สัจจะนั้นมีเพียงหนึ่ง แต่หนทางรู้ซึ้งนั้นมีหลากหลาย...
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
5 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
ตอนที่ ๖ - ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน


        สรุปคำอธิบาย กฎหมายลักษณะห้างหุ้นส่วน
        ฉบับ 18-12-6 (สูตรเร่งโต) ,
        ตอนที่ ๖ - ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน


    ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน


      มาตรา 1064 - อันห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จะจดทะเบียนก็ได้ ฯลฯ
      (...รู้แค่นี้พอ อยากรู้รายละเอียดอ่านในตัวบทเต็มๆ...)


      ผลของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
      1. ผลทั่วไป
      - ทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญจะมีสภาพเป็นนิติบุคคล
      -  มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิด แยกต่างหากจากตัวผู้เป็นหุ้นส่วน เช่น ห้างหุ้นส่วนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
      -  มีความรับผิดเฉพาะในงานของห้างหุ้นส่วนเท่านั้น การกระทำที่นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างฯไม่ต้องรับผิด


      2. ผลตามกฎหมายหุ้นส่วนโดยเฉพาะ

      มาตรา 1065 -  ผู้เป็นหุ้นส่วนอาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ในบรรดาสิทธิอันห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้นได้มา แม้ในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตน
      (ดูคำอธิบายในมาตรา 1049 ประกอบ – มาตรานี้เป็นกรณีที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญได้จดทะเบียนแล้ว จะมีผลตรงข้ามกัน)


       มาตรา 1066 - ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด อันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น เว้นไว้แต่จะได้รับคำยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมด
       แต่ข้อห้ามเช่นว่ามานี้ ท่านว่าจะไม่พึงใช้ได้ ถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้รู้อยู่แล้วในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่นอันมีวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกัน และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ต่อกันนั้นก็ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก

         (*ดูคำอธิบายในมาตรา 1038 ประกอบ และเปรียบเทียบ)
      
        ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ได้ทำการจดทะเบียนแล้ว นอกจะต้องห้ามทำกิจการแบบเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ตามมาตรา 1038 แล้ว ยังเพิ่มข้อห้ามขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง คือห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนไปเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนอื่น ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนั้น


        เว้นแต่  กรณีดังนี้
        (1) ได้รับคำยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นทั้งหมดแล้ว
        (2) ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้รู้อยู่แล้ว ในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นว่า
        - ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งได้ทำกิจการ หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างหุ้นส่วนอื่นอันมีวัตถุที่ประสงค์อย่างเดียวกันอยู่ก่อนแล้ว
        - และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ต่อกัน ไม่ได้บังคับให้ถอนตัวออก
     
      มาตรา 1067 - ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดกระทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในมาตราก่อนนี้ ท่านว่าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนนั้นชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรอันผู้นั้นหาได้ทั้งหมด หรือเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายซึ่งห้างหุ้นส่วนได้รับเพราะเหตุนั้น
     ทั้งนี้ท่านห้ามมิให้ฟ้องเรียกเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันทำการฝ่าฝืน
     อนึ่ง บทบัญญัติมาตรานี้ไม่ลบล้างสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นในอันจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วน

      (*มาตรานี้เป็น ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 1066 ต้องรับผิดเช่นเดียวกับมาตรา 1038 วรรคสอง จึงไม่มีอะไรซับซ้อน)


       มาตรา 1068 - ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน อันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อน ที่ตนออกจากหุ้นส่วนนั้น ย่อมมีจำกัดเพียงสองปีนับแต่เมื่อออกจากหุ้นส่วน
     (*ดูคำอธิบายมาตรา 1051 – คำอธิบายเนื้อหาเหมือนกัน เพียงแต่จะต่างกันที่อายุความการรับผิดจำกัดซึ่งมาตรานี้จำกัดไว้เพียงสองปี)


        มาตรา 1070 - เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้  เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้
        (*หมายเหตุ – นี่เป็นอีกมาตราที่ออกสอบบ่อยๆ ซึ่งมักจะพ่วงมากับมาตราอื่นๆ เช่น 1050 1080 1082 1088 ฯลฯ ฉะนั้นต้องจำไว้ให้ดีๆ)


      ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ มาตรานี้ได้กำหนดให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ของห้างฯที่จะเรียกหาคนให้รับผิดในการชำระหนี้ โดยเจ้าหนี้จะต้องกล่าวมาในฟ้องด้วยว่าห้างหุ้นสามัญจดทะเบียนได้ผิดนัดชำระหนี้แล้ว ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้มี 2ทางเลือกต่อไป คือ
- เรียกให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนร่วมกันรับผิด อย่างลูกหนี้ร่วมก็ได้
- เรียกให้ลูกหนี้คนหนึ่งคนใด รับผิดชำระหนี้ก็ได้


     ทั้งนี้ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเลือกเอาอย่างใด ก็ย่อมมีสิทธิที่เรียกให้ลูกหนี้ชำระได้เต็มจำนวนหนี้ทั้งนั้น เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญต้องรับผิดในหนี้ของห้าง อย่างไม่จำกัดจำนวนอยู่แล้วตามมาตรา 1025


         มาตรา1071 - ในกรณีที่กล่าวไว้ในมาตรา 1070 นั้น ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนนำพิสูจน์ได้ว่า
        (1) สินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือบางส่วน และ
        (2) การที่จะบังคับเอาแก่ห้างหุ้นส่วนนั้นไม่เป็นการยาก
        ศาลจะบังคับให้เอาสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้นชำระหนี้ก่อนก็ได้ สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร


        มาตรานี้กฎหมายกำหนดให้มาเพื่อเป็นข้อต่อสู้ของผู้เป็นหุ้นส่วนในการเกี่ยงให้เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วน ไปบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน โดยลูกหนี้จะต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ให้ได้ตามความในอนุมาตรา (1) และ (2) ซึ่งการบังคับใช้นั้น วรรคท้ายกำหนดให้เป็นดุลยพินิจของศาลว่าจะให้ลูกหนี้เกี่ยงหรือไม่…






Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2555 15:51:22 น. 0 comments
Counter : 7287 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สหายกุนเชียง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]







บ่นเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก
ครั้งที่ 60
ตอน - ความสุขของความรัก
.........คือการได้รัก

ทำไม? คนเราถึงอยากมีคนรัก
นั่นเพราะอยากมีความสุข
ในเมื่อที่การได้รักใครสักคน
มันก็ทำให้มีความสุขอยู่แล้ว
ทำไมจะต้องไปอยากรู้
หรือไปใส่ใจอะไรอีก 
ว่าใครรัก ใครไม่รัก
เขารักใคร ใครรักเขา ฯลฯ

กับหัวใจที่เต็มไปด้วยแผลฉกรรจ์ดวงนี้ 
มันดีแค่ไหนแล้ว ที่ยังใช้รักใครได้อยู่...

13/08/55







เพลงพวกนี้.........
ผมชอบทุกเพลงครับ
แต่ละเพลงฟังมานานแล้ว
และจะฟังต่อไปเรื่อยๆ
เพราะฟังกี่รอบๆ ก็ไม่เบื่อ
ว่างๆมานั่งฟังเป็นเพื่อนกันเถอะ
แล้วจะติดจาย~* ^___^



MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com






free counters


Website counter

Friends' blogs
[Add สหายกุนเชียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.