เมื่อตะวันยอแสง..เรี่ยวแรงก็เริ่มอ่อนล้า..พักลงตรงนี่ที่เดิมแล้วหลับตา..
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 

ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

ตอนนี้เข้าสู้ช่วง ลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. พรรคการเมือง และนักการเมืองอิสระ นั้นต่างก็ลงหาเสียงกันมากมาย แต่ละคนก็มีกลยุทธและนโยบายหาเสียงที่แตกต่างกันไป ..
หนุ่มสาว วัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครนั้นก็อย่าลืมไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 16 กันนะคะ ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม 2556 นี้ teen.mthai จึงนำ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาให้เพื่อนๆได้อ่าน เป็น เกร็ดความรู้ เล็กๆน้อยๆกันคะ ^^
เขียนและเรียบเรียง teen.mthai
อ้างอิง wikipedia

ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในสมัยก่อนๆ เป็นข้าราชการการเมืองที่มาจากแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา โดย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก นั้นคือ นายชำนาญ ยุวบูรณ์ (เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2516 – 22 ตุลาคม 2516 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 2 คือ นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2516 – 4 มิถุนายน 2517 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 3 คือ นายศิริ สันตะบุตร (เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2517-13 มีนาคม 2518 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 4 คือ นายสาย หุตะเจริญ (เมื่อวันที่ 1 พฤษาคม 2518 – 9 สิงหาคม 2518 จากการแต่งตั้ง)

และหลังจากนั้นก็มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 สืบเนื่องจากมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามวาระ 4 ปี

นายธรรมนูญ เทียนเงิน ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

นายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 5

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งแรก พ.ศ. 2518

  • พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518
  • ในครั้งนั้น นายธรรมนูญ เทียนเงิน จาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 5 จาก การเลือกตั้งคนแรก
  • ในการเลือกตั้งครั้งนั้น นายธรรมนูญ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จนครบวาระ 4 ปี เนื่องจากเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้ถูกปลดนายธรรมนูญออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 และให้กลับไปใช้รูปแบบการแต่งตั้งเช่นเดิม

ประวัติผู้ว่าฯกทม. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีต-ปัจจุบัน

นับจากเหตุการณ์ปลดนายธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้งอีก 4 คน ได้แก่

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 6 คือ นายชลอ ธรรมศิริ (เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 – 14 พฤษภาคม 2522 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 7 คือ นายเชาวน์วัศ สุดลาภา (เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2522 – 16 เมษายน 2524 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 8 คือ พลเรือเอกเทียม มกรานนท์ (เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 – 1 พฤศจิกายน 2527 จากการแต่งตั้ง)

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 9 คือ นายอาษา เมฆสวรรค์ (เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2527 – 13 พฤศจิกายน 2528 จากการแต่งตั้ง)

 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10

พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2528

  • เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 นี้เอง
  • และในครั้งนั้นทำให้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นามพรรค “กลุ่มรวมพลัง” ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10 นั้่นเอง (เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 – 14 พฤศจิกายน 2532 จากการเลือกตั้ง )
  • และถัดมาอีก 4 ปี มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกครั้ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นามพรรค “กลุ่มรวมพลัง” ก็ยังคงได้รับความนิยม และยอมรับให้เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สมัยที่ 2 ต่อไป (7 มกราคม 2533 – 22 มกราคม 2535 จากการเลือกตั้ง)

ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11

ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2535

  • การเลือกตั้งครั้งต่อมามีขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2535 เนื่องจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
  • ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ขึ้นเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11 (ลงสมัครโดยไม่สังกัดกลุ่มใด แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุน ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง) (เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2535 – 18 เมษายน 2539 จากการเลือกตั้ง)

ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 12

ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 12

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2539

  • มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครในนาม กลุ่มมดงาน ได้รับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 12 (เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2539 – 1 มิถุนายน 2543 จากการเลือกตั้ง)
  • ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 29 คน โดยมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 คน ลงสมัครด้วยคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ

นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13

นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2543

  • เมื่อ ด.ร.พิจิตต รัตตกุล ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
  • นายสมัคร สุนทรเวช อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13 (เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 – 22 กรกฎาคม 2547 จากการเลือกตั้ง)

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14

นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2547

  • เมื่อ นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547
  • นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14 (เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2547 – 28 สิงหาคม 2551 จากการเลือกตั้ง)
  • ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนก่อนไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อดำรงตำแหน่งต่อ โดยเบนเข็มไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. กรุงเทพมหานคร และให้การสนับสนุน ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและข้าราชการประจำกระทรวงการต่างประเทศ และมี ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ลงสมัครแข่งขันแต่ได้คะแนนเสียงเพียงประมาณ 1 แสนคะแนนจากที่เคยได้สูงถึงกว่า 7 แสนคะแนน

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2551

  • เมื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551
  • นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ยังคงได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นสมัยที่ 2 (9 ตุลาคม 2551 – 19 พฤศจิกายน 2551 จากการเลือกตั้ง)
  • แต่เนื่องจากอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนเดิม นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงต้องทำการเลือกตั้งผู้ว่าคนใหม่
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2552

  • ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนใหม่
  • ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15 คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ มีวาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 จากการเลือกตั้งที่ผ่านมา

การเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556??

  • ได้มีการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเกิดขึ้น ซึ่งวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 เป็นวันแรกของการลงชื่อผู้เข้าสมัคร ใครจะเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนที่ 16 ต่อไปนั้น ต้องรอติดตามนะคะ ^^
เขียนและเรียบเรียง teen.mthai
อ้างอิง wikipediav




 

Create Date : 03 มีนาคม 2556
0 comments
Last Update : 3 มีนาคม 2556 15:37:57 น.
Counter : 2537 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สาว17
Location :
ลูกสาวเมืองสิงห์ Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Color Codes ป้ามด







เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตครอบครัว
มีบางครั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
มีบ้างบางครั้งที่เราต้องเลิกทำในสิ่งที่ชอบ
เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตครอบครัว
มีบ่อยครั้งที่เราต้องรู้จักใช้สติ
ต้องรู้จัก อดทน และให้อภัย
ดูอย่างต้นไม้ซิ
มันไม่เคยที่จะผืนลิขิตของฤดูกาล
มันไม่คิดจะขัดธรรมชาติ
เมื่อถึงคราวต้องทิ้งใบก็ยินยอมแต่โดยดี
อดทนและอดทน
เพื่อผลิใบ และดอกผลเมื่อฝนมา
เพราะเมื่อเวลามาถึงทุกสิ่งจะดำเนินไป
ชีวิตที่เรียบง่ายคือชีวิตที่มีสุข








Free Hit Counter ทีเว็บมาสเตอร์ รวมพลคนทำเว็บ
Google
New Comments
Friends' blogs
[Add สาว17's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.