Group Blog
มีนาคม 2552

1
2
3
4
6
7
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
27
28
30
 
 
All Blog
ความสุขคืออะไร
ความสุขคือความสบายหรือว่าความสำราญแยกออกได้เป็นสองฝ่ายคือ ความสุขทางกายกับความสุขทางใจ ความสุขทางกาย ได้แก่ ความสุขที่สัมผัสได้จากประสาททั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส และผิวหนัง เรียกว่า กามคุณ5 จัดว่าเป็นฝ่ายรูป หรือความสุขที่เกิดจากเนื้อหนังมังสา อันเป็นสิ่งสกปรก ความสุขทางใจ ได้แก่ความสุขที่สัมผัสได้ทางจิตคือความสบายใจ ความสุขใจ ความอิ่มใจ อันเกิดจากจิตใจที่สงบและเย็น จัดว่าเป็นฝ่ายนามอันเป็นความสุขที่สะอาด ความสุขทั้งกายและใจ ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กันไม่อาจจะแยกให้ขาดจากกันได้ เพราะต้องพึ่งพาอาศัยกัน จะขาดเสียอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่

การปฏิบัติให้เกิดความพอดี ไม่มากและไม่น้อยเกินไปไม่ว่าในส่วนกายหรือใจก็ตาม ก็ย่อมจะเกิดความสุขโดยปราศจากความทุกข์ที่แอบแฝงตามมา ในความสุขทั้งสองฝ่ายนี้ความสุขทางใจนับว่าเป็นยอดแห่งความสุข ทั้งหมดถ้าเรากระทำได้สิ่งใดแล้วจิตใจไม่มีความสุขแม้ว่าเราจะมีวัตถุมากมายครบถ้วนคอยอำนวยความสุขทุกรูปแบบก็หาได้ให้เกิดความสุขที่สมบูรณ์หรือแท้จริงไม่ แต่ในทางตรงกันข้ามแม้ว่าทางร่างกายจะขาดแคลนวัตถุที่จะอำนวยความสุขแต่ถ้าจิตใจมันมีปิติหล่อเลี้ยง มีความพอใจมีความสงบใจคนก็ย่อมจะประสบความสุขได้ในการมีเครื่องอำนวยความสุขมากเสียอีก กลับจะเป็นมารหรืออุปสรรคคอยขัดขวางหรือบั่นทอนไม่ให้ผู้นั้นได้พบกับความสุขที่แท้จริงเสียด้วยซ้ำไป

ในคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงพร่ำสอนทรงย้ำให้พระมีชีวิตอยู่อย่างสันโดษและมักน้อยทำให้มีอาหารหรือปัจจัย 4 หล่อเลี้ยงชีวิต เหมือนน้ำมันหยอดเพลาเกวียนเท่านั้น จากพุทธปฏิทานนี้ทางบ้านผู้ครองเรื่อนก็สามารถประยุกต์เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ นั้นคืออย่าให้ตึงจนถึงเดือดร้อนและอย่าให้หย่อนจนตัวเป็นขน หลักมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลางไม่ตึงไม่หย่อนจึงเป็นแนวทางที่ควรนำมาดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสุขในชีวิตประจำวันได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าใช้เป็นและใช้ให้ถูกต้องกับกาลเทศะบุคคลและอัตภาพของตน ความว่าความสุขก็คือความสบายกายและสบายใจ ในสองอย่างนี้ ความสุขใจนับว่าเป็นยอดแห่งความสุขในโลกและทุกคนก็สามารถที่จะบรรลุความสุขได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุที่จะให้เกิดความสุขไว้มากมายหลายแห่งและหลายระดับตั้งแต่ระดับความสุขของผู้ครองเรือนจนถึงระดับความสุขของผู้ไม่ครองเรือน คือนักบวชทั้งหลาย ในบรรดาคำสอนอันมากมายที่จะเป็นบันไดไปสู่ความสุขนั้นมีอยู่ข้อหนึ่งที่เห็นว่ารัดกุมและสามารถครอบคลุมถึงความหมายของปัญหาข้างต้นได้ครบถ้วนได้แก่พุทธวจนะที่มาในพระธรรมบท ที่ว่าเว้นเหตุแห่งทุกข์ย่อมมีสุขในที่ทั้งปวง เมื่อท่านได้อ่านพุทธภาษิตนี้แล้วบางท่านอาจจะร้องว่ามันกว้างเกินไป จนจับหลักไม่ไดก็ถูกละความทุกข์นั้นมีมากมาย เราก็ควรที่จะต้องหาทางเส้น ต้นเหตที่จะให้เกิดความทุกข์ต่างๆเหล่านั้นให้มากที่สุด ถ้าเราสามารถเว้นเหตุแห่งความทุกข์ได้มากเท่าไหร่เราก็จะได้รับความสุขมากขึ้นเท่านั้น

คนเราทุกวันนี้ไม่ค่อยที่จะรู้เหตุแห่งทุกข์สักเท่าไร วันๆเอาแต่หาความทุกข์เข้าใส่ตัวเอง หาโรคภัยไข้เจ็บเข้าใส่ตัวเองไม่ว่าจะเหล้า กัญชา ยาเสพติด สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วที่จะสร้างโทษให้กับร่างกายเราทั้งนั้นไม่ได้สร้างคุณอะไรเลย เมื่อร่างกายเกิดปัญหาทางสุขภาพ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นกับจิตใจเรา และเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราจะไปโทษใครดี แล้วใครเล่านั้นที่หาความทุกข์เหล่านั้นมาใส่ตัวเราเองถ้าหากไม่ใช่เพราะตัวเราหามาใส่ตัวเราเองทั้งหมดนี้ต้องขอฝากให้ชาวพุทธทั้งหลายทั้งปวงจงจดจำเอาไว้อยู่เสมอว่าสิ่งไหน คือสุข สิ่งไหนคือทุกข์ สิ่งที่ทำไปแล้วก่อให้เกิดความสุขเราก็จงเลือกทำในสิ่งนั้น แต่ถ้าหากทำไปแล้วมันเกิดความทุกข์ก็อย่าได้ไปเกี่ยวข้องกับมันก็มีเพียงเท่านี้หลักใหญ่ใจความขอให้เจริญในธรรมทุกท่านทุกคนเทอญ
พระมหาสกุล

วัดชัยศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่



Create Date : 08 มีนาคม 2552
Last Update : 8 มีนาคม 2552 9:56:32 น.
Counter : 746 Pageviews.

0 comments

Mimi-jaiko
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 28 คน [?]