มองภาพแห่งความสำเร็จที่ชัดเจน เดินแต่ละก้าวอย่างมีสติ ด้วยใจที่สงบ
 
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
21 กันยายน 2555

The Money WAR ตอนที่ 1 "ผมชื่อนิค"

ผมชื่อนิค เป็นนักลงทุนอิสระที่ออกมาลงทุนเต็มตัว แต่การลงทุนของผมที่ดูเหมือนจะราบรื่น กลับพบกับเหตุการณ์บางอย่างที่พลิกผันให้ผมต้องเข้าสู่สมรภูมิทางการเงินโดยไม่รู้ตัว...



E-Magazine By นายแว่นธรรมดา...

ดาวน์โหลดฟรีได้ที่นี่ครับ... //www.naiwaen.com/?p=917

แวะทักทายนายแว่นธรรมดาได้ที่นี่ครับผม... FaceBook

//www.facebook.com/NaiwaenTammada

ตกแต่งบ้าน และสวนสวย Home Decor Garden

//homebuyerguides.blogspot.com/2011/09/mdf-index.html






Create Date : 21 กันยายน 2555
Last Update : 21 กันยายน 2555 9:07:11 น. 1 comments
Counter : 1253 Pageviews.  

 
จอห์น เนฟฟ์ (JOHN NEFF)
ผู้จัดการกองทุน Vanguard Windsor
รูปแบบการลงทุน เน้นหนักไปในการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ในธุรกิจที่ดี มีการเจริญเติบโตต่อเนื่อง ปันผลสูง ขายเมื่อราคาเกินกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น

ประวัติ
เนฟฟ์ได้ชื่อว่าเป็นมืออาชีพของมืออาชีพ ทั้งนี้เพราะผู้จัดการกองทุนหลายคนไว้วางใจให้เขาบริหารพอร์ท เพราะเชื่อว่าเขาสามารถบริหารมันได้ดีและปลอดภัย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะผลงานที่ผ่านมาของเขาตลอด 30 ปี Windsor Fund สามารถครองอันดับสูงสุดห้าอันดับแรกมาตลอด

เนฟฟ์จบการศึกษาการตลาดอุตสาหกรรม และเข้าศึกษาวิชาการเงินการธนาคารภาคค่ำ ในปี1954 เขาเริ่มงานเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กับ the National City Bank of Cleveland จากนั้นก็ทำงานกับ Wellington Management เขายึดหลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าตามแบบของ Ben Graham มาโดยตลอด

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
เนฟฟ์ลงทุนอย่างหนักในหุ้น FORD ในปี1984 ในขณะที่ทุกคนกลัวว่าบริษัทกำลังจะไปไม่รอด ขณะนั้น P/E ของบริษัทเท่ากับ 2.5 เขาซื้อหุ้น FORD ในราคา 14 เหรียญต่อหุ้น ภายในสามปีราคาหุ้นขึ้นไปสูงถึง 50เหรียญต่อหุ้น ทำผลตอบแทนได้สูงถึง 500 ล้านเหรียญ

วิธีการและแนวทางการลงทุน
เนฟฟ์เน้นลงทุนในหุ้นที่มี P/E ต่ำ เขาเข้าซื้อหุ้นที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับผลตอบแทน (ซึ่งเป็นผลรวมของการเติบโตของรายได้บวกกับเงินปันผล)
เขามักจะเรียกค่านี้ว่า ‘Terminal Relationship' หรือ 'what you pay for what you get'
หรือเรียกค่านี้ว่า อัตราส่วน GYP (Growth & Yield : P/E) ratio
GYP ratio = (Earnings Growth + Dividend Yield) / P/E ratio

Example
Average forecast portfolio EPS Growth (%)
plus average forecast portfolio dividend yield
divided by average forecast portfolio P/E = (7 / 5) /10 = a GYP of 1.2

Average forecast market EPS Growth (%)
plus average forecast market dividend yield
divided by average forecast market P/E = (15 / 2) / 28 = a GYP of 0.6

ค่านี้ยิ่งสูงยิ่งดีเพราะแสดงถึงรายได้และเงินปันผลที่สูงมาก ปกติแล้วค่านี้ที่สูงกว่า 1 ถือว่าดีมาก อย่างไรก็ตามจะต้องเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมนั้น หรือกับของทั้งตลาดด้วย

อย่างไรก็ตาม เนฟฟ์ให้ความสำคัญต่อจำนวนร้อยละของเงินปันผลมากกว่า เนื่องจากเขาถือว่าเป็นผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของตัวเงินจริง
นั่นหมายความว่าหากมีหุ้นสองบริษัท บริษัทแรกมีการเติบโต 5% จ่ายปันผล 10% และมี P/E เป็น 6 แต่บริษัทที่สองหนึ่งมีการเติบโต 10% แต่จ่ายปันผล 5% และมีค่าอัตราส่วน P/E เป็น 6 เท่ากัน
เนฟฟ์ก็มีแนวโน้มที่จะเลือกหุ้นของบริษัทแรกมากกว่า เพราะปันผลจะทำให้ผลตอบแทนมีความแน่นอนขึ้น

หลักการเลือกหุ้นของ จอห์น เนฟฟ์
1. มีค่าอัตราส่วน P/E ต่ำ
2. มีอัตราเติบโตของกำไรสูงกว่า 7%
3. มีการจ่ายปันผลที่สม่ำเสมอ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด (แสดงถึงการสามารถนำกำไรที่มากขึ้นมาทำให้เกิดประโยชน์ในการขยายกิจการ)
4. ผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องสูงกว่าค่าอัตราส่วน P/E (เช่นหากค่า P/E เป็น 5 จะต้องมีผลตอบแทนมากกว่า 5%)
5. ต้องเป็นธุรกิจขาขึ้นของรอบ (ถ้าเป็นรอบ) หรือหากเป็นขาลง จะต้องมีค่า P/E ที่ต่ำมากพอต่อความเสี่ยงในขาลงของมัน
6. มีการเติบโตที่แข็งแรง (คือโตแล้ว ยืนอยู่ได้ ไม่ใช่ขึ้นๆ ลงๆ ล้มๆ ลุกๆ)
7. มีพื้นฐานแข็งแกร่ง (อันนี้ต้องวิเคราะห์ธุรกิจด้วย)

คราวนี้มาดูว่า จอห์น เนฟฟ์ จะตัดสินใจขายหุ้นเมื่อใด
1. พื้นฐานเปลี่ยนไปในทางที่เลวลง จนอาจจะเกิดผลกับการดำเนินงานในอนาคต
2. เมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้นถึงจุดที่กำหนดไว้
3. ดูการเติบโต (ราว 4-5 ปีต่อเนื่องกัน) หากถดถอยลงก็พิจารณาขาย

เคล็ดลับการลงทุน
วิธีการหาหุ้นเพื่อลงทุน เนฟฟ์จะมองหุ้นที่ราคาทำนิวโลว์ หรือราคาตกต่ำลงมามากๆ เพราะข่าวร้าย เมื่อพบแล้วก็มาพิจารณาโดยใช้หลักการเลือกหุ้น 7 ข้อ ของเขา หากเห็นว่าธุรกิจยังดี สามารถอยู่รอดและเติบโตได้ ราคาน่าลงทุน ค่าสัดส่วนต่างๆ ยังดีอยู่ ก็อาจจะพิจารณาซื้อไว้ได้
อย่าไล่ตามหุ้นที่มีการเติบโตสูงที่หลายคนสนใจ อัตราส่วนP/Eที่สูงขึ้นจะผลักดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นจนถึงระดับที่น่าตกใจ และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ตัวเอง
มองที่อัตราส่วน GYP ของพอร์ตของเราเป็นหลัก หากของตลาดดีกว่าก็ถือเงินสดไว้บ้างเพื่อรอซื้อเมื่อโอกาสอำนวย
โอกาสซื้อดีๆ มักจะเกิดหลังจากการตื่นตระหนก (Panic Sell) ของตลาด


โดย: นายแว่นธรรมดา วันที่: 12 ตุลาคม 2555 เวลา:10:35:05 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นายแว่นธรรมดา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ยินดีต้อนรับสู่บล็อกนายแว่นธรรมดา บล็อกที่รวมเอาความคิด ความฝัน ความรู้สึกของนายแว่นธรรมดา เพื่อปะติดปะต่อภาพแห่งความรู้สึกในใจของเราให้เสร็จสมบูรณ์ (ขอสงวนการนำข้อมูลในบล็อกไปใช้ครับ)
Free counters!
New Comments
[Add นายแว่นธรรมดา's blog to your web]