นักวิจัยพัฒนาระบบสังเคราะห์ด้วยแสงที่ดีกว่าธรรมชาติ 2 เท่า
ทีมนักวิจัยร่วมจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาได้ใช้นาโนเทคโนโลยีปรับปรุงระบบสังเคราะห์ด้วยแสงจนได้ระบบสังเคราะห์ด้วยแสงลูกผสมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าธรรมชาติเดิมถึงสองเท่ากว่าๆ

พวกเขานำเอาส่วนรับพลังงานแสง Photosystem I (PSI) มาจากแบคทีเรีย Clostridium acetobutylicum และเอามาผสมเข้ากับส่วนที่ใช้ในการผลิตก๊าซไฮโดรเจน (H2ase) จากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Synechococcus sp. ด้วยนาโนเทคโนโลยี เมื่อได้รับพลังงานแสง ระบบลูกผสมอินทรีย์-ชีวภาพที่มีชื่อว่า "PSI-[FeFe]-H2ase nanoconstruct" นี้มีความสามารถในการผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ถึง 2,200 ± 460 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัมคลอโรฟิลล์ต่อชั่วโมง หรือเทียบได้เป็นพลังงานอิเล็กตรอน 105 ± 22 อิเล็กตรอนต่อ PSI ต่อวินาที

ถ้าเปรียบเทียบกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สามารถผลิตก๊าซออกซิเจนได้ 400 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัมคลอโรฟิลล์ต่อชั่วโมง หรือเทียบได้เป็นพลังงานอิเล็กตรอน 47 อิเล็กตรอนต่อ PSI ต่อวินาที (ตัวเลขเทียบบัญญัติไดรยางค์ธรรมดาตรงๆ ไม่ได้นะครับ เพราะในเซลล์สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินยังมี Photosystem II ที่เป็นตัวรับพลังงานแสงอีกตัว) ก็จะเห็นว่าระบบลูกผสมทำงานได้ดีกว่าของเดิมในธรรมชาติมากกว่าสองเท่า

หวังว่าเทคโนโลยีนี้จะนำไปพัฒนาประสิทธิภาพของการสังเคราะห์ด้วยแสงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป และเป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่ยั่งยืนต่อไป

ที่มา: JuSci



Create Date : 23 ธันวาคม 2554
Last Update : 23 ธันวาคม 2554 1:52:22 น.
Counter : 928 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Momotoy
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ธันวาคม 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
11
12
13
14
17
19
20
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog