แผนที่ความร้อนใต้พิภพชี้แสดงแหล่งพลังงานสำหรับสหรัฐฯ ที่ให้พลังงานมากกว่าถ่านหินสิบเท่า
ห้องวิจัย SMU Geothermal Laboratory ได้รับเงินสนับสนุนจากกูเกิลในโครงการพัฒนาแหล่งพลังงานจากความร้อนใต้พิภพไปเมื่อสามปีก่อน มาวันนี้การสำรวจเสร็จสิ้นและแผนที่ภาพความร้อนใต้พิภพก็ได้รับการปรับปรุงใหม่

แผนที่นี้ทำขึ้นโดยมีมาตรฐานการหาพลังงานคือ แหล่งความร้อนนั้นอยู่อยู่ในช่วง 3 ถึง 6.5 กิโลเมตร เพื่อไม่ยากต่อการขุดเจาะ แต่ในการขุดเจาะลึกไม่เกิน 10 กิโลเมตรก็ยังเป็นไปได้ เมื่อสำรวจแล้วจะตัดพื้นที่ที่เป็นเขตอนุรักษณ์หรือพื้นที่ต้องห้ามที่ไม่สามารถสร้างโรงงานไฟฟ้าได้ออกไป

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าพลังงานจากแหล่งความร้อนใต้พิภพสามารถใช้ผลิตพลังงานรวม 2.98 เทราวัตต์ทั่วสหรัฐฯ มากกว่าพลังงานถ่านหินรวมของสหรัฐฯ ถึงสิบเท่าตัว

แผนที่นี้เป็นแผนที่ความร้อนใต้พิภพที่ละเอียดที่สุดเท่าที่เคยทำขึ้น ก่อนหน้านี้แผนที่อาศัยแนวความร้อนเพียง 5 แนวในการวาดแผนที่ ขณะที่แผนที่ใหม่อาศัยข้อมูลอุณภูมิก้นหลุมสำรวจ (Bottom Hole Temperature - BHT) จำนวนถึง 1,455 หลุม

การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพนั้นไม่ใช่การเจาะเอาหินเหลวขึ้นมาดึงความร้อนโดยตรงอย่างที่หลายคนอาจจะเข้าใจ เพราะหินเหลวนั้นปรกติจะร้อนเกินกว่าใช้งานได้ แต่จะมีชั้นหินที่ยังคงรูปเป็นหินแต่มีความร้อนสูงพอ และอาศัยการอัดน้ำจากพื้นดินแล้วสูบกลับด้วยระบบท่อหมุนเวียน ทำให้ได้น้ำร้อนแรงดันสูง ซึ่งสามารถนำมาปั่นไฟได้ตลอดเวลา พลังงานรูปแบบนี้มีข้อดีคือมีเสถียรภาพสูงมาก พลังงานไม่ขึ้นกับลมฟ้าอากาศเช่นพลังงานลมหรือพลังงานแสงอาทิตย์

ประเทศที่ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพมากๆ คือไอซ์แลนด์โดยใช้ถึง 1 ใน 3 และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยความร้อนจากหินเหลวกันแล้ว

ที่มา: JuSci.net



Create Date : 27 ตุลาคม 2554
Last Update : 27 ตุลาคม 2554 2:21:39 น.
Counter : 498 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Momotoy
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
12
13
19
23
24
25
28
30
31
 
 
All Blog