Freilich, mit dem Flugzeug kannst du nicht zu einem anderen Planet gehen.

<<
มีนาคม 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 มีนาคม 2549
 

มาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต

มาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต
(1)

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด



ตามที่ได้กล่าวถึงในครั้งที่แล้วว่า วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องมาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมให้แก่ผู้ประกอบการทั้งหลายตามที่
ได้มีการเขียน อีเมล์ขอให้ผมพูดถึง ในเรื่องดังกล่าวกัน ในส่วนของบทความนี้ จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ มาตรการป้องกันทางด้านเทคนิค และ
มาตรการป้องกันทางด้านกฎหมาย โดยจะเริ่มกันในส่วนของ การป้องกันทางด้านเทคนิคก่อนครับ

จากหนังสือพิมพ์ ไฟแนนท์เชียล ไทม์ และ หนังสือพิมพ์ เอเชียนวอลล์สตรีท เจอนัล ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2545 ได้หยิบยกประเด็น
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ปลอมบนอินเตอร์เน็ตว่า เป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าหรือการให้บริการทางอินเตอร์เน็ต
ลดลงเป็นอย่างมาก บริษัทเครดิตการ์ด ยักษ์ใหญ่อย่าง วีซ่า (Visa) ได้ลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต
มากกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บัตรวีซ่าเชื่อมั่นได้ว่า บัตรเครดิตที่ใช้เครือข่าย ของวีซ่ามีความปลอดภัยมากกว่าเครือข่ายอื่น
สิ่งที่น่าแปลกอย่างหนึ่งของการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต คือ ร้อยละ 70 ของบัตรเครดิตปลอมที่ใช้บนอินเตอร์เน็ต มักจะใช้กับเว็บ
ไซที่ให้บริการประมูลสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เว็บไซต์ อีเบย์ ดอทคอม (ebay.com) ซึ่งภายหลัง อีเบย์ ได้มีการเปลี่ยนมาใช้
เทคโนโลยี การชำระเงินด้วยระบบ pay pal ซึ่งเป็นการส่งอีเมล์เพื่อชำระเงินให้แก่ร้านค้าและวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากในประเทศสหรัฐ-
อเมริกา ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงรายละเอียด ของการชำระเงินโดยวิธีนี้ในโอกาสต่อไป

สิ่งหนึ่งที่หนังสือพิมพ์ เอเชียนวอลล์สตรีท เจอนัล ได้ลงตีพิมพ์ไว้และผมคิดว่าน่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการขายสินค้า
หรือให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ชาวไทยโดยเฉพาะเจ้าของเว็บไซต์หรือเว็บมาสเตอร์ทั่วไป คือ มาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอม
บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งบริษัท Yahoo Inc ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ชื่อดัง ยาฮู ดอทคอม (yahoo.com) ได้เสนอมาตรการหรือข้อสังเกต 9 ข้อ
ที่รวบรวมมาจากประสบการณ์ของ yahoo ที่เผชิญกับปัญหาบัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ทว่า ผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ทมัก
จะใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้

สถานที่ส่งสินค้า (Suspect Ship Address) ผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตมักจะสั่งซื้อสินค้าและจะจัดส่งไปประเทศ
ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายน่าสงสัย อันได้แก่ ประเทศโรมาเนีย มาซิโดเนีย เบลารูส ปากีสถาน รัสเซีย ลิทัวเนีย อียิปต์ ไนจีเรีย โคลัมเบีย
มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าวข้างต้น เว็บไซต์ ยาฮู ระบุว่ามีอัตราการใช้บัตรเครดิตปลอมสูง
และส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะตรวจสอบที่อยู่และความถูกต้องของบัตรเครดิตได้
อีเมล์ที่ไม่สามารถตรวจสอบที่อยู่ย้อนหลังได้ (Untraceable E-Mail Address) ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ผู้ที่สั่งซื้อที่ใช้บัตร
เครดิตปลอมมักจะเป็นลูกค้าที่ใช้อีเมล์ฟรีในการสั่งซื้อหรือใช้บริการบนอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น อีเมล์ฟรีของเว็บไซต์ yahoo.com ,
hotmail.com และเว็บไซต์อื่น ๆ เนื่องจาก เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าจะไม่สามารถตรวจสอบที่อยู่ของเจ้าของอีเมล์
ฟรีดังกล่าวได้
การสั่งซื้อสินค้าราคาแพง (Expensive Items) ผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตมักจะสั่งซื้อสินค้าแบรนด์เนมที่มีราคา
แพงและสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก การใช้บัตรเครดิตปลอมนั้นมักจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวและต้องใช้หมายเลขบัตรเครดิต
ปลอมอื่นเพื่อทำธุรกรรมครั้งใหม่
การสั่งซื้อสินค้าหลายประเภท (Multiple Items) วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยม คือ ผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมมักจะสั่งซื้อสินค้า
ที่สามารถนำไปจำหน่ายต่อได้ในราคาสูงและง่ายแก่การจำหน่าย อาทิเช่น นาฬิกา ซาว์เบ้าด์ โดยสั่งซื้อเป็นจำนวนมากและ
หลาย ๆ ประเภท
ใช้บริการส่งมอบสินค้าแบบเร่งด่วน (Express Shipping) เพื่อป้องกันปัญหาการดำเนินคดีกับตนและเพื่อให้ผู้ขายสินค้า
ผ่านอินเตอร์เน็ตไม่มีเวลาตรวจสอบได้ทัน ผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมมักใช้บริการสั่งซื้อสินค้าโดยส่งมอบสินค้าแบบเร่งด่วน
เพื่อสินค้าจะได้ถึงตนเองโดยเร็วที่สุด
ที่อยู่ที่ส่งสินค้าจะแตกต่างกับที่อยู่ในใบแจ้งหนี้ (Shipping Address Differs From Billing Address)
ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมภายหลังจากสั่งซื้อสินค้าที่มีราคาแพงแล้วมักจะให้ส่งไปยังที่อยู่ที่แตกต่าง
จากที่อยู่ของเจ้าของบัตรเครดิต ซึ่งปรากฎอยู่บนใบแจ้งหนี้ของผู้ขาย ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้ขายเกิดความสับสนว่าแท้ที่จริงแล้ว
บุคคลใดเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าที่แท้จริงและต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเพื่อดำเนินคดีค่อนข้างมาก
ระบุที่อยู่ที่เรียกเก็บเงินที่น่าสงสัย (Suspicious Billing Address) ตัวอย่างของที่อยู่ที่ผู้ประกอบการทั้งหลายควรระมัดระวัง
คือ ที่อยู่ที่เรียกเก็บเงินหรือส่งสินค้าเป็นตู้ ป.ณ. (P.O.Box) ซึ่งเป็นตู้ไปรษณีย์และสินค้าที่ไม่มีชื่อผู้รับที่แน่นอน ซึ่งในต่างประเทศ
นั้นภายหลังจากการสั่งซื้อสินค้าแล้ว ผู้ขายสามารถตรวจสอบที่อยู่ของผู้ซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยใช้โปรแกรมแผนที่ที่ให้
บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเช็คว่าที่อยู่ดังกล่าวมีจริงหรือไม่ ในส่วนของประเทศไทยนั้นแม้จะมีบริการเกี่ยวกับแผนที่ที่
อยู่บนอินเตอร์เน็ตแต่ก็เป็นบริการซึ่งผู้ใช้บริการต้องสมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น
เหตุนี้การตรวจสอบจึงอาจเป็นอุปสรรคมากกว่าการดำเนินการในต่างประเทศซึ่งมีความทันสมัยกว่า
เว็บไซต์ใหม่ (New Website) จากสถิติของการฉ้อโกงผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น เว็บไซต์ที่โดนฉ้อโกงผ่านทางอินเตอร์เน็ต
ส่วนใหญ่มักเป็นเว็บไซต์ที่เพิ่งเปิดใหม่ ซึ่งขาดประสบการณ์และเทคโนโลยีในการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมผ่านทาง
อินเตอร์เน็ต
การให้ส่งสินค้าโดยไม่ต้องมีการลงทะเบียน (Leave At Door) วิธีการนี้ใช้หลักจิตวิทยาง่าย ๆ ในการตรวจสอบ คือ
หากท่านผู้อ่านต้องการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตและชำระผ่านบัตรเครดิตในราคาที่ค่อนข้างสูงนั้น โดยปกติไม่ค่อยมี
บุคคลใดในโลกที่ให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ตนโดยไม่ได้มีการใช้ไปรษณีย์ลงทะเบียน เนื่องจาก โอกาสที่สินค้าอาจสูญหาย
มีค่อนข้างสูง
ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ข้อสังเกตดังกล่าวทั้ง 9 ประการ ของยาฮูนั้นเป็นวิธีการพื้นฐานแบบง่าย ๆ และดั้งเดิม แต่สามารถปรับใช้กับการสั่ง
ซื้อสินค้าผ่านทาง อิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ตอย่างได้ผล นอกจากนี้ ปัจจุบันมีวิธีการเข้ารหัสในการใช้บัตรเครดิต (Encryption) กล่าวคือ
ผู้ใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นของวีซ่าหรือ มาสเตอร์การ์ด ภายหลังจากการระบุหมายเลขบัตรเครดิตและวันหมดอายุของตนในการสั่งซื้อสินค้า
ผ่านทางอินเตอร์เน็ตแล้วจะต้องมีการใส่รหัสส่วนตัว เพื่อยืนยันความ ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง หากรหัสบัตรส่วนตัวดังกล่าวตรงกับข้อมูลที่ได้แจ้ง
กับบัตรเครดิต ธนาคารเจ้าของบัตรก็จะอนุมัติให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าได้ ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย เป็นอย่างมาก อีกวิธีการหนึ่งที่เป็นที่
นิยมเช่นกัน คือ การให้มี การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-cash) ซึ่งผู้ใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-cash จะเปิดบัญชีไว้กับร้านค้าที่ขายสินค้า
หรือธนาคารไว้แล้ว ซึ่งจะมีการคำนวณอัตราของเงินอิเล็กทรอนิกส์กับเงินจริงเหมือนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในปัจจุบัน อาทิเช่น ในเว็บไซต์
yumyai.com อาจระบุว่า เงิน 1 ยำ เท่ากับ 10 บาท เป็นต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาในส่วนของนักเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการรับแนวคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการ
ป้องกันการกระทำผิด และยับยั้งผู้ทำผิดกฎหมายไม่ให้เกิดความเสียหายหรือที่หลักกฎหมายอังกฤษ เรียกว่า “Lex Electronica” ในครั้งหน้าเราจะมาพูดกันถึงเรื่อง กฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้อง กับการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต อย่าลืมติดตามนะครับ

ตอน 2

มาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต (2)

ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
paiboona@mail.ilct.co.th

ครั้งที่แล้วผมได้คุยถึงมาตรการการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตปรากฎว่าได้รับอีเมลล์จากท่านผู้อ่านหลายรายว่าเป็น
เรื่องที่น่าสนใจและอยากให้ช่วยอธิบายว่ามีวิธีการตรวจสอบทางเทคนิค หรือไม่ว่าหมายเลขบัตรเครดิตที่ใช้นั้นเป็นหมายเลขบัตรเครดิต
ปลอม วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กันครับ

วิธีการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมวิธีการหนึ่งที่นิยมใช้คือการกำหนดวิธีการชำระเงินค่าซื้อขายสินค้าและบริการในข้อกำหนดและ
เงื่อนไข ( Terms & Condition)บนเว็บไซท์ให้มีความรัดกุมโดยเฉพาะในเรื่องการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการโดยอาจ
กำหนดให้ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจพิสูจน์ได้ว่าการใช้บัตรเครดิตปลอม เกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าของ
บัตรเครดิตเพราะกฎหมายที่ควบคุมเรื่องการใช้บัตรเครดิตทั่วโลกนั้นจะเหมือนกันคือให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภคหรือเจ้าของบัตรเป็นหลัก
เนื่องจากการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตนั้นมีเรื่องของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และแฮคเกอร์เข้ามาเกี่ยวข้องและก่อให้เกิดความเสียหาย
แก่ผู้บริโภคที่อยู่คนละประเทศกับผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและแก้ปัญหาเรื่องการใช้บัตรเครดิตปลอมบน
อินเตอร์เน็ต ผู้ที่ต้องรับผิดชอบจากการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตตามกฎหมายจึงมักจะเป็นธนาคารหรือร้านค้าที่ขายสินค้าหรือ
ให้บริการบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

ในส่วนของกฎหมายไทยก็มีหลักการเช่นเดียวกันโดยระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ในส่วนของประกาศคณะกรรมการ
ว่าด้วยสัญญา เรื่อง การให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2542 ข้อ 3 ระบุว่า

“ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจมีข้อตกลงกับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ให้ผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ผู้บริโภคเพียงแจ้งความ-
ประสงค์ขอชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการโดยการแจ้งหมายเลขบัตรเครดิตด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ
ทำการเรียกเก็บเงินจากผู้ประกอบธุรกิจ ต้องมีข้อสัญญาดังต่อไปนี้

(ก )ถ้าผู้บริโภคทักท้วงว่าไม่ได้เป็นผู้สั่งซื้อสินค้าหรือไม่ได้เป็นผู้ขอรับบริการ จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการดังกล่าว ผู้ประกอบธุรกิจจะระงับ
การเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภคทันที หรือกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้วจะคืนเงินให้กับผู้บริโภคทันที เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะพิสูจน์ได้ว่าภาระ
หนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำของผู้บริโภคเองและใช้สิทธิเรียกคืนจากผู้บริโภคในภายหลัง
(ข) ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะขอยกเลิกการซื้อสินค้หรือรับบริการภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อ หรือขอรับบริการ หรือภายใน
30 วัน นับแต่วันถึงกำหนดการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ในกรณีที่มีการกำหนดระยะเวลาส่งมอบสินค้าหรือบริการที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ถ้าผู้บริโภคพิสูจน์ได้ว่า
1) ไม่ได้รับสินค้า หรือไม่ได้รับบริการ หรือ
2)ได้รับแต่ไม่ตรงตามกำหนดเวลา หรือได้รับแล้วแต่ไม่ครบถ้วนหรือ ชำรุดบกพร่อง หรือไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ประกอบ
ธุรกิจจะระงับการเรียกเก็บเงินจากผู้บริโภค หรือในกรณีที่เรียกเก็บเงินไปแล้ว .....”

จากหลักกฎหมายข้างต้นหาก บริษัท ก เปิดบริการขายสินค้าหรือให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตและนาย ข เข้ามาสั่งซื้อสินค้าโดยใช้
หมายเลขบัตรเครดิตของนาย เอ ที่ได้มาโดยการขโมยหรือการแฮ็กมาจากระบบอินเตอร์เน็ต นายเอไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ธนาคาร
หรือบริษัท ก เรียกเก็บแต่อย่างใด

มาถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการบนอินเตอร์เน็ตจึงต้องรับความเสี่ยงค่อนข้างสูง วิธีการที่ร้านค้าบน
อินเตอร์เน็ตมักใช้ในการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมมี 2 วิธีครับ คือ

1) การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหมายเลขบัตรเครดิตที่ใช้บนอินเตอร์เน็ตกับธนาคารเจ้าของบัตร
(Verification Service)
ซึ่งโดยส่วนใหญ่การใช้บัตรเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าหรือบริการบนอินเตอร์เน็ตมักใช้บัตรเครดิตในเครือข่ายของ วีซ่า (VISA)
มาสเตอร์การ์ด (MASTERCARD) และ อเมริกันเอ็กเพรส ( AMERICAN EXPRESS) การตรวจสอบกับบริษัทผู้ให้บริการ
บัตรเครดิตดังกล่าวจึงแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งโดยร้านค้าที่ขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตและต้องการได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง
ของบัตรเครดิตของลูกค้าที่ใช้บริการซื้อสินค้าหรือบริการต้องสมัครเพื่อใช้บริการตรวจสอบจากวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ด ท่านผู้อ่านที่
สนใจบริการนี้อาจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ //www.visa.com //www.americanexpress.com หรือ
//www.mastercard.com ครับ

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบดังกล่าวก็แก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นเพราะในกรณีที่ผู้ที่มีเจตนาทุจริตใช้หมายเลขบัตรเครดิต
และวันหมดอายุจริงในการซื้อสินค้า การตรวจสอบดังกล่าวก็ไม่สามารถคลุมถึงเว้นแต่ผู้ใช้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวจะใช้รหัสส่วนตัว
(password)เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมผ่านทางอินเตอร์เน็ตอีกครั้งหนึ่งซึ่งการใช้รหัสดังกล่าวจะทำให้แก้ไขปัญหาการใช้บัตร
เครดิตปลอมรวมถึงปัญหาแฮกเกอร์บนอินเตอร์เน็ตได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ต้องการซื้อหนังสือผ่านเว็บไซท์อเมซอนดอทคอม
นาย ก แฮ็กหรือขโมยหมายเลขบัตรเครดิตของนาย ข มาใช้ หาก นาย ข ใช้รหัสผ่านเพื่อยืนยันการใช้บัตรเครดิตอีกครั้ง นาย ก หากไม่
ทราบรหัสดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำการซื้อขายบนอินเตอร์เน็ตได้

2) วิธีการตรวจสอบสถานที่ส่งมอบสินค้า
วิธีนี้เป็นที่นิยมมากในอเมริกาเนื่องจากในอเมริกามีการให้บริการตรวจสอบว่าที่อยู่ที่จัดส่งสินค้าว่ามีอยู่จริงและเป็นที่อยู่เดียวกับ
เจ้าของบัตรหรือไม่ ในประเทศไทยบริการนี้ยังมีอยู่น้อยและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะจึงไม่เป็นที่นิยมครับ

ในส่วนของตัวบทกฎหมายที่อาจนำมาใช้ดำเนินคดีกับผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมบ้างก็คงหนีไม่พ้นประมวลกฎหมายอาญาของเราคือ
มาตรา 341 ความผิดฐานฉ้อโกง เนื่องจาก การใช้บัตรเครดิตปลอมถือว่าเป็นการหลอกลวงไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยการแสดง
ข้อความอันเป็นเท็จ ครับซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนวิธีการดำเนินคดีก็ต้องตรวจสอบ
หมายเลขไอพีแอดเดรสหรือที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตและหลักฐานอื่นๆเพิ่มเติมครับ

จากสถิติปรากฎว่าประเทศไทยนั้นอัตราการใช้บัตรเครดิตปลอมนั้นยังไม่สูงมากนักหากเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่มีค่านิยมในการใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดที่สูงมาก คดีในประเทศไทยที่ผมรับทราบมาส่วนใหญ่มักเป็นคนใกล้ชิดกับเจ้าของบัตร-
เครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มที่นำเอาบัตรเครดิตหรือบางทีบัตรเอทีเอ็มไปใช้ส่วนตัวโดยเจ้าของบัตรไม่ทราบซึ่งกรณีดังกล่าวเจ้าของบัตรก็
อาจต้องรับผิดหากธนาคารเจ้าของบัตรพิสูจน์ได้ว่าเจ้าของบัตรประมาทเลินเล่อไม่ดูแลบัตรของตนให้ดี อีกคดีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ
ประมาณ 3-4 ปีที่แล้วในไทยคือ กรณีที่พนักงานของธนาคารแห่งหนึ่งที่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่บ้างแก้ไขระบบโปรแกรม
ของครื่องเอทีเอ็มของธนาคารแห่งหนึ่งให้จำรหัสผ่านของผู้ที่ใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเครดิตทุกคนที่เบิกถอนผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
โดยเขียนเป็นภาษาโคบอลท์เพิ่มเติมเข้าไปเป็น 8 หลัก หลังจากนั้นนำบัตรพลาสติกที่ตนเองจัดเตรียมไว้ปั๊มแถบแม่เหล็กและรหัสของ
บัตรเครดิตและเอทีเอ็มลงบนแผ่นพลาสติกเปล่าและนำไปเบิกถอนเงินเป็นจำนวนหลายสิบล้านบาท สุดท้ายก็ถูกจับกุมและดำเนินคดี
ในที่สุดครับ


สุดท้ายนี้ผมมีความเห็นว่า ทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการก็คือควรใช้เทคโลยีในการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมและ
พิจารณาการซื้อขายที่น่าสงสัยเป็นรายๆไปเหมือนที่เว็บไซท์ยาฮูดอทคอมแนะนำในครั้งที่แล้วครับ หรือไม่ก็ใช้โปรกรมคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่บางบริษัทนำมาขายเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงของการใช้บัตรเครดิตของผู้ซื้อแต่ละรายน่าจะแก้ไขปัญหาการ
ใช้บัตรเครดิตปลอมได้ในระดับหนึ่งครับ



//www.ecommerce.or.th/information/creditcard2.html










Create Date : 24 มีนาคม 2549
Last Update : 24 มีนาคม 2549 16:58:37 น. 0 comments
Counter : 570 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Jingjo72
 
Location :
Baden-Württemberg Germany

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Ich geh mit dir wohin du willst
auch bis ans Ende dieser Welt
am Meer, am Strand, wo Sonne scheint-
will ich mit dir alleine sein
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ : Es geht nichts über die Gesundheit Blog Counter
Source language Target language
  
Translations by Majstro Aplikaĵoj
[Add Jingjo72's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com