ต้นทุนชีวิตคือการสะสมความเคยชินที่ดี

ก่อนเข้าเรียน ใน IB World School

การเปลี่ยนแปลงหน้าที่การงานเปิดโอกาสให้พาลูกชายเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติในพื้นที่ทำงานใหม่ของพ่อ โดยหน่วยงานสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการศึกษา จากห้องเรียนขนาดกว่าสี่สิบคนเมื่อปีก่อน วันนี้หนุ่มน้อยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนเพียงสิบหกคน สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้เกือบทุกอย่างเปลี่ยนแปลง แม้ไม่ง่ายในการปรับตัวและพ่อหนูต้องใช้เวลาเกือบปีในการเรียนรู้เรื่องภาษา การอยู่กับคนต่างวัฒนธรรม และรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่คุ้นเคย แต่ทุกวันนี้ความรู้สึก“ปวดหัวไม่อยากไปโรงเรียน” เริ่มกลับกลายเป็น “อยู่บ้านน่าเบื่อ อยากไปโรงเรียนอ่ะ”

เมื่อครั้งพาลูกมาสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ เราแม่ลูกไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับจุดขายสำคัญของโรงเรียน นั่นคือการเป็น IB World School แต่เมื่อตั้งใจอยากร่วมเรียนรู้อะไรบางอย่างในโลกการเรียนของลูก คนเป็นแม่จึงเริ่มค้นหา  และเริ่มรู้สึกว่า IB World School มีอะไรหลายอย่างน่าสนใจ ที่สำคัญคือรูปแบบการเรียนการสอนมีส่วนช่วยทำให้ลูกชายมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และการเรียนการสอนเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้เด็กเข้าถึงศักยภาพของตนเองในทุก ๆ ด้าน

ก่อนอื่นขอยอมรับว่า ค่าใช้จ่ายในการเรียนโรงเรียนนานาชาติมีส่วนสำคัญที่ทำให้โรงเรียนสามารถจัดระบบการเรียนการสอนเป็นพิเศษแตกต่างกับโรงเรียนพื้นฐานทั่วไป แต่สิ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือปรัชญาในการจัดการศึกษา  หลักสูตร และวิธีการบริหารจัดการ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อศึกษาใคร่ครวญในรายละเอียดแล้ว เราสามารถดึงบางสิ่งบางอย่างมาประยุกต์ปรับเปลี่ยนเพื่อช่วยจัดการศึกษาของเราเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนเพิ่มเติมที่บ้าน ในโรงเรียนธรรมดาทั่วไป หรือแม้แต่การจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย จึงขอใช้โอกาสที่เข้ามารับรู้เรื่องราวเหล่านี้แบ่งปันบางอย่างเพื่อประโยชน์ในการศึกษาและการเติบโตของลูกหลานเรา

ถามว่าหลักสูตร IB คืออะไร IB World school คือโรงเรียนแบบไหน ตอบง่าย ๆ ตามชื่อว่า เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่สามารถวัดผลการเรียนตอนจบมัธยมศึกษาตอนปลายในมาตรฐานเดียวกันของโรงเรียนแบบนานาชาติทั่วโลก (I ย่อมาจาก International แปลว่านานาชาติหรือระหว่างประเทศ B ย่อมาจาก Baccalaureate  แปลว่าการสอบจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย) คือไม่ว่าจะจบจากโรงเรียนใดถ้าสอบผ่าน IB diploma ในปีสุดท้ายของชั้นมัธยม (เกรด 12 หรือเทียบเท่ากับ ม.6 บ้านเรา) ก็จะได้ผลสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันสามารถนำผลสอบนั้นไปสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ยอมรับคะแนน IB Diploma และกำหนดเกณฑ์คะแนนว่าระดับใดสามารถเข้าเรียนต่อคณะใดได้  แม้ผลการสอบ IB จะไม่ถึงกับใช้ได้กับทุกมหาวิทยาลัยทั่วโลก แต่ประเทศส่วนใหญ่ทั้งในอเมริกา ยุโรป อาฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชียบ้านเรา ก็รับรองผลที่ว่านี้

หลักสูตร IB เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2511 ที่โรงเรียนนานาชาติเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ผู้ริเริ่มมีความตั้งใจให้มีหลักสูตรกลางสำหรับนักเรียนนานาชาติที่ต้องย้ายโรงเรียนไปมาตามเงื่อนไขด้านอาชีพการงานของผู้ปกครอง  ในช่วงแรกมุ่งเน้นเฉพาะมัธยมปลายเพื่อเตรียมตัวให้สามารถเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยได้ แต่พัฒนาปรับปรุงเรื่อยมาจนปัจจุบันเป็นหลักสูตรที่จัดให้เด็กนักเรียนครอบคลุมอายุตั้งแต่ 3 ถึง 19 ปี แบ่งออกเป็นสามระดับ คือ

ระดับต้น PrimaryYear Program: PYP คือนักเรียนระหว่างอายุ 3 ถึง12 ปี (เริ่มหลักสูตรปี 2540)

ระดับกลาง Middle Year Program: MYP คือนักเรียนระหว่างอายุ 11 ถึง 16 ปีเกรด 6 –10 (เริ่มหลักสูตรปี 2537)

และระดับ Diploma Program (IBDP) คือนักเรียนระหว่างอายุ 16 ถึง 19 ปี เกรด 11 - 12 (เริ่มหลักสูตรปี 2511)

หลักสูตร IB ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เป็นการศึกษาที่นำไปสู่โลกที่ดีกว่า (A better world through education) ตัวองค์กรที่จัดตั้งนับเป็นมูลนิธิด้านการศึกษาที่ไม่แสวงผลกำไร มีมาตรฐานการจัดการศึกษาที่คล้ายคลึงกันในกลุ่มของโรงเรียน IB ซึ่งปัจจุบันมี 3,408 โรงเรียนทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2555) โรงเรียนนานาชาติที่นับเป็น IB World School อาจจัดการเรียนการสอนเฉพาะระดับ IB Diploma อย่างเดียวก็ได้ หรือจะเลือกจัดโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง หรือทั้งหมดสามโปรแกรมก็ได้ แต่การจัดการเรียนการสอนในแต่ละโปรแกรมต้องเป็นไปตามมาตรฐานและปรัชญาของหลักสูตร มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองจริง ๆ

ตอนลูกไปโรงเรียนช่วงแรก ๆ ก็ยังงกันอยู่ว่า ทั้งเทอมมีหนังสือเรียนเล่มเดียว คือหนังสือวิชาคณิตศาสตร์ นอกนั้นครูแจกเป็นเอกสารที่ดึงมาจากบทความโน่นนี่นั่นหรือเว็บไซท์นี้นั้นโน้น ตอนหลังจึงได้เข้าใจว่าหลักสูตรการเรียนแบบนี้สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้ ตราบเท่าที่กระบวนการและผลของการเรียนการสอนสะท้อนพัฒนาการทุกด้านที่กำหนดไว้ในแต่ละวิชา (รายละเอียดตรงนี้น่าสนใจแต่ค่อนข้างมากเลยขอยกไว้ไปพูดถึงโดยเฉพาะในบทต่อ ๆ ไป)

เกริ่นนำไว้แค่นี้ก่อนนะ แล้วเดี๋ยวค่อยมาต่อรายละเอียดจากการเรียนรู้ของแม่ในโรงเรียนลูกอีกที ผู้สนใจเรื่องหลักสูตร IB และ IBWorld School สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ www.ibo.org ส่วนเกร็ดอื่น ๆ จากประสบการณ์บางแง่มุมของแม่ที่ตามลูกไปเรียนเรื่องราวต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนทางปฏิบัติในโรงเรียน ต้องรออ่านตอนต่อไป (เมื่อคนเป็นแม่ว่างจากห้องเรียนและห้องครัว Smiley )

Note: ขอบคุณข้อมูลจาก //www.ibo.org




 

Create Date : 04 มิถุนายน 2555
2 comments
Last Update : 22 กรกฎาคม 2555 11:10:51 น.
Counter : 5914 Pageviews.

 

".. การศึกษาที่นำไปสู่โลกที่ดีกว่า.."

".. การเรียนการสอนเปิดโอกาสการเรียนรู้ให้เด็กเข้าถึงศักยภาพของตนเองในทุก ๆ ด้าน.. "

".. มุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเองจริงๆ .."

".. หลักสูตรการเรียนแบบนี้สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้ ตราบเท่าที่กระบวนการและผลของการเรียนการสอนสะท้อนพัฒนาการทุกด้านที่กำหนดไว้ในแต่ละวิชา.."

They all sound ideally good to me. Thanks for sharing ka. :)



 

โดย: A pixel in a universe IP: 161.200.210.119 4 มิถุนายน 2555 18:55:51 น.  

 

เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ รออ่านตอนต่อไปนะคะ

 

โดย: ปู เเม่ที่กำลังศึกษาเรื่องIB เพื่อลูกอยู่เช่นกันค่ะ IP: 1.47.129.187 30 กันยายน 2557 20:51:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


kangsadal
Location :
เวียงจัน Laos

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]






พระจันทร์เต็มดวงคนมองเห็นได้บางวัน
เช่นกันกับวันที่เห็นพระจันทร์เสี้ยว
แต่ทุกวัน....
พระจันทร์เต็มดวง
online
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
4 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kangsadal's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.