นักวิทยาศาสตร์เสนอแผนการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลก
ภายในปี 2011 นี้ (ความจริงคือในเดิอนตุลาคมนี้ด้วยซ้ำ) ประชากรมนุษย์ก็จะแตะ 7 พันล้านคน และ UN คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2100 ตัวเลขนี้จะพุ่งถึง 1 หมื่นล้าน

Edward O. Wilson (เจ้าพ่อแห่งวิชา Sociobiology หรือที่บางคนเรียกว่า "ชารลส์ ดาร์วินคนที่สอง") ประเมินไว้ว่าโลกรองรับมนุษย์ได้เพียง 1 หมื่นล้านคนเท่านั้น และต้องเป็นในกรณีที่ทุกคนยอมเลิกกินเนื้อด้วย หากประเมินกันจริงจัง ก็อาจจะน้อยกว่านี้อีก เพราะนี่คือตัวเลขที่ประเมินจากปัจจัยปริมาณอาหารอย่างเดียว ยังไม่ได้รวมปัจจัยพวกมลภาวะและการรบกวนสมดุลของโลกจากน้ำมือมนุษย์เข้าไปเลย

ทีมวิจัยร่วมจากสหรัฐอเมริกา, แคนาดา, สวีเดน, และเยอรมนีได้รวบรวมข้อมูลประชากรและผลผลิตอาหารของโลก เพื่อที่จะเอามาวิเคราะห์หาวิธีทำการเกษตรแบบที่สามารถเลี้ยงประชากรโลกให้ได้อย่างยั่งยืนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิบัติได้จริงด้วยภายใต้สภาวะสังคมและเศรษฐกิจ

สิ่งที่พวกเขาคิดกันหัวแทบแตกสรุปออกมาได้ 5 ข้อ ดังนี้

1. หยุดการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งอาจทำได้ด้วยการสนับสนุนให้พื้นที่ธรรมชาติเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการจ่ายเงินชดเชยให้กับเจ้าของพื้นที่ (หรือประเทศกำลังพัฒนา)

2. เพิ่มอัตราผลผลิตทางการเกษตร อันนี้ต้องใช้เทคโนโลยีพันธุกรรมเข้ามาช่วยเพื่อพัฒนาพันธุ์พืช นักวิจัยมองว่าอัตราผลผลิตทางการเกษตรในหลายประเทศยังสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกเยอะหากได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม เทคโนโลยีพันธุกรรมอาจช่วยเพิ่มปริมาณอาหารเลี้ยงประชากรโลกได้ถึง 60% เทียบกับปัจจุบัน

3. กระจายปัจจัยทางการเกษตรให้เหมาะสม นักวิจัยพบว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีสภาพเป็น "Goldilocks' Problem" นั่นคือน้ำ, ธาตุอาหาร, สารเคมีในบางพื้นที่ก็มีมากจนเกินไป บางที่ก็ขาดแคลน ดังนั้นจะต้องมียุทธวิธีในการจัดสรรปันส่วนปัจจัยเหล่านี้ให้พอดีๆ ทุกพื้นที่เพื่อประโยชน์สูงสุด

4. ลดการทำปศุสัตว์และการปลูกพืชพลังงาน เพราะทั้งสองอย่างนี้คือการลดปริมาณผลผลิตที่จะนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ทั้งสิ้น

5. ลดปริมาณการสูญเสียของผลผลิต เช่น การเน่าเสีย ถูกแมลงกิน เป็นต้น ในปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรหนึ่งในสามต้องเสียเปล่าไปด้วยสาเหตุแบบนี้ หากขจัดการสูญเสียผลผลิตได้ จะมีอาหารไว้ป้อนเข้าปากมนุษย์เพิ่มอีก 50%

งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก NSERC, NASA, และ NSF บทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature DOI: 10.1038/nature10452

ที่มา: Jusci.net



Create Date : 16 ตุลาคม 2554
Last Update : 16 ตุลาคม 2554 20:32:30 น.
Counter : 511 Pageviews.

1 comments
  
เป็นวิธีการที่งี่เหง้าครับ ก็พยายามควบคุมอัตราการเพิ่มประชากรไม่ง่ายกว่าหรอ ยั่งยืน และแก้ปัญหาทั้งหลายทั้งมวลได้หมด ทั้งขาดอาหาร โลกร้อน สารพัดปัญหาจะหายไปถ้ามนุษย์ตัวก่อเหตุลดลง บางทีการคิดมากเกินไป ก็ทำให้แก้ไขปัญหาไม่ถูกจุด
โดย: nainokkamin วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:9:34:58 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Momotoy
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
12
13
19
23
24
25
28
30
31
 
 
All Blog