มกราคม 2551

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ขำๆ กับ พระมหาสมปอง
เรื่องวัตถุดิบ



ญาติโยมหลายท่านมักถามว่า

“ท่านบวชเรียนมาตั้งแต่อายุยังน้อย อยู่ในเพศบรรพชิตมามากกว่าครึ่งชีวิต มีโอกาสสัมผัสชีวิตฆราวาสไม่มากนัก แล้วเอาข้อมูลวัตถุดิบหรือมุกมาจากไหนหนักหนา”



อาตมาก็ตอบว่า หลักๆ เลยก็คือการอ่าน นอกจากนั้นก็หนัง ละคร ที่ญาติโยมดูกันนั่นแหละ

พอตอบออกไปอย่างนี้ โยมก็สวนกลับทันที “ไม่ผิดข้อห้ามหรือท่าน”

อาตมาก็จะอธิบายไปว่า ดูเพื่อให้เท่าทันกิเลสจะได้สกัดมันถูก และที่สำคัญ หากอาตมาไม่รู้หรือไม่เข้าใจตลอดจนไม่เท่าทันเรื่องราวทางโลกและ จะมาบรรยายธรรมให้ญาติโยมรู้สึกอินกันได้อย่างไร ซึ่งนอกจากการอ่าน การดูและการฟังแล้ว หลายวัตถุดิบที่นำมาสร้างเป็นมุกฮา ก็ได้มาจากการพูดคุยกับเหล่าโยมๆ นี่แหละ



อย่างวันหนึ่งระหว่างที่อาตมากำลังฉันเพลอยู่ก็มีโยมท่านหนึ่งโทร.มา

“พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองนะคะ”

“หา อะไรนะ”

“พระอาจารย์เหรอคะ นี่อาตมาเองค่ะ”

“ถ้าโยมแทนตัวว่าอาตมา แล้วอาตมาจะแทนตัวอาตมาว่าอะไร”

“อ๋อ ขอโทษค่ะ”

หลังจากนั้นก็คุยธุระกันจนจบ อาตมาก็กล่าวว่า “เจริญพร”

“ค่ะ เจริญพรเช่นกัน”

แน่ะ มีอวยพรให้พระด้วย



ข้างต้นก็คือ สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ระหว่างพูดคุยกับเหล่าญาติโยม จนถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับอาตมาไปแล้ว หรืออย่างก่อนหน้านี้มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งเดินถือสังฆทานมาอย่างมาดมั่น พอเข้ามาในกุฏิแล้ว เธอก็มุ่งตรงไปที่พระบวชใหม่รูปหนึ่งทันที



“ถวายสังฆทานค่ะ”

พระบวชใหม่ด้วยความที่ยังจำบทสวดต่างๆ ไม่ค่อยคล่องนัก จึงหยิบหนังสือขึ้นมาดู

“ไม่ต้องค่ะ”โยมผู้หญิงคนนั้นกล่าวอย่างหนักแน่นตามสไตล์สาวมั่น

“ดิฉันท่องได้ค่ะ เพราะคุณยายพาเข้าวัดตั้งแต่เด็กๆ” เธอพนมมือขึ้น ก่อนกล่าวว่า

“อิมานิ มะยัง ภันเต สะปะริวารานิ คิกขุ สังโฆ” (ที่ถูกต้องจะต้องเป็น ภิกขุ สังโฆ)

พระบวชใหม่มีสีหน้างุนงง ก่อนหันมาถามอาตมา “คิกขุสังโฆ นี่มันฟังทะแม่งๆ นะหลวงพี่”

อาตมาเกรงว่าโยมผู้นั้นจะหน้าแตก ก็เลยตอบไปว่า

“คิกขุ แปลว่า น่ารัก สังโฆ แปลว่า สงฆ์ คิกขุสังโฆ ก็คือ แด่พระสงฆ์ผู้น่ารัก”

เท่านั้นแหละ พระใหม่รูปนั้นนั่งยืดทั้งวันเลย



แต่ก็มีบางกรณีที่การพูดผิดของคุณโยมทำให้อาตมาแทบจะสำลัก อย่างเมื่อเร็วๆ นี้ มีโยมท่านหนึ่งโทรศัพท์มา

“หลวงพี่ขา ขอเรียนเชิญนิมนต์ค่ะ”

“ไปไหนล่ะโยม”

“ไปมรณภาพที่บ้านน่ะค่ะ”

โห นิมนต์พระไปตายถึงที่บ้านเลย อาตมาจึงบอกไปว่า ถ้านิมนต์ไปงานศพไปให้ได้ แต่ถ้าเชิญไปมรณภาพนี่ ช่วงนี้อาตมาไม่ว่างจริงๆ ขอตัวเถอะนะโยม



จากตัวอย่างที่อาตมาเล่าไว้ข้างต้น คุณโยมอาจจะเห็นเป็นเรื่องขบขัน แต่มันก็สะท้อนให้เห็นความห่างเหินระหว่างคนกับวัดได้ในระดับหนึ่ง ปัจจุบันนี้คนจะนึกถึงวัดในกรณีพิเศษเท่านั้น เช่นงานบวช งานศพ ต่างกับสมัยก่อนที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ฆราวาสกับพระจึงสนทนากันไหลลื่น ไม่มีคำแปลกๆ หรือผิดที่ผิดทางออกมาให้พระสุดุ้งแต่อย่างใด ซึ่งถ้าพูดถึงศัพท์แสงที่แสลงใจแล้ว ตอนไปบิณฑบาตอาตมาจะเจอบ่อยมาก เช่นมีอยู่ครั้งหนึ่งระหว่างที่กำลังเดินๆ อยู่ ก็ได้ยินเสียงใสๆ แว่วขึ้นมา



“แม่ๆ พระมาขอข้าว”

“มาเยอะไหมลูก”

“มา 2 อัน”



โห เรียกอย่างกับชิ้นส่วนรถยนต์ นี่ถ้ามาเยอะๆ ไม่เรียกเป็นฝูงเลยเหรอ



ดังนั้นเวลาไปบรรยายธรรมให้นักเรียนฟังอาตมาจะนำเรื่องนี้ไปสอดแทรกเพื่อสอนเด็กๆ ด้วย



“ถ้าพระกิน เรียกว่า ฉัน”

“พระนอน เรียกว่า จำวัด” (บางคนเรียกขี้เกียจเป็นพระนอนไม่ได้)

“พระป่วย เรียกว่า อาพาธ”

“พระตาย เรียกว่า มรณภาพ” (ไม่ใช่เรียกป่อเต็กตึ๊งนะ)

“แล้วพระอาบน้ำล่ะ เรียกว่าอะไรเอ่ย” คราวนี้อาตมาถามให้เด็กๆ ตอบบ้าง

“เรียกคนมาดู”



จบกัน



Create Date : 26 มกราคม 2551
Last Update : 26 มกราคม 2551 15:58:02 น.
Counter : 552 Pageviews.

1 comments
  
โดย: นายแจม วันที่: 28 มกราคม 2551 เวลา:8:11:04 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

LiTa Long Time Can't See
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มาถึง 12 ปี
กำลังจะพยายาม เปลียนมาเป็น "เจ้านายตัวเอง"
หรืออีกนัยหนี่งคือ "ลูกจ้างตัวเอง"

ณ. เวลาขณะนี้ (01-06-09)
การเดินทางครั้งใหม่ กับเส้นทางใหม่ ๆ ที่เลือกเอง
มาถึงแล้ว จากที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ กำลังจะนับ 1.2..3...4.... ไปเรื่อย ๆ แล้ว

" การเปลียนแปลงย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ขึ้นอยู่กับว่า ณ เวลานั้นเรามีสติพร้อมที่ยอมรับ
และจัดการกับการเปลียนแปลงนั้นได้มากขนาดใหน"