ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...
อาหารต้านมะเร็ง

    หลายท่านคงได้รับข้อมูลจากการบอกเล่าหรือการอ่านว่า การเลือกรับประทานอาหารสามารถป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งอย่างได้ผล ถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว เราควรจะเลือกรับประทานอาหารบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็ง หรือถ้าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ควรจะเลือกบริโภคอาหารอะไรเพื่อช่วยควบคุมโรค คำถามเหล่านี้ เป็นคำถามที่ผู้ป่วยจำนวนมากในปัจจุบันถามต่อแพทย์ผู้รักษา โดยหวังว่าแพทย์สามารถให้คำตอบได้ว่า ควรจะรับประทานอาหารอย่างไรเพื่อให้ผลการรักษาได้ผลดีที่สุด

อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงโดยการทอด
หรือผัด ซึ่งมีไขมันสูงจนทำให้เกิดโรคอ้วน
อาจเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งสูงขึ้น

อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไม่มีอิทธิพลมากพอ
ที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดมะเร็งโดยตรง
แต่น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อโรคมะเร็ง

    ปัจจุบัน มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลของการรับประทานอาหารกับโรคมะเร็งอยู่พอสมควร มักพบว่าอาหารบางชนิดอาจมีผลต่อการเกิดหรืออาจป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้บ้าง เช่น อาหารที่มีสารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดจากการเผาไหม้ ปิ้ง ย่าง จนเกรียม อาหารที่มีส่วนผสมของไนไตรทจากสารรักษาสภาพอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาหารหมักดอง และอาหารที่มีความชื้นและมีเชื้อราปนเปื้อน ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งมากกว่าอาหารอื่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงโดยการทอดหรือผัด ซึ่งมีไขมันสูงจนทำให้เกิดโรคอ้วน อาจเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม มีทฤษฎีว่าโรคมะเร็งอาจเกิดจากผลของสารอนุมูลอิสระ (Oxygen Free Radical) ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของการเผาผลาญอาหาร ถ้ามีอนุมูลอิสระนี้มากเกินไป เซลล์ปกติอาจกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า antioxidant พบมากในผักและผลไม้บางชนิด เช่น ชาเขียว ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เป็นต้น จะช่วยต้านผลของสารอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งได้ระดับหนึ่ง การทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงไขมันสูงให้พอเหมาะ ทานปลามากขึ้น เน้นผักผลไม้ให้มากขึ้น
อาหารประเภทกากใย เช่น ผักผลไม้บางชนิด ซึ่งมีบทบาทในการกำจัดอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคมะเร็งไม่ได้เกิดขึ้นจากผลของอาหารอย่างเดียวโดยตรง ไม่เช่นนั้นแล้ว
ครอบครัวเดียวกันที่มีใครคนหนึ่งเป็นมะเร็ง สมาชิกท่านอื่นในครอบครัวที่รับประทานอาหารคล้ายกัน ก็น่าที่จะเป็นมะเร็งแบบเดียวกันไปด้วยทั้งหมด ดังนั้นอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไม่มีอิทธิพลมากพอที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดมะเร็งโดยตรง แต่น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อโรคมะเร็ง และอาหารเพื่อต่อต้านการเกิดมะเร็งจึงควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน มีความสะอาด และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ใช่เลือกที่จะบริโภคหรือไม่บริโภคอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง
    สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอยู่แล้ว ความต้องการอาหารจะแตกต่างจากคนปกติ เพราะผู้ป่วยมะเร็งต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การรับยาเคมีบำบัด ซึ่งต้องการสารอาหารเพิ่มมาก
ขึ้นกว่าปกติ เพื่อซ่อมแซมเซลล์ปกติ และช่วยให้ร่างกายสามารถรับการรักษาได้ครบถ้วนตามแผนที่แพทย์ได้วางไว้ นอกจากนี้โรคมะเร็งหรือวิธีการรักษาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
เบื่ออาหาร แผลอักเสบในเยื่อบุช่องปากหรือหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีแนวโน้มที่จะขาดสารอาหารและมีน้ำหนักตัวลดลง ดังนั้น ควรพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ในระหว่างการรักษา ด้วยการรับประทาน
อาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญมากคือ อาหารต้องสุกและสะอาด ในขณะที่มีภาวะเม็ดโลหิตขาวต่ำหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารไม่สุก เช่น หอยนางรม กุ้งเต้น ปลาดิบ ผู้ป่วยที่มีอาการเบื่ออาหารควรทานอาหารทีละน้อย แต่บ่อยขึ้น ในบางกรณีผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารเองทางปากได้เพียงพอ อาจจำเป็นต้องรับอาหารทางสายยางทางจมูกหรือหน้าท้องเข้ากระเพาะอาหาร หรือทางเส้นเลือดดำ
    ปัจจุบันมักมีผู้ป่วยโรคมะเร็งได้รับการบอกเล่าว่า ควรเลือกทานแต่อาหารจำพวกผักและเนื้อปลา เพราะมะเร็งชอบอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์อื่นที่ไม่ใช่ปลา ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายรายต้องประสบกับภาวะขาดสาร
อาหาร จากการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดตามความเชื่อดังกล่าว ผลลัพธ์คือ น้ำหนักตัวลดลง ทนการรักษาได้น้อยลง ทำให้รับการรักษาไม่ได้ตามแผน ซึ่งมีผลให้การรักษาไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังเกิดความ
วิตกกังวลมากจนเกินพอดีกับการที่จะรับประทานอาหารนอกกฎที่ตั้งไว้ ความจริงแล้วเซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ในร่างกายของผู้ป่วย แต่มีความสามารถบางอย่างสูงกว่าเซลล์ปกติแม้ว่าผู้ป่วยจะอดอาหารโดยไม่รับประทาน
อะไรเลย เซลล์มะเร็งก็ยังมีความสามารถในการเจริญเติบโตได้ ที่สำคัญ ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าการเลือกรับประทานอาหาร จะทำให้มะเร็งโตช้าลงหรือฝ่อลงแต่อย่างใด เนื้อสัตว์หนึ่งคำที่รับประทานเข้าไป ย่อมกระจายไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ไม่ได้เลือกที่จะวิ่งไปสู่ก้อนมะเร็งเพียงที่เดียว ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นของโรคมะเร็งตามมาอีกด้วย

    ดังนั้น ขอย้ำว่าอาหารต้านมะเร็งที่ควรรับประทาน คือ อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและสมดุล มีความสุกสะอาด ไม่ใช่เลือกรับประทานอาหารเพียงชนิดใดชนิดหนึ่ง

    ควรพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ในระหว่างการรักษา   
    ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหาร   
    ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย                        

ที่มา : //www.tsco.or.th/data/km/ch8.pdf

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับSmiley




Create Date : 21 สิงหาคม 2555
Last Update : 21 สิงหาคม 2555 11:31:02 น. 0 comments
Counter : 1607 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
21 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.