ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

รศ.ศุภศิลป์ สุนทราภา
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ความผิดปกติของกระดูกที่ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้ผู้นั้นเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้น โดยความแข็งแรงของกระดูกนี้เกิดจากสองปัจจัยรวมกันคือ ความหนาแน่นของกระดูกและคุณภาพของกระดูก
    ความหนาแน่นของกระดูกสามารถ ตรวจวัดได้ด้วยเครื่องตรวจวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก ในปัจจุบันเครื่องตรวจวัดค่าความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้รังสีเอ็กซ์ ถือเป็นเครื่องมือมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก
   
                
                    เครื่องตรวจวัดค่าความหนาแน่นของกระดูกด้วยรังสีเอ็กซ์ (DEXA = Dual Energy X-ray Absorptioometry)

สำหรับคุณภาพของกระดูกประกอบด้วยคุณลักษณะใหญ่ๆ 4 ประการคือ
1. โครงสร้างภายในของกระดูก (bone microarchitecture) หมายถึง โครงสร้างทางจุลภาคภายในกระดูก ซึ่งมีลักษณะสานต่อกันเป็นร่างแหจากการสานต่อกันเช่นนี้ทำให้มีความสามารถรับแรงกดอัดได้อย่างมาก Silva MJ และคณะ (1997)2 ได้ศึกษาถึงความสามารถรับแรงอัดของกระดูกพบว่ากระดูกหากลดค่ามวลกระดูกลงเท่าๆกันคือร้อยละ 10 โดยชิ้นหนึ่งไปลดที่ความหนาของเสี้ยนกระดูก (decrease trabecular thickness) ขณะอีกชิ้นหนึ่งไปลดจำนวนเสี้ยนกระดูกที่เชื่อมขวาง (decrease cross-trabeculae or decrease trabecular number) พบว่าความสามารถในการรับแรงอัดของกระดูกที่ลดความหนาลงจะลดลงร้อยละ 20 ในขณะที่กระดูกที่ลดจำนวนเสี้ยนกระดูกที่เชื่อมขวางความสามารถในการรับแรง อัดลดลงถึงร้อยละ 70 สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าเสี้ยนกระดูกเชื่อมขวางมีความสำคัญอย่างมากต่อความแข็ง แรงของกระดูก
 
                          
                              
รูปแสดงโครงสร้างภายในของกระดูกสองชนิด รูปซ้ายมือเป็นโครงสร้างของกระดูกปกติ
                                                               ส่วนรูปขวามือเป็นโครงสร้างของกระดูกพรุน
         ลูกศรสีเหลืองแสดงถึงเสี้ยนกระดูกเชื่อมขวางที่ขาดหายไป ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงอย่างมาก

2. การหมุนเวียนของกระดูก (bone turnover) โดยการหมุนเวียนของกระดูกสามารถแบ่งย่อยๆเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
    a. ขั้นตอนการกระตุ้น โดยเซลล์สร้างกระดูกที่อยู่บริเวณผิวกระดูกจะปล่อยสารเคมีออกมากระตุ้นให้เซลล์สลายกระดูกชนิดที่ไม่มีฤทธิ์กลายเป็นเซลล์สลายกระดูกที่มีฤทธิ์
    b. ขั้นตอนการสลายกระดูก ในขั้นตอนนี้เซลล์สลายกระดูกที่มีฤทธิ์จะทำการย่อยสลายกระดูก จนกลายเป็นแอ่งเว้าลงของกระดูก
    c. ขั้นตอนพลิกกลับ ในขั้นนี้เซลล์สลายกระดูกจะหายไป จะมีเซลล์ใหม่เข้ามาในแอ่งเว้าของกระดูกแทนและทำการปรับแต่งกระดูกที่ถูกเซลล์สลายกระดูกกินให้มีผิวเรียบขึ้น
    d. ขั้นตอนการสร้างกระดูก ในขั้นนี้เซลล์สร้างกระดูกจะเข้ามาในบริเวณแอ่งเว้าที่ถูกตกแต่งให้เรียบแล้วและทำการสร้างกระดูก
    e. ขั้นตอนการสะสมแร่ธาตุของกระดูก เป็นขั้นตอนสุดท้ายของขบวนการปรับแต่งกระดูก ในขั้นนี้จะมีแร่ธาตุเข้ามาสะสมในบริเวณที่มีการสร้างกระดูก
    f. ขั้นตอนสุดท้ายคือภาวะสงบนิ่งคือขั้นตอนที่ไม่มีทั้งการสร้างและการสลายกระดูก กระดูกจะอยู่ในภาวะสงบนิ่ง

                                
                                                  
รูปแสดงขั้นตอนการหมุนเวียนของกระดูก

การสลายกระดูกจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ในขณะที่การสร้างกระดูกใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ดังนั้นหากมีอัตราการหมุนเวียนของกระดูกสูง จะทำให้มีหลุมและบ่อของกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้กระดูกมีความเครียดเพิ่มขึ้นและนำไปสู่ภาวะของ microfracture และมีความเสี่ยงต่อกระดูกหักในที่สุด
กระดูกจะมีการหมุนเวียนเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่ซ้ำที่กัน กระดูกทั่วๆไปจะมีการหมุนเวียนและปรับกระดูกเก่าให้เป็นกระดูกใหม่ทั้งร่างกายใช้เวลาประมาณ 10 ปี
3. การสะสมการสลายของกระดูก (damage accumulation or microfracture) กระดูกใดยิ่งมีการสลายกระดูกมาก หลุมบ่อของกระดูกจะมีทั่วไปนำไปสู่การเพิ่มความเครียดต่อกระดูกเพิ่มขึ้น (increase stress riser) และทำให้กระดูกมีความเสี่ยงต่อกระดูกหักเพิ่มขึ้น
 
                               
                                                        
การสะสมการสลายของกระดูก

4. การสะสมแร่ธาตุของกระดูก (bone mineralization) ขบวนการปรับแต่งกระดูก จะมีทั้งการสลายและการสร้างกระดูก โดยขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างกระดูกคือการสะสมแร่ธาตุของกระดูก ในขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่า 3 ใน 4 ของการสะสมแร่ธาตุในกระดูก จะเกิดขึ้นภายในเวลา 2-3 วัน แต่พบว่าอีก 1 ใน 3 ต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ หลังจากสามเดือน จะไม่พบ osteoid ในลักษณะที่ไม่มีการสะสมแร่ธาตุอีกต่อไป พิสูจน์ได้จากการย้อมสี แต่การสะสมของแร่ธาตุเพิ่มเติมและการปรับสภาวะของผลึกให้สมบูรณ์จะทำให้มี การเพิ่มขึ้นของค่าความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกอีกประมาณร้อยละ 10-20 ภายใน 1 หรือ 2 ปี

                                               
                                                      
แสดงการสะสมแร่ธาตุของกระดูก

โรคกระดูกพรุนถือเป็นภัยเงียบ โดยทั่วไปจะไม่มีอาการแสดงใดๆทั้งสิ้น ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะรู้ตัวหรือมีอาการต่อเมื่อ
    1. มีกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่นหกล้มเป็นต้น
    2. มีอาการปวดหลังโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดจากมีกระดูกสันหลังหักหรือทรุดลง
    3. หลังโก่งหรือตัวเตี้ยลง
หากผู้สูงอายุเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษาโรคกระดูกพรุนอย่างเหมาะสม ผลที่ตามมาคือคุณภาพชีวิตจะลดลงหรืออาจถึงเสียชีวิตได้

การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
ใน ปีค.ศ. 1994 องค์การอนามัยโลกได้เสนอเกณฑ์การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน3 โดยใช้เครื่องตรวจวัดค่ามวลกระดูกเป็นมาตรฐาน แบ่งกระดูกออกเป็น 4 ชนิดดังนี้
    1. กระดูกปกติ (normal bone) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ในช่วง 1 ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด
    2. กระดูกโปร่งบาง (osteopenia) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ระหว่างช่วง 1-2.5 ความเบี่ยงเบนมาตรฐานใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด
    3. กระดูกพรุน (osteoporosis) คือกระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวลกระดูกสูงสุด 2.5 หรือต่ำกว่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    4. กระดูกพรุนอย่างรุนแรง (severe or established osteoporosis) คือ กระดูกที่มีค่ามวลกระดูกอยู่ใต้ต่อค่าเฉลี่ยของสตรีวัยเยาว์ที่มีค่ามวล กระดูกสูงสุดต่ำกว่า 2.5 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานร่วมกับมีกระดูกหัก
 
                             
              แสดงการแบ่งชนิดของกระดูกตามค่าความหนาแน่นของกระดูกตรวจวัดโดยเครื่องตรวจวัดค่าความหนาแน่นของกระดูก

สรุป
จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้นพอจะบอกได้ว่าโรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่มีอันตรายสูง เทียบได้กับคลื่นยักษ์ซึนามิที่ก่อนจะทำลายล้างทุกอย่างที่ขวางหน้าจะไม่มีสิ่งบอกเหตุใดจะรู้ต่อเมื่อมันได้ซัดทุกอย่างหายไปกับตาเท่านั้น โรคกระดูกพรุนก็เช่นกัน หากไม่มีการตรวจวัดค่ามวลกระดูกและไม่ได้ใช้เกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกแล้ว จะไม่มีทางทราบได้เลยว่าบุคคลใดเป็นโรคกระดูกพรุนและหากละเลยสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือมีกระดูกหัก ซึ่งยังผลเสียต่อผู้นั้นอย่างมหาศาลหากไม่ถึงกับเสียชีวิตก็อาจทำให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมากหรืออาจถึงกับไม่ สามารถช่วยเหลือตนเองได้

ที่มา :
//www.osteokku.com/th/

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับSmiley




 

Create Date : 03 สิงหาคม 2555
0 comments
Last Update : 3 สิงหาคม 2555 9:46:53 น.
Counter : 3953 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.