<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
10 พฤษภาคม 2554

ผลข้างเคียง และความเสี่ยง ของการตั้งครรภ์โดยไข่บริจาค

ผลข้างเคียง และความเสี่ยง ของการตั้งครรภ์โดยไข่บริจาค
ปัจจุบันนี้ผู้หญิงตั้งครรภ์อายุเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าในอดีตมาก เพราะสิ่งแวดล้อมและภาวะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นและเลยวัยเจริญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังอยากมีลูก อาจพบปัญหาการมีบุตรยาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ไม่มีไข่ตก หรือรังไข่ล้มเหลวไม่สามารถผลิตเซลล์ไข่ได้ ผู้หญิงส่วนหนึ่งสามารถตั้งครรภ์ได้หากยอมรับไข่บริจาค โดยแพทย์จะนำเซลล์ไข่ที่ได้มาจากการบริจาคมาผสมกับอสุจิของสามีและเพาะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ภายนอกร่างกายนาน 5 วัน จนตัวอ่อนเจริญเติบโตถึงระยะฝังตัว หรือระยะบลาสโตซิสท์ ก็จะนำตัวอ่อนนั้นใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกให้ ตัวอ่อนจะสามารถฝังตัวและเกิดเป็นการตั้งครรภ์ต่อไปได้
การใช้ไข่บริจาคนั้น สามารถคัดเลือกลักษณะของผู้บริจาคและผู้รับบริจาคให้ใกล้เคียงกัน เพื่อที่ทารกที่เกิดมา จะได้มีลักษณะใกล้เคียงกับคุณแม่มากที่สุด เช่น ควรมีเชื้อชาติเดียวกัน สีผม สีผิว สีตา ใกล้เคียงกันมากที่สุด อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือกลุ่มเลือด ควรจะมีกลุ่มเลือดเดียวกัน เพื่อลดปัญหาทางสังคมที่อาจเกิดขึ้น เพราะคงเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกนักหากคุณแม่ต้องคอยตอบคำถามว่าเหตุใด ลูกจึงมีกลุ่มเลือดแตกต่างจากคุณพ่อคุณแม่
นอกจากการคัดเลือกลักษณะที่เหมาะสมแล้ว ผู้บริจาคจะได้รับการตรวจเลือด และคัดกรองโรคติดต่อเช่นเดียวกับการบริจาคเลือด และจะถูกคัดกรองโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาก่อนแล้ว เพื่อป้องกันโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่ทารก เช่นโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น
เป็นเวลายาวนานว่า 25 ปีแล้วที่ได้มีการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้ไข่บริจาค แต่ไม่มีรายงานที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การใช้ไข่บริจาคส่งผลต่อสุขภาพของแม่ตั้งครรภ์ ไม่ว่าไข่ที่ได้มา จะมาจากผู้หญิงที่มีกลุ่มเลือดใดๆ หรือมีเชื้อชาติ หรือพันธุกรรมที่แตกต่างกับผู้รับบริจาค
แต่เมื่อเร็วๆนี้ Dr. Ulrich Pecks, Deutsches Aerzteblatt International ประเทศเยอรมัน ได้นำเสนอการประเมินผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์โดยการรับไข่บริจาค ในระยะเวลา 4 ปี พบว่า หญิงตั้งครรภ์ด้วยไข่บริจาคจำนวน 8 รายมีการพัฒนาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ และ 3 รายในจำนวนนี้จำเป็นต้องให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนด เนื่องจากเป็นความเสี่ยงต่อชีวิตของคุณแม่ และอีก 5 รายที่เหลือมีความดันโลหิตสูงในระดับปานกลาง Dr. Ulrich Pecks จึงเห็นว่าควรจัดกลุ่มคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยการใช้ไข่บริจากเป็นกลุ่มที่มีการตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง เพื่อที่ทีมสุขภาพจะได้ดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อเฝ้าระวังป้องกันได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยไข่บริจาคส่วนมากเป็นผู้หญิงที่มีอายุมากแล้ว ดังนั้นเมื่อตั้งครรภ์ตอนอายุมากจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อยู่แล้วและควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมสุขภาพ


Create Date : 10 พฤษภาคม 2554
Last Update : 10 พฤษภาคม 2554 11:20:15 น. 1 comments
Counter : 543 Pageviews.  

 


โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 วันที่: 30 มีนาคม 2558 เวลา:17:03:02 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]