<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
27 กันยายน 2553

ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ กับ หญิงตั้งครรภ์

ไข้หวัด 2009 คืออะไร
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หรือ Swine flu เป็นโรคทางเดินหายใจที่มีการติดต่อโดยการสัมผัส โดยปกติมีการติดเชื้อในสุกร แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาของเชื้อโดยมีการติดต่อจากคนสู่คน ซึ่งเรียกว่า A (H1N1) ซึ่งเป็นโรคระบาดไปทั่วโลกในปัจจุบัน มีระยะฟักตัว 1-4 วัน (อาจนานถึง 7 วัน) ระยะแพร่เชื้อก่อนมีไข้ 1 วันไปจนถึงมีอาการแล้ว 7 วัน
อาการเป็นอย่างไร
ไข้หวัดใหญ่ 2009 มีอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและความรุนแรงใกล้เคียงกัน โดยจะมีไข้ ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย หอบ ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยจะสามารถหายป่วยได้เอง ภายใน 3-5 วัน โดยไม่ต้องทานยาต้านไวรัส
ไข้หวัด2009 มีผลกระทบต่อแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยอาจหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่สำหรับผู้ป่วยสำหรับผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคนี้มักเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน เป็นต้นหรือ เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ โรคอ้วน อายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
ทำไมถึงต้องมีการป้องกันอย่างเข้มงวด จนเหมือนเป็นโรคร้ายแรง
เนื่องมาจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 มีโครงสร้างที่ต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ ทำให้มีการแพร่กระจายที่รวดเร็วมากจากคนสู่คน เชื้อนี้สามารถแพร่ได้ไกลถึง 1 เมตร จากการไอ-จามของผู้ป่วย เมื่อเราไอหรือจามออกมา เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะตกอยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น โต๊ะหรือเสื้อผ้า และจะอยู่ได้นานเกือบชั่วโมง ยิ่งถ้าเป็นน้ำมูกแล้วล่ะก็ นานกว่าถึง 2-3 ชั่วโมง เป็นเหตุทำให้เชื้อสามารถกระจายไปได้เกือบทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับเชื้อไข้หวัด 2009 จะส่งผลอย่างไรต่อเด็กในครรภ์
สำหรับในหญิงตั้งครรภ์ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกระบุว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหญิงตั้งครรภ์จะลดลงจากภาวะปกติเล็กน้อย ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์จึงต้องระวังป้องกันตนเองเป็นพิเศษ
เนื่องจากการรับเชื้อไข้หวัดตามฤดูกาลของหญิงตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ง่าย จึงมีเหตุผลที่เป็นไปได้ว่าการรับเชื้อไวรัสชนิดใหม่นี้ก็เช่นกัน อีกทั้งไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะสามารถผ่านรกเข้าไปสู่ทารกในครรภ์ได้หรือไม่ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย ของตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรตระหนกจนเกินไป การติดเชื้อไข้หวัดไม่ได้หมายความว่าคุณแม่และทารกอยู่ในอันตราย มีหญิงตั้งครรภ์จำนวนมากที่ติดเชื้อไข้หวัดแต่ไม่มีอาการแทรกซ้อน เพียงแต่โดยสถิติแล้วหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดได้ จึงต้องพึงระลึกว่าไข้หวัดอาจทำให้อาการเลวลงอย่างรวดเร็วและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเช่นปอดบวม
อุบัติการณ์ที่หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการรุนแรงจากไข้หวัด ได้มาจากการศึกษาและสังเกตจากการระบาดครั้งก่อนๆและหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรงจากไข้หวัดตามฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น มีอุบัติการณ์เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัด อัตราการแท้ง และอัตราการคลอดก่อนกำหนด สูงขึ้นกว่าปกติในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดในปี 1918–1919 และ 1957–1958
หญิงให้นมบุตรที่ได้รับเชื้อไข้หวัด 2009 สามารถให้นมบุตรต่อไปได้หรือไม่
ทารกที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมมารดามีโอกาสที่จะได้รับเชื้อและต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลมากว่าทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมมารดา หญิงที่ไม่ได้ป่วยด้วยไข้หวัดควรได้รับการสนับสนุนให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ซึ่งทารกจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและภูมคุ้มกันโรค
ทารกแรกเกิดนั้นเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงหากได้รับเชื้อไข้หวัด 2009 แต่ปัจจุบันการป้องกันการติดเชื้อในทารกแรกเกิดนั้นทำได้น้อยมาก ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรอนุญาตให้เฉพาะผู้ที่ร่างกายแข็งแรงและไม่ได้กำลังป่วยอยู่เป็นผู้ดุแลทารก รวมถึงการให้นมด้วย ความเสี่ยงของการติดต่อของไข้หวัด 2009 ผ่านทางน้ำนมมารดานั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตามการติดต่อผ่านทางเลือดของไวรัสไข้หวัดตามฤดูกาลนั้นน้อยมาก ซึ่งการติดต่อของไวรัสไข้หวัดตามฤดูกาลผ่านทางน้ำนมมารดาก็น้อยมากๆเช่นเดียวกัน
ดังนั้นในคุณแม่ที่ป่วยหากสามารถปั๊มน้ำนมสำหรับให้ทารกดูดจากขวดได้ก็ยังสามารถทำได้ แต่ก็ต้องระวังเรื่องความสะอาดมากเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคจากภายนอกเข้าไปในน้ำนม และการให้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาหรือเพื่อป้องกันในหญิงให้นมบุตรก็ไม่ได้เป็นข้อห้ามแต่อย่างใด
จะทำอย่างไรเมื่อมีคนในครอบครัวติดเชื้อไข้หวัด 2009
คุณแม่ควรปรึกษาสูติแพทย์ที่รับฝากครรภ์ทันที และคุณอาจต้องมาที่โรงพยาบาลเพื่อเก็บตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจเพื่อนำไปตรวจคัดกรอง เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงทีหากคุณได้รับเชื้อไข้หวัด 2009 ด้วย

ไข้หวัด 2009 สามารถรักษาได้หรือไม่
ปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับการรักษาไข้หวัด 2009 โดยเฉพาะ แต่ยาต้านไวรัสจะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ และช่วยให้หายจากโรคเร็วขึ้น และยังช่วยลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนลงด้วย
ปัจจุบัน ยาต้านไวรัสสามารถสั่งให้กับเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี ยังไม่มีรายงานการศึกษาวิจัยซึ่งรับรองว่ามีความปลอดภัยหากใช้กับทารกที่อายุน้อยกว่านั้น หรือสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็ยังเป็นไปได้ว่าแพทย์อาจสั่งยาต้านไวรัสให้หากมีความจำเป็น โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของโรค การใช้ยาอาจมีผลดีมากกว่า

คุณแม่สามารถป้องป้องกันตัวเองจากไข้หวัด 2009 ได้ดังนี้
1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ
2. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัดและอากาศถ่ายเทไม่ดี
3. ใส่ผ้าปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันการรับเชื้อจากผู้อื่น
4. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือผ้าเช็ดหน้า ร่วมกับผู้อื่น
5. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดื่มน้ำมากๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
6. หากมีไข้ภายใน 7 วัน หลังเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ หรือเป็นผู้สัมผัสร่วมบ้าน ในที่ทำงาน กับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรือปอดอักเสบ ให้รีบพบแพทย์
วัคซีนป้องกันไข้หวัด 2009
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ แต่องค์การอนามัยโลกได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ผลิต เร่งการผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือนในการผลิต ส่วนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่ผลิตใช้อยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานว่า จะสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นี้ได้
ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจะป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล




Create Date : 27 กันยายน 2553
Last Update : 27 กันยายน 2553 18:12:25 น. 2 comments
Counter : 1818 Pageviews.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ


โดย: โยเกิตมะนาว วันที่: 27 กันยายน 2553 เวลา:18:30:19 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:02:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]