สัจจะนั้นมีเพียงหนึ่ง แต่หนทางรู้ซึ้งนั้นมีหลากหลาย...
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
24 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
ฉบับที่ 06 - วันทำงานปกติ

ฉบับที่ 6



    แด่ ผู้ใฝ่รู้ในวิชากฎหมายแรงงาน…



   วันทำงานปกติ


   ความหมาย
   เบื้องต้น ในมาตรา 5 ได้นิยามความหมายของคำว่า “วันทำงาน” เอาไว้ดังนี้....
   “วันทำงาน หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างทำงานตามปกติ”


   ส่วนรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการทำงานในวันทำงานปกตินั้น กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้ใน มาตรา 23 ดังนี้...
   “ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ  โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงาน  ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง  ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง  นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้  แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง  เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งต้องไม่เกินเจ็ดชั่วโมง  และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
   ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมง  ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมง หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน
   ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานในแต่ละวันได้  เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน  ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง  และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง”
   (ข้อสังเกต – จากวรรคแรกนั้น จะเห็นได้ว่า งานมี 2ประเภท คือ งานธรรมดาทั่วไป และ งานประเภทที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป...)


   ...มาตรานี้ จัดได้ว่าค่อนข้างยาว แต่ก็สำคัญมากเช่นกัน อ่านเสร็จแล้วอาจจะยังมึนๆ ข้าจึงขอแนะนำให้กลับไปอ่านอีกรอบ ก่อนที่จะกลับมาอ่านคำอธิบายต่อจากนี้...


   วรรคแรกนั้นกฎหมายกำหนดในนายจ้าง ต้องบอกลูกจ้างว่า เริ่มงานกี่นาฬิกา และเลิกงานกี่นาฬิกา โดยระยะเวลาในการทำงานในแต่ละวันนั้น  จะต้องพิจารณาตามประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนี้...
   กฎกระทรวงฉบับที่ 2 พ.ศ.2541
    “ข้อ 1   ให้งานทุกประเภทมีกำหนดเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง
     ข้อ 2   งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง  ได้แก่
                  (1)   งานที่ต้องทำใต้ดิน  ใต้น้ำ  ในถ้ำ  ในอุโมงค์  หรือในที่อับอากาศ
                  (2)   งานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี
                  (3)   งานเชื่อมโลหะ
                  (4)   งานขนส่งวัตถุอันตราย
                  (5)   งานผลิตสารเคมีอันตราย
                  (6)   งานที่ต้องทำด้วยเครื่องมือหรือเครื่องจักรซึ่งผู้ทำได้รับความสั่นสะเทือนอันอาจเป็นอันตราย
                  (7)   งานที่ต้องทำเกี่ยวกับความร้อนจัดหรือความเย็นจัดอันอาจเป็นอันตราย
   งานประเภทที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามกฎกระทรวง ข้อ 2 นี้  ระยะเวลาทำงานในแต่ล่ะวันต้องไม่เกิน 7ชั่วโมง  และเมื่อรวมทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 42ชั่วโมง ผลของการที่นายจ้างไม่ประกาศเวลาทำงานปกติหรือประกาศแต่กำหนดชั่วโมงทำงานปกติเกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้น  ถือเป็นความผิดและมีโทษทางอาญา คือ ปรับไม่เกินห้าพันบาท ตามมาตรา 145
   ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานวันใดน้อยกว่า 8ชั่วโมง  นายจ้างจะตกลงให้ลูกจ้างนำเอาเวลาส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นๆก็ได้  แต่ต้องไม่เกินวันละ 9ชั่วโมง  และเมื่อรวมทั้งสิ้นแล้วจะต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48ชั่วโมง


   วรรคสองเป็นกรณีที่มีการตกลงนำเอาเวลาส่วนที่เหลือจากการทำงานน้อยกว่า 8ชั่วโมง ในวันก่อนๆ มารวมกับเวลาทำงานตามปกติในวันปัจจุบัน แล้วเกิน 8ชั่วโมง ดังตามที่ได้บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่งตอนท้าย  กฎหมายกำหนดว่านายจ้างจะต้องจ่าย “ค่าตอบแทน” ไม่น้อยกว่า หนึ่งเท่าครึ่ง(1.5เท่า) ในส่วนของเวลาที่ลูกจ้างทำเกิน 8ชั่วโมงมานั้น  โดยคำนวณจากอัตราจ้างตามปกติต่อชั่วโมงของลูกจ้างรายวันและรายชั่วโมง และคำนวณจากอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน
   ตัวอย่าง เช่น   (1.) น้ำตก เป็นลูกจ้างรายวัน ได้รับค่าจ้างในอัตราเฉลี่ยแล้ว ชั่วโมงละ 50 บาท ดังนั้นหนึ่งเท่าครึ่งของ 50 บาท จึงเท่ากับ 75บาท วิธีคำนวณง่ายๆ คือ นำเอา 50 มาคูณด้วย 3 แล้วหารด้วย 2 ( 50x3 = 150 , 150/2 = 75)
                    (2.) น้ำใส เป็นลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน ในวันนี้ น้ำใส ทำผลงานในส่วนชั่วโมงที่ทำงานเกินมานี้ คิดเป็นค่าจ้างแล้วได้ 100 บาท  หนึ่งเท่าครึ่งของ 100บาท จึงเท่ากับ 150 บาท
   ( ***ข้อสังเกต  1. การจ่ายเงินตาม วรรคสองของมาตรานี้ กฎหมายใช้คำว่า “ค่าตอบแทน” ซึ่งมีลักษณะการจ่ายคล้ายกับ “ค่าล่วงเวลา” แต่ความหมาย และวิธีการได้มาแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องแยกสองคำนี้ออกจากกัน
                       2. การจ่ายเงินตาม วรรคสอง ของมาตรานี้ กฎหมายไม่ได้กล่าวถึง “ลูกจ้างรายเดือน” แต่อย่างใด  ดังนั้นสำหรับลูกจ้างรายเดือนจึงไม่มีการจ่ายเงินตามมาตรานี้ )


   วรรคสามเป็นกรณีที่นายจ้างไม่สามารถบอกเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของงานที่ทำในแต่ละวันได้  เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน  เช่น งานตัวแทนจำหน่ายสินค้า เป็นต้น กฎหมายจึงกำหนดเตือนเฉยๆว่า นายจ้างจะไปตกลงกับลูกจ้างยังไงก็ได้ แต่ถึงอย่างไรก็อย่าให้เกินวันละ 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมทั้งหมดแล้วในหนึ่งสัปดาห์ต้องไม่เกิน 48ชั่วโมง ก็แล้วกัน...



   เวลาพักระหว่างทำงาน
   นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างทำงานเพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดและความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงานเป็นการชั่วคราว  รายละเอียดของกำหนดเวลาพักนี้  กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้ใน มาตรา 34 ดังนี้...
   “ในวันที่มีการทำงาน  ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงหลังจากลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกินห้าชั่วโมงติดต่อกัน  นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันอาจตกลงกันล่วงหน้าล่วงหน้าให้มีเวลาพักครั้งหนึ่งน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงได้  แต่เมื่อรวมกันแล้ววันหนึ่งต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง
   ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาพักระหว่างทำงานตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่น  ถ้าข้อตกลงนั้นเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง  ให้ข้อตกลงนั้นใช้บังคับได้
   เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน  เว้นแต่เวลาพักที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกินสองชั่วโมง  ให้นับเวลาที่เกินสองชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานปกติ
   ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่าสองชั่วโมง  นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักไม่น้อยกว่ายี่สิบนาทีก่อนที่ลูกจ้างเริ่มทำงานล่วงเวลา
   ความในวรรคหนึ่งและวรรคสี่มิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะ  หรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน”
   กฎหมายกำหนดเวลาพักขั้นต่ำ ที่นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างในระหว่างที่ทำงานคือ 1ชั่วโมง ภายหลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้ว ไม่เกิน 5ชั่วโมง  จะเห็นว่ากฎหมายไม่ยอมให้นายจ้างใช้งานลูกจ้างทำงานเกิน 5ชั่วโมงโดยไม่มีเวลาพักเลย แต่อาจมีการตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้มีเวลาพักแต่ละครั้งน้อยกว่า 1ชั่วโมงก็ได้  อย่างไรก็ตามเมื่อรวมเมื่อรวมเวลาพักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า 1ชั่วโมง เช่นกำหนดเวลาพัก 2ครั้ง หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้ว 4ชั่วโมง โดยให้พักครั้งละ 30นาที เป็นต้น หากนายจ้างและลูกจ้างจะตกลงเรื่องเวลาพักไว้เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด  ถ้าข้อตกลงนั้นเป็นคุณแก่ลูกจ้าง  ข้อตกลงนั้นก็ใช้บังคับได้...
   โดยปกติ เวลาพักนี้ กฎหมายไม่ให้นับเหมารวมเอามาเป็นเวลาทำงาน มีผลให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในส่วนของเวลาพักนี้  แต่ในกรณีที่มีการตกลงให้ลูกจ้างมีเวลาพักเกินกว่า 2ชั่วโมง กฎหมายอนุญาตให้นับเวลาในส่วนที่เกิน 2ชั่วโมงมานั้นเป็นเวลาทำงาน มีผลคือ แม้ลูกจ้างจะไม่ได้ทำงานในส่วนในเวลาพักส่วนที่เกิน 2ชั่วโมงนั้นก็ตาม นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าแรงในส่วนนั้น
   กรณีที่นายจ้างจะให้มีการทำงานล่วงเวลาเกินกว่า 2ชั่วโมงในวันทำงานนั้นๆ (การทำงานล่วงเวลาคืออะไร เอาไว้จะอธิบายกันในโอกาสต่อไป) นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้มีเวลาพักก่อนเริ่มทำงานล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า 20นาที
   อย่างไรก็ตาม ในวรรคห้า กฎหมายก็ได้กำหนดข้อยกเว้นของวรรคหนึ่งและวรรคสี่เอาไว้  กล่าวคือ ในงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกัน หรือเป็นงานฉุกเฉิน เช่น แพทย์ที่กำลังผ่าตัดคนไข้ในโรงพยาบาล เป็นต้น  ถ้าได้รับความยินยอมจากลูกจ้างแล้ว จะไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่ ก็ได้...
  
 


 


สนธยา ของวันที่สิบเอ็ด เดือนเจ็ด ปีห้าสาม
พัดลมสองตัวส่ายหน้าให้แก่กัน
ไม่รู้ไปเกลียดกันมาแต่ชาติปางไหน
ร้อนโว้ย!!!.........


 


 


 


 


 


 






Free TextEditor


Create Date : 24 กรกฎาคม 2553
Last Update : 24 กรกฎาคม 2553 23:53:01 น. 0 comments
Counter : 866 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สหายกุนเชียง
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]







บ่นเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก
ครั้งที่ 60
ตอน - ความสุขของความรัก
.........คือการได้รัก

ทำไม? คนเราถึงอยากมีคนรัก
นั่นเพราะอยากมีความสุข
ในเมื่อที่การได้รักใครสักคน
มันก็ทำให้มีความสุขอยู่แล้ว
ทำไมจะต้องไปอยากรู้
หรือไปใส่ใจอะไรอีก 
ว่าใครรัก ใครไม่รัก
เขารักใคร ใครรักเขา ฯลฯ

กับหัวใจที่เต็มไปด้วยแผลฉกรรจ์ดวงนี้ 
มันดีแค่ไหนแล้ว ที่ยังใช้รักใครได้อยู่...

13/08/55







เพลงพวกนี้.........
ผมชอบทุกเพลงครับ
แต่ละเพลงฟังมานานแล้ว
และจะฟังต่อไปเรื่อยๆ
เพราะฟังกี่รอบๆ ก็ไม่เบื่อ
ว่างๆมานั่งฟังเป็นเพื่อนกันเถอะ
แล้วจะติดจาย~* ^___^



MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com






free counters


Website counter

Friends' blogs
[Add สหายกุนเชียง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.