตัวอย่างสมุนไพร เช่น
ใบเตย 1 ใบ
อ่อมแซบครึ่งกำมือ
ย่านาง 1-3 ใบ
น้ำมะนาว ครึ่ง – 1 ช้อนโต๊ะ
ใบมะขาม ครึ่งกำมือ
มะขามเปียก 1-3 ฝัก
ใบส้มป่อย ครึ่งกำมือ
กาแฟ 1 ช้อนชา
บอระเพ็ด 1 ข้อนิ้วมือ
ลูกใต้ใบ 1 ต้น
ฟ้าทะลายโจร 1 ยอด (ยาวครึ่ง – 1 คืบ) เป็นต้น
ให้เลือกใช้สมุนไพรอย่างใดอยางหนึ่งที่ถูกกับร่างกายเรา คือ พอทำดีทอกซ์แล้วรู้สึกสดชื่น โปร่ง โล่ง เบา สบายตัว ถ้าใช้แล้วไม่สบายก็แสดงว่าไม่ถูกกับคนนั้น ณ เวลานั้น ควรงดเสีย

นำสมุนไพรต้มในน้ำเปล่า เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่น หรือใช้ใบสมุนไพรสด ขยี้กับน้ำเปล่า กรองผ่านกระชอน นำน้ำที่ได้ไปใส่ขวดหรือถุง ที่เป็นชุดสวนล้างลำไส้ โดยทั่วไปใช้น้ำสมุนไพร 500-1,500 ซีซี เปิดน้ำให้วิ่งตามสายเพื่อไล่อากาศออกจากสายแล้วล๊อกไว้

จากนั้น นำเจลหรือวาสลีนหรือน้ำมันพืชหรือว่านหางจระเข้ทาที่ปลายสวน ประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อหล่อลื่น หรืออาจใช้ปลายสวนจุ่มในน้ำก็ได้ ต่อจากนั้น ค่อยๆ สอดปลายสวนเข้าไปที่รูทวารหนัก สอดให้ลึกเช้าไปประมาณเท่านิ้วมือเรา (ประมาณ 3-5 นิ้วฟุต) ยกหรือแขวนขวดสมุนไพรสูงจากทวารประมาณ 2 ศอก ค่อยๆ ปล่อยน้ำสมุนไพรให้ไหลเข้าไปในลำไส้ใหญ่ของเรา โดยใส่ประมาณน้ำเท่าที่ร่างกายรู้สึกสบายที่ทนได้โดยไม่ยากลำบากเกินไป แล้วใช้มือนวดคลึงที่ท้อง พอปวดอุจจาระก็ไปถ่ายระบายออก ในขณะที่ทำดีทอกซ์เราสามารถนอน (ส่วนใหญ่นิยมนอนทำ) นั่ง หรือยืนทำก็ได้ ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายและสถานที่

สำหรับกรณีที่มีการผ่าตัดสำไส้ ควรรอให้แผลหายดีอย่างน้อยหลังผ่าตัด 3 เดือนขึ้นไปจึงค่อยทำดีท๊อกซ์ โดยครั้งแรกๆ ให้ใช้น้ำดีทอกซ็น้อยๆ แค่พอรู้สึกปวดระบายถ่ายท้องก่อน พอลำไส้ปรับสภาพดีแล้วจึงค่อยเพิ่มน้ำดีท๊อกซ็ในปริมาณที่รู้สึกสบาย (ทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก)

4. การแช่มือแช่เท้าในน้ำสมุนไพร
ให้ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น ประมาณครึ่ง – 1 กำมือ เช่น ใบเตย เบญจรงค์(อ่อมแซบ) ผักบุ้ง บัวบก ย่านาง รางจืด ใบมะขาม ใบส้มป่อย กาบหรือใบหรือหยวกกล้วย เป็นต้น จะใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ ต้มกับน้ำ 1 ขัน (ประมาณ 1 ลิตร) เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นแค่พอรู้สึกสบาย ถ้าไม่มีสมุนไพรเลยก็ใช้น้ำเปล่าต้มให้เดือดแล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นก็ได้ จากนั้นแช่มือแช่เท้า แค่พอท่วมข้อมือข้อเท้า 3 นาที แล้วยกขึ้นจากน้ำอุ่น 1 นาที ทำซ้ำจนครบ 3 รอบ โดยทำวันละประมาณ 1-2 ครั้ง ถ้าไม่ค่อยมีเวลาก็ทำเฉลี่ย สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง ถ้าใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นต้มแล้วรู้สึกไม่สบายก็ปรับใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อนต้ม ถ้ารู้สึกสบายกว่า ในกรณีที่แช่น้ำต้มสมุนไพรแล้วมีอาการไม่สบาย ก็ให้งดเสีย แสดงว่าสภาพร่างกายตอนนั้นไม่ถูกกับน้ำอุ่นน้ำร้อน อาจแช่น้ำธรรมดาหรือน้ำสมุนไพรสดที่ไม่ผ่านความร้อนแทน ถ้าทำแล้วรู้สึกสบาย โดยแช่นานเท่าที่รู้สึกสบาย

5. การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน คือเมื่อใช้แล้วรู้สึกสบาย เช่น พอกด้วยกากสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือพอกทาด้วยผงถ่านที่ใช้ก่อไฟทั่วไป ผสมกับน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น (อาจผสมดินสอพอง หรือน้ำปัสสาวะด้วยก็ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถอนพิษได้ดียิ่งขึ้น) โดยพอกทาทุก 4-6 ชั่วโมง หรืออาจพอกทาทิ้งไว้ทั้งคืนก็ได้ ถ้าใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นแล้วรู้สึกไม่สบายก็ปรับใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อน ถ้ารู้สึกสบายกว่า

6. การออกกำลังกาย กดจุดลมปราณ โยคะ กายบริหาร ที่ถูกต้อง

7. การรับประทานอาหารปรับสมดุลร่างกาย
7.1 เพิ่มการรับประทาน ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด และโปรตีนจากถั่วหรือปลา (สำหรับผู้ที่ไม่สามารถงดเนื้อสัตว์)

7.2 ควรปรุงอาหารด้วยการต้มหรือนึ่ง ปรุงรสไม่จัดจนเกินไป ถ้าเป็นไปได้ ควรปรุงรสอยู่ในระดับประมาณ 10-30% ของที่เคยปรุง อาจปรุงมากหรือน้อยกว่านี้ตามความสมดุลพอดีของร่างกาย ณ ปัจจุบันนั้นๆ ซึ่งตัวชี้วัดของความสมดุลพอดี คือ ความรู้สึกสบาย เบากาย มีกำลัง หรือถ้าผู้ที่ติดรสจัดมาก ก็ค่อยๆ ลดรสจัดของอาหารลง ให้มากที่สุด เท่าที่จะพอรับประทานได้โดยไม่ลำบากนัก

7.3 งดหรือลดการรับประทานอาหารที่หวานจัด เช่น ของหวาน น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ผลไม้หรือน้ำผลไม้ที่หวานจัด อาหารที่เค็มจัด เช่น ปลาร้า ผักดอก เนื้อเค็ม ไข่เค็ม อาหารที่ปรุงเค็มมากและอาหารที่มีผงชูรสมาก (มีการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า อาหารที่มีโซเดียมมากเกิน เค็มจัดหรือมีผงชูรสมาก ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจโต น้ำหนักเพิ่ม ไตเสื่อม ภูมิต้านทานลด และรหัสพันธุกรรมผิดปกติ) อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารผัดทอด เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ได้แก่ เนื้อหมู วัว ควาย ไก่พันธุ์เนื้อ อาหารทะเล เป็นต้น และอาหารที่ปรุงรสอื่นๆ จัดเกินไป เช่น เผ็ด เปรี้ยว ขม ฝาด เป็นต้น

ลดละเลิก การสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มบำรุงกำลังต่างๆ น้ำหมัก ข้าวหมาก รวมถึงอาหารที่มีวิตามินน้อย แต่มีโซเดียม หรือไขมันสูงเกิน ได้แก่ อาหารแปรรูปหรือสำเร็จรูปต่างๆ เช่น บะหมีกึ่งสำเร็จรูป ขนมอม ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง อาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม ของหมักดอง อาหารทะเล (จะมีไขมันและโซเดียมสูง) เป็นต้น

7.4 หลักปฏิบัติในการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี ฝึกเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนและรับประทานอาหารตามลำดับ ดังนี้
กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน ในมื้อหลัก 1 มื้อใน 1 วัน อาจเป็นช่วงเช้าหรือเที่ยงก็ได้ มีเทคนิคการรับประทานอาหารตามลำดับ ดังนี้

1. ดื่มน้ำสมุนไพรปรับสมดุล เช่น น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นต่างๆ หรือที่เรียกว่า น้ำคลอโรฟิลสดจากธรรมชาติ น้ำยานาง น้ำเขียว เป็นต้น

2. รับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น
กล้วยน้ำว้า แก้วมังกร กระท้อน สับปะรด ส้มโอ ชมพู่ มังคุด แตงโม แตงไทย แคนตาลูป มะม่วงดิบ มะละกอดิบ มะละกอห่าม เป็นต้น โดยรับประทานเท่าที่รู้สึกสดชื่นสบาย ถ้าเป็นผลไม้หวานให้รับประทานเพียงเล็กน้อยแค่พอรู้สึกสบาย
ควรงดหรือผลไม้ฤทธิ์ร้อน เช่น ทุเรียน ขนุนสุก มะม่วงสุก ลูกยอ ลิ้นจี่ เงาะ ลำไย มะเฟือง มะปราง มะตูม กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง ส้มเขียวหวาน สละ องุ่น ฝรั่ง น้อยหน่า กระทกรก (เสาวรส) ละมุด ลองกอง ระกำ (ร้อนเล็กน้อย) มะละกอสุก (ร้อนเล็กน้อย) มะขามหวานสุก (ร้อนเล็กน้อย) ผลไม้ทุกชนิดที่ผ่านความร้อน เช่น การอบ นึ่ง ปึ้ง ย่าง ต้ม หรือตากแห้ง เป็นต้น

3. รับประทานผักฤทธิ์เย็นสด เช่น
อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง แตง กวางตุ้ง สายบัว ผักกาดฮ่องเต้ ผักกาดขาว ผักกาดหอม (สลัด) ถั่วงอก บัวบก มะเขือเปราะ มะเขือลาย มะเขือยาว มะเขือเทศ ใบมะยม เป็นต้น อาจรับประทานเป็นสลัดผักที่น้ำสลัดไม่ใส่สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนมากเกินไป ห่อใบเมี่ยง รับประทานกับส้มตำ หรือน้ำพริกหรือยำวุ้นเส้นหรืออาหารอื่นๆ ที่ปรุงรสไม่จัดเกินไป (ปรุงรสด้วยเกลือหรือซีอิ้วขาวจะดีกว่าน้ำปลา หรือปลาร้า ถ้าใช้เกลือปรุงอย่างเดียวจะดีที่สุด ใช้มะนาว มะขามเปียกหรือพืชรสเปรี้ยวอื่นๆ ที่มีฤทธิ์เย็น ปรุงรสได้) ควรรับประทานจนเริ่มรู้สึกฝืดฟัน/ฝืดคอ/ฝืดลิ้นจึงหยุด

กรณีที่ไม่ค่อยมีฟันเคี้ยว ผู้ป่วยอ่อนแรงอ่อนล้าอ่อนเพลีย ไม่ชินกับผักสดหรือรู้สึกว่ารับประทานผักสดได้ลำบาก ควรใช้วิธีการปั่นผักฤทธิ์เย็นใส่กับผลไม้ฤทธิ์เย็น โดยปั่นใส่น้ำเปล่าหรือน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น ปรับสัดส่วนของผักผลไม้และสมุนไพร ตามสภาพร่างกายที่รู้สึกรับประทานได้ง่าย และมีพลังชีวิต
ควรงดหรือลดผักฤทธิ์ร้อน ได้แก่ ผักรสเผ็ดทุกชนิด รวมถึงพืชที่ไม่มีรสเผ็ด แต่มีฤทธิ์ร้อน เช่น ชะอม คะน้า กะหล่ำป่ลี แครอท บีทรูท ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอ ลูกเนียง กระเฉด กระถิน โสมจีน โสมเกาหลี แปะตำปึง (ร้อนเล็กน้อย) ผักกาดเขียวปลี ใบยอ ผักโขม ฟักทองแก่ หน่อไม้ เม็ดบัว สาหร่าย ไข่น้ำ และพืชกลิ่นฉุนทุกชนิด เป็นต้น

4. รับประทานข้าวเจ้าพร้อมกับข้าว โดยรับประทานข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือเป็นปกติ ก็ยิ่งดี
ควรงดหรือลดคาร์โบไฮเดรตที่มีฤทธิ์ร้อนมาก เช่น ข้าวเหนียว ข้าวแดง ข้าวดำ (ข้าวก่ำ ข้าวนิล) ข้าวอาร์ซี ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ เผือก มัน กลอย
กับข้าวควรใช้ผักฤทธิ์เย็นเป็นหลักในการปรุง ได้แก่ ผักฤทธิ์เย็นที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงผักฤทธิ์เย็นอื่นๆ เช่น บวบ ใบ/ยอดตำลึง ผักปลัง ผักหวานป่า ผักหวานบ้าน ก้านตรง ฟัก แฟง แตงต่างๆ หยวกกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว กระหล่ำดอก บล๊อกเคอรี่ หัวไช้เท้า (ผักกาดหัว) ฟักทองอ่อน ยอดหรือดอกฟักทอง ยอดอีสึก (ขุนศึก) มังกรหยก ดอกสลิด (ดอกขจร) ฝัก/ยอด/ดอกแค ข้าวโพด ขนุนดิบ มะรุมเป็นต้น
อาจปรุงเป็น ยำผัก ก้อยผัก ผักลวก ผักนึ่ง ผักต้ม แกงจืด แกงอ่อม ผัดด้วยน้ำ (ใช้น้ำแทนน้ำมันในการผัด) หรือเมนูอาหารอื่นๆ ที่มีทั่วไป เพียงแต่ใช้ผักฤทธิ์เย็นเป็นหลักในการปรุง งดหรือลดการปรุงที่ทำให้เกิดความร้อนมาก เช่น เผา ปิ้ง ย่าง อบ ผัดด้วยน้ำมัน ปรุงรสจัด เป็นต้น สำหรับคนที่รับประทานเห็ด และเต้าหู้ได้โดยไม่มีอาการผิดปกติ บางวันอาจใช้ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดลม (เห็ดบด) เห็ดขอนขาว เห็ดหูหนู เหรือเต้าหู้แผ่น เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร การปรุงอาหารเพื่อถอนพิษร้อนให้ใช้ไฟกลางๆ อย่าใช้ไฟแรง ตั้งไฟใช้เวลาแค่พอเริ่มสุกก็พอ อย่าตั้งไฟนานเกินไป อย่าอุ่นอาหารซ้ำแล้วซ้ำอีก

5. รับประทานต้มถั่วหรือธัญพืชฤทธิ์เย็น เช่น
ถั่วขาว ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ถั่วโชเล่ย์ขาว ลูกเดือย หมุนเวียนชนิดในแต่ละวัน โดยแช่ถั่ว 4-12 ชั่วโมง นำถั่วที่แช่แล้ว 1 ส่วนเติมน้ำ 3 เท่า ต้มไฟอ่อนถึงปานกลาง ต้มแค่พอสุก (อย่าให้เปื่อย) อาจเติมเกลือหรือน้ำตาลเล็กน้อย แค่พอรับประทานง่าย เราอาจดื่มน้ำต้มถั่ว แกงจืดล้างคอแทนน้ำเปล่า (ถ้ามี) ปิดท้ายในมื้ออาหาร
ควรงดหรือลดการรับประทานโปรตีนฤทธิ์ร้อน เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วลิสง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วทุกชนิดที่เอามาทอด เห็ดหอม เห็ดหลินจือ เห็ดโคน (เห็ดปลวก) เห็ดก่อ เห็ดไค เห็ดขม เห็ดผึ้ง เป็นต้น รวมถึงโปรตีน ทั้งพืชและสัตว์ที่เอามาหมักดอง เช่น กะปิ น้ำปลา ปลาร้า ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว มิโสะ โยเกิร์ต เทมเป้ ปลาจ่อม ปลาเค็ม เนื้อเค็ม แหนม ไข่เค็ม เป็นต้น
ควรงดหรือลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะไขมันมีพลังงานความร้อนมากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ รำข้าว จมูกข้าว งา กะทิ เนื้อมะพร้าว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง เมล็ดอัลมอลล์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ลูกก่อ เมล็ดกระบก เป็นต้น

สำหรับมื้อเบาๆ เช่น เช้าหรือเย็นหรือมื้อเสริม อาจกินน้ำสมุนไพร ผลไม้ หรือธัญพืช หรือเครื่องดื่มธัญพืชที่มีฤทธิ์เย็นแทนอาหารมือหนัก เช่น น้ำย่านาง บัวบก ใบเตย ว่านกาบหอย ว่านหางจระเข้ เฉาก๊วย เก๊กฮวย หญ้าปักกิ่ง ลูกสำรอง (หมากจอง) น้ำมะพร้าว ลูกเดือยต้ม หรือน้ำลูกเดือย ถั่วเขียวต้ม หรือน้ำถั่วเขียว ถั่วเหลืองต้ม หรือนมถั่วเหลือง ถั่วลันเตาต้ม ถั่วโชเล่ย์ขาวต้ม ถั่วขาวต้มและนมข้าวโพด เป็นต้น

ส่วนมื้อเย็น หรือในช่วงที่กำลังรักษา ฟื้นฟูร่างกายที่เมื่อกินข้าวสวยแล้วรู้สึกไม่ดีต่อร่างกาย ควรใช้ข้าวต้มถอนพิษร้อน กินพร้อมกับผัดผัก (ผัดด้วยน้ำแทนน้ำมัน) หรือผักลวก

เทคนิคการทำข้าวต้มเพื่อถอนพิษร้อน คือ ใช้ข้าวจ้าว 1 ส่วน ต้มกับน้ำประมาณ 7 ส่วนใช้ไฟกลาง ๆ ต้มแค่พอสุกอย่าให้เปื่อย

กรณีที่มีภาวะเย็นแทรกขึ้นมา ให้กดน้ำร้อนใส่สมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือตั้งไฟให้ร้อนก่อนรับประทาน ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็น รับประทานผักหรืออาหารผ่านไฟให้มากขึ้น เพิ่มสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเข้าไป ตามสภาพร่างกายที่รับประทานแล้วรู้สึกสบาย

8. ใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด
ลด ละ เลิกและหลีกเลี่ยง อารมณ์ที่ทำลายสุขภาพ อารมณ์ที่เป็นพิษ ได้แก่ ความเครียด ความเร่งรีบ เร่งรัด เร่งร้อน ความวิตกกังวล ความไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบายใจ ความไม่พอใจ ความมุ่งร้าย อาฆาต พยาบาท ความโลภ โกรธ หลง ยึดเกิน เอาแต่ใจตัวเอง เป็นต้น

9. รู้เพียรรู้พักให้พอดี



Create Date : 21 ตุลาคม 2552
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 13:15:55 น.
Counter : 18190 Pageviews.

14 comments
  
ดีจังมีคนคิดเผยแพร่ข้อมูลดีๆ อนุโมนาบุญนะจ๊ะ
เคยกัวซาให้แม่ตั้งแต่เด็กๆเห็นผลทันตาจริงๆ
ตอนนี้พอรู้วิธีที่ถูกต้อง ยิ่งรักษาได้ผลมากขึ้นไปอีก

ตะก่อนมิกล้าดีท๊อกซ์ ตอนนี้ทำทุ๊ก...วันเลยอ่ะ
ผลออกมาดีอย่างไร มิบอกหรอก แต่ทำทุกวันง่ะเด๋วรู้เอง....
โดย: อาราเร่ร้างรัก IP: 124.121.224.173 วันที่: 28 ตุลาคม 2552 เวลา:12:06:40 น.
  
ดีจัง
โดย: อั้มมมมมมม IP: 61.90.15.38 วันที่: 26 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:10:08 น.
  
ขอบคุณประเทศไทยที่ยังมีธรรมชาติบำบัดถ่ายทอดให้แก่กันและกัน อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ
0804000216
โดย: เหมียว IP: 180.180.169.118 วันที่: 23 เมษายน 2554 เวลา:13:33:08 น.
  
ขอบคุณหมอเขียว ที่ทำให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
โดย: ขอบคุณ IP: 119.46.91.209 วันที่: 25 กรกฎาคม 2554 เวลา:18:13:19 น.
  
ขอขอบคุณมากนะคะ
โดย: นางสาว ภัทธนันต์ สุวรรณสุพีรกร IP: 125.25.111.5 วันที่: 7 สิงหาคม 2554 เวลา:12:34:10 น.
  
อยากว่าที่กายจนบุรีเปิดศูนย์อบรมเมื่อไรติดต่อสมัครได้ยังไรค่ะ
โดย: เมย์ IP: 125.26.1.42 วันที่: 25 มิถุนายน 2555 เวลา:9:23:09 น.
  
@ คุณเมย์

ลองเข้าไปดูตารางกิจกรรมในเว็บหมอเขียว.คอมนะคะ
//morkeaw.com/blog/?page_id=1050
โดย: patnaja วันที่: 2 กรกฎาคม 2555 เวลา:13:40:51 น.
  
ขอบคุณ หมอเขี่ยวนะค่ะที่นะนำสิ่งดี ๆๆๆ ให้กับเพื่อมนุษย์ที่ทำให้รู้จักสมุนไพรที่อยู่รอบตัวเราว่ามีสรรพคุณมากมาย
โดย: ชนานันท์ สาภา IP: 101.51.55.46 วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:13:18:35 น.
  
ขอยกย่องคุณหมอเขียว ที่เป็นผู้ให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย ตลอดจนคนทั้งโลก ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ขอให้เจริญทั้งในทางโลกและในทางธรรมด้วย เทอญ.
โดย: Bagelman IP: 98.252.175.148 วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:7:06:25 น.
  
ดีมากๆอยากให้ท่านมาอบรมทีหมู่บ้านเราจัง
โดย: บัวไขบริเวณ IP: 62.205.78.215 วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:18:09:42 น.
  
ตั้งแต่ไปเข้าค่ายสุขภาพที่สวนป่านาบุญ (13-19 ก.ย.55) รู้สึกสบายขึ้น ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้และช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ทั้งในทางธรรมและทางโลก จะพยายามปรับปรุงทางจิตวิญญาณให้ได้ 70% และอีก 30% ก็ต้องปรับปรุงให้ได้เช่นกันค่ะ
โดย: สุวิชญา IP: 110.77.138.146 วันที่: 21 กันยายน 2555 เวลา:10:28:12 น.
  
ยินดีคะได้ความรู้เรื่แงธรรมชาติบำบัดมากที่สุดและได้ปฎิบัตบ้างแล้วค่ ขอบคุณมากนะค่ะ
โดย: สุภาพร IP: 125.27.74.166 วันที่: 27 เมษายน 2557 เวลา:2:46:26 น.
  
ขอบคุณ หมอเขียวมากๆที่มอบความรู้ขอให้หมอเขียวมีสุุขภาพแข็งเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ต่อไปยาวนานขอบคุณมากค่ะ
โดย: นพพร IP: 223.204.248.149 วันที่: 1 กันยายน 2557 เวลา:8:01:05 น.
  
โดย: ะั ่รพเะ่รยเ่รนยพะ้ IP: 118.175.230.72 วันที่: 15 กรกฎาคม 2562 เวลา:13:41:22 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

patnaja
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 13 คน [?]




Puangpeth Jang

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง