สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
ที่มาของสีประจำวันของไทย




สีประจำวันของไทยมาจากสีกายของเทวดา ใน ๑ สัปดาห์มี ๗ วัน เรียกชื่อวันตามลำดับ คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ ชื่อวันทั้ง ๗ มาจากชื่อเทวดา สีกายของเทวดาเหล่านี้ต่างกันและมีประวัติดังต่อไปนี้

พระอาทิตย์ ตามตำนานว่า พระอิศวรเอาราชสีห์ ๖ ตัวมาป่น แล้วห่อด้วยผ้าสีแดง (Red Rose) พรมด้วยน้ำอมฤตบังเกิดเป็นพระอาทิตย์ มีกายสีแดง

พระจันทร์ ตามตำนานว่า พระอิศวรร่ายพระเวทให้นางฟ้า ๑๕ นางกลายเป็นผงละเอียด แล้วห่อด้วยผ้าสีเหลืองอ่อน (Light Yellow) ประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นพระจันทร์ มีกายสีเหลืองนวล

พระอังคาร ตามตำนานเล่าว่า พระอิศวรร่ายพระเวทให้กระบือ ๘ ตัวกลายเป็นผงแล้วห่อด้วยผ้าสีแดงหลัว ก็บังเกิดเป็นพระอังคาร มีสีกายเป็นสีแก้วเพทาย (แดงหลัว) บางแห่งก็ว่าเป็นสีชมพู

พระพุธ ตามตำนานว่า พระอิศวรร่ายพระเวทให้พญาคชสาร ๑๗ ตัวกลายเป็นผงห่อด้วยผ้าสีเขียวใบไม้ ประพรมด้วยน้ำอมฤตก็บังเกิดเป็นพระพุธ มีสีกายเป็นสีแก้วมรกต

พระพฤหัสบดี ตามตำนานว่า พระอิศวรร่ายพระเวทให้พระฤๅษี ๑๙ ตนกลายเป็นผง แล้วเอาผ้าสีแสด (Bright Red Orange) ห่อผงนั้น ประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นพระพฤหัสบดี มีสีกายเหมือนสีผ้าที่ห่อ

พระศุกร์ ตามตำนานว่า พระอิศวรร่ายพระเวทให้โค ๒๑ ตัวกลายเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีน้ำเงินหรือสีคราม (Light Indigo Blue) ประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นพระศุกร์ มีสีกายกล่าวไว้ต่าง ๆ กัน แต่ตามภาพเขียนเป็นสีคราม

พระเสาร์ ตามตำนานกล่าวว่า พระอิศวรร่ายพระเวทให้เสือ ๑๐ ตัวกลายเป็นผงแล้วห่อด้วยผ้าสีดำหลัว (Dark Brown Sepia) ประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นพระเสาร์ มีกายสีดำคล้ำ

ตามตำนานที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่าสีกายของเทวดาทั้ง ๗ เป็นสีเดียวกับผ้าที่ห่อ และเมื่อนำชื่อของเทวดาเหล่านั้นมาใช้เป็นชื่อวัน สีประจำวันนั้น ๆ ก็เป็นสีกายของเทวดาที่เป็นชื่อวันนั่นเอง คือ

วันอาทิตย์ - สีแดง
วันจันทร์ - สีเหลือง
วันอังคาร - สีชมพู
วันพุธ - สีเขียว
วันพฤหัสบดี - สีแสด
วันศุกร์ - สีน้ำเงินหรือฟ้า
วันเสาร์ - สีดำหรือสีม่วง

นอกจากสีกายของเทวดาดังกล่าวแล้ว ยังมีตำรานพเคราะห์ที่กล่าวถึงเทวดาทั้ง ๙ องค์ ว่าทรงภูษาสีต่าง ๆ กัน ดังนี้

พระอาทิตย์ ทรงภูษาสีแดง พระหัตถ์ถือพระขรรค์
ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ (ตามรูปเขียนบางทีถื
อดอกบัวทั้ง ๒ หัตถ์)
พระจันทร์ ทรงภูษาสีขาว ถือพระขรรค์แก้ว ทรงม้า
ขาวเป็นพาหนะ
พระอังคาร ทรงภูษาสีชมพู ถือพระขรรค์และอาวุธ
อย่างอื่น ทรงควายเป็นพาหนะ
พระพุธ ทรงภูษาสีเขียว ถือขอช้าง ทรงช้างเป็นพาหนะ
พระพฤหัสบดี ทรงภูษาสีเหลือง ถือไม้เท้า ทรงกวาง
เป็นพาหนะ (ตามรูปเขียนถือกระดานเขียนหนังสือ
เพราะเป็นครู)
พระราหู ทรงภูษาสีม่วงคล้ำ ถือคทา ทรงนกฮูกเป็น
พาหนะ (ตามรูปเขียนทรงครุฑ)
พระศุกร์ ทรงภูษาสีน้ำเงินอ่อน ถือไม้เท้า ทรงวัวเป็น
พาหนะ
พระเกตุ ทรงภูษาสีทอง ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค
เป็นพาหนะ
เทวดานพเคราะห์ตามที่กล่าวนี้ จะเห็นว่าใช้สีต่างกัน
ไปบ้างบางองค์ และการเรียงลำดับก็เป็นไปตามแบบ
โหราศาสตร์

เมื่อมีสีประจำวันเกิดขึ้น ก็มีความเชื่อ ในเรื่องสีตามมา คนที่เกิดวันใดก็ถือเอาสีประจำวันนั้น เป็นสีมงคลประจำตัว เช่น เกิดวันศุกร์ ก็ถือเอาสีฟ้าหรือสีน้ำเงินอ่อนเป็นสีประจำตัว เป็นสีวันเกิด เสื้อผ้าที่ใช้ จึงพยายาม หาสีประจำวันเกิดไว้ แต่จะใช้ทุกวัน ก็น่าเบื่อจึงเกิด ความนิยมให้มี การสลับสีกันบ้าง ในสมัยโบราณ ผู้หญิงจะนุ่ง สีตามวัน แต่ห่มผ้า อีกสีหนึ่ง มีแบบอย่างดังนี้

วันอาทิตย์ – นุ่งสีแดงหรือสีลิ้นจี่ ห่มสีนวลหรือสี
โศกอ่อน
วันจันทร์ – นุ่งเหลืองอ่อน ห่มน้ำเงินอ่อน
วันอังคาร - นุ่งชมพูหรือสีเมล็ดมะปราง ห่มสีโศก
วันพุธ – นุ่งเขียว ห่มชมพูหรือเหลือง
วันพฤหัสบดี – นุ่งแสด ห่มเขียวอ่อน
วันศุกร์ – นุ่งน้ำเงิน ห่มเหลือง
วันเสาร์ – นุ่งม่วงดำ ห่มโศก

การใช้เสื้อผ้าตามสีประจำวันนั้น บางครั้ง ก็ถือผิดกัน เช่นในเรื่อง ‘ สวัสดิรักษา ’ ของสุนทรภู่ ได้กล่าวถึงสี ของบางวัน ต่างออกไปคือ

“อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน
เป็นมงคลขัติยาไม่ราคี
เครื่องวันพุธสุดดีที่สีแสด
กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี
วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี”

ดังนี้ จะเห็นว่า การใช้สีประจำวัน ต่างกับตำรา ที่กล่าวมาแล้ว คือ ของสุนทรภู่ วันอังคาร ใช้สีม่วงคราม วันพุธ ใช้สีแสด วันพฤหัสบดีใช้ สีเขียวปนเหลือง

สีที่ใช้ ในวันพุธ ออกจะแปลก กว่าทุกวัน คือแบ่งเป็น พุธกลางวัน กับ พุธกลางคืน มีเรื่องเล่า กันว่า ครั้งหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนิน ไปในงานหนึ่ง ๆ ซึ่งตรงกับ วันพุธกลางคืน จึงมีรับสั่งถาม พระญาณเวทเจ้ากรมโหรหลวง ในสมัยนั้นว่า “วันนี้ฉันจะนุ่งผ้า สีอะไร”

คุณพระญาณเวท ก็กราบบังคมทูลว่า “ทรงพระภูษา สีดอกตะแบก ซึ่งตรงกับ สีของราหู พระพุทธเจ้าข้า”

นี่ก็เป็นเรื่อง แสดงว่า เฉพาะ กับวันพุธ นั้นใช้สองสี กลางวันใช้สีเขียว เป็นส่วนมาก แต่กลางคืน กลับไปใช้ สี ดอกตะแบก หรือสีม่วงคล้ำ

วันพฤหัสบดี ก็ใช้สีไม่ตรงกัน อีก ตามตำราโหรว่า ใช้สีเหลือง และตำราอื่น ๆ ใช้สีแสด ก็มี ส่วน กรมภูษามาลา ซึ่งมีหน้าที่ โดยตรง เกี่ยวกับ เครื่องทรง ของพระมหากษัตริย์ ให้ใช้สีน้ำเงิน อ้างว่า ได้ใช้สีน้ำเงิน มาตั้งแต่ครั้ง แผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชแล้ว

สีที่ใช้ต่างกัน อีกสีหนึ่ง คือสีประจำวันศุกร์ ซึ่งตามปกติ ใช้สีน้ำเงิน หรือสีฟ้า แต่ทาง กรมภูษามาลา ให้ใช้สีเหลือง โดยกล่าวว่า เป็นตำรา ที่ถือกันมา แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม การใช้สีประจำวัน ของบุคคลธรรมดา ทั่ว ๆ ไป จะใช้ตาม สีประจำวัน ที่กล่าวมาแล้ว ในตอนต้น ส่วนสีที่ต่างกันไป ของโหร และ กรมภูษามาลา นั้น เป็นเรื่องของ ทางราชการ ในพระราชสำนัก


สีที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคล ของบุคคลที่เกิดในวันต่าง ๆ

ตามคตินิยมของคนไทย สีที่เป็นมงคลจะเป็นสีที่สดสวย มองดูแล้วสบายตาสบายใจ ฉะนั้น ในงานมงคล จึงห้ามแต่ง สีที่ดูแล้วเศร้าหรือหดหู่ใจ เช่น ห้ามแต่งสีม่วงและสีดำ ไปในงานแต่งงาน หรือแม้แต่ ไปเยี่ยมคนเจ็บไข้ ได้ป่วยที่มีอาการหนัก

นอกจากนี้ สีบางสีที่ใช้ประจำวัน ก็มีทั้งสีที่ถูกโฉลก คือ เป็นมงคลและไม่เป็นมงคล เพราะสีของบางวัน เป็นสีกาลกิณี กับผู้ที่เกิดในวันนั้น ๆ จะขอเปรียบเทียบให้เห็นสี ที่เป็นมงคลและไม่เป็นมงคลดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ – ตามปกติใช้สีแดง ถ้าจะใช้สีอื่น ก็ควรเป็นสีเขียวซึ่งเป็นศรี และสีชมพูเป็นเดช ส่วนสีฟ้าและสีน้ำเงินห้าขาดเพราะเป็นสีกาลกรรณี
วันจันทร์ – ตามปกติใช้สีเหลือง สีเขียวเป็นเดช สีดำเป็นศรี ห้ามใช้สีส้ม
วันอังคาร – ตามปกติใช้สีชมพู สีดำเป็นเดช สีเหลืองเป็นศรี ห้ามใช้สีขาว สีเงิน
วันพุธ – ตามปกติใช้สีเขียว สีเหลืองเป็นเดช สีม่วงเป็นศรี ห้ามใช้สีชมพูและสีม่วงแดง
วันพฤหัสบดี – ตามปกติใช้สีแสด สีน้ำเงินเป็นเดช สีส้มเป็นศรี ห้ามใช้สีดำ สีม่วงคล้ำ หรือสีน้ำเงินเข้ม
วันศุกร์ – ตามปกติใช้สีฟ้าหรือสีคราม สีขาวเป็นเดช สีชมพูเป็นศรี ห้ามใช้สีม่วงเม็ดมะปราง
วันเสาร์ – ตามปกติใช้สีดำ สีม่วงเป็นเดช สีน้ำเงินเป็นศรี ห้ามใช้สีเขียวทุกชนิด


ถ้าถือตามหลักนี้ การใช้สีประจำวันหรือสีประจำวันเกิดก็มีให้เลือกถึง ๓ สี เพราะสีที่เป็นเดช หรือเป็นศรี ก็ส่งเสริมสง่าราศี ให้แก่ผู้ใช้ทั้งสิ้น ส่วนสีที่ไม่ดีหรือเป็นกาลกิณีก็ไม่ควรใช้


ประเพณีการแต่งกายไว้ทุกข์ และสีไว้ทุกข์

ประเพณีการแต่งกายไว้ทุกข์ ของคนไทยในสมัยโบราณ ใช้เสื้อผ้าที่มีสีต่างกัน ตามลำดับของอายุของเครือญาติ และความเคารพนับถือรักใคร่ สีที่ใช้มีอยู่หลายสี คือ สีดำ สีขาว และสีม่วงแก่ หรือน้ำเงินแก่ ตามปกติแล้ว ถือเป็นธรรมเนียมว่า ผู้ที่จะแต่งกายสีดำ จะต้องเป็นผู้ที่อายุ แก่กว่าผู้ตาย ส่วนสีม่วงแก่ หรือสีน้ำเงินแก่นั้น เป็นสีที่ ใช้ได้ทั่ว ๆ ไป สำหรับผู้ที่มิได้เป็นญาติกับผู้ตาย

ในบางกรณี การแต่งสีขาวก็มีข้อยกเว้น เช่นเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.๒๓๕๑ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมขุนศรีสุนทรเทพ ในครั้งในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงภูษา ลายพื้นขาวทุกวัน ดำรัสว่า “ ลูกคนนี้รักมาก ต้องนุ่งขาวให้ ” ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เมื่องานพระเมรุพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พ.ศ.๒๓๘๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระภูษาขาวอีก เหมือนกัน เพราะพระราชธิดา พระองค์นี้เป็นที่ทรงพระเสน่หา ของพระราชบิดา ฉะนั้น สีขาวที่ใช้ในการไว้ทุกข์ จึงเป็นสีที่ แสดงความรัก ความอาลัยได้อีกอย่างหนึ่ง

นอกจากนี้ ตามประเพณีไทยโบราณ ผู้ที่จะไปเฝ้าพระบรมศพที่พระมหาปราสาท ทุกคนจะต้องนุ่งขาว ไม่มีใคร แต่งดำ

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีเรื่องกล่าวว่า เมื่อครั้งพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล (๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๖) โปรดฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทนุ่งผ้าดำเป็นการไว้ทุกข์ ภายหลัง มีผู้เห็นชอบ ได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบมา และถือต่อกันมาอีกว่า ถ้าเป็นแต่ทุกข์โศกเล็กน้อย หรือผู้น้อยล่วงลับไป ผู้ที่มีอายุแก่กว่า ก็ไว้ทุกข์เป็นการสังเขป ใช้ผ้าดำกว้างประมาณ ๖-๗ นิ้ว พันแขนซ้าย ใน
ปัจจุบัน ได้ถือว่า การแต่งกายสีดำ เป็นสีไว้ทุกข์โดยทั่ว ๆ ไป



ขอขอบคุณข้อมูลจาก thaitopwedding.com







Create Date : 07 มีนาคม 2552
Last Update : 7 มีนาคม 2552 15:34:43 น. 3 comments
Counter : 2634 Pageviews.

 
อ่านแล้วได้ความรู้มากๆ เลย ขอบคุณมากค่ะ


โดย: วิสกี้โซดา วันที่: 7 มีนาคม 2552 เวลา:12:02:48 น.  

 
ดีจังค่ะ


โดย: คุณนายทหารเรือ วันที่: 7 มีนาคม 2552 เวลา:16:13:25 น.  

 
อยากรู้มานานแล้ว
เรื่องสีประจำวัน
ขอบคุณมากนะคะ คุณกบ


โดย: นวลกนก วันที่: 7 มีนาคม 2552 เวลา:23:49:24 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.