ชนะคนอื่นเป็นร้อย ยังไม่ยากเท่าชนะตนแค่คนเดียว...

โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)

อะไรคือโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)?
    โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่เกิดขึ้นตามสภาพอายุที่มากขึ้น และเป็นโรคหนึ่งในหลายโรคที่เป็นปัญหาเรื้อรังในผู้สูงอายุ โดย โรคข้อเสื่อมนี้ทำให้เกิดอาการปวดที่ข้อ ข้อขัด ข้อบวม และทำงานได้ไม่เป็นปกติ หรือถ้าเป็นข้อรับน้ำหนักก็ทำให้ ลงน้ำหนักแล้วจะยิ่งปวด
    สาเหตุที่แท้จริงของโรคข้อเสื่อม ยังไม่มีใครทราบชัดเจน แต่พบว่ามีความสัมพันธ์ กับการใช้งานของข้อนั้น ๆ อย่างมากผิดปกติ หรืออย่างซ้ำๆ อยู่เป็นประจำ ผู้ป่วยบางรายที่มีข้อเข่าเสื่อม อาจมีความสัมพันธ์กับแนวรับน้ำหนักของการโก่งหรือ เก ตั้งแต่เยาว์วัย
    อาการแรกเริ่มของโรคข้อเสื่อม อาจเริ่มเกิดได้ตั้งแต่เข้าสู่วัยกลางคน คือ 45 ปี เป็นต้นไป ในระยะแรก ๆ อาการอาจไม่เด่นชัด แต่อาจรู้สึกว่าขัด ๆ หลังจากที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป ต่อมา อาการต่าง ๆ จึงค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือน หรือปีก็ได้

อะไรคือโรครูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ?
    โรครูมาตอยด์ เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของข้อซึ่งมักเป็นหลาย ๆ ข้อ และอวัยวะอื่น ๆ โดยทำให้เกิดข้ออักเสบภายในข้อและเยื่อหุ้มข้อเกิดการอักเสบเรื้อรัง และผิวข้อสึกเสียหายทั้งข้อ จนทำให้ข้ออาจผิดรูปร่าง หรือ ไม่สามารถรับน้ำหนักได้เป็นปกติ
    โรคนี้มีลักษณะพิเศษ คือข้อที่อักเสบมักเกิด เป็นคู่ หมายความว่า เป็นทั้งข้างซ้าย และขวา อาจเป็นข้อใหญ่ เช่น ข้อเข่า หรือ ข้อเล็ก เช่น ข้อนึ้วมือ ข้อศอก ก็ได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่นาน มักมีรูปร่างผอมบางลง และมีกระดูก และกล้ามเนื้อ ไม่แข็งแรง จึงเกิดความเสื่ยงต่อการเกิดกระดูกหักที่ง่ายขึ้น ร่วมด้วย

กรณีที่มีการอักเสบ และทำลายผิวข้อมาก การผิดรูปร่างของข้อจะเป็นมาก จนสังเกตเห็นความผิดปกติจากการมองภายนอกได้อย่างชัดเจน

                                           
ภาพซ้ายสุด :แสดงแกนขาปกติ ภาพกลาง :แสดงการผิดรูปร่างของขาที่โก่ง และภาพขวาสุด :แสดงความผิดปกติขาเก 

ขั้นตอนของอาการของโรคข้อเสื่อมเป็นอย่างไร?

    ในระยะแรกผู้ป่วยหลายคน อาจมีเพียงอาการขัด หรือ ฝืดในข้อเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะหลังจากที่อยู่นิ่ง เป็นเวลานาน อาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย โดยอาการเจ็บอาจมีความแตกต่างในผู้ป่วย แต่ละคนอย่างสิ้นเชิง เช่น เจ็บน้อย บางครั้ง จนถึง เจ็บมาก เป็นตลอดเวลา เมื่อสังเกตให้ดี มักพบว่าอาการปวดมักสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมเฉพาะ เช่น ออกกำลังกายมาก ขึ้นบันได นั่งเตี้ย หรือนั่งยอง และมักสังเกตว่าอาการเจ็บดีขึ้น เมื่อลดกิจกรรมเหล่านี้ลง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าอาการเจ็บย้าย หรือ เพิ่มจากบริเวณเฉพาะของข้อนั้น ไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย

ในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเสื่อมบางรายอาจมีอาการข้อบวม อุ่นขึ้น ซึ่งจะเห็นชัดในข้อที่อยู่ตื้น เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ผิวหนังอาจมีสีแดงเข้มขึ้นได้

เราจะยืนยันได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเสื่อม?

    กล่าวโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยควรมีอายุที่มากพอควร เช่น เกิน 45 ปี มีอาการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยอาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ แต่ โดยรวมแล้วอาการยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง การไปพบแพทย์ และได้รับการยืนยันจากภาพถ่ายทางรังสี ซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะของข้อเสื่อม ก็เป็นตัวช่วยยืนยันว่าเราเป็นโรคข้อเสื่อมจริง

                
              ตัวอย่างภาพถ่ายทางรังสีของผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อม


              ตัวอย่างภาพถ่ายทางรังสีของผู้ป่วยที่มีข้อตะโพกเสื่อม
 

การรักษาโรคข้อเสื่อมจำเป็นหรือไม่?
    การเสื่อมของข้อเป็นกลไกที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ซึ่งอาจไม่ได้ต่างอะไรจากการที่เรามีผิวหนังที่เหี่ยวย่นเมื่ออายุมากขึ้น จึงกล่าวได้ว่า ถ้าไม่มีอาการที่ผิดไปจากปกติ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ แต่สิ่งที่ควรทำก็คือ การถนอม หรือบำรุงรักษาให้ข้อที่เสื่อมนั้น สามารถอยู่กับตัวเราได้อย่างไม่สร้างปัญหาให้ยาวนานที่สุดมากกว่า

การรักษาโรคข้อเสื่อมที่มีอาการ
    หลักใหญ่ของการรักษาโรคข้อเสื่อม คือ ควบคุมให้การอักเสบของข้ออยู่ในระดับน้อย จนไม่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ป้องกันการอักเสบที่จะเกิดขึ้นใหม่ และป้องกันการเสื่อม หรือสึกหรอของข้อที่มากขึ้น
    รายละเอียดของการรักษาโดยแบ่งตามกลุ่มของรูปแบบการรักษาเป็นดังนี้

การรักษาทางยา (Medication)
    ส่วนใหญ่ของยาที่ใช้ มักเป็นยาแก้การอักเสบ ที่เรียกว่า NSAIDs (เอ็นเสด) และหรือยาแก้ปวด ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการอักเสบและลดอาการปวดที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้ป้องกันการอักเสบหรืออาการปวดในวันข้างหน้า

การออกกำลังกาย (Exercise)
    ความสำคัญของการออกกำลังกาย คือ ทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อนั้น ๆ มีความแข็งแรง และช่วยผ่อนแรงกระแทกที่กระทบกับข้อโดยตรง ทำให้ข้อสึกหรอช้าลง หรือช่วยควบคุมแนวการรับน้ำหนักของข้อนั้น ๆ ให้อยู่ในแนวที่ตรงขึ้น ทำให้ข้อรับน้ำหนักน้อยลง
    นอกจากนี้แล้วการออกกำลังกายที่เป็นแบบแอโรบิค จะทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกับข้อที่รับน้ำหนักโดยตรง

การทำกายภาพ (Physical therapy)
    เป็นวิธีทำให้อาการเจ็บปวดลดลงได้ มีประโยชน์ ในรายที่ไม่ต้องการทานยา เช่น การประคบด้วยความร้อน การทำอัลตร้าซาวด์ เป็นต้น

การจำกัดกิจกรรม (Limited activity)
    เป็นการป้องกันการเกิดการบาดเจ็บ หรือกระตุ้นให้ข้อเกิดการเสื่อมที่เร็วขึ้น เช่น การไม่ทำท่าบางท่าที่ไม่เหมาะสม (ให้ดูในเว็บไซด์ที่เป็นเรื่อง ๆ เฉพาะ ไป) การใช้เครื่องช่วยเดินต่าง ๆ เป็นต้น

การใช้กายอุปกรณ์ช่วย (Orthosis)
    เป็นการช่วยพยุงให้ข้อที่มีปัญหานั้น รับแรง หรือรับการเคลื่อนไหวที่น้อยลง ซึ่งเป็นการทำให้การอักเสบลดน้อยลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้อุปกรณ์เป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อนั้น ๆ อ่อนแอลงได้

การผ่าตัด (Surgery)
    การผ่าตัดเป็นมาตรการที่ใช้รักษาโรคที่เข้าสู่ระยะปานกลาง ถึงระยะท้าย โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดไม่ว่าส่วนใดก็ตาม ต้องมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเสมอ และต้องประเมินให้ได้ว่า หลังจากการผ่าตัดแล้ว คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต้องดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่นการผ่าตัดใส่ข้อเทียม เป็นต้น

ที่มา : //www.orthochula.com/osteoarth.html

Smileyขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับSmiley




 

Create Date : 02 สิงหาคม 2555
0 comments
Last Update : 2 สิงหาคม 2555 10:03:03 น.
Counter : 4294 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kitpooh22
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 27 คน [?]




สวัสดีครับ
..............................
ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม และมาเม้นให้ครับ



ขอบคุณครับ :-)
THX


วันเกิดบล็อก 25/5/2009
Google+
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kitpooh22's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.