ธันวาคม 2551

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
เรื่องจากไข้กาฬหลังแอ่น
จากการจากไปของ ตลกดาวน์ซินโดรม สายัณห์ ดอกสะเดา เมื่อ18.00 น วันที่ 14 ธันวาคม 2551 โดยก่อนหน้านี้ ป่วยเข้าโรงพยาบาล เพราะ ท้องเสียและชัก ต่อมาตรวจพบว่า เป็น โรค ไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งไม่ค่อยมีใครเป็นกันแล้วในประเทศไทย เป็นโรคที่เราได้ยินมาตอนสมัยเด็กๆ คือมีในวิชาเรียน แต่ไม่คิดว่า จะยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน พอได้ยินข่าว ว่าสายััณห์ ตลกที่เราเองก็ ชื่นชอบ เป็นโรคนี้ ก็ให้สนใจ และ ติดตามข่าวพอควร และสุดท้ายสายัณห์ก็จากไปอย่างสงบ ด้วยโรค นี้ หลับให้สบายน๊ะ สายัณห์ .....


จึงไปค้นคว้าหาข้อมูลของโรคนี้มาเผยแผ่ให้หลายๆคนที่สนใจอ่านกัน ศึกษากันไว้หน่อยก็ดี รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม...








ไข้กาฬหลังแอ่น


 


      ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Neisseria meningitidis) ที่มีแหล่งสะสมตามธรรมชาติคือ คนสามารถพบในบริเวณลำคอโดยไม่ทำให้เกิดโรคในลักษณะที่เรียกว่า พาหะ (Carrier) เนื่องจากผู้ที่เป็นพาหะ มีภูมิคุ้มกันที่สร้างไว้ในวัยเด็กหลงเหลืออยู่ โดยสามารถต้านเชื้อชนิดที่ก่อโรครุนแรงได้ นอกจากนี้หากเชื้อที่มีการแพร่กระจาย ไม่ใช่ชนิดที่รุนแรงการเกิดโรคก็จะน้อยลง จากการสำรวจในปี 2531 พบเด็กที่เป็นพาหะในอัตราร้อยละ 14

      การเกิดโรค ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 2-10 วัน ปกติ 3-4 วัน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีสุขภาพอ่อนแอจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงกว่า โดยเชื้อในลำคอจะเพิ่มจำนวนแล้วเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปยังเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningiltis) ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดโดยเริ่มจากการเจ็บคอ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อตามด้วยไข้สูงและมีอาการซึม ในกรณีที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด (Meningococcemia) ซึ่งเป็นอาการที่พบมาก ในเด็กวัยเรียนและวัยหนุ่มสาวจะมีอาการรุนแรงและรวดเร็ว โดยเลือดจะมาหล่อเลี้ยงที่ปลายหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยจะมีผื่น เลือดออกตามผิวหนัง ในรายที่รุนแรงจะมีเลือดออกในลำไส้และต่อมหมวกไต รวมทั้งภาวะที่เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มทั่วร่างกาย (Waterhouse-Friderichsen Syndrome) จนเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตในที่สุด

      การเก็บตัวอย่าง ในกรณีผู้ป่วยให้เจาะน้ำไขสันหลัง (CSF) หรือเลือดนำส่งในสภาพที่มีความชื้นและไม่เก็บในอุณหภูมิต่ำเพื่อย้อมแกรมและเพาะเชื้อทันที ไม่ควรใส่สารกันการแข็งตัว (Anticoagulant) ลงใน TSB (Tryptic Soy Broth) หรือ BHI (Brain Heart Infusion Broth) ที่เตรียมไว้สำหรับใส่เลือด กรณีผู้ที่เป็นพาหะให้เก็บ Nasopharyngeal Swab (โดยใช้ไม้พันสำสีที่ต้มในพัฟเฟอร์เพื่อทำลายกรดไขมันแล้ว) ป้ายลงบน chocolate agar slant หรือ plate เก็บใน candle jar พร้อมก็าซ CO2 แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง

      การติดต่อ ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไปหรือสัมผัสกับเสมหะเพราะเชื้อนี้มีคนเป็นแหล่งโรคเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในระยะแรกคือช่วงที่มีอาการเจ็บคออย่างรุนแรงก็สามารถหายได้

      การป้องกัน กระทำได้โดย ให้ยาปฏิชีวนะในผู้ที่สัมผัสโรค และหลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งชุมชนที่หนาแน่นที่ขาดระบบสุขาภิบาลที่ดี หรือในที่แออัดไม่มีการถ่ายเทอากาศเพียงพอเป็นเวลานาน

      ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่พบมีการระบาดทั่วไปในประเทศแถบตะวันออกกลาง (ซาอุดิอาระเบีย) แอฟริกา อเมริกา และในประเทศแถบเอเชีย (พม่า กัมพูชา เวียดนาม) ในประเทศไทยมีรายงานพบโรคนี้ประปรายทุกปี โดยมีการระบาดในนักโทษและเสียชีวิต 1 ราย เมื่อปี พ.ศ. 2538 และปี 2539 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย จากสถิติที่ผ่านมาพบผู้เสียชีวิตไม่เกิน 10 รายต่อปี เชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคแบ่งออกเป็น 13 ชนิด และ 5 ชนิดคือ A B C Y และ W135 พบเป็นสาเหตุของโรคระบาดมากกว่า ในช่วง พ.ศ. 2536 - 2539 ประเทศไทยมีการตรวจพบเชื้อชนิด A และ B มากที่สุด สำหรับวัคซีนที่ฉีดให้แก่ผู้ป่วยที่จะเดินทางไปต่างประเทศหรือท้องที่พบมีการระบาดของโรคนี้เป็นชนิด A และ C ซึ่งจะสามารถรับบริการได้ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
    - กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
    - ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ในบริเวณตรวจคนเข้าเมืองถนนสาธรได้ 
    - ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ดอนเมือง
    - ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าเรือกรุงเทพ ฯ คลองเตย
    - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 14 จังหวัดในภาคใต้
      อย่างไรก็ตามโดยสาเหตุที่ยังไม่มีวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อได้ทุกชนิด รวมทั้งอาการของโรคมีความรุนแรงและเกินขึ้นอย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยที่ต้องสงสัยต้องรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที



ฝ่ายบักเตรีทั่วไป สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงาน








Create Date : 14 ธันวาคม 2551
Last Update : 14 ธันวาคม 2551 23:50:15 น.
Counter : 1220 Pageviews.

4 comments
  
แพทย์เผยปีนี้ พบคนแรกในกทม. ปู กนกวรรณ เปรยอาการพ้นขีดอันตราย พรุ่งนี้ ออกจากห้องไอซียูแล้ว

สายัณห์ ดอกสะเดา

หลังจากที่ "สายัณห์ ดอกสะเดา" หรือ นายสายัณห์ ม่วงเจริญ ตลกคนดัง ที่อยู่ในความดูแลของ นายสมใจ สุขใจ หรือ เด๋อ ดอกสะเดา กับ นางกนกวรรณ สุขใจ ท้องเสียชักหมดสติ จนถูกหามส่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต หลังกลับจากโชว์ตัวที่ จ.สุโขทัย กระทั่งอาการไม่ดีขึ้น ต้องถูกย้ายไปรักษาตัวที่ห้องผู้ป่วยวิกฤติ (ไอ.ซี.ยู) โรงพยาบาลกรุงเทพ

นางกนกวรรณ หรือ ปู ภรรยา เด๋อ ดอกสะเดา กล่าวว่า ขณะนี้อาการของสายัณห์ดีขึ้นแล้ว ในวันพรุ่งนี้ก็จะย้ายออกจากห้องผู้ป่วยวิกฤติ(ไอ.ซี.ยู) ไปพักฟื้นยังห้องผู้ป่วยปกติได้ โดยก่อนหน้านี้ ตนได้ย้ายสายัณห์มารักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งแพทย์ได้เจาะน้ำจากไขสันหลังสายัณห์เพื่อเอาไปตรวจเช็ค หลังจากพบเชื้อแบคทีเรียในร่างกายแต่ยังไม่รู้ว่าตัวโรคเดินทางไปถึงไหน ซึ่งตอนแรกตนกังวลและกลัวว่าจะเป็นโรคสมองอักเสบ แต่ในที่สุดพอตรวจจึงพบเชื้อกาฬหลังแอ่น

"ปูเคยได้ยินชื่อโรคนี้มาบ้าง เข้าใจว่าหากนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลช้า เชื้อจะเข้าสู่สมอง จนทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และเสียชีวิตได้ แต่โชคดีเรานำตัวสายัณห์ส่งโรงพยาบาลรวดเร็ว ถ้าไปช้าก็แย่ คงถึงกับชีวิตเหมือนกัน ปูเห็นแล้วก็สงสาร ใจหาย อย่างวันแรกที่เขาเข้าโรงพยาบาล หน้าซีด ขอบตาเขียว เห็นแล้วก็ใจหาย แต่พอวันนี้เขาดีขึ้นก็เลยพูดตลกกันว่า สายัณห์เขาเป็นคนไม่ปกติ เวลาไม่สบายก็ต้องเป็นโรคพิเศษ ซึ่งเขามีบุญอย่างมาก เพราะวันนี้พระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์โสมสวลี พระวรราชาธินัดมาตุ ประทานแจกันดอกไม้เยี่ยมไข้" นางกนกวรรณกล่าว

นางกนกวรรณ กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้สายัณห์เป็นคนอดทน จะไม่รู้ร้อน รู้หนาว หากมีอาการป่วย หรือหิว ก็จะไม่พูด ไม่บอกใดๆ ตนจะรู้ก็ต่อเมื่อบางครั้งเอามือไปสัมผัสตัว หน้าผาก สำหรับโรคนี้แพทย์บอกว่าสามารถติดต่อได้โดยการสัมผัส และทางน้ำลาย ซึ่งขณะนี้แพทย์จึงให้ทั้งตนและเด๋อ รวมถึงคนใกล้ชิดกินยาป้องกัน

ด้าน นพ.สมศักด์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โชคดีที่นำตัวสายัณห์ส่งโรงพยาบาลเร็ว ซึ่งคาดว่าก่อนหน้านี้สายัณห์น่าจะมีอาการปวดศีรษะ ไข้สูง เพราะเป็นอาการปกติของโรคนี้ หลังจากนั้น 1-2 วันจึงจะเริ่มมีอาการปวดหัว ปวดหลัง อาเจียน ไอ จนกระทั่งหลังงอ แอ่น

"โรคนี้เป็นโรคจากการติดเชื้อทางแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ในประเทศไทยพบน้อยมาก ปกติปีหนึ่งโดยทั่วไปจะพบเพียง 30-40 รายเท่านั้น สำหรับปีนี้ทั่วประเทศมีประมาณ 30 ราย ในกรุงเทพก่อนหน้านี้ยังไม่ได้รับรายงาน เข้าใจว่าสายัณห์เป็นราย แต่โรคนี้ไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆ หากจะพบกับคนที่มีภูมิต้านทานไม่ค่อยดีนัก เป็นโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือต้องกินยากดภูมิบางอย่าง ซึ่งคนปกติบางคนหากไปตรวจก็อาจจะตรวจพบเชื้อในคอได้ 5-10 เปอร์เซ็นต์" นพ.สมศักดิ์ กล่าว

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า โรคนี้ติดต่อด้วยการสัมผัส พูดคุย ไอใส่หน้า ในระยะใกล้น้อยกว่า 1 เมตร ซึ่งการฟักตัวของเชื้อขึ้นอยู่แล้วแต่กรณี หากได้รับเชื้อมามาก ก็จะประมาณ 1-2 วัน หากได้รับเชื้อมาน้อยก็จะใช้เวลา 2-10 วัน สำหรับรายงานการเสียชีวิตในประเทศไทย ย้อนกลับไป 10 กว่าปีก่อน ผู้ป่วย 30 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิต แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น การป้องกันคือต้องใช้ชีวิตอยู่บนสุขอนามัยพื้นฐาน

"ปกติพอให้ยาปฏิชีวะนะโดยการฉีด ภายใน 24 ชั่วโมง อาการก็จะดีขึ้น กรณีของสายัณห์ก็ถือว่าอาการของโรคเป็นไปเยอะพอสมควร เพราะเจาะไขสันหลังแล้วพบเชื้อ นั่นหมายถึงเชื้อกำลังจะเข้าไปสู่ระบบประสาท แต่ทั้งนี้ก็ถือว่าโชคดีที่ยังไม่เป็นอะไรมากกว่านี้" นพ.สมศักดิ์กล่าว


Tag (ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง): สายัณห์ ดอกสะเดา สายัณห์ ม่วงเจริญ เด๋อดอกสะเดา นางกนกวรรณสุขใจ เชื้อกาฬหลังแอ่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
โดย: nutangmo วันที่: 14 ธันวาคม 2551 เวลา:23:30:59 น.
  


ไข้กาฬหลังแอ่น

ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Neisseria meningitidis) ที่มีแหล่งสะสมตามธรรมชาติคือ คนสามารถพบในบริเวณลำคอโดยไม่ทำให้เกิดโรคในลักษณะที่เรียกว่า พาหะ (Carrier) เนื่องจากผู้ที่เป็นพาหะ มีภูมิคุ้มกันที่สร้างไว้ในวัยเด็กหลงเหลืออยู่ โดยสามารถต้านเชื้อชนิดที่ก่อโรครุนแรงได้ นอกจากนี้หากเชื้อที่มีการแพร่กระจาย ไม่ใช่ชนิดที่รุนแรงการเกิดโรคก็จะน้อยลง จากการสำรวจในปี 2531 พบเด็กที่เป็นพาหะในอัตราร้อยละ 14

การเกิดโรค ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 2-10 วัน ปกติ 3-4 วัน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีสุขภาพอ่อนแอจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงกว่า โดยเชื้อในลำคอจะเพิ่มจำนวนแล้วเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปยังเยื่อหุ้มสมอง ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningiltis) ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดโดยเริ่มจากการเจ็บคอ ปวดศีรษะและกล้ามเนื้อตามด้วยไข้สูงและมีอาการซึม ในกรณีที่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือด (Meningococcemia) ซึ่งเป็นอาการที่พบมาก ในเด็กวัยเรียนและวัยหนุ่มสาวจะมีอาการรุนแรงและรวดเร็ว โดยเลือดจะมาหล่อเลี้ยงที่ปลายหลอดเลือดเป็นจำนวนมาก ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยจะมีผื่น เลือดออกตามผิวหนัง ในรายที่รุนแรงจะมีเลือดออกในลำไส้และต่อมหมวกไต รวมทั้งภาวะที่เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มทั่วร่างกาย (Waterhouse-Friderichsen Syndrome) จนเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตในที่สุด

การเก็บตัวอย่าง ในกรณีผู้ป่วยให้เจาะน้ำไขสันหลัง (CSF) หรือเลือดนำส่งในสภาพที่มีความชื้นและไม่เก็บในอุณหภูมิต่ำเพื่อย้อมแกรมและเพาะเชื้อทันที ไม่ควรใส่สารกันการแข็งตัว (Anticoagulant) ลงใน TSB (Tryptic Soy Broth) หรือ BHI (Brain Heart Infusion Broth) ที่เตรียมไว้สำหรับใส่เลือด กรณีผู้ที่เป็นพาหะให้เก็บ Nasopharyngeal Swab (โดยใช้ไม้พันสำสีที่ต้มในพัฟเฟอร์เพื่อทำลายกรดไขมันแล้ว) ป้ายลงบน chocolate agar slant หรือ plate เก็บใน candle jar พร้อมก็าซ CO2 แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง

การติดต่อ ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไปหรือสัมผัสกับเสมหะเพราะเชื้อนี้มีคนเป็นแหล่งโรคเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในระยะแรกคือช่วงที่มีอาการเจ็บคออย่างรุนแรงก็สามารถหายได้

การป้องกัน กระทำได้โดย ให้ยาปฏิชีวนะในผู้ที่สัมผัสโรค และหลีกเลี่ยงการอยู่ในแหล่งชุมชนที่หนาแน่นที่ขาดระบบสุขาภิบาลที่ดี หรือในที่แออัดไม่มีการถ่ายเทอากาศเพียงพอเป็นเวลานาน

ไข้กาฬหลังแอ่น เป็นโรคที่พบมีการระบาดทั่วไปในประเทศแถบตะวันออกกลาง (ซาอุดิอาระเบีย) แอฟริกา อเมริกา และในประเทศแถบเอเชีย (พม่า กัมพูชา เวียดนาม) ในประเทศไทยมีรายงานพบโรคนี้ประปรายทุกปี โดยมีการระบาดในนักโทษและเสียชีวิต 1 ราย เมื่อปี พ.ศ. 2538 และปี 2539 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย จากสถิติที่ผ่านมาพบผู้เสียชีวิตไม่เกิน 10 รายต่อปี เชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโรคแบ่งออกเป็น 13 ชนิด และ 5 ชนิดคือ A B C Y และ W135 พบเป็นสาเหตุของโรคระบาดมากกว่า ในช่วง พ.ศ. 2536 - 2539 ประเทศไทยมีการตรวจพบเชื้อชนิด A และ B มากที่สุด สำหรับวัคซีนที่ฉีดให้แก่ผู้ป่วยที่จะเดินทางไปต่างประเทศหรือท้องที่พบมีการระบาดของโรคนี้เป็นชนิด A และ C ซึ่งจะสามารถรับบริการได้ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
- กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
- ฝ่ายควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ในบริเวณตรวจคนเข้าเมืองถนนสาธรได้
- ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ดอนเมือง
- ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าเรือกรุงเทพ ฯ คลองเตย
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 14 จังหวัดในภาคใต้
อย่างไรก็ตามโดยสาเหตุที่ยังไม่มีวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อได้ทุกชนิด รวมทั้งอาการของโรคมีความรุนแรงและเกินขึ้นอย่างรวดเร็ว หากพบผู้ป่วยที่ต้องสงสัยต้องรายงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที


ฝ่ายบักเตรีทั่วไป สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงาน
โดย: nutangmo วันที่: 14 ธันวาคม 2551 เวลา:23:37:55 น.
  
ไว้อาลัย
โดย: พยัคฆ์ร้ายแห่งคลองบางหลวง วันที่: 15 ธันวาคม 2551 เวลา:12:13:23 น.
  
ขอบคุณสำหรับความรู้

จะเอาไปเมาท์ให้เพื่อนฟัง (จะได้ดูมีความรู้ขึ้นกว่าปัจจุบันบ้าง )
โดย: ชนวนกลาง วันที่: 15 ธันวาคม 2551 เวลา:18:48:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nutangmo
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เราไม่สามารถทำให้ทุกคนรักเราได้ แต่เราสามารถที่จะทำให้คนที่รักเรารักมากขึ้นได้ จงเลือกเก็บสิ่งที่ดีไว้ผลักดันตัวเอง จงใช้หัวใจนำทาง

ไปฟังเพลงที่ห้องTRUELIFEจ้า ไม่มีความคิดใดไร้ค่า แม้นาฬิกาตาย ยังบอกเวลาตรงตั้ง2ครั้งต่อวัน

Sudoku from SudokuPuzz.com
เพลงใหม่ โค้ดเพลง MV