Iceicy Blog Dhamma หน้าแรก หลักธรรม ปรัชญา ท่องเที่ยวธรรม เก็บตกธรรม บทสวดมนต์ บทเพลงธรรม เว็บบอร์ด iceicy ไอที ไดอารี่
Link to us:
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
3 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
วิธีดับทุกข์ เพราะ..ลูก(ตอนจบ)













วิธีดับทุกข์ เพราะ...ลูก (ตอนจบ)


ในขัตติยสูตร(๑๕/๑๐) พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า"ลูกคนใด เป็นลูกที่เชื่อฟัง.ลูกคนนั้น นับว่าเป็นลูกที่ประเสริฐสุดกว่าลูกทั้งปวง"


บทความเดิม(ตอนที่ ๑) บ้างส่วนที่กล่าวไว้ว่า "ต้นเหตุที่สำคัญคือ ทุกคนต้องแข่งขันกันมีวัตถุให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมความสุขทางเนื้อหนัง การเอารัดเอาเปรียบกัน ก็ย่อมจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว"


"สาเหตุอีกประกานหนึ่ง ที่ลูกๆ ไม่ให้ความเคารพหรือเชื่อฟังพ่อแม่ก็เกี่ยวกับการประพฤติตัวของพ่อแม่เอง เช่น"

๑. ไม่ให้ความอบอุ่นกับลูก
ถือว่ามีเงินให้ใช้ มีข้าวให้กินอิ่มท้องก็เป็นบุญแล้ว ลืมไปว่าคนเรา มีทั้งกายและใจ การให้อาหารก็ควรให้ให้ครบ คือให้ทั้งอาหารกายและอาหารใจ

๒.ทำตัวอย่างที่ไม่ดี

เช่น ติดเหล้า ติดการพนัน ติดผู้หญิง (เมียเก็บ-เมียเช่า) โกง หากินทางผิดกฎหมาย หรือเอาเปรียบสังคมฯ

๓.ถืออารมณ์มากกว่าเหตุผล
เมื่อลูกทำผิดเล็กน้อย ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่โตคอขาดบาดตาย ใช้อารมณ์ ใช้อำนาจเข้าข่ม ก็จะเอาชนะได้ก็แต่กาย แต่หาได้ชนะจิตใจลูกไม่

๔.รักลูกตามอารมณ์
คือ ต้องการให้ลูกทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ เช่น ต้องเรียนวิชานั้น ต้องทำงานอย่างนี้ ทำเหมือนลูกไม่มีหัวใจ เหตุเพียงเพราะพ่อหรือแม่ชอบ เป็นต้น

๕.จู้จี้ขี้บ่น
ทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ย่อมไม่ชอบคนจู้จี้ขี้บ่นด้วยกันทั้งสิ้น คนฟังมักรำคาญ ส่วนคนบ่นมักไม่รำคาญ พ่อแม่ที่อยากให้ลูกๆ อยู่ใกล้ชิน ควรจะระวังข้อนี้ไว้ด้วย

๖.เลี้ยงลูกให้ขี้เกียจ
คือ กลัวลูกจะเหนื่อยจะลำบาก เลยทำอะไรๆ แทนเสียหมด ลูกจะทำก็กลัวเสียของ ลูกก็เลยทำอะไรไม่เป็นบางคนโตจนเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว ซักผ้าของตัวเองก็ไม่เป็น หุงข้าวก็ไม่สุก..ก็เลยกลายเป็น "เลี้ยงลูกไม่ให้โต" ไป

การหาเงินหรือมีเงิน เป็นของดีควรทำ แต่เงินก็เป็นของกลางๆเป็นสมบัติกลาง ถ้าคนดีก็ใช้เงินให้เป็นคุณ ถ้าคนชั่วก็จะใช้เงินให้เป็นโทษ

ดังนั้น พ่อแม่ที่ดี จึงไม่ควรจะงมโข่ง ก้มหน้าหาแต่เงินลูกเดียว จนลืมปลูกฝังคุณธรรมลงในจิตใจลูก เพราะถ้าลูกมันชั่วแล้วเงินร้อยล้านพันล้าน มันก็ผลาญหมดในไม่ช้า แถมพาตัวเขาให้พินาศด้วย

"การเลี้ยงลูกที่ดี ควรใช้หลัก ๔ ข้อ คือ -แม่น้ำ - ลูกยอ - กอไผ่- ใส่เตา"

๑.แม่น้ำ
คือ เอาน้ำเย็นเข้าปลอบ พูดจาด้วยภาษาดอกไม้ เชื่อเถอะ! จิตใจของคนเรามิได้สร้างด้วยหินดอก เมื่อลูกรู้ว่ายังมีคนรักและเมตตาเขาด้วยความจริงใจ ด้วยเหตุผลและความเป็นจริง ไม่ใช้อารมณ์ เขาก็ย่อมจะเชื่อฟังบ้าง

๒.ลูกยอ
คือ ใช้วิธียกย่องชมเชย ในสิ่งที่ลูกมีและทำได้ ให้กำลังใจในการทำความดี ถ้าถลำทำชั่วก็ขอให้กลับตัวใหม่ อย่าประณามกันรุนแรง คนเราทำผิดกันได้ เมื่อผิดแล้วก็ต้องยอมรับ และต้องกลับตัว จึงจะถือว่ามีเชื้อของบัณฑิต

๓.กอไผ่
คือ การใช้เรียวไผ่หวดก้น เมื่อใช้ไม้นวมมาสองขั้นไม่สำเร็จ ก็จะต้องใช้ไม้แข็งกันบ้าง แต่ระวัง ต้องตีด้วยเหตุผลและความเป็นจริง อย่าได้เผลอใส่อารมณ์(โกรธ) บวกเข้าไปเป็นอันขาด ความหวังดีจะกลายเป็นร้ายไปทันที

๔.ใส่เตา
คือ การเผาหรือฌาปนกิจ เมื่อ ๓ ขั้นไม่สำเร็จ ก็ใช้ไม้สุดท้าย คือคิดว่า "เขาได้ตายจากเราไปแล้ว" ก็ควรจะเผาเขาไปเลย คือต้อง "ทำใจ" ให้ได้..
" ถ้าเขาเป็นลูกล้างลูกผลาญ ก็ขอให้จบกันเท่านี้ เขาจะขึ้นช้างลงม้า เข้าคุก ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกรรมของเขาเถิด "
การทำใจในข้อนี้ ถ้าพ่อแม่มีธรรมะในใจต่ำ ก็จะทำไม่ได้ เพราะไม่อาจจะตัดใจได้ แต่ถ้าศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธีแล้ว จะทำได้ง่ายมากนั่น คือ
๔.๑. ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง จะฝืนกฎแห่งกรรมไปหาได้ไม่"แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็ทรงอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรมเช่นกัน การที่เรามีลูกดี ระลึกถึงแล้วก็มีแต่ความชื่นใจและสบายใจก็เป็นเพราะผลของกุศลกรรม ที่เราทำไว้ ได้มาสนองเรา เกิดจากผลของกรรมดี
๔.๒.การที่เรามีลูกไม่ดี เกิดมาล้างผลาญ ก่อแต่ความทุกข์ และนำแต่ความเดือดร้อนมาให้ไม่รู้จักสิ้นสุดนั่นก็เป็นเพราะ ผลของอกุศลกรรมของเราเองทำไว้ และกำลังให้ผลเราอยู่
๔.๓.ทางที่ถูกต้อง เราไม่ควรจะตีโพยตีพาย ซึ่งจะไม่มีอะไรดีขึ้นเลย นอกจากจะเป็นโรคประสาทหรือเป็นบ้า ควรจะยอมรับความจริง แล้วปฏิบัติไปตามที่ถูกที่ควร ทำไม่ได้ก็วางอุเบกขา ถือว่า"เป็นกรรมของสัตว์"
๔.๔.อย่าไปคิดเปรียบเทียบว่า ลูกคนอื่นเขาไม่เหมือนลูกเรา ก็มัน"กรรมใครกรรมมัน" ต่างคนต่างทำ มันจะเหมือนกันได้อย่างไร? ถ้าเลือกได้ทุกคนก็เลือกเกิดเป็นราชา หรือเศรษฐีกันหมด
ควรจะคิดในแง่ดี และในแง่ของความเป็นจริงว่า เราได้ชดใช้กรรมเก่าเสียแต่ในบัดนี้ก็เป็นการดีแล้ว จะได้หมดเวรหมดกรรมกันไปเสียที ชาติหน้าจะได้ไม่ต้องไปใช้เขาอีก คิดได้อย่างนี้ เราก็สบายใจ

พ่อแม่เลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี หรือไม่อาจจะเลี้ยงได้ เพราะมีปู่ย่า ตายาย หรือญาติคอยให้ท้ายในทางที่ผิดๆ ลูกก็เลยเสียนิสัย ตามใจตัวเองและเห็นแก่ตัวจัด จนไม่อาจจะแก้ไขได้ ก็เป็น
กรรมของลูกด้วย.




Create Date : 03 สิงหาคม 2549
Last Update : 6 มิถุนายน 2551 14:35:27 น. 4 comments
Counter : 1307 Pageviews.

 
test


โดย: IceIcy (lcelcy ) วันที่: 10 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:48:45 น.  

 
.
. . . . . ธรรมมะ คือ ความดี. . . . .
. . . . . ความดี คือ ความพอดี. . . .
. . . . . ความพอดี คือความพอดี ที่เป็นจริง เหมาะ ควร ไม่เบียดเบียน ทำร้าย ทำลายคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

. พุทธะ คือผู้รู้
. พระธรรม คือความรู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงสละความสุขทางโลกทุกสิ่ง ทั้งพระราชอำนาจ พระราชทรัพย์ ฯลฯ ทรงทุ่มเทแรงใจ แรงกาย นำความรู้ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ อันเป็นสัจจะธรรม ( ความดีที่เป็นจริง ) นั้น ให้มนุษย์ทุกคนในโลก ได้เรียนรู้ นำมาปฏิบัติ มีทั้งชนิดใช้กับชาวบ้าน ( แบบสุขทางโลก โลกียะสุข สุขจากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่พอดี เหมาะควร ) และชาววัด ( โลกุตะระสุข สุขเหนือกว่าโลกีย์ พ้นจากโลกีย์ )
ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ เพียงทำให้จิตว่าง อย่า
. ยึดติดกับตนเอง ( เอาตนเองเป็นหลัก ที่เรียกว่าเห็นแก่ตัว ) ยึดติดกับวัตถุ ทรัพย์สิน สิ่งของ มุ่งมั่นเรียนรู้เพื่อให้เกิด
. ปัญญา แยก ถูก ผิด ชั่ว ดี ถี่ ห่าง ต่าง เหมือน ฯลฯ คิด เลือกได้ รู้ปัญหา รู้วิธีป้องกัน แก้ไข
. ปัญหา ต่าง ๆ ที่จะเกิด กับ จิตใจ และร่างกาย จะเบาบางลง ก็จะช่วยลดทุกข์ ให้ห่างคุก ภัย โศก โรค อุบัติเหตุ อันตราย ฯลฯ ความ
. ปิติสุข บุญ กุศล ที่เกิดจาก การปฏิติธรรม ก็จะมีได้ตามสมควร โดยไม่เกี่ยวกับ ชน ชั้น วรรณะ ฐานะ ยศศักดิ์ ตำแหน่ง ฯลฯ
. นิพพาน คือตาย สิ้นสุด จบลง หมดสิ้นจาก กิเลสต้นเหตุตันหาที่จิต ส่วนปรินิพาน คือ ชีวิตสิ้นสุด ร่างกายตาย ดับลง
การปฏิบัติธรรมต่อเนื่อง เป้าหมายคือการป้องกัน-กำจัด กิเลสใหม่ และตันหาเก่า ให้ละ ลด และเลิกได้ทั้งหมด เท่ากับตัดตอน ตัดวงจร ( เกิดขึ้น ดำเนินอยู่ จบลง ของกรรมเลวต่าง ๆ ) ทิ้งไป และไม่ทำให้กิเลสใหม่ "เกิด" ขึ้นมาใหม่อีก ( วงจรการเกิดของกรรมสิ้นสุด ไม่ใช่การเกิดของชาติชีวิต ตรงนี้ คนส่วนใหญ่ไปเข้าใจว่า ถ้าชีวิตตายลง ไม่ต้องไปเกิดใหม่ คือนิพพาน คนละเรื่องกันเลย ) เมื่อหมดต้นเหตุ ความอยากต่าง ๆ หมดสิ้น ไม่เหลือแม้แต่ความอยากได้นิพพาน นั่นแหละ จึงได้นิพพาน โดยไม่ยินดี ไม่รู้สึกว่าได้แล้ว นิพพาน จึงเป็น ความสุขแบบไร้สุข ไร้ทุกข์ ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยวัตถุ สิ่งของใด ๆ ไม่ต้องอิงโลกีย์ สุขแบบ ว่าง โล่ง โปร่ง สงบ เย็น เบา เป็น
. โลกุตะระสุข ( สุขเหนือโลก หรือพ้นจากโลกีย์) เป็นเป้าหมาย สูงสุดของ
. ชาววัด คือพระสงฆ์ ผู้มีความพร้อมที่จะเสียสละ เพื่อเรียนรู้ ฝึกได้ ปฏิบัติเป็น ถ่ายทอดพุทธธรรมได้ เป็นผู้แทนพระพุทธองค์ ทำหน้าที่เผยแพร่ พระธรรม ให้ชาวบ้าน ได้ รู้จัก
. พุทธธรรมแท้ ๆ ฝึกใช้ให้เป็น ก่อประโยชน์สุข ในชีวิตประจำวัน ทุกกริยาอาการได้ ส่วนใหญ่ เข้าใจผิด ปฏิบัติธรรมเพราะ ต้องการ ( อยาก ) สุข อยากได้นิพพาน จึงไม่เคยพบ เคยได้ นิพพาน แม้สักรายเดียว หรือบางองค์
. ปลีกวิเวก เพลินสุข จนลืมหน้าที่ ผู้สืบทอด พระธรรม แทนพระพุทธองค์ เกือบทุกวัดก็สวนทางกับหลักธรรมพระพุทธองค์ ที่
. สละวัง สละสุขทางโลกมาอยู่ป่า ด้วยการ
. ทำลายป่า มาสร้างวัง ( วัดใหญ่เกินพอดี เบียดเบียนชาว บ้าน )

. ชาติ หรือ ชาตะ แปลว่าเกิด
. ชาติของชีวิตคือ การเกิดขึ้นของชีวิต ดำรงค์อยู่ กระทั่งตาย = 1 ชาติชีวิต
. ชาติของกรรม ( การกระทำ ) เรื่องราวที่เกิด ดำเนินอยู่ สิ้นสุด จบลง 1 เรื่อง = 1 ชาติกรรม ต่างกับชาติของชีวิต
. ชาติก่อน ของกรรม คือการกระทำด้วยการคิด การพูด การกระทำหลาย ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านไปแล้ว
. ชาติหน้า ของกรรม คือส่วนที่เราต้องวางแผนจัดการ ทำให้ดีตามหลักธรรมในครั้งต่อ ๆ ไป ทุกเรื่อง เมื่อมีชีวิต จึง มีการกระทำ ( กรรม ) เกิดขึ้น มีเพียง
. มนุษย์ ( ประเสริฐ ( คือบุคคลที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดีมาแล้ว ) ) เท่านั้น ที่สามารถ กำหนด เลือกทำ กรรมดี และ เลว ได้ด้วยตนเอง
. กรรม (ในภาษาพุทธธรรมคือการกระทำ เป็นกริยา เป็นผู้กระทำ ส่วนในวิชาภาษาไทย กรรมคือผู้ถูกกระทำ ระวังอย่า งง) กรรม นั้นมีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ
. กรรมดี และ
. กรรมเลว ส่วนต่างคือ มาก น้อย บ่อย ถี่ กว่า ที่สุด โดยสร้างขึ้น แสดงออก กระทำการ ที่
. ใจ ( มโนกรรม = ความคิด จากจิต ใจ )
. วาจา ( วจีกรรม = คำพูด ด้วย ปากพูด ) และ
. กาย ( กายกรรม = การกระทำด้วยมือ เท้า และอวัยวะอื่น ๆ ) โดยสรุปคือ
. คิดดี พูดดี ทำดี
. กฎแห่งกรรม คือผลที่เกิดจากการกระทำใด ๆ ไปแล้ว ผลของ
. กรรมดี คือ
. บุญ และกุศล เทียบสุขแบบสงบ ร่มเย็นทางใจ มีสารสุข ( เอ็นโดร์ฟีล ) หลั่งทั่วทางกาย สุขภาพจึงแข็งแรง จิตใจแจ่มใส เพราะร่างกาย และจิตใจ ทำงาน สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันตลอดเวลา จึงมองโลกในด้านบวกเสมอ จะรู้สึก
. พอใจ รู้คุณค่า สิ่งของที่มีอยู่แล้ว ( เช่น นิ้วหัวแม่มือ ลองมัดไว้กลางผ่ามือ สมมุติว่า ขาดไป หรือใช้ผ้าดำปิดตา 1 ข้าง 2 ข้าง จะเป็นอย่างไร ) ใช้ความรู้ ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร ให้เป็นประโยขน์สุขแก่ชาวโลก โดยไม่เบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบ ฉ้อฉล ทุจริต ฉ้อราษฎร์ บังหลวง เบียดบัง โลภมาก ฯลฯ ทั้งตนเอง ญาติ และบริวาร ฯลฯ
. ส่วนผลของกรรมเลว คือ
. บาป ทุกข์ทั้งกาย และใจ จะตรงข้ามกับ บุญ กุศล มีสารทุกข์ ( อะดีนารีล ) หลั่งทั่วทางกาย สุขภาพจึงทรุดโทรม หน้าดำ หมองคล้ำ คร่ำเครียด ระทมอมทุกข์ ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ระบบย่อย ดูดซึม ระบบเลือด ระบบหายใจ ภูมิต้านทานโรค ความรู้สึก จำ นึก คิด ทำงานผิด เพี้ยน ไม่ปกติ ฯลฯ
. ผลกรรม จะดี เลว มาก น้อย ช้า เร็วบ้าง ขึ้นอย่กับชนิด ปริมาณ เวลา ของ
. ชาติกรรม (วงจรของการกระทำต่าง ๆ) หลายร้อยชาติกรรมในแต่ละวัน หลายล้านชาติกรรมใน 1 ชาติชีวิตเมื่อหักลบกันแล้ว ไม่มีใครสามารถหลีกหนี
. กฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) พ้น

. ธรรมชาติ = ธรรม+ชาติ ความพอดี ครบพอดี เช่นเมล็ดพืช ต้องได้ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ จึงเกิด และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีการปรับให้พอดี และ รักษาความ "พอดี " นั้นไว้ อย่างสอดคล้อง เหมาะสม ธรรมชาติ จึงอยู่ได้นาน เกิน 4,000 ล้านปีมาแล้ว
. ยุติธรรม = หยุด ที่ความพอดี ตกลงกันที่ความพอดี เป็นกลาง ที่ดี ถูกต้อง
. เป็นธรรม = ความพอดี ที่ทุกฝ่ายพอใจ
. คุณธรรม = ความพอดีที่มีคุณค่า คุณประโยขน์ ทั้งผู้ให้และผู้รับ
. จริยธรรม = ความพอดี ที่ผสมอยู่ในทุกการกระทำ สามารถรู้ เห็น พิสูจน์ได้
. วัฒนธรรม = พยายามรักษา ทนุบำรุง ทำความพอดี ที่มีอยู่แล้วให้คงไว้ สร้าง ปรับปรุงให้ความพอดีนั้น ดีขึ้น หรือดำรงค์ความพอดีนั้นให้ยาวนานที่สุด
. ธรรมกลาย = นำศรัทธา ของพระพุทธศาสนา อันเป็น
. ทรัพย์สินทางปัญญาของพระพุทธเจ้า มาตัดทอน ดัดแปลง แต่งเติม บิดเบือน เพื่อหลอกลวงทรัพย์ ของผู้ที่อ่อนด้อยทางปัญญา ความรู้ ความคิด ( จับจุดอ่อนของพวกบ้าบุญ อยากบุญโดยวิธีมักง่าย ชอบแบบสำเร็จรูป ) ด้วยวิธีการ ใช้
. พิธีกรรม แสดง อวดอ้าง อิทธิฤิทธิ์ ปาฏิหาริย์ พลังแฝง ความเล้นลับ ความวิเศษ สร้างนิยาย จากความฝัน สานเป็น
. อกุศโลบาย ( อบายที่ไม่เป็นกุศล ) ต่าง ๆ ลวงให้เข้าใจว่า บุญ และความสุข สงบ อันเป็นผลจากการทำดี นั้น มีขาย ซื้อ แลก ได้ด้วยเงิน ทอง ที่ดิน ทรัพย์สินต่าง ๆ ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งได้บุญมาก ทำนองนี้ หรือ สะเดาะเคราะห์ สลัดทิ้ง ลดบาปจากกรรมเลว ต่ออายุ ฯลฯ ด้วยการ แผ่อิทธิพล ขยายฐานอำนาจ เงิน ทรัพย์สินอื่น ๆทั้งด้านธุระกิจ การเมือง ฯลฯ ปลอมแปลง ปลอมปนหลักพุทธธรรม นำเผยแพร่ผ่านสารพัดสื่อทันสมัย ด้วยวีธีการตลาด ให้เงิน ทอง ที่ดิน ฯลฯ ไหลมา เทมา ต้นเหตุแห่งการทำให้สังคมผิดเพี้ยนด้วยเรื่องเลวทรามต่ำช้า ฯลฯ ชาวไทยเกินกว่าครึ่ง ไอคิว ต่ำกว่ามาตรฐาน ต้นตอเชื้อชั่วที่ทำลายพระพุทธศาสนา เป็นกากเดนชั่วของสังคม อาญชญากรรมร้ายรุนแรง ที่ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสนใจ เพราะการขาด
. ความรู้ ( วิชา )
. อวิชา ( ความไม่รู้ ) หากเราพอมีความรู้
. ธรรมมะขั้นพื้นฐาน ที่แท้จริง พอเข้าใจอยู่บ้าง เราจะรู้ทันที่ว่าเป็น ก๊วน แก๊ง ทำลายศาสนา ในคราบพระ ที่ใช้พลังทรัพย์จากการหลอกลวง ขยายฐานอำนาจ ไปทั่วประเทศ ทุกระดับชั้น หลายสาขาอาชีพ หลายสถาบัน และอีกหลายประเทศทั่วโลก ถึงขั้นมีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้งหมด ล้วนจัดเป็น
. อธรรม ( ไม่ใช่ธรรมมะ ) ไม่ใช่หลักพุทธศาสตร์ ที่แท้จริง เราจึงควรช่วยกันต่อต้าน อย่าส่งเสริม สนับสนุน ไม่เข้าไปมีส่วนร่วม รับการเฉลี่ย หารผลของบาปกรรมนั้น ๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

มีผล เพราะมีต้น ให้มีสติ ใช้ปัญญา เรียนรู้ หาสาเหตุ วิธีแก้ไข ปัญหาที่
. ต้นเหตุ
. ทุกข์ เกิดจาก กิเลส ( จากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) ก่อให้เกิด
. ตันหา ( ความอยาก )
. ภวตันหา คือ อยากได้ อยากมี อยากเป็น
. วิภวตันหา คืออยากไม่ให้ได้ อยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น ( ส่วนที่ใจไม่ชอบ เช่นโรค ภัย เจ็บปวด คุกตาราง ฯลฯ ) เมื่อความอยากได้ เอาแต่ได้ และความอยากไม่ อยากไม่ขัดใจนายใหญ่ นายหญิง ผู้เคยเกื้อกูล ฯลฯ จึงทำให้ เปลี่ยนจาก
. รัก ( รักแท้+เมตตา ) คือการให้ การเสียสละ กลายเป็นหวังแต่จะรับ จะเอามากกว่าให้ เรียกว่า
. โลภ ( รัก+ใคร่ คือชอบ และอยากได้ไว้ ครอบครอง เป็นเจ้าของ เช่นคู่ครอง ทรัพย์สิน เงิน ทอง อำนาจ ยศ ศักดิ์ ฯลฯ ) ถ้าไม่ได้ดังต้องการ มีคนโน้น คนนี้ คอยตรวจสอบ ขัดขวาง การโลภนั้น จึง
. โกรธ เมื่อโกรธ สารทุกข์ ( สารอดีนาลีน ) หลั่ง ทุกระบบทั่วร่างกายทำงาน ทำงานผิดพลาดหมด หน้าดำ คร่ำเครียด ร้อนรุ่มใจ หาทางออกไม่ได้ อำนาจเดิม เงินเท่าเดิมไม่พอ ต้องเสาะแสวงหาเพิ่ม เหมือนเด็กติดเกมส์ ต้องเอาชนะให้ได้ แค่โกรธอย่างเดียว ก็เทียบ นรกด่านแรก แล้ว ต่อไปจึง
. หลง คือการขาดสติ มาควบคุมการใช้ปัญญา แม้ปัญหาเพียงเล็กน้อย หากหลง ทางความคิด ตั้งต้นผิด ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ฟังใคร จะไปอุบล แต่ไปโผล่ที่ เชียงใหม่ หรือ ไหลไปนราธิวาส ไกลคนละทิศ แม้จะกลับที่เดิม ยังไปไม่ถูก

. วิธีแก้ไข ดู "ขั้นตอนการปฏิบัติพุทธธรรม" ย้อนขึ้นลงทีละ 1 ขั้น แต่มิใช่ไปหลงอยู่ในขั้นสมาธิ อย่างเดียว จนขาดสติ ไร้ปัญญา ซึ่งมีผู้คนถูกหลอก เสียหายไม่รู้ตัว มากมายคณานับ หลายร้อยปีมาแล้ว กำลังถูกหลอกอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องถูกหลอกไปอีกนาน เพราะเชื่อผู้นำที่ขาดธรรม ทั้งความรู้ และการปฏิบัติ แห่เชื่อ ตามกระแส การโฆษณา ชวนเชื่อ เพื่อหวังผลประโยชน์ต่าง ๆ
. วิธีรักษา แก้ไข ใช้ พุทธโอสถ พรหมวิหาร 4
. ส่วนใหญ่ ใช้เพียง
. เมตตา ( ศาสนาคริสต์ เรียกว่า ความรัก รัก+เมตตา ( โรแมนติค ) คือให้มากกว่ารับ ผลเป็นกุศล ส่วน รัก+โลภ ( อีโรติค ) คือรักใคร่ หวังรับมากกว่าให้ การแสดงออกมักเป็น อกุศโลบาย ต้องการ เป็นเจ้าของ อยากครอบครอง สิ่งที่ชอบนั้น ) เมตตาข้อเดียวใช้ให้ถูก ปริมาณ เวลา สถานที่ ( พอดี ) ก็
รักษา ทั้ง 4 อาการ รัก โลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมตตา คือการให้ แบบนามธรรม มักมองไม่ค่อยเห็น เช่นให้ความรัก การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตน ให้อภัย ให้โอกาส หากใช้เมตตาเป็นแล้ว จะไม่ทำ ผิดศีลทั้ง 5 ข้อ หรือแถม วิตามินเสริม
. กรุณา ช่วยเหลือ เกื้อกูล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นรูปธรรม เช่นให้ทรัพย์สิน สิ่งของ เงินทอง ฯลฯ แต่ต้องให้แบบไม่หวังผลตอบแทน และไม่มีใครต้องทุกข์ร้อนจากการให้ นั้น ๆ
. มุทิตา ยินดีกับผู้สำเร็จ ผู้ชนะในทางดี เห็นใจผู้ที่ อ่อนแอ ด้อยโอกาส ขาดพลัง พ่ายแพ้ สูญเสีย กลัว หลง ( เพราะไม่รู้ เป็นส่วนใหญ่ ) แต่หาก ให้ยาไปแล้ว ยังไม่สนใจจะดู จะดม จะกิน หรือกิน ทาบางส่วน บางเวลา ไม่ตามกฏ กติกา ย่อมไม่ได้ผล ข้อที่เหลือ คือ
. อุเบกขา คือการทำตัวเป็นกลาง ไม่ยัดเยียดกรรมดีให้เพิ่ม ( อบอุ่นมากไป ก็ร้อน ไม่พอดี ) ส่งไปไม่มีคนรับ เปลืองพลังเปล่า ๆ ( เหมือนโทรทัศน์บางช่อง ที่ไม่มีคนเปิดดู ) แต่เรายังคงต้อง ยึดมั่น ทำ
. สัมมาทิฐิ ( ดื้อในทางดี ความคิด ความเห็น พูด ทำในทางถูกธรรม ) ต่อไป ไม่ประชดประชัน พูดจาเยาะเย้ย เสียดสี หรือทำสิ่งเลวร้ายเพิ่ม เป็น
. มิจฉาทิฐิ ( ดื้อในทางผิด ) ซึ่งก่อให้เกิดกรรมติดลบได้

. ทุกข์ หนักสุดของมนุษย์ คือ
. เจ็บไข้ป่วย ทางกาย ( การไม่มีโรคเป็นโชคอย่างยิ่ง ) จะขอเลื่อน ลดหย่อน ผ่อนผัน ทดแทนไม่ได้ นอกจากป้องกัน รักษา และ
. ทุกข์หนักทางใจ คือการ
. เป็นหนี้ จะเป็นหนี้กรรม หนี้เงิน หนี้ชีวิต ฯลฯ ( การไม่มีหนี้ เป็นดีที่สุด )
เป้าหมายปฏิบัติธรรม สำหรับ ชาวบ้าน ( พุทธศานิกชนผู้มีหน้าที่ ช่วยกัน ทำนุ บำรุง พุทธศาสนา อย่างพอดี พอควร
หรือเรียกว่าฆราวาส มีสุขแบบชาวโลก โลกียะสุข เอาทุกข์ทิ้งไป เอาสุขมาใส่แทน ถ้าใส่มากเกินพอดี สะสมมาก เท่ากับเราแบกโลก ( โลกีย์ ) ไว้ ยิ่งมาก ก็ยิ่งหนัก *****

. เครื่องมือใช้ปฏิบัติธรรม คือ 5 ข้อห้าม 38 ข้อให้
. ศีล 5 ชาวพุทธที่โตแล้วทุกคนควรท่องได้ ส่วนจะเข้าใจ ทำได้กี่ข้อ ก็ลองตรวจสอบดู และ
. มงคลชีวิต 38 ข้อ
1. ไม่คบคนพาล ( คบ คือการพูดคุยกัน เกินกว่า 5 ประโยค พาลคือคนที่ไม่รู้ ผิด ถูก ชั่ว ดี บาป บุญ คุณ โทษ )
2. ให้คบคนดี ( อย่างน้อยต้องรู้จักรักตนเอง รักพ่อแม่ )
3. บูชาสิ่งที่ควรบูชา ชาวจีนจะ
. บูชาฟ้าและดินก่อน เพราะไม่ว่าจะไปที่ใด ก็เสมือนอยู่บนดิน และใต้ฟ้า จะทำอะไร แม้ไม่มีใครรู้ ใครเห็น แต่ฟ้าดินก็รู้ (ให้รู้จักกลัวบาป) และ
. บูชาบรรพชน ยกย่อง นับถือดุจเทพเช่นวีระบุรษ วีระสตรี ที่มีความซื่อสัตย์ สุจริต กตัญญูรู้คุณ เสียสละ มีเมตตาสูง กล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร เช่นเจ้าพ่อกวนอู เจ้าแม่กวนอิม ฯลฯ ปลูกฝังให้ลูกหลานได้ซึมซับ ความเป็นบุคคลตัวอย่างที่ดี เตรียมพร้อมที่จะเป็นบรรชนที่มีคนกราบไหว้บูชาได้อย่างเต็มใจ ในรุ่นต่อ ๆ ไป
. พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ผู้ที่มีพระคุณ ก็คือ บุลคล ที่เราควรให้ ความเคารพรัก นับถือ กราบไหว้ บูชาเช่นกัน ( ที่เหลือ อีก 35 ข้อลองหาอ่านดู ) ถ้าเน้นมงคลไปใส่วัตถุหมด จะได้
. วัตถุมงคล ( แต่ชีวิตจะไร้ มงคล )

(มีต่อ)


โดย: เพื่อนดี IP: 58.9.186.23 วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:5:27:58 น.  

 

(ต่อจากเดิม)
. ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมที่สำคัญ ก่อนการสร้างกรรมต่างๆ ( คิด พูด ลงมือทำ ) คือ
. สว่าง
. สอาด
. สงบ
. สมาธิ
. สติ
. ปัญญา
. เรียนรู้ ( ฟัง อ่าน ถาม เขียน คิด )
. สร้างทางเลือก
. ตัดสินใจ
. ลงมือทำ
. วิเคราะห์ แก้ไข
. วิจัย
. พัฒนา
โดยมีหลักธรรม ( ความดี ) เป็นแนวทาง และหลักชัยของชีวิต
. สว่าง คือเห็นชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่มองผิดเป็นถูก เห็นอย่างหนึ่งเป็นอีกอย่าง
. สอาด เป็นความสอาดระเบียบ ทั้งสถานที่ สิ่งแวดล้อม จิตใจ เมื่อมองดู เห็นเป็น ลานเดียว ตู้เดียว กลุ่มเดียว ฯลฯ สมองไม่ต้องทำงานสับสน ไปสู่สมาธิง่าย
. สงบ คือ สงบที่ใจ หรือ สิ่งแวดล้อมที่สงบ จะช่วยให้ใจสงบง่ายขึ้น
. สมาธิ มีผู้คิดค้นหลายร้อยวิธี หลายรูปแบบ วิปัสนา กรรมฐาน กำหนดลมหายใจ เดิน จงกลม การสวดมนต์ (บทสรรเสริญพระพุทธคุณ) ก็ช่วยให้เกิดสมาธิได้ และฯลฯ จะนั่ง นอน ยืน เดิน วิ่งสมาธิ ทำงาน เรียน เล่น หากจิตนิ่งได้ไม่วอกแวก เรียกสติได้เร็วแสดงว่ามีสมาธิดี การทำสมาธิทุกวิธี คือการหยุดพัก อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง เครียด เกลียด กลัว ฯลฯ เพื่อให้ เกิดความ โล่ง ว่างในจิตใจ ให้
. สามัญสำนึก ( คิดได้เอง แบบไม่ถูกผสม ปรุงแต่งด้วยอารมณ์ ความคิดพื้นฐาน ธรรมดา ปัญญาหลักเบื้องต้นเสมือนโปรแกรมสำเร็จรูป ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป เช่นการหากิน นอน ถ่าย สืบสายพันธุ การอยู่อาศัย ป้องกันหนีภัย ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ) ได้ทำงานเองบ้าง ( เป็นภวังค์ คล้าย ๆ ความฝัน หลายครั้งจะทำให้เกิดความคิดช่วยคลายปัญหา หลบภัยได้เอง ฯลฯ ) เมื่อจิตใจโปร่งใส ไม่ขุ่น ไม่หนัก ไม่แน่น ก็มี
. สติ ( การรู้ตัว ) ใช้เพื่อควบคุมอารมณ์ จากตันหา คือความอยาก และความกลัว ฯลฯ ให้มีเหลือน้อยสุด เมื่อใช้สติ ร่วมกับ
. ปัญญา ( ความคิด นึกข้อมูลเดิม จากที่เคยจำไว้ มาประมวลเพิ่ม ) และต้องตามด้วย
. หลักพุทธธรรม รู้ แยกแยะถูก ผิด ชั่วดี เลือกวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้
. กรรม ( การกระทำ ด้วย การคิด พูด และการใช้อวัยวะต่างของร่างกาย ลงมือทำ ) จากธรรมมะปัญญา มีผลเป็น
. บุญ กุศล สั่งสมเป็น
. บารมี ( บุญสมทบ บุญสะสม ) ให้ลูกหลาน บริวาร ที่ปฏิบัติดี ได้เบิกใช้บารมีได้ ตามควร เมื่อบุตร ที่เคย
. บวชเรียน ( สมัยโบราณไม่มีโรงเรียน ครู อาจารย์ ) อ่านออก เขียนได้ รู้ ฝึกปฏิบัติธรรมเป็น แยก บาป บุญ คุณ โทษได้ มี
. ศีลธรรม ( ศีลคือข้อห้าม ธรรม คือข้อให้ ปฏิบัติ ) ฝังติดในจิตใจ มักทำแต่ความดี หลีก เลี่ยง ละเว้นการทำความชั่ว พ่อแม่ จึงหมดห่วง มีแต่ความสุขใจ เสมือนได้
. ขึ้นสวรรค์ ( กุศโลบาย ให้คนเห็นจากภาพ ให้ดูแตกต่าง ครงข้ามกับภาพความเจ็บ ปวด ทุกข์ทรมาน จากนรก ผสมกับศิลปะ ชดเชยส่วนขาด นางฟ้าจึงต้องมีรูปร่างดี และ เปลือยอก เหาะเหินแบบนั่งลอยไป แบบสบาย ๆ ฝรั่งนอนเหาะ ลู่ลม ผมปลิว จีน เหาะแบบยืนบนเมฆ เน้นสง่างาม ไม่ต้องหุงหาอาหาร อิ่มทิพย์ ฯลฯ แล้วแต่จินตนาการ )

. ธรรมมะปัญญา ( ความดี+ความรู้คู่ความคิด ช่วยให้เก่ง และดี ) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ใช้คู่กับสติ เพื่อให้รู้ตัว อยู่ตลอดเวลา ว่า สิ่งที่ คิด พูด ทำ จะก่อให้ ตนเอง หรือผู้อื่น เป็น ทุกข์ เดือดร้อน กาย ใจ หรือไม่ เป็นการให้ ( ทาน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ) หรือเป็นการเอา ( โลภ เห็นแก่ตัว การเบียดเบียน) มีผลทำให้ ผู้อื่น ตลอดจนสรรพสัตว์ อยู่ดี มีสุข หรือ ทุกข์เพียงไร และกรรม ( การกระทำ ) ต่าง ๆ มีส่วนผสมของศีลธรรม มากน้อยเพียงไร หัวข้อหลักธรรมนี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
. ขั้นอนุบาล ต้องมี รูป ภาพ อุปกรณ์ พิธีกรรม
. กุศโลบาย ( อุบาย+กุศล ) นิทาน มากหน่อย ( แต่ระวังอย่าเพลินกับอุปกรณ์ หรือพิธีกรรมมากเกินไป อย่าให้ความอยากนำ จะหลงทิศผิดทาง ) ถ้าถึง
. ขั้นอุดม ( มหาวิทยาลัย ) มักไม่ได้ใช้พิธีกรรม อุปกรณ์เสริม ฯลฯ มากนัก ลองสังเกตุดู จะรู้ ว่าใคร อยู่ระดับใหน เราจึงต้องไป
. วัด กันบ่อย ๆ เพื่อ "วัด" ความก้าวหน้าทางธรรม กับตนเอง ที่ผ่านมา และ "วัด" กับผู้อื่น ว่า เรามีหลักธรรม ได้ใช้
. ประโยชน์ธรรม ( จากทรัพย์สินทางปัญญา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ) มาก น้อย เพียงไรเพื่อนำไปใช้ "วัด"
. ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ที่เป็นประโยชน์ต่อ ครอบครัว ถึงสังคมประเทศ ต่อสิ่งแวดล้อมโลก อย่าให้
. ค่าของมูล ( มูลค่า ) มากกว่า
. ค่าของคุณ ( คุณค่า คุณภาพ คุณประโยชน์ ) บางคนมุ่งเน้นศึกษาโดยเริ่มที่ประวัติพระพุทธเจ้า จึงกลายเป็นเรียนประวัติศาสตร์ ส่วนหนึ่งเป็นนักวิชาการ ส่วนหนึ่งเป็นนักปรัชญาไป

. พอเพียง คือ การจัดหา รวบรวม หรือนำทรัพยากร ที่มีอยู่แล้ว เช่นที่ดิน แหล่งน้ำ พันธุพืช สัว์เลี้ยง เครื่องมือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด พัฒนา ฯลฯ มาผสมผสาน ลงมือทำให้สอดคล้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเต็มที่ กับบุคคล อาชีพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ก็จะมีกิน มีใช้ได้อย่าง พอเพียง ยั่งยืน ส่วนที่เกินพอ จะนำไปแบ่งปัน แลกเปลี่ยน หรือขาย ก็ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเงิน
. ใช้ทุกอย่างเท่าที่มีอยู่ หรือจะจัดซื้อ จัดหาเพิ่มเติม เท่าที่จำเป็นจริง ๆ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านดี ได้กว้าง ได้มาก เท่ากับเข้าใจ และใช้หลักพอเพียงเป็นแล้ว ( ไม่ใช่ 30 50 ไร่ ตามตัวอย่างในพระราชดำรัส พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ) ไม่มีที่ดิน ไม่ทำเกษตร ก็ใช้ทฤษฎีพระราชทานนี้ได้ ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นแก่การดำรงค์ชีวิต ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณา ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่ตามกระแส ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ประมาท ไม่สร้างหนี้สิน ( ไม่คุ้มทุน ถ้าไม่มีความสามารถในการทำกำไรอย่างสูงด้วยการผูกขาด เพราะต้นทุนต่าง ๆ ถูกบวกกำไรมาก หลายทอด ดอกเบี้ยแพง และ คอยกัดกินทุนตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด ) อย่าให้ค่าของมูล (มูลค่า) มากกว่าค่าของคุณ (คุณค่า) มี 100 บาท 1,000,000 บาท หรือแสนล้าน ก็มีสุข มีทุกข์ผสมปนอยู่เหมือนกัน สุขทุกข์อยู่ที่บุญและะบาป จากการทำดี หรือทำเลว ไม่ใช่อยู่ที่ปริมาณของเงิน วัตถุ ทรัพย์สิน สิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าโลกาจะอภิวัฒน์ขนาดใด ปัจจัย5 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่แท้จริงของมนุษย์เหมือนเดิม
"พอเพียง" จึงเหมาะกับทุกสาขา อาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาลสมัย ทุกประเทศทั่วโลก อีกข้อ สำคัญ
. ความจน นอกจากไม่เคยทำร้ายใครแล้ว จุดเกิดอัจฉริยะเอก และ ทุกภูมิปัญญาท้องถิ่น นวรรตกรรม การพัฒนา ในทางที่ดีงาม มีคุณค่า คุณประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ และ สรรพสิ่งในโลก ล้วนเกิดจาก บุคคลที่ไม่ร่ำรวยวัตถุทั้งสิ้น ( มารวยภายหลัง ) เพียง ควรความกลัว "จนปัญญา" มากกว่า
. รู้จักพอ ก็เป็นสุข หากไม่รู้จักพอ ไม่เคยพอ เท่าไรก็ไม่พอ แม้มีทรัพย์กี่แสนล้าน ก็ต้องทุกข์ ทรมานตลอดไป ไม่สิ้นสุด การกินไม่ได้ นอนไม่หลับ สุขภาพเสื่อมถอย ก่อนวัยอันควร ก็เปรียบดั่ง นรก เช่นกัน


. การฝันคือการที่ สามัญสำนึก และ
. จิตนอกสำนึก ( จิตที่ทำงานได้เอง โดยอัตตโนมัติ หลังจากผ่านการฝึกฝนมาแล้วจนชำนาญ เช่นกิน เดิน ฯลฯ จนเป็นนิสัยถาวร ) ทำงานร่วมกัน
. ปลุกให้ร่างกายตื่น เพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ขณะนอนหลับ เช่นนอนกดทับเส้นเลือด ปวดปัสสาวะ หิวจัด หนาวจัด ฯลฯ โดยการนำเรื่องราว ที่เคยได้พบ อ่าน ฟัง จากความจำ มาสร้างผสมกันเป็นเรื่องราว ทั้งเรื่องทางดี และทางร้าย น่ากลัว น่าเกลียด ตื่นเต้น ฯลฯ เปลี่ยนเรื่อง ผสมกันไปเรื่อย ๆ หลายสิบเรื่อง เรื่องที่ปลุกให้ตื่น และจำได้ คือเรื่องที่เราเคยให้ความสำคัญมากที่สุด มีทั้งดีใจ เศร้า เสียใจ ตกใจสุด ๆ ( โรคไหลตาย หรือหลับตายในรถ ร่างกายอาจได้รับสารพิษ อากาศพิษ อ่อนเพลียมาก ส่วนหนึ่งเลือดข้นมาก เพราะขาดน้ำ เมื่อความฝันปลุกไม่ตื่น ขาดอ๊อกซิเจน หรือสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เซล์ลสมองตาย สั่งการไม่ได้ทั้งระบบ จึงเสียชีวิต ) ส่วน
. จิตในสำนึก ( ซึ่งมักเป็นเรื่องใหม่ ทั้งดี และเลว ต้องตั้งใจ ตั้งสติ ให้รู้ตัว ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ใช้พลังงานในการสั่งการมาก จึงมักรู้สึกอ่อนเพลีย มากกว่าปกติ เช่นฝึกขับรถใหม่ ๆ ฝึกว่ายน้ำ ฯลฯ ) จิตในสำนึก จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง หากเราทำซ้ำ จนเกิดความเคยชิน ชำนาญจะทำให้
. จิตนอกสำนึก สร้าง อัตตโนมัติ ทำได้โดยไม่ต้องใช้จิตสั่งทั้งระบบ เป็น
. นิสัยถาวร ( สันดาน ) ต่อไป จนกว่าจิตในสำนึกจะสามารถสร้างนิสัยถาวรใหม่มาทดแทน

. การสูบบุหรี่ พิษภัยมากกว่า 4 พันรายการ แต่ไม่ได้ทำให้ผู้เสพชัก ตาย เดี๋ยวนั้นทันที กว่าจะมีอาการรู้สึกรับไม่ได้ เจ็บ ปวด อึดอัด ทรมานสุด ๆ มักสายเกินไป ส่วนใหญ่การตรวจพบ จะอยู่ในช่วงที่ปอด ถุงลม เหลือสภาพใช้งานได้ไม่ถุง30 % เพราะความดีของระบบการทำงานอวัยวะภายในในร่างการมนุษย์ ที่ปรับสภาพ เสริมสภาพได้อย่างอดทนมาก ๆ ๆ ยอมถูกทำลายแบบไม่ฟ้อง จนถึงนาทีสุดท้าย
. การออกกำลังกายที่ดี การนอนหลับสนิท การได้กินอาหาร-น้ำที่ดี อากาศดี ทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ ผลบุญทำให้อารมณ์แจ่มใส ฯลฯ จะมีการหลั่งสารสุขตามธรรมชาติ ทำให้เกิดพลังกาย พลังใจเต็มเปี่ยม ผิวดี หน้าตาสดชื่นแจ่มใส การทำสมาธิ ให้จิตว่าง การมีวินัย ความเคยชินที่ดี ช่วยลดการใช้พลังจิต จึงไม่อ่อนเพลีย หรือเกิดอาการอยากเสพสารสุขมากนัก
. การเสพสุขแบบบังเอิญ เช่นการกินอาหารที่มีสารระคายเคือง เช่นพริก มะนาว ร้อนจัด เย็นจัด ฯลฯ หรือได้รับสารพิษต่าง ๆ ทำให้ร่างการต้องปรับตัวเพื่อต่อต้าน ทำลายพิษ โดยการขับสารสารหลายชนิด เพื่อย่อยสลาย ทำลาย รวมถึงหลั่งสารสุขเพื่อช่วยลดอาการระคายเคือง เผ็ด ร้อน เจ็บปวด คัน ต่าง ๆ
. สารเสพติด ทุกประเภท เช่นหมากพลู ชา กาแฟ กัญชา ฝิ่น ยาบ้า เหล้า เบียร์ บุหรี่ เสพบุญปลอม เสพคำยกยอ ละครน้ำเน่า โฆษณาหลอกลวงฯลฯ ทำให้เกิดการหลั่งสารสุขแบบถูกบังคับ ตามปริมาณ สารพิษ ภาพ วาจาเคลือบพิษนั้น เป็นสารสุขแบบมักง่าย ทำลายร่างกาย จิตใจทุกด้านมากกว่าสารสุขที่ได้รับ จึงเกิดการขาดดุลย์ เมื่อเสพบ่อยจะเกิดความเคยชิน เกิดการเสพติด ร่างกายปรับสภาพเสมือนเป็นส่วนหนึ่งจนขาดไม่ได้ ลด ละ เลิกไม่ได้ เพราะพลังกาย พลังใจถูกทำลายจนอ่อนแอ ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจ ไฝ่ดี มีพลังจิตใจเข้มแข็งมั่นคงจริงจัง จึงจะสามารถเอาชนะได้แบบถาวร รวมถึงพิษภัยของการดื่มเหล้า ความหายนะจากการเล่นการพนันทุกประเภท ที่มีมูลค่าความสูญเสียทั้งชีตวิตและทรัพย์สินมากมายมหาศาล แม้บางข้อจะไม่มีใน ศีล 5
แต่ถ้าเราสามารถเข้าถึงขั้นปัญญา คิดออก แยกเป็น เลือกได้ ห้ามใจอยู่ ย่อมเป็นเสมือนเกาะป้องกัน กรรมเลวต่าง ๆ ไม่ให้เกิดกับเรา กับคนที่เรารัก และคนใกล้ชิดที่ติดเชื้อความดีไปด้วย

. สงคราม อาชญากรรม ทั้งหมด ปล้น จี้ ตี ชิง ข่มขืน ฆ่า วางเพลิง การพนัน ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ทุจริต คดโกง ลวงทรัพย์ เสพติดเงินทอง และ อำนาจ ฯลฯ ฉ้อราษฎร์ บังหลวง รวมถึงเรื่อง
. อัปมงคล ( ไม่เป็นมงคล ) ต่าง ๆ ล้วนเกิด จากโรค
. ขาดธรรมะ ทั้งสิ้น
. ผู้นำ ผู้ใหญ่ กระแสสังคม สื่อภาพ เสียง สิ่งพิมพ์ สิ่งแวดล้อม พระสงฆ์ ครู อาจารย์ วิชาการ ความรู้ หลักธรรม ฯลฯ ล้วนมีอิทธิพล ต่อการรับรู้ ในการปลูก ฝัง จิตสำนึก ของทุกผู้คน โดยเฉพาะ เด็ก เยาวชน หากทุกคน มีพุทธธรรมที่แท้จริง
. ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ ใช้ความรู้ สติ ปัญญา คิดแยก ถูก ผิด บาป บุญ คุณ โทษ ฯลฯ ได้ เลือกทำเป็น แก้ปัญหาได้คิด พูด และ ทำ ในเรื่องดี กรรมที่เป็นบุญ กุศล จากการทำความดีนั้น จะส่งผลให้เกิด สันติสุข ในทุกสังคม ของ มนุษย์ ได้อย่างถาวร
. เป้าหมาย ธรรมมะ ของทุกศาสนา มีจุดหมายคล้าย ๆ กัน คือให้ทำดี อย่างต่อเนื่อง แตกต่างที่ขั้นตอน พิธีกรรม ที่ทำให้มีสติ รู้ และใช้ปัญญา ศรัทธาทำในสิ่งดี ๆ เพื่อให้เกิด ประโยชน์สุข ต่อ ตนเอง และมวลมนุษย์ชาติ และสรรพชีวิตในโลก เพื่อสันติภาพ สันติสุข ที่แท้จริง ตลอดไป
. ถ้าไม่รีบวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งโรคให้เจอ และรีบรักษาให้ทันเวลา โดยความร่วมมือ ของทุกฝ่าย เมื่อหลายโรคแทรก รุมเร้า ยากที่จะเยียวยา รักษา ถึงเวลานั้น อัจฉริยะหมอสุดยอด เก่งกาจเพียงไร ก็ยากที่จะรักษาให้รอดได้ และ
. ความทุกข์ ยาก แสนเข็ญ ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงหาทางดับให้แล้วนั้น จะยิ่งกระจาย ความเดือดร้อน แพร่ระบาด มากมาย รวดเร็ว และทั่วถึง เกินกว่าที่
เคยคาดคิด

พุทธธรรม ในมุมมองด้วยความปารถนาดี
กิจศิริ เลิศบุญสุข ปรับปรุง ๕ ธค. ๒๕๕๐


โดย: เพื่อนดี IP: 58.9.186.23 วันที่: 11 มีนาคม 2551 เวลา:5:30:33 น.  

 
ขอบคุณสำหรับหลักธรรมวันนี้อ่านแล้วรู้สึกสบายใจมากค่ะ


โดย: pk IP: 58.147.42.239 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:10:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

lcelcy
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มิถุนายน เดือนดี๊ดี " จุดกำเนิด iceicy's blog Dhamma"
ครบรอบ ๗ ปี แล้วค่ะ"

คนมาจากไหน?
เริ่มจาก เกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย
คนก็หายไป !!...แต่ความดีไม่เคยหายไปด้วย..
ทุกคนจำวันเกิดตัวเองได้ไหม... ก็คงจำได้กันหมดอะน่ะ
เคยคิดจะทำอะไรดีดี....
ให้กับตัวเองและคนอื่น..ในวันครบรอบวันเกิดของตัวเองไหมค่ะ?

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ (๗ ปีได้ผ่านมาแล้ว)
ฉันได้ทำสิ่งที่ชอบ และชอบในสิ่งที่ฉันได้ทำ
สิ่งนั้น คือ " บล๊อกเกี่ยวกับหลักธรรมข้อคิดต่างๆ "
เริ่มจากทำไม่เป็น ลองผิดลองถูก ทำจนสำเร็จ
ทั้งนี้ ขอขอบพระคุณ " กำลังใจ " คนรอบข้าง
และทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม iceicy's blog Dhamma น่ะค่ะ
(ซึ้งน่ะซึ้งน่ะเนี่ย!!!!)
<

วัตถุประสงค์ iceicy blog Dhamma
1. เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่กับประเทศไทย
2. เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนา
3. เพื่อแบ่งปันความรู้ทางพระพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนข่าวสารทั่วไป
4. สรรเสริญบุคคลที่ควรสรรเสริญ ยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

Google



Link to us:
ท่านสามารถนำ code ของ banner นี้
ไปติดที่เว็บของท่านได้ตามสะดวกน่ะค่ะ
ขอขอบคุณและขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วยน่ะค่ะ

Iceicy blog dhamma



New Comments
Friends' blogs
[Add lcelcy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.