Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
27 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
สั่นแค่ไหน...ในหัวใจเธอ.. [ความรักรอบตัว]













เมื่อวาน มีข่าวว่าประเทศอินโดนีเซียประกาศเตือน ซึนามิ อีกแล้ว(ช่าวงนี้ชักจะไหวบ่อย)
หลังจากแผ่นดินไหว 7.2 ริกเตอร์ ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา

ผมนึกภาพไม่ค่อยออกเท่าไหร่ว่า...7.2 ริกเตอร์เนี่ย มันสั่นหวั่นไหว ขนาดไหนกัน


เลยลองไปหาข้อมูลมาครับ....

เพิ่งรู้ว่า ความจริงเขามีหน่วยวัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวอีกหลายหน่วยวัดเหมือนกัน

มาอ่านกันครับ




ขนาดของแผ่นดินไหว


ขนาดของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน (Seismo- graph) หลักการโดยสังเขปของเครื่องมือคือ มีตัวโครงยึดติดกับพื้นดิน เมื่อแผ่นดินมีการเคลื่อนที่ กระดาษกราฟที่ติดอยู่กับโครงจะเคลื่อนที่ตามแผ่นดิน แต่ลูกตุ้มซึ่งมีความเฉื่อยจะไม่เคลื่อนที่ตาม ปากกาที่ผูกติดกับลูกตุ้มก็จะเขียนกราฟลงบนกระดาษ และในขณะเดียวกันกระดาษก็จะหมุนไปด้วยความเร็วคงที่ ทำให้ได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ของขนาดการเคลื่อนที่ของแผ่นดินต่อหน่วยเวลา

การวัดแผ่นดินไหวนิยมวัดอยู่ ๒ แบบ ได้แก่ การวัดขนาด (magnitude) และการวัดความรุนแรง (intensity) การวัดขนาดเป็นการวัดกำลังหรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว ส่วนการวัดความรุนแรงเป็นการวัดผลกระทบของแผ่นดินไหว ณ จุดใดจุดหนึ่งที่มีต่อคน โครงสร้างอาคาร และพื้นดิน มาตราการวัดแผ่นดินไหวมีอยู่หลายมาตรา ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่นิยมใช้ทั่วไป ๓ มาตรา ได้แก่ มาตราริกเตอร์ มาตราการวัดขนาดโมเมนต์ และมาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี



ก. มาตราริกเตอร์ มาตราการวัดขนาดแผ่นดินไหวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่ มาตราริกเตอร์ ซึ่งเสนอโดยชาลส์ เอฟ. ริกเตอร์ (Charles F. Richter นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ ริกเตอร์ค้นพบว่า การวัดค่าแผ่นดินไหวที่ดีที่สุด ได้แก่ การวัดพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นในขณะเกิดแผ่นดินไหว ริกเตอร์ได้บันทึกคลื่นแผ่นดินไหวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจำนวนมาก งานวิจัยของริกเตอร์แสดงให้เห็นว่าพลังงานแผ่นดินไหวที่สูงกว่าจะทำให้เกิดความสูงคลื่น (amplitude) ที่สูงกว่า เมื่อระยะทางห่างจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวเท่ากัน ริกเตอร์ได้หาความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ระหว่างพลังงานกับความสูงคลื่น และปรับแก้ด้วยระยะทางจากศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว
ML = log A+D
ML ขนาดของแผ่นดินไหว
A ความสูงคลื่นหน่วยเป็นมิลลิเมตร
D ตัวแปรปรับแก้ระยะทางจาก
ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ขึ้นอยู่กับสถานที่เกิดแผ่นดินไหว

ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์แสดงเป็นโมโนแกรมได้ดังรูปโมโนแกรมสำหรับเทียบมาตราริกเตอร์ โดยรูปนี้จะใช้ค่าตัวแปรปรับแก้ที่ริกเตอร์ได้เสนอไว้สำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ตารางที่ ๑ แสดงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
จากแผ่นดินไหวขนาดต่างๆ โดยสังเขป ตารางที่ ๒ แสดงขนาดแผ่นดินไหวมาตราริกเตอร์ เปรียบเทียบกับแรงระเบิดทีเอ็นที เนื่องจากขนาดริกเตอร์มาจากสูตรที่เป็นลอการิทึม ขนาดตัวเลขจำนวนเต็ม ๑ ขนาด จะมีค่าความสูงคลื่นต่างกัน ๑๐ เท่า และจะมีพลังงานต่างกัน ๓๑ เท่า ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวขนาด ๖ ริกเตอร์ จะมีความสูงคลื่นมากกว่าแผ่นดินไหวขนาด ๕ ริกเตอร์ ๑๐ เท่า และมีพลังงานมากกว่า ๓๑ เท่า





ข. มาตราขนาดโมเมนต์ การวัดขนาดด้วยมาตราริกเตอร์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่วิธีการของริกเตอร์ยังไม่แม่นตรงนักในเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อมีสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวมากขึ้นทั่วโลก ข้อมูลที่ได้แสดงว่า วิธีการของริกเตอร์ใช้ได้ดีเฉพาะในช่วงความถี่และระยะทางหนึ่งเท่านั้น ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ ฮิรู คะนะโมะริ (Hiroo Kanamori นักธรณีฟิสิกส์ ชาวญี่ปุ่น) ได้เสนอวิธีวัดพลังงานโดยตรงจากการวัดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน มาตราการวัดขนาดของคะนะโมะริิเรียกว่า มาตราขนาดโมเมนต์ (Moment Magnitude Scale)

ค. มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี นอกจากการวัดขนาดแผ่นดินไหว บางครั้งนักธรณีวิทยาใช้มาตราความรุนแรง (Intensity) เพื่ออธิบายผลกระทบที่แตกต่างกันของแผ่นดินไหว มาตราความรุนแรงที่นิยมใช้กัน ได้แก่ มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลี (Mercalli Intensity Scale) ซึ่งมาตราความรุนแรงเมอร์คัลลีกำหนดขึ้นครั้งแรกโดยกวีเซปเป เมอร์คัลลี (Guiseppe Mercalli ชาวอิตาเลียน นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ) ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ และต่อมาปรับปรุงโดยแฮร์รี วูด (Harry Wood นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) และแฟรงก์ นิวแมนน์ (Frank Neumann นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน) ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ มาตราความรุนแรงเมอร์คัลลีจัดลำดับขั้นความรุนแรงตามเลขโรมันจาก I-XII ความรุนแรงที่ระดับต่างๆ แสดงไว้ในตารางที่ ๓ ส่วนตารางที่ ๔ แสดงการเปรียบเทียบมาตรา ความรุนแรงเมอร์คัลลีกับมาตราริกเตอร์




นี่เราก็ได้รู้วิธีวัด และ หน่วยการวัดความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวไปแล้ว


เลยอยากรู้อีกว่า.....

มีใครผลิต เครื่องวัดความสั่นของใจเธอ เมื่อเจอฉัน มั๊ยเนี่ยค๊าบบ






















Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2551 0:00:00 น. 8 comments
Counter : 5416 Pageviews.

 
ฮือๆๆ กดช้าได้ไงเนี่ย..


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:0:06:08 น.  

 
สุดยอด 00.00.00 อิอิ


โดย: นางฟ้าอรชร วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:0:09:53 น.  

 
เมื่อวันก่อนและเมื่อหลายครั้งที่ผ่านมา เค้าบอกว่ากรุงเทพฯได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว บลาๆๆๆๆ แต่ทำไมเราไม่เคยรู้สึกเลย รึว่าความรู้สึกเราช้าไป


โดย: f0nZ (The Psy ) วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:0:18:28 น.  

 
ตามมาจากห้องหยามจ้า อยากบอกว่าทั้งหมดนี้ไม่ได้อ่านเลย

อ่านแต่บรรทัดสุดท้าย ไอ้ที่บอกว่าเครื่องวัดความสั่นหัวใจเธอ 555 ไม่เห็นยากเลย คุณนอกลู่นอกทางก้อแค่อิงไปซบ ใกล้ๆหัวใจเธอ จะได้รู้ว่าหัวใจเธอสั่นแค่ไหน

เพราะเครื่องมืออะไร ผลิตออกมาก้อคง ใช้งานไม่ได้ดีเท่ากับใช้ใจสัมผัสใจ....ว่าแต่ไม่เมื่อยมั่งเหรอเห็นสั่นหัวอยู่นั่นแหละ


โดย: ~นินจาผ้าเช็ดตัว~ วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:3:45:28 น.  

 


โดย: somnumberone วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:8:51:09 น.  

 
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2551 0:00:00 น.

สุ้ดยอดจิงๆ นะเนี๊ย


โดย: pat_pk วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:9:03:07 น.  

 
เคยไปนอนอยู่กิ่งอ.สุขสำราญ จ.ระนอง
แล้วกรมอุตุฯ ประกาศเตือนแผ่นดินไหว
8.5 ริคเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา
ให้หาทางขึ้นที่สูงโดยด่วน
บอกไม่ได้ว่าสั่นขนาดไหน
ทั้งตัวและหัวใจ
ได้ยินเสียงกลองเพลดังอยู่ที่หน้าอก
ที่ทำได้ คือรีบพาตัวและใจไปอยู่ในที่ปลอดภัย....โชคดี...ที่ไม่มีสึนามิ
แต่ก็ขวัญหนีซะไม่มีดี...เชียวแหล่ะ


โดย: สุดวอน วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:42:32 น.  

 
อาโหลๆ ลุงอยู่มั้ยคะ ทำไรอยู่เอ่ย วิจัยหาวิธีป้องกันแผ่นดินไหวอยู่รึเปล่าเอ่ย


โดย: Picike วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:3:44:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.