<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
1 กันยายน 2553

โรคธาลัสซีเมีย กับการตั้งครรภ์

โรคธาลัสซีเมียนั้นเป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เป็นกรรมพันธุ์ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีความผิดปกติในการสร้างสารฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติและแตกง่าย ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจาง
การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะของธาลัสซีเมียนั้นไม่เป็นปัญหาสำคัญเท่ากับกรณีที่เป็นพาหะทั้งคู่ เพราะกรณีแรกนั้นโอกาสที่ลูกจะรับทอดธาลัสซีเมียมามากที่สุดก็เพียงแค่เป็นพาหะเท่านั้น แต่กรณีหลังนี้ลูกมีโอกาสที่จะเป็นโรคด้วย ยิ่งถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน ผลกระทบต่อลูกมีตั้งแต่ไม่มีอาการ เป็นพาหะ ไปจนถึงเป็นโรคโลหิตจาง หรือรุนแรงมากที่สุดคือทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์
ธาลัสซีเมียแบ่งได้หลายชนิด การที่พ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดต่างๆเมื่อยีนของโรคนี้มารวมกันจะมีผลต่อทารกดังต่อไปนี้
พวกแอลฟ่า-ธาลัสซีเมีย
 แอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 1 เรียกว่า ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ ฟิทัลลิส รุนแรงที่สุด
 แอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 1 กับ แอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ช รุนแรงน้อย
 แอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 1 กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง เรียกว่า ฮีโมโกลบินเอ็ชคอนสแตนท์สปริง รุนแรงน้อย
 ฮีโมโกลบินคอนสแตน์สปริง กับ ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์สปริง เรียกว่า โฮโมซัยกัสคอนสแตนท์สปริง อาการน้อยมาก
 แอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 2 กับ แอลฟ่า- ธาลัสซีเมีย 2 เรียกว่า โฮโมซัยกัส ไม่มีอาการ
พวกเบต้า-ธาลัสซีเมีย
 เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ เบต้า-ธาลัสซีเมีย เรียกว่า โฮโมซัยกัส
 เบต้าธาลัสซีเมีย กับ เบต้า-ธาลัสซีเมียเมเจอร์ รุนแรงมาก
 เบต้า-ธาลัสซีเมีย กับ ฮีโมโกลบินอี เรียกว่า เบต้า-ธาลัสซี เมีย/ฮีโมโกลบินอี อาการรุนแรงปานกลาง
 ฮีโมโกลบินอี กับฮีโมโกลบินอี เรียกว่า โฮโมซัสกัส ฮีโมโกลบินอี อาการน้อยมาก

Q: หากต้องการตั้งครรภ์คุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร
A: กรณีที่ไม่ทราบว่าทั้งสามีภรรยาเป็นพาหะของโรคหรือไม่ควรตรวจเลือดดูก่อน หากพบว่าเป็นพาหะ แพทย์จะทำการประเมินและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ว่าทารกมีโอกาสเป็นโรคธาลัสซีเมียมากน้อยแค่ไหน และถ้าเป็นความรุนแรงของโรคเป็นอย่างไร ในกรณีที่คู่สามีภรรยามีความเสี่ยงต่อการเกิดบุตรโรค ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง แพทย์สามารถให้การวิเคราะห์วินิจฉัยโดยวิทยาการทันสมัยได้ตั้งแต่อายุครรภ์อ่อน ๆ
นอกจากนี้ในปัจจุบันคู่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดบุตรโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง แพทย์อาจใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์เพื่อตรวจวินิจฉัยตัวอ่อนของทารกว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงหรือไม่ก่อนนำไปฝังตัวในมดลูกของแม่เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
Q: ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอดควรดูแลตัวเองอย่างไร
A: กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นธาลัสซีเมีย และมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วย จะต้องดูแลให้ไม่อยู่ในภาวะซีดมาก ควรพักผ่อนให้มาก รับประทานอาหารให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และหากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที



Create Date : 01 กันยายน 2553
Last Update : 1 กันยายน 2553 10:36:20 น. 3 comments
Counter : 829 Pageviews.  

 


โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 1 กันยายน 2553 เวลา:10:57:07 น.  

 
เป็นธาลัสซีเมียเหมือนกันค่ะ เศร้า


โดย: รักหนักแน่น IP: 202.3.71.10 วันที่: 1 กันยายน 2553 เวลา:11:56:30 น.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:02:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]