ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
การตรวจทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test)

       การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ เป็นวิธีการค้นหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอันเป็นผลจากเส้นเลือดแดงโคโรนารี่อุดตัน ในปัจจุบัน แพทย์ประจำศูนย์หัวใจต่างๆ จะใช้เป็นการทดสอบก่อนที่จะส่งผู้ป่วยไปฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ
       แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง และ ความแม่นยำของการทดสอบจะเกี่ยวข้องผู้ทดสอบทั้งเพศ อายุ ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และลักษณะอาการเจ็บหน้าอก
ข้อจำกัดของการทดสอบ
1.ไม่สามารถทำได้ทุกราย โดยมีข้อจำกัด 2 กรณี คือ
       - ในรายที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ เช่น มีปัญหาเรื่องการเดิน,ข้อเข่า หรือมีโรคปอดซึ่งทำให้เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย เนื่องจากถ้าไม่สามารถออกกำลังจนหัวใจเต้นเร็วตามเกณฑ์ที่กำหนด (=85%ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดเทียบตามอายุ) จะถือว่า การทดสอบไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถบอกได้ว่าไม่มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
       - ในรายที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติตั้งแต่ก่อนออกกำลังกาย ซึ่งรบกวนการแปลผลการทดสอบได้แก่
   - มีโรคที่เราเรียกว่า preexcitation syndrome (WPW syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากมีทางนำไฟฟ้าลัดวงจรเชื่อมต่อระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง
   - ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
   - คลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนที่เรียกว่า ST segment มีการลดต่ำลงกว่าเส้นมาตรฐานมากกว่า 1 มิลลิเมตรในขณะพัก
   - มึคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแบบที่เรียกว่า complete left bundle branch block (=การนำไฟฟ้าผ่านเส้นนำไฟฟ้าในหัวใจด้านซ้ายถูกปิดกั้นทั้งหมด)
   - ผู้ที่ได้รับยาชื่อ digoxin
   - ผู้ที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บ่งว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายโต
     ถ้าแพทย์ตรวจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจลักษณะดังกล่าว แพทย์มักจะหลีกเลี่ยงการทดสอบด้วยวิธีนี้ ไปใช้วิธีอื่นแทน
2.ความแม่นยำในการทดสอบ มีไม่มาก กล่าวคือ
        ความไวในการทดสอบ (sensitivity) เท่ากับ 67%
        ความจำเพาะในการทดสอบ (specificity) เท่ากับ 72%
*ศึกษาจากกลุ่มที่มีความเสี่ยงปานกลางของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด
3.จากการศึกษาพบว่า ความผิดปกติมากน้อยในระหว่างการทดสอบสมรรถภาพหัวใจ ไม่ได้บอกถึงความรุนแรงของ การตีบหรือจำนวน เส้นเลือดที่ตีบของเส้นเลือดหัวใจ

ข้อบ่งชี้ในการทดสอบ (indications)
   -เพื่อวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน(ตีบมากกว่า 70%)ในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสที่จะเป็นปานกลางโดยดูจากเพศ, อายุ, ปัจจัยเสี่ยง, ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก
   -เพื่อตัดสินการพยากรณ์โรคและกำหนดแนวทางการรักษาในผู้ที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
   -เพื่อคัดกรองในกลุ่มไม่มีอาการที่ความเสี่ยงสูงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
   -เพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกายและการตอบสนองต่อการรักษาในรายหัวใจล้มเหลวที่รอผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
   -เพื่อหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย



ข้อห้ามในการทดสอบ
      ตามมาตรฐานสากล(2002 ACC/AHA guideline) กำหนดให้ภาวะต่อไปนี้ห้ามทำการทดสอบเด็ดขาด ได้แก่
   - โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่เป็นไม่เกิน 2 วัน
   - โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่เรียกว่า unstable angina
   - หัวใจเต้นผิดจังหวะที่ควบคุมไม่ได้และทำให้เกิดอาการหรือความดันโลหิตต่ำ
   - โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบรุนแรงและมีอาการ
   - ภาวะหัวใจล้มเหลวที่การรักษายังไม่ได้ผล
   - ภาวะเส้นเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
   - ลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้อ
   - ภาวะเส้นเลือดแดงเอออร์ตาฉีกขาดเฉียบพลัน
   - ภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่มีผลต่อการทดสอบ เช่น การติดเชื้อ, โรคไตวาย, โรคไทรอยด์เป็นพิษ
   - การไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทำการทดสอบ
นอกจากนี้ยังมีภาวะที่ไม่ควรทำการทดสอบ ยกเว้นเมื่อเห็นว่าได้ประโยชน์จากการทดสอบมากกว่าความเสี่ยงที่ได้รับ ภาวะเหล่านี้ได้แก่
   - เส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้ายตีบตันบริเวณโคนเส้นเลือด
   - มีลิ้นหัวใจตีบปานกลาง
   - ภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ
   - ความดันโลหิตสูงมาก(ความดันตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มม.ปรอทและ/หรือ ความดันตัวล่างมากกว่าหรือเท่ากับ 110 มม.ปรอท)
   - มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งชนิดเร็วและชนิดเต้นช้าผิดจังหวะ
   - มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจโตชนิดที่เรียกว่า Hypertrophic cardiomyopathy หรือภาวะอื่นที่มีการอุดตันของช่องทางออกของหัวใจห้องล่างซ้าย
   - มีสภาพจิตใจหรือร่างกายผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการทดสอบ
   - มีการปิดกั้นทางนำไฟฟ้าในหัวใจ ชนิด high degree AV block

ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ทดสอบสมรรถภาพหัวใจ มี 2 แบบคือ
   1.แบบสายพาน ไฟฟ้า(treadmill) สามารถปรับตั้งโปรแกรมการทดสอบได้หลากหลายกว่า โดยปรับตั้งทั้งความเร็วและความชันของสายพานที่วิ่ง
   2.แบบจักรยาน (bicycle ergometer) เครื่องมือราคาถูกกว่าและกินเนื้อที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบสายพาน และยังใช้ได้ดีในผู้สูงอายุที่ปัญหาเรื่องการเดิน การทรงตัว

โปรแกรมการปรับความเร็วเครื่องที่ใช้ทดสอบ (เราเรียกว่า protocol การทดสอบ)
มีหลายโปรแกรมการทดสอบ แต่ที่เป็นที่นิยมใช้บ่อย และใช้เวลาในการทดสอบน้อย คือ BRUCE protocol

การเตรียมตัวก่อนการทดสอบ
   - งดน้ำอาหาร งดสูบบุหรี่ 2 ชม.ก่อนการทดสอบ
   - ควรสวมเสื้อผ้าที่ใส่สบายและเหมาะกับการออกกำลังกาย รวมทั้งสวมใส่รองเท้าที่สามารถเดินหรือวิ่งได้คล่องตัวโดยไม่หลุด
   - ก่อนการทดสอบควรงดยากลุ่มที่ทำให้หัวใจเต้นช้า เช่น ยากลุ่ม beta-blockers
   - ก่อนการทดสอบควรงดยากลุ่มที่รักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ยกเว้นกรณีทำการทดสอบเพื่อดูผลการรักษาและการพยากรณ์โรค
   - จะมีการให้ลงนามยินยอมให้แพทย์ทำการทดสอบทุกครั้ง

ขั้นตอนการทดสอบ
   1. แพทย์จะทำการตรวจประเมินหาข้อห้ามในการทำการทดสอบก่อน
   2. เจ้าหน้าที่จะทำการติดเครื่องวัดความดันโลหิตและชีพจรแบบอัตโนมัติ และสายติดคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอก และจัดหาเครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้าไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน

 

   3. แพทย์จะทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบทั้งท่านอนและท่ายืน และขณะกำลังออกกำลังตาม protocol ที่ตั้งไว้ โดยปกติถ้าใช้ BRUCE protocol จะใช้เวลาในการเดินสายพานประมาณ 6-7 นาที
   4. ในขณะทำการทดสอบ จะมีการวัดความดันและชีพจรเป็นระยะๆ และแพทย์จะติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจจาก หน้าจอเครื่องทดสอบ

การหยุดการทดสอบ
      ตามปกติจะหยุดทำการทดสอบเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
ผลการทดสอบเป็นบวกตามเกณฑ์การแปลผลมาตรฐาน = มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หัวใจเต้นถึง 85% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจตามอายุ(อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ= 220- อายุ) (ในบางรายของผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ก่อนออกจากร.พ. แพทย์อาจเลือกทำการทดสอบให้หัวใจเต้น 70%ของอัตรา การเต้นสูงสุดของหัวใจ)
ผู้เข้ารับการทดสอบไม่สามารถออกกำลังต่อได้ หรือมีภาวะที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ทดสอบ เช่น ความดันโลหิตตก มีหัวใจเต้นผิด จังหวะชนิดร้ายแรง เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของการทดสอบ
     การทดสอบสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย ในปัจจุบันถือว่าเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้แก่
   - การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดได้ 3.5 รายต่อการทดสอบ 10,000ราย
   - ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง เกิดได้ 4.8 รายต่อการทดสอบ 10,000ราย
   - การเสียชีวิต เกิดได้ 0.5 รายต่อการทดสอบ 10,000ราย

ที่มา : //www.thaiheartclinic.com/data8.asp

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับSmiley




Create Date : 29 กรกฎาคม 2555
Last Update : 29 กรกฎาคม 2555 13:50:00 น. 0 comments
Counter : 12215 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
29 กรกฏาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.