กำข้อมูล กุมโลก
กำข้อมูล กุมโลก

นานมาแล้วผู้เขียนต้องตอบคำถามว่า อะไรเป็นข้อดีข้อเสียของระบบInternet
ผู้เขียนตอบไปหลายข้อ แต่ข้อหนึ่งของข้อพึงระวังที่จำได้และเห็นว่าสำคัญมาก คือ ความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ

ผู้เขียน ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT การเสนอความเห็นเรื่องนี้จึงอาจะไม่ถูกตามหลักการของการทำงานของInternet นัก แต่เป็นในฐานะคนที่ช่วยทำงานด้านการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและใช้Internet ในการทำงานมากกว่า 20 ปี

ผู้เขียนมีความกังวลว่าข้อๆมูลที่สร้างๆกันมา หรือใครต่อใครก็บันทึกกันเข้าไปในระบบ Internet มัน เชื่อถือได้แค่ไหน ไปอยู่ที่ไหน ใครดูแลควบคุมตรวจสอบ ใครจะเข้าถึงและมีสิทธิดึงข้อมูลไม่ใช้ได้บ้าง ไม่ใช่แค่การค้นหานำมาใช้ มาอ้างอิง มาเพิ่มความรู้เท่านั้น ข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละคนจะปลอดภัยหรือไม่ ไม่ว่าข้อมูลดิบ ข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเหล่านี้มันจะมีค่ามหาศาลที่สามารถไปใช้ได้ทั้งดีและไม่ดี
 

Website และ application ที่เราๆท่านๆ เขาไปหาข้อมูลหรือเอาข้อมูลตัวเองไปป้อนไว้ ทั้งความคิดความเห็น กิจกรรมของเราไปบอกให้สาธารณะรู้ ที่ดังๆ ใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ตัวล่าสุดที่ดังและกำลังถูกอเมริกาสกัด คือ TikTok ของจีน ที่มีคนใช้มากที่สุดในปี 2022 แล้วก็ อากู๋ (Google) YouTube รองลงไปก็เป็น Facebook และ Twitter

แน่นอนเราได้สิ่งที่ต้องการ ในทางตรงกันข้าม Websites และ apps เหล่านี้ก็ได้ข้อมูลของเราไปเช่นกัน เช่นข้อมูลส่วนตั๊วส่วนตัวของเรา เมื่อสมัครถึงคุณจะปลอม แต่ถ้ามีข้อมูลจริงสักที่ มันจะLinkไปlink มาแล้วก็รู้ว่าคุณคือใคร เคยสังเกตไหม โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้ app. ธนาคาร ตัวจริงต้องมา ถึงเขาจะว่า app ของเขาปลอดภัย


ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีอะไรปลอดภัยจริงๆ บนโลก Cyber

ข้อมูล พฤติกรรม ความชอบไม่ชอบ รสนิยมเกี่ยวกับการกิน เที่ยว สินค้า รวมไปถึงนิสัยใจคอ ของเราๆท่านๆ จะถูกจัดเก็บไว้หมด อย่างเป็นระบบและถาวร

ท่านคงเคยมีคนโทรมาหาเสนอขายนั่นนี่หรือ call center โทรมาหา เขาเอาเบอร์เรามาจากไหน เคยมีข่าวจนท.รัฐ ธนาคารขายข้อมูลประชาชน ลูกค้าให้ ข่าวนี้เงียบไปแล้ว
นี่เป็นแค่ เบอร์โทร
แต่ตัวตนของคุณแทบจะหมดเปลือกอยู่ที่websites ต่างๆ ที่คุณเป็นสมาชิก

ข้อมูลเหล่านี้มีค่ามหาศาล ไม่ต้องทำการสำรวจแบบโบราณที่อาจได้ข้อมูลจริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่ที่นี่ตรงนี้ข้อมูลจริง ละเอียดและลึกที่สุด เพราะหลายคนหลงเชื่อว่า เขาไม่รู้จักคุณ คิดอย่างไร ชอบใคร ไม่ชอบใคร บอกอย่างตรงและจริงที่สุด

เมื่อข้อมูลนี้มีค่ามีประโยชน์ มันจึงมีราคา การขายข้อมูลของสมาชิก app. หรือ Websites ของเจ้าของ platform จึงมีอย่างแพร่หลาย ในระยะแรกๆ อาจ เพื่อการตลาด แต่ปัจจุบัน เพื่อสิ่งที่น่าสะพรึงกว่าคือ เพื่อการเมือง

ในปี 2018 CEO Mark Zuckerberg เจ้าของและผู้ก่อตั้ง Facebook ที่ เขารู้กึ๋นคนตั้ง 87 ล้านคนที่ใช้ Facebook ของเขา ถูกจับได้ว่าขายข้อมูลให้ แก่บริษัท Cambridge Analytica

กลางปี 2019 Netflix ได้นำหนังเรื่องสารคดี The Great Hack มาฉาย

หนังเป็นการเปิดโปงการทำงานของ Cambridge Analytica โดยคนในที่เคยทำงานด้วย บริษัทนี้ซื้อข้อมูลจาก Facebook มาทำการแยกและวิเคราะห์ เพื่อสร้างข้อมูลที่ตรงกับจริตของคนที่เป็นเป้าหมายที่มีสิทธิในการลงคะแนน เรื่อง Brexit และการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาในปี 2018 ระหว่างทรัมป์กับฮิลรารี่ เพื่อโน้มน้าว ชักจูงให้การลงคะแนนเป็นไปในทิศทางของผู้จ้างวานต้องการ


ผล ประสบความสำเร็จ ทรัมป์ชนะงัย
หลักการ คือ ป้อนข้อมูลให้คนที่เป็นเป้าหมายเกิดความเกลียด โกรธ โมโห นำไปสู่การออกเสียงในทางที่เขาต้องการ

ในหนังยังบอกว่าบริษัทนี้ก็มายุ่มย่ามในเอเซีย สำหรับประเทศไทยก็มาแต่ไม่ชัดเจนมาทำอะไรกับใคร

อย่างไรก็ตามในบ้านเรามีการใช้อยู่แล้ว สนใจอ่านคำสัมภาษณ์ของ ดร.นพดล กรรณิกา เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ได้ที่ https://www.nationtv.tv/news/378803476

การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา พรรคการเมืองหนึ่งได้คะแนนเสียงสูงกว่าพรรคอื่นอย่างอัศจรรย์
เป็นที่กล่าวขานกันมานานแล้วว่า เขาใช้ social network อย่างมากและมีประสิทธิภาพ เข้าถึงทุกกลุ่มวัย การศึกษา อาชีพ การยิงข้อมูลเข้าระบบต่อเนื่องสม่ำเสมอในทิศทางที่ต้องการผลดีแก่พรรคและการlink การshare ทำให้ข้อมูลกระจายไปได้เร็วและกว้างขวาง

Bloomberg ว่า ช่วงใกล้ๆการเลือกตั้ง เขามีผู้ติดตามใน TilTok เพิ่มขึ้นเป็น 2.8 ล้านคน นี่ยังไม่นับผู้ที่รับข้อมูลแบบส่งต่อ( Share) อีกเท่าไหร่
ผู้คนก้มหน้าก้มตาอยู่กับมือถือเสพข้อมูลจากกลุ่มเดียวที่เขาป้อนมาให้ซ้ำๆ จึงเกิดอุปทานหมู่


นับแต่นี้การเมืองของทุกประเทศและโลกน่าจะไม่เหมือนเดิม คนใช้ Social อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีโอกาสสูงที่จะได้เป็นผู้กำหนดทิศทางการเมืองในพื้นที่ที่เขาต้องการ
ทำให้บริษัทอย่าง Cambridge Analytica เป็นที่ต้องการ พร้อมกับผู้ขายข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย

สำหรับผู้ใช้บริการต้องการชัยชนะอย่างยิ่งและต้องกระเป๋าหนักจริงๆ ดูแค่ค่าปรับที่ Zuckerberg จ่ายเพราะขายข้อมูลเป็นเงินถึง275 ล้านเหรียญ ฉะนั้นเงินที่ได้จากการขายข้อมูลมันควรจะมากกว่านี้เยอะ คุ้มที่จะเสีย และคนจ้างก็ต้องจ่ายหนักกว่านี้หลายเท่าที่เขาคิดแล้วว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

เราไม่รู้ว่าบริษัทที่ทำธุรกิจแบบนี้มีเท่าไหร่ และใครใช้บริการบ้าง ถ้าคนที่เกี่ยวข้องไม่มาปูด แต่ต่อไปคงมีเยอะขึ้น ไม่มีใครอยากแพ้ คุณใช้ ฉันก็ใช้ได้เช่นกัน ยิ่งมีนายทุนกระเป๋าหนัก สบาย

ดาราตลกที่ไม่ประสีประสาการเมืองอย่าง Zelensky ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทะลายในปี 2019 และก็นำพายูเครนเข้าสู่สงครามอย่างง่ายดาย บ้านเมืองยับเยินมาจนป่านนี้และไม่มีท่าทีว่าจะจบ เดือดร้อนกันไปทั้งแผ่นดิน ไม่รู้คนเลือกจะเข็กหัวตัวเองหรือยัง นี่เป็นกรณีที่น่าสังเกต

 

ในการลงคะแนนเสียงสำคัญๆของทุกพื้นที่ในโลก ประชาชนไม่มีโอกาสที่จะรู้ว่าข้อมูลที่เสพทางสื่อ social networkนั่นถูกปรุงแต่งด้วยการจัดการอย่างมีระบบมาแล้วหรือไม่ การเสพข้อมูลอย่างมีสติและรับข้อมูลจากหลายแหล่งหลายสื่อ น่าจะเป็นทางที่ทำให้เป้าหมาย(คนลงคะแนน) เป็นเหยื่อที่ควบคุมยากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การสร้างระบบการถ่วงดุลย์อื่นๆที่มีประสิทธิภาพ เพื่อมิให้ของผลลัพท์ที่มาจากการลงคะแนนเท่านั้นที่ชนะขาด น่าจะมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ที่มาข้อมูล:Youtube Bon Jakobsen สาวไทย
https://www.bbc.com/news/technology-64075067
https://www.cnet.com/news/politics/zuckerberg-facebook-
data-was-sold-to-cambridge-analytica-too/




Create Date : 18 กรกฎาคม 2566
Last Update : 22 ตุลาคม 2566 19:41:34 น.
Counter : 265 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5974245
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กรกฏาคม 2566

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
18 กรกฏาคม 2566