<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
15 ตุลาคม 2553

ผ่าตัดซีสท์ที่เต้านมในคุณแม่ตั้งครรภ์

ซีสท์หรือถุงน้ำที่เต้านม เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์และเลยวัยเจริญพันธุ์ไปแล้วนะครับ ไม่เว้นแม้กระทั่งคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ก็อาจคลำพบซีสท์ที่เต้านมด้วยตนเองได้

ซีสท์ที่เต้านมนี้ไม่ใช่มะเร็งนะครับ แม้จะมีโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งได้แต่ก็น้อยมาก ซีสท์นี้เกิดขึ้นเองไม่ทราบสาเหตุ แต่พบว่าฮอร์โมนเป็นสาเหตุที่ส่งเสริมให้ความเสี่ยงต่อการเกิดซีสท์มีมากขึ้น ในหญิงที่รับประทานฮอร์โมนแพทย์จึงต้องนัดตรวจติดตามเป็นระยะ และจะแนะนำให้ทำการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ส่วนหญิงตั้งครรภ์นั้นอาจเกิดซีสท์ขึ้นได้ด้วยเช่นกันเพราะมีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในหญิงที่เป็นซีสท์อยู่แล้วเมื่อตั้งครรภ์ซีสท์ก็อาจมีขนาดโตขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากสังเกตหรือตรวจพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านมก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

การผ่าตัดซีสท์ที่เต้านม

แม้เป็นการผ่าตัดเล็กแต่ก็ไม่ควรผ่าตัดในขณะที่ตั้งครรภ์อยู่หากไม่จำเป็น ดังนั้นถ้าทราบว่าเป็นซีสท์ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ก็ควรจะผ่าตัดซิสท์ให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยเริ่มวางแผนการตั้งครรภ์จะดีกว่าครับ แต่ในกรณีที่เป็นซีสท์ในระหว่างตั้งครรภ์และมีขนาดใหญ่ อาจต้องทำการผ่าตัดหรือเจาะซิสท์ ในระหว่างตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกก็ยังมีความปลอดภัยต่อการแท้งสูงกว่าในระยะหลังของการตั้งครรภ์ แต่ถ้าเป็นซิสท์ขนาดเล็ก ไม่มีอันตรายอะไร ก็อาจจะรอทำการผ่าตัดในช่วงหลังคลอด โดยระหว่างการมาฝากครรภ์แพทย์ก็จะทำการประเมินซีสท์ให้เป็นระยะ

การผ่าตัดในหญิงตั้งครรภ์นั้นอาจแตกต่างจากการผ่าตัดทั่วไปเล็กน้อย ดังนี้
 ศัลยแพทย์จะจัดท่าให้นอนตะแคงซ้าย 30 องศา เพื่อให้เลือดมาเลี้ยงมดลูกได้ดี เพราะมดลูกไม่กดทับเส้นเลือด ช่วยป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะขาดออกซิเจน
 การผ่าตัดจะพยายามใม่ให้รบกวนมดลูก หรือรบกวนให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันภาวะมดลูกบีบรัดตัวก่อนกำหนด นอกจากนี้จะให้ยาคลายกล้ามเนื้อมดลูกด้วยเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
 จะให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไป เพื่อให้สามารถควบคุมให้มีการผ่านออกซิเจนจากมารดาไปสู่ทารกได้อย่างเพียงพอ

แม้ว่าในระหว่างตั้งครรภ์จะไม่แนะนำให้ทำการตรวจเต้านม เพราะอาจเป็นการกระตุ้นฮอร์โมน ทำให้เกิดการบีบรัดตัวของมดลูกได้ ก็ยังอยากจะแนะนำวิธีการตรวจเต้านมไว้เพื่อใช้ภายหลังการคลอดแล้วดังนี้

ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมดังต่อไปนี้
 ในวัยที่ยังมีประจำเดือน ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ ประมาณ 7-10 วันนับจากวันแรกของรอบเดือน เพราะช่วงนี้เต้านมจะหายคัดไปแล้ว ทำให้ตรวจพบความผิดปกติได้ง่ายขึ้น และไม่รู้สึกเจ็บจากการคลำด้วย
 ในวัยที่ประจำเดือนหมดไปแล้ว เลือกวันไหนก็ได้ที่สะดวก แล้วทำเป็นประจำ เช่น เลือกวันแรกของแต่ละเดือน ซึ่งเป็นวันที่จำง่ายที่สุด
 ในรายที่ตัดมดลูกไปแล้วแต่ยังมีรังไข่ อาจยังมีอาการคัดตึงเต้านมจากการที่รังไข่ยังผลิตฮอร์โมน ดังนั้นควรเลือกตรวจในวันที่ไม่มีอาการคัดเต้านม

วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
1. ตรวจขณะอาบน้ำ ขณะอาบน้ำผิวหนังจะลื่นทำให้การตรวจง่ายขึ้น เริ่มการตรวจโดยใช้ปลายนิ้วมือวางราบบนเต้านมคลำแล้วเคลื่อนในลักษณะคลึงเบาๆให้ทั่วทุกส่วนของเต้านมเพื่อค้นหาก้อนเนื้อที่แข็งผิดปกติ
2. ตรวจหน้ากระจก ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ
 ยืนตรงแขนแนบลำตัวทั้งสองข้าง แล้วค่อยๆยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ ให้สังเกตลักษณะของเต้านมทั้งสองข้าง เพราะการยกแขนขึ้นจะทำให้มองเห็นสิ่งผิดปกติได้ง่าย
 ใช้มือทั้งสองข้างกดที่สะโพกแรงๆ พร้อมกันทั้ง 2 ข้างเพื่อให้เกิดการเกร็ง และหดตัวของกล้ามเนื้อที่หน้าอก จากนั้นให้สังเกตลักษณะผิดปกติของเต้านม
3. ตรวจในท่านอน นอนราบยกมือข้างหนึ่งหนุนไว้ใต้ศีรษะ แล้วใช้ปลายนิ้วมืออีกข้างหนึ่งคลำให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม โดยเริ่มจากบริเวณส่วนนอกและเหนือสุดของเต้านม เวียนไปโดยรอบเต้านม เคลื่อนมือเข้ามาเป็นวงกลมเล็กลงไปเรื่อยๆจนถึงบริเวณหัวนมแล้วค่อยๆบีบหัวนมเพื่อสังเกตว่ามีเลือด น้ำหนองหรือน้ำใสๆอื่นใดออกมาหรือไม่ หลังจากนั้นให้ตรวจเต้านมอีกข้างหนึ่งในลักษณะเดียวกัน

การตรวจวินิจฉัยโรคของเต้านมทางการแพทย์

1. เครื่องแมมโมแกรม (Digital Mammogram) เป็นการตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์เต้านม เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งเต้านมที่ให้รายละเอียดของภาพสูงด้วยระบบดิจิตอล ทำให้สามารถวินิจฉัยพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก หรือความผิดปกติในเนื้อเยื่อได้ แม้เป็นจุดที่เล็กมากจนการคลำตรวจทั่วไปไม่สามารถบ่งบอกความผิดปกติได้
2. เครื่องอัลตร้าซาวน์ (Ultrasonogram) เป็นการตรวจเพื่อแยกว่าก้อนที่เต้านมที่ตรวจพบเป็นถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง สะท้อนกลับออกมาสร้างเป็นภาพขาวดำ โดยบริเวณที่เป็นน้ำจะมีความหนาแน่นมากก็จะเห็นเป็นสีดำ ส่วนที่เป็นเนื้อจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าจะเห็นเป็นสีขาว





 

Create Date : 15 ตุลาคม 2553
1 comments
Last Update : 15 ตุลาคม 2553 9:25:40 น.
Counter : 2250 Pageviews.

 

 

โดย: สมาชิกหมายเลข 1779106 30 มีนาคม 2558 17:03:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


DR.TONGTIS
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




• B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978.
• M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980.
• Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983.
• Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland.
• Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK.
• Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
[Add DR.TONGTIS's blog to your web]